สวัสดีครับ
หากได้ยินว่าใคร “
อ่านดิก” เป็นงานอดิเรก เราอาจจะนึกว่าคน ๆ นี้เป็นคนแปลก เพี้ยนนิด ๆ หรือทำอะไรผิดมนุษย์มนา ให้ผมแย้งนิดนึงนะครับ เขาคนนั้นอาจจะไมได้ผิดปกติอะไรหรอกครับ และการ “อ่านดิก” ก็มีประโยชน์ไม่น้อยทีเดียว บางทีวิธีนี้อาจเป็นวิธีฟิตอังกฤษที่ได้ผลสำหรับเราก็ได้ ถ้าหลาย ๆ วิธีที่เคยลองใช้มาแล้วไม่ได้ผล
ผมได้ยินหลายคนบ่นให้ฟังว่า ฝึกอ่านภาษาอังกฤษมาตั้งนานแล้วแต่ก็ยังอ่านไม่รู้เรื่อง อาจจะจับเรื่องได้บ้างแต่ก็ได้ไม่ละเอียด ไม่รู้จะทำยังไง
ตามความเห็นของผม
การอ่านภาษาอังกฤษไม่รู้เรื่องน่าจะมาจากสาเหตุอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างข้างล่างนี้
- ไม่รู้ความหมายของศัพท์ สำนวน วลี สแลง
- ไม่รู้แกรมมาร์หรือโครงสร้างของประโยคชัดเจน ยิ่งประโยคยาว ๆ ยิ่งงง ไม่รู้ว่าอะไรเป็นประธาน-กริยา-กรรม ยิ่งเป็นส่วนขยายยิ่งชวนงงหนักขึ้น ไม่รู้อะไรขยายอะไร ขยายกันไปขยายกันมา 5 – 6 ทอด จับต้นชนปลายไม่ถูก
- อาจจะรู้ความหมายแต่เนื้อเรื่องที่อ่านยากเกินไป ถึงแม้ว่าอาจจะแปลเป็นคำ ๆ หรือแปลทั้งประโยคได้ แต่ก็ยังอ่านไม่รู้เรื่อง ตีความไม่ออก เหมือนคนทั่วไปอ่าน ตำราด้านกฎหมาย การแพทย์ เศรษฐศาสตร์ ฯลฯ ที่เขียนเป็นภาษาไทยแท้ ๆ อ่านได้ แต่ก็ไม่รู้เรื่อง เพราะฉะนั้นถ้าไปเจอยากอย่างนี้ที่เป็นภาษาอังกฤษยิ่งไม่ต้องพูดถึง
เมื่อเจอ 3 ปัญหาสามัญข้างต้น ผมก็มักจะเสนอ 3 วิธีสามัญเพื่อห้ำหั่นปัญหา ดังต่อไปนี้-เริ่มต้นด้วยเรื่องที่ไม่ยากเกินไป คือ ศัพท์สำนวนไม่ยาก แกรมมาร์ไม่ยาก เนื้อเรื่องไม่ยาว-ไม่ยาก-และไม่ยุ่งจนเกินไป ค่อย ๆ อ่านไต่ไปเรื่อย ๆ
-เริ่มต้นด้วยเรื่องที่รักจะอ่าน จะช่วยให้อ่านได้นาน ไม่เบื่อง่าย ไม่ทรมาน เข้าใจง่าย และมีกำลังใจที่จะอ่าน
-ไม่ต้องหักโหมแต่ห้ามห่างเหิน ฝึกอ่านวันละไม่ต้องมาก เช่น ครึ่งชั่วโมง แต่ต้องอ่านทุกวัน ถ้าวันนี้ไม่มีเวลาหรือขี้เกียจอ่าน พรุ่งนี้ต้องอ่านชดเชย
และการ “อ่านดิกชันนารี” อาจจะเป็นวิธีที่ท่านใช้ได้ผลในการฝึก reading skill โดยฝึกกับดิกชันนารีง่าย ๆ คือ
Longman New Junior English Dictionaryที่ท่านสามารถดาวน์โหลดได้จากลิงค์ข้างล่างนี้
การอ่านดิกชันนารีให้เป็นประโยชน์ต่อการฟิตภาษาอังกฤษ ควรฝึกอย่างนี้
1.ให้อ่านประโยคตัวอย่าง: การอ่านดิกไม่ใช่การท่องดิก การท่องดิกเป็นสิ่งที่ไม่ควรทำเพราะมันจำไม่ได้ แต่การอ่านดิก
ให้ท่านกวาดสายตาไปจับที่ประโยคตัวอย่างซึ่งมักเป็นตัวเอน และพยายามอ่านให้เข้าใจไปทีละประโยค ในกรณีเช่นนี้ ภาระเฉพาะหน้าของท่านคือ ต้องรู้ศัพท์ รู้สำนวน รู้แกรมมาร์หรือโครงสร้างประโยค และต้องรู้จักตีความให้รู้เรื่อง แต่ทั้งนี้ก็เป็นภาระสั้น ๆ คืออ่านให้เข้าใจเพียงคราวละ 1 ประโยคเท่านั้น ซึ่งในดิกก็ให้ศัพท์สำนวน-ไวยากรณ์-เนื้อเรื่องที่ง่าย ๆ การฝึกในข้อนี้เรื่องที่ขอเน้นก็คือ
อย่าเริ่มด้วยการพยายามจำศัพท์ แต่เริ่มด้วยการอ่านประโยคตัวอย่าง และจึงค่อยตามด้วยการศึกษาคำศัพท์
2.ไม่ต้องศึกษาเรียงไปตามลำดับหน้า: ให้กระโดดไปกระโดดมาได้ตามใจชอบ
3.เมื่อเจอศัพท์ใหม่ก็ไม่ต้องบีบสมองให้จำให้ได้: แต่ควรจะอ่านประโยคตัวอย่างออกมาดัง ๆ อย่างน้อย 1 ครั้ง การอ่านเช่นนี้มีประโยชน์หลายอย่าง เช่น ช่วยฝึกการพูด ช่วยทำให้จำศัพท์และสไตล์ของภาษาซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการเขียน เป็นการจำที่เป็นธรรมชาติ และได้ผลดีกว่าการท่องศัพท์เป็นคำ ๆ หลายเท่า
4.หรืออาจจะเริ่มต้นด้วยการดู
ศัพท์ตัวดำที่เป็นคำต้นที่เรารู้ความหมายอยู่แล้ว:
การอ่านประโยคตัวอย่างที่แสดงคำศัพท์ซึ่งเรารู้ความหมายอยู่แล้ว จะช่วยให้เราแปลประโยคนั้นได้ง่ายขึ้น หลังจากนี้จึงค่อยขยับไปยังศัพท์อื่น ๆ ที่เราไม่แน่ใจหรือไม่รู้จักความหมาย, reading skill ที่เราค่อย ๆ สะสมจากการ train ตัวเองด้วยการเริ่มอ่านจากประโยคที่ง่าย ๆ จะช่วยให้เราปีกกล้าขาแข็ง สามารถอ่านเรื่องที่ยากขึ้นและไม่รู้สึกว่ายากนัก
5.ไม่ต้องรู้สึกหงุดหงิดเมื่ออ่านได้ช้าไม่ทันใจ ฝึกอ่านไปเรื่อย ๆ ก็จะค่อย ๆ อ่านได้เร็วขึ้นเอง
เชิญดาวน์โหลด
Longman New Junior English Dictionary ได้เลยครับ
ลิงค์ที่ 1 หรือ
ลิงค์ที่ 2Longman New Junior English Dictionary มีศัพท์และวลีประมาณ 1,000 คำ มีตัวอย่างประโยคอธิบายคำศัพท์อย่างชัดเจน และแม้จะเป็นศัพท์เพียงแค่ 1,000 คำ ถ้าจำได้และใช้เป็นก็จะมีประโยชน์ต่อการฟัง – พูด – อ่าน – เขียน อย่างมหาศาล
ผมยังมี dictionary อีกหลายเล่มที่สามารถช่วยท่านในการฟิดภาษาอังกฤษ ตามวิธีที่คุยกันมาข้างต้น
NTC's Pocket Dictionary of Words and Phrases
link 1NTC's - American Idioms Dictionary
link 1NTC's Dictionary of Easily Confused Words
link 1NTC's Dictionary of American Slang and Colloquial Expressions
link 1 หรือ
link 2 NTC's Super-Mini English Idioms Dictionary
link 1 หรือ
link 2* * * * *
* * * * *
* * * * *
พิพัฒน์
Gemtriple@gmail.com