วันจันทร์ที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2552

[1101] ด/ล Test ภาษาอังกฤษ 864 ชุด พร้อมเฉลย

สวัสดีครับ
วันนี้ผมมีไฟล์ English Test จำนวน 864 ชุดมาให้ท่านดาวน์โหลดไปศึกษา ดังนี้ครับ

384 English Grammar Tests
321 Business English Tests
35 English Synonym Tests
60 Errors in English Usage Tests
64 English Idiom and Expression Tests

ถ้าท่านจะดาวน์โหลดคราวเดียวทั้ง 5 ชุด ก็คลิกที่ลิงค์ใดลิงค์หนึ่งขางล่างนี้
ลิงค์ที่ 1 หรือ ลิงค์ที่ 2

แต่ถ้าจะดาวน์โหลดทีละไฟล์ ก็คลิกข้างล่างนี้
384 English Grammar Tests
321 Business English Tests
64 English Idiom and Expression Tests
35 English Synonym Tests
60 Errors in English Usage Tests

และเนื่องจากในไฟล์มีเพียงเฉลย (Answers) แต่ไม่มีการอธิบายเฉลย เพราะฉะนั้นท่านอาจจะต้องไปหาศึกษาเพิ่มเติมได้ที่รวมลิงค์ข้างล่างนี้
แกรมมาร์- ศัพท์ -Test -ดิก

ตอนนี้ผมขอคุยนิดนึงนะครับ .....

สมัยเป็นนักเรียน เพื่อนของผมหลายคนไม่ชอบภาษาอังกฤษ บอกว่าไม่ชอบท่องจำ ฟังน้ำเสียงคล้าย ๆ กับว่าคนเรียนภาษาอังกฤษมีสมองเกรด B ไม่เหมือนพวกเขาที่ถนัดวิชาพวกฟิสิกส์หรือคณิตศาสตร์ ที่ใช้สมองเกรด A ซึ่งต้องคิดค้นไม่ใช่เอาแต่ท่องจำ เพราะไม่ว่าจะเป็นศัพท์หรือแกรมมาร์มันต้องจำทั้งนั้น และถ้าจะจำให้ได้มาก ๆ และเร็ว ๆ ก็ต้องท่องโดยไม่ต้องคิดอะไรมาก ตอนที่ผมอยู่ในวัยแรกรุ่นที่เริ่มเรียนภาษาอังกฤษก็รู้สึกต่ำต้อยไปกับคำวิจารณ์เทือกนี้อยู่บ้าง

แต่เมื่อผมโตขึ้นผมจึงได้รู้ว่า คำวิจารณ์เหล่านั้นอาจจะ ‘ถูก’ แต่ ‘ไม่ครบ’ (=ไม่ถูก) ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้

1. ภาษานั้น ไม่ว่าจะเป็นภาษาไทย อังกฤษ หรือภาษาใด ๆ ในโลกนี้ เป็นเรื่องของการเข้าใจ (เมื่ออ่านและฟัง) และใช้เป็น (เมื่อพูดและเขียน) และทำไมเราคนไทยจึงไม่ต้องเปิดพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานเพื่อท่องศัพท์, ไม่ต้องอ่านตำราหลักภาษาไทยของพระยาอุปกิตศิลปสารเพื่อให้เข้าใจไวยากรณ์, ที่ไม่ต้องก็เพราะว่าเมื่อเราโตขึ้นมา เราก็ค่อย ๆ เรียนและรู้, เราได้ใช้-และใช้ได้-และใช้เป็น, ทักษะภาษาไทยทั้งการฟัง-พูด-อ่าน-เขียน จึงเกิดขึ้นและอยู่กับเราโดยอัตโนมัติ เจ้าของภาษาจึงไม่จำเป็นต้องท่องหรือใช้ความยายามอะไรเลยก็สามารถเข้าใจและใช้เป็นภาษาแม่ของตัวเอง

ข้อความในย่อหน้าข้างบนที่เป็นตัวเอน เป็นข้อความที่ผมแกล้งพูดเองแต่ก็ไม่เห็นด้วยทั้งหมด [คือมัน ‘ถูก’ แต่ ‘ไม่ครบ’ (=ไม่ถูก) ] เพราะแม้จะเป็นภาษาไทยที่เราคุ้นเคยกับมันมาตั้งแต่เกิดนี่แหละ คนไทยหลายคนเมื่ออ่านและฟังภาษาไทยก็ไม่ค่อยเข้าใจ จะกล่าวไปใยถึงการพูดและเขียน ท่านไม่เคยพบหรือครับ เราฟังบางคนพูดอยู่ตั้งครึ่งวันยังไม่รู้เลยว่าพี่แกต้องการพูดอะไร นี่เอาแค่ภาษาไทยเท่านั้นแหละครับ ไม่ต้องกล่าวไกลไปถึงภาษาอังกฤษหรอก

ผมกำลังจะบอกว่า การเรียนภาษาอะไรก็ตาม โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาษาต่างประเทศ จุดเริ่มไม่น่าจะอยู่ที่การจำโดยบีบอัดเข้าไปในสมอง แต่อยู่ที่....
[1]. มีความสนใจ ซึ่งจะทำให้สังเกต และก็จะเข้าใจ ถ้าตั้งหน้าตั้งตาแต่จะจำ โดยมิได้สนใจและสังเกต สิ่งที่จำไว้ยิ่งมากอาจจะยิ่งมึน และเป็นการจำที่ลืมง่าย แต่ถ้า start จากสนใจ-สังเกต-เข้าใจ ก็จะจำได้ง่ายและลืมยาก ภาษาไทยที่เราใช้อยู่ทุกวันเป็นเช่นนี้ ภาษาอังกฤษที่นาน ๆ จะใช้สักทีก็เป็นเช่นดียวกัน

[2]. มีการฝึกใช้ให้คล่องแคล่ว สมัยผมเรียนอยู่ชั้นประถม-มัธยม วิชาเรียงความเป็นวิชาที่เพื่อน ๆไม่กี่คนชอบ คนที่เขียนเรียงความได้ดีก็จะถูกคนที่เก่งวิชาฟิสิกส์หรือคณิตศาสตร์ (พวกมันสมองเกรด A) แซวเอาว่าเป็นเจ้าสำบัดสำนวน ไม่ได้มีความสามารถอะไรมากไปกว่านั้น แต่ ณ บรรทัดนี้ผมก็ขอยืนยันอย่างเดิมอีกแหละครับว่า บทแซวเหล่านี้อาจจะ‘ถูก’ แต่ ‘ไม่ครบ’ (=ไม่ถูก) เพราะการเขียนเรียงความเรื่องหนึ่ง ๆ นอกจากจำวัตถุดิบไว้ในสมองและดึงออกมาเขียนให้ได้แล้ว ยังต้องเขียนให้คนเข้าใจ – สนใจ – หรือถึงขั้นสุขใจ ที่ได้อ่าน นี่ต้องอาศัยการฝึกฝนอยู่พอสมควร มิใช่เกิดขึ้นได้โดยอัตโนมัติหรือโชคช่วย ภาษาไทยเป็นเช่นนี้ ภาษาอังกฤษย่อมเป็นเช่นนี้เช่นกัน

แล้ว test ทั้งหลายที่ผมนำเอามาให้ทุกท่านดาวน์โหลดล่ะครับ มันมีประโยชน์ยังไง ผมเอามาเพื่อหวังให้ท่านท่องจำหรือครับ? คำตอบก็คือ ถูกครับแต่ถูกไม่ครบ !

เรื่องของเรื่องก็คือว่า คนอังกฤษอเมริกันเขาอาจจะไม่มีความจำเป็นเลยที่ต้องฝึกภาษากับ test พวกนี้เพราะเขาโตมากับมัน แต่เราคนต่างชาติถ้าได้เรียนรู้ฝึกฝนก็จะมีประโยชน์ เพรามันคือการประมวลประเด็นหรือแง่มุมทางภาษาที่ใช้บ่อยหรือทำผิดบ่อย เอามาไว้ในที่เดียวกัน และจริง ๆ แล้วถ้าเราอ่านหรือฟังภาษาอังกฤษบ่อย ๆ เราก็จะเจอสิ่งที่ยู่ใน test เหล่านี้แหละครับกระจัดกระจายอยู่ในหน้าหนังสือ วิทยุ ทีวี หรือ mp3 แต่ถ้าความสามารถในการสังเกตของเรามันน้อย เราก็จะจับแง่มุมทางภาษาเหล่านี้ได้น้อย ฉะนั้น พอได้อ่านสิ่งที่เจ้าของภาษาเขาประมวลไว้ให้ เราก็สบาย! เพราะมีคนทำข้อ 1 ให้แล้ว

แต่เราก็สบายแค่ครึ่งเดียวเท่านั้นแหละครับ เพราะสิ่งที่เราจะได้และเข้าใจจาก test หรือหนังสือเหล่านี้ยังไม่ใช่ของจริงซะทีเดียว ของจริงก็คือสิ่งที่เราได้อ่านจริง ๆ - ได้ฟังจริง ๆ – ได้พูดจริง ๆ – และได้เขียนจริง ๆ นั่นคือเราต้องทำข้อ 2

สรุปได้สั้น ๆ ว่า การจะเรียนภาษาให้ได้ดี สำหรับคนที่ในอดีตไม่มีโอกาสคลุกคลีกับภาษาอังกฤษ แต่ในปัจจุบันจำเป็นต้อง “เข้าใจ และ ใช้เป็น” ก็คงต้องทำทั้ง 2 อย่างนี้ไปพร้อมกัน คือ (1) สนใจ-สังเกต- ก็จะเข้าใจ และจำได้ไปเอง และ (2) ฝึกฝนจนเก่งขึ้นเอง จากการใช้งานจริง ๆ เสริมด้วยการทำ test

ขอย้อนกลับไปพูดถึงเพื่อนของผมที่เคยบอกว่าตัวเองเก่งฟิสิกส์และคณิตศาสตร์และดูแคลนอังกฤษ แล้วเป็นยังไงบ้างล่ะ ถึงวันนี้ก็ต้องย้อนกลับมาพยายามเรียนภาษาอังกฤษ ต้องใช้ ‘มันสมองเกรด B’ที่ไม่ชอบใช้ในสมัยนั้น!

พิพัฒน์
GemTriple@gmail.com

1 ความคิดเห็น:

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

ขอบคุณค่ะ
หนูเป็นอีกคนหนึ่งที่เรียนมาทางสายวิทย์ แต่อยากทำงานด้านพวกหนังสือหรือภาษามาก
เพื่อนที่เรียนสายวิทย์ด้วยกันเคยบอกว่า อาชีพพิสูจน์อักษรไม่เห็นต้องมีเลย ในเมื่อเอาใส่ word โปรแกรมก็จะบอกคำผิดให้อยู่แล้ว
ได้ฟังแล้วก็โกรธแทนคนที่เรียนสายภาษา -*-
มีแต่สมองเกรด A นี่ก็แย่เหมือนกันนะคะ เฮ้อออ...

นอกเรื่องไปหน่อย แฮ่ะๆ ขออภัยค่ะ