วันพฤหัสบดีที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2551

[884] นึกศัพท์ได้ทัน กี่พันเรื่องก็พูดได้

สวัสดีครับ
ผมเคยถามเพื่อนหลายคนด้วยคำถามนี้ว่า ที่พูดภาษาอังกฤษไม่ค่อยได้เมื่อเจอฝรั่ง เป็นเพราะ (1) นึกศัพท์ไม่ออก หรือว่า (2) นึกศัพท์ออก แต่เอามาผูกเป็นประโยคไม่ได้ ก็มักได้รับคำตอบว่า มันก็ทั้ง 2 อย่างนั่นแหละ พอผมคาดคั้นถามว่า แล้วระหว่าง 2 อย่างนี้ อย่างไหนมันยากกว่ากัน ส่วนใหญ่ก็จะตอบว่าไม่รู้ศัพท์ หรือรู้แต่นึกได้ไม่ทัน เขาไปซะแล้วค่อยนึกออกว่าควรใช้ศัพท์อะไร แล้วที่น่าเจ็บใจก็คือ เวลาฟังเพื่อนของเราพูดกับฝรั่งเขาใช้ศัพท์ง้ายง่าย ... เราฟังก็รู้เรื่องทุกคำ แต่ถ้าให้เราพูดเองทำไมมันนึกไม่ออกก็ไม่รู้

ท่านผู้อ่านครับ ผมขอคุยตามประสาคนที่ไม่ได้เรียนมาอย่างเป็นงานเป็นการแล้วกันนะครับ ถ้ามันผิดจากหลักวิชาการก็ขออภัยด้วยแล้วกันครับ ผมเห็นว่าในการฝึกพูดกับฝรั่งนี่นะครับ จะฝึกพูดเฉย ๆ คงไม่ได้หรอกครับ จะต้องฝึกอย่างน้อย 3 อย่างพร้อมกันไป คือ ฝึกฟัง ฝึกออกเสียง และฝึกอ่าน ทำไมผมถึงได้สรุปอย่างนี้ ขออธิบายอย่างนี้ครับ
1. ทำไมต้องฝึกฟังอยู่เสมอ ก็เพราะว่าเราอยู่เมืองไทยไม่ได้อยู่เมืองนอก คนไทยที่ไปทำงานหรือเรียนหนังสือเมืองนอก เขาก็ได้ฟังฝรั่งพูดบ่อย ๆ หรือทุกวันทั้ง ๆ ที่ไม่ต้องเจียดเวลาเพื่อการฝึกฟัง แต่เราอยู่เมืองไทยไม่มีโอกาสฟังฝรั่งพูด เราจึงต้องเจียดเวลาให้กับการฝึกฟังโดยเฉพาะ
2. เมื่อฟังบ่อย ๆ เราก็จะค่อย ๆ รู้ไปเองว่าจะต้องออกเสียงยังไง มันจะค่อย ๆ ได้ไปเองทั้งการพูดหรือออกเสียงทีละคำ หรือเป็นประโยค หรือสำเนียง และก็ถูกอยู่หรอกครับที่บางท่านบอกว่าพูดยังไงสำเนียงก็ไม่เหมือนฝรั่ง ไม่ต้องไปฝันถึงขั้นนั้นหรอกครับ เอาแค่พูดฝรั่งแล้วคนต่างชาติฟังรู้เรื่องก็ใช้ได้แล้วครับ ฝึกฟังกับฝึกพูด-ฝึกออกเสียงจึงต้องไปด้วยกัน ฟังอย่างเดียวไปยอมพูดก็เหมือนจอดรถเร่งเครื่องยนต์อยู่กับที่ไม่ยอมเข้าเกียร์เคลื่อนรถสักที หรือจะเอาแต่พูดโดยฝึกฟังน้อยเกินไป ผมก็คิดว่าไม่ค่อยเข้าท่า บางสถาบันสอนภาษาเขาสอนให้ออกเสียงทีละเสียง (phonics) ขยับขึ้นไปเป็นทีละคำ – ทีละประโยค จะหัดพูดโดยวิธีอย่างนั้นก็คงจะได้ผลอยู่หรอกครับ แต่โดยความรู้สึกส่วนตัวผมว่ามันน่าจะเป็นการดีถ้าเราฝึกฟังอย่างเป็นธรรมชาติตามประสาเราไปเรื่อย ๆ ฟังเรื่องที่เราอยากฟัง ยาก-ง่าย, สั้น-ยาว ตามที่เราเลือกของเราเอง รู้เรื่องบ้าง – ไม่รู้เรื่องบ้างก็ช่างมันเถอะครับ ลุยฟังไปเรื่อย ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งฝึกฟังกับเรื่องที่เราชอบฟังมันจะได้ไม่เบื่อ(ต้องยอมลงทุนเสียเวลาหาให้พบเรื่องที่เราชอบฟังด้วยตัวเอง รอให้คนจัดเมนูมาเสิร์ฟอาจจะไม่เจอเรื่องที่เราชอบฟัง) ลุยฟังมันไปเรื่อย ๆ แล้วค่อย ๆ ขยับปากพูดตาม ทีละคำ ทีละประโยค มันจะค่อย ๆ ฟังรู้เรื่องมากขึ้นเรื่อย ๆ และพูดได้มากขึ้นเองแหละครับ
3. ในขณะที่เราฝึกฟังและฝึกพูดนั้น เราก็ฝึกอ่านไปด้วย เพราะถ้าเราจะเรียนคำศัพท์จากเรื่องที่เราฟังอย่างเดียว มันอาจจะไม่ทันกิน เราจึงต้องหาเรื่องมาอ่าน และเพิ่มศัพท์จากการอ่าน จำการผูกประโยคจากเนื้อเรื่องที่เราอ่าน เมื่ออ่านมาก ๆ บ่อย ๆ คำศัพท์และสไตล์การผูกประโยคที่เราสะสมไว้ใน database ในสมองจากการอ่านนี้ พอถึงเวลาที่ต้องพูด มันจะถูกดึงออกมาเองแหละครับ ตอนแรกอาจจะดึงได้ช้า แต่ถ้าถูกดึงบ่อย ๆ มันก็จะเร็วขึ้น

และจากประสบการณ์การพูดฝรั่งอันแสนจะลูกทุ่งของผม เพราะมาพูดฝรั่งเอาเมื่ออายุเยอะแล้ว ตอนแรก ๆ ก็มักจะต้องนึกเป็นภาษาไทยก่อน แต่พอต้องพูดบ่อย ๆ เข้า การนึกเป็นภาษาไทยก็จะน้อยลง ๆ เพราะขืนนึกเป็นภาษาไทยทุกคำทุกประโยคแล้วค่อยพูดเป็นภาษาอังกฤษก็คงจะไม่ทันกิน ก็เลยต้องนึกเป็นภาษาอังกฤษและพูดเป็นภาษาอังกฤษไปเลย

มันเหมือนกับการอ่านหนังสือพิมพ์ Bangkok Post หรือ The Nation นั่นแหละครับ ครั้งแรก ๆ ก็มักจะต้องอ่านและแปลเป็นภาษาไทยก่อน กว่าจะมาถึงวันนี้ที่อ่านและเข้าใจไปเลยโดยไม่ต้องแปลเป็นภาษาไทยในสมองก่อน ใช้เวลาหลายปีทีเดียวครับ มันเป็นสิ่งที่ต้องค่อยเป็นค่อยไป และแม้ทุกวันนี้ถ้าอ่านข้อความภาษาอังกฤษที่มันยากกว่าปกติ สมองก็จะกลับมาใช้ภาษาไทยโดยอัตโนมัติในการตีความเรื่องที่อ่าน การพูดก็เช่นเดียวกันครับ ถ้าถึงเวลาที่ต้องพูดประโยคยาก ๆ ที่ห้ามผิดเด็ดขาด สมองก็จะกลับมาใช้ภาษาไทยโดยอัตโนมัติในการคิดคำหรือประโยคที่จะพูด

การเรียนภาษาจึงเป็นกระบวนการที่ไม่จบสิ้น แต่สิ่งหนึ่งที่ผมอยากจะพูดไว้ ณ ที่นี้ก็คือ แม้ว่าเราจะฟัง - พูด – อ่าน – เขียน ได้เร็วหรือช้าเพียงใดก็ตาม เราก็ควรจะเรียนภาษาด้วยความสุข ชีวิตของคนเรานั้นสั้นนัก ไม่ว่าเราจะทำอะไรก็ตาม ต่อให้เรื่องนั้นเป็นเรื่องสลักสำคัญมากเพียงใดก็ตาม เราก็ไม่ควรจะปล่อยให้มันมาบีบใจเราจนเป็นทุกข์ เราทำงานใดก็ตามเสร็จก็ถือเป็นความสำเร็จของชีวิต แต่ต้องเป็นการทำงานให้เสร็จและทำใจให้เป็นสุขไปพร้อมกัน งานก็เสร็จใจก็เป็นสุข คือหลักในการใช้ชีวิตในทุกเรื่อง รวมทั้งเรื่องการฟิตภาษาอังกฤษด้วย

เรื่องการฝึกฟัง – พูด – อ่าน – เขียน ภาษาอังกฤษที่เราค่อย ๆ คลายภาษาไทยออกไปทีละน้อย ๆ นี้ ผมคิดว่าเป็นเรื่องธรรมดาครับ แม้ว่าเราเรียนภาษาอื่น ๆ ที่ไม่ใช่ภาษาอังกฤษมันก็คงจะเป็นอย่างนี้ทั้งนั้นแหละครับ เหมือนกับตอนเด็ก ๆ เราใช้ดิกอังกฤษ – ไทย แล้วต่อมาวันหนึ่งครูก็บอกเราว่า เราควรจะใช้ดิกอังกฤษ – อังกฤษ ก็ใช่ว่าเราจะสามารถทิ้งดิกอังกฤษ – ไทยไปได้อย่างฉับพลัน เพราะตอนใช้ดิกอังกฤษ – อังกฤษแล้วงงขึ้นมา ก็อาจจะต้องย้อนกลับไปเปิดดิกอังกฤษ – ไทยบ้าง แต่ถ้าเราพยายามใช้ดิกอังกฤษ - อังกฤษให้ชำนาญขึ้นเรื่อย ๆ ก็จะถึงวันหนึ่งที่เราจะเกิดความรู้สึกว่า เราไม่จำเป็นต้องพึ่งดิกอังกฤษ – ไทยก็ได้ มันเป็นลักษณะเดียวกันเลยครับกับการพูดภาษาอังกฤษ และการอ่านหนังสือพิมพ์ภาษาอังกฤษ โดยไม่ต้องแปลเป็นภาษาไทยก่อน

เมื่อย้อนกลับมาพูดถึงดิกชันนารี ในช่วงที่เราฝึกหัดนี้ ดิกอังกฤษ – ไทย และดิกไทย – อังกฤษ ก็ยังมีประโยชน์อยู่มากครับ จากประสบการณ์ของผม ถ้าเราจำศัพท์แปลกลับไป – กลับมา ระหว่าง อังกฤษ – ไทย, ไทย – อังกฤษ ได้เยอะ ๆ เมื่อถึงเวลาที่เราต้องพูดภาษาอังกฤษ สมองมันจะดึงคำศัพท์ที่เหมาะสมออกมาใช้ในการพูดเองโดยเราไม่ต้องไปบีบหรือเค้นมัน เป็นอย่างนี้จริง ๆ ครับ ขออย่างเดียว – ขอให้เรากักตุนศัพท์ไว้ใน database คือสมองเยอะ ๆ เท่านั้นแหละ แล้วสมองมันจะทำหน้าที่ของมันเอง

เมื่ออ่านมาถึงบรรทัดนี้ ท่านผู้อ่านอาจจะสงสัยว่า ที่พูดมามากมายทั้งหมดนี้มันเกี่ยวข้องอะไรกับชื่อของบทความวันนี้ คือ “นึกศัพท์ได้ทัน - กี่พันเรื่องก็พูดได้”

[ถ้าต้องการให้เปิดลิงค์ในหน้าต่างใหม่, ให้คลิกที่ลิงค์พร้อมกับกด shift, เมื่อเลิกใช้งานแล้วจะได้ close ได้ทันที]

ท่านผู้อ่านที่เป็นแฟนบล็อกนี้ คงจะผ่านตาบ้างว่า ผมได้เขียนเรื่อง
[881] Dict.ที่ผมตั้งใจทำเพื่อท่านผู้อ่านโดยเฉพาะ


[หมายเหตุ: ถ้าท่านไม่สามารถดาวน์โหลดไฟล์ -เพราะบางวัน บางเวลา ไฟล์ที่ผมเอาไปฝากไว้ที่ server มันก็เกเร ทำให้เข้าไม่ได้ซะดื้อ ๆ ท่านใจเย็นนิดนะครับ ทิ้งเวลาสักช่วงหนึ่งแล้วค่อยเข้าไปใหม่ - อ่านคำแนะนำข้างล่างนี้]
[836] วิธีแก้ปัญหา เมื่อท่านดาวน์โหลดไม่สำเร็จ

ในนั้นผมได้รวบรวมศัพท์ภาษาอังกฤษที่พบบ่อยประมาณ 21,000 คำมาให้ท่านศึกษาแบบเล่น ๆ โดยในตัวอักษรภาษาอังกฤษ 26 ตัว คือ
wordlist.zip
A B C D E F G H I J K L M N O P Q R S T U V W XYZ

เมื่อท่านคลิกเข้าไปแล้ว ท่านจะพบกับรายการคำศัพท์มากมายที่ใช้บ่อย ขอให้ท่านใช้เวลาสักนิดหนึ่งนึกให้ออกว่า ศัพท์ตัวนี้แปลเป็นภาษาไทยว่าอย่างไร แล้วจึงค่อยเอาเมาส์ไปวางบนศัพท์ตัวนั้น ก็จะได้เห็นคำแปลภาษาไทย ประเด็นที่ผมต้องการเน้นก็คือ ขอให้ท่านยอมลงทุนนึกหรือเดา การฝึกเช่นนี้มีประโยชน์มากเมื่อท่านอ่านหรือฟังภาษาอังกฤษ เพราะท่านก็ต้องนึกหรือเดาในลักษณะเดียวกันนี้

เรื่องใหม่ที่ผมจะเอามาเสนอท่านในวันนี้ก็คล้าย ๆ กับข้างบน แต่สลับกันเป็นว่า แทนที่จะเป็นเห็นศัพท์ภาษาอังกฤษแล้วนึกคำแปลภาษาไทย ก็กลายเป็นเห็นศัพท์ภาษาไทย และให้พยายามนึกถึงหรือเดาคำแปลเป็นภาษาอังกฤษ การฝึกเช่นนี้มีประโยชน์มาก เมื่อท่านต้องพูดหรือเขียนเป็นภาษาอังกฤษ เพราะท่านก็ต้องนึกหรือเดาในลักษณะเดียวกันนี้

เทคโนโลยีของเว็บช่วยให้ท่านมีของเล่น หรือของฝึกหัดเช่นนี้ได้ คือเป็น 3 ขั้นตอน คือ
(1) เห็นศัพท์ภาษาไทย
(2) นึกคำแปลภาษาอังกฤษ
(3) เอาเมาส์วางบนคำศัพท์เพื่อดูเฉลย (หรือไม่ก็คลิกที่ศัพท์คำนั้น พร้อมกับกด shift)

ผมได้พยายามรวบรวมศัพท์ภาษาไทยที่ใช้บ่อยมาจากแหล่งต่าง ๆ และได้จัดทำคำแปลเป็นภาษาอังกฤษให้ท่านได้เล่นตาม step (1), (2), (3) ที่กล่าวแล้ว ข้างล่างนี้ครับ

* * * *
เว็บ: http://www.babylon.com/dictionary/16020/Thai---English-Quick-Reference/%E0%B8%81/1

เมื่อคลิกที่ตัวอักษรแต่ละตัวแล้ว เมื่อคลิกตำศัพท์ภาษาไทย จะพบตำแปลเป็นภาษาอังกฤษ
1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18
1 2 3 4 5 6 7
1 2 3 4 5 6 7
-
1 2 3 4

1 2 3 4 51 2 3 4 5
- - - - ฑ - ฒ -
1 2 3
1 2 3 4 5 6 7 8 9
1 2
1 2 3 4 5 6 7

1 2 3 4 5 6 7
1 2 3 4
1 2 3 4 5 6 7 8 9
1 2 3 4

1 2 3 4 5 6 7 8
-
1 2 3 4 5
1 2 3
1 2 3 4 5 6 7
-
1 2 3 4
- ษ
1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13
1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11
1 2 3 4 5 6 7 8 9 10

1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20 21 22 23 24 25 26 27 28
1 2 3 4 5 6 7 8
1 2 3 4 5 6

1 2 3 4

* * * * *
XXX บัญชีคำพื้นฐานชั้นเด็กเล็ก จำนวนคำทั้งสิ้น 242 คำ
Small_Kids_Vocab_1_120.mht
Small_Kids_Vocab_121_242.mht

* * * * *
XXX บัญชีคำพื้นฐานชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 จำนวนคำทั้งสิ้น 708 คำ
P_1_Vocab_1_120.mht
P_1_Vocab_121_220.mht
P_1_Vocab_221_350.mht
P_1_Vocab_351_500.mht
P_1_Vocab_501_600.mht
P_1_Vocab_601_708.mht

* * * * *
XXX บัญชีคำพื้นฐานชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 จำนวนคำทั้งสิ้น 1,098 คำ
P_2_Vocab_1_200.mht
P_2_Vocab_201_400.mht
P_2_Vocab_401_595.mht
P_2_Vocab_596_730.mht
P_2_Vocab_731_880.mht
P_2_Vocab_881_1089.mht

* * * *
XXX บัญชีคำพื้นฐานชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จำนวนคำทั้งสิ้น 1,210 คำ
P_3_Vocab_1_200.mht
P_3_Vocab_201_400.mht
P_3_Vocab_201_400.mht
P_3_Vocab_401_550.mht
P_3_Vocab_551_670.mht
P_3_Vocab_670_804.mht
P_3_Vocab_805_950.mht
P_3_Vocab_951_1100.mht
P_3_Vocab_1101_1210.mht

* * * *
คำศัพท์ภาษาไทยที่ใช้บ่อย
ไฟล์ที่ [1 ก ถึง ธ]
1000_Most_Common_Thai_Words_translated_file1.mht

ไฟล์ที่ 2 [น ถึง ว]
1000_Most_Common_Thai_Words_translated_file2.mht

ไฟล์ที่ 3 [ศ ถึง อ]
1000_Most_Common_Thai_Words_translated_file3.mht

* * * * *
คำศัพท์ภาษาไทยที่ใช้บ่อย (อีกบัญชีหนึ่ง)
100_Most_Common_Thai_words_translated.mht

* * * *
list รวม ‘คำกริยา’ ภาษาไทย:
1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16

list รวม ‘คำกริยา’ ภาษาไทย + คำแปลภาษาอังกฤษเมื่อวางเมาส์บนคำกริยานั้น
1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16

* * * *

การเรียน – การสอน ภาษาอังกฤษ มีวิธีการมากมายหลายอย่าง แต่ไม่ว่าจะเป็นการเรียนแบบไหน การฝึกทักษะทั้ง 4 คือ ฟัง – พูด – อ่าน – เขียน ถ้าเราเก่งอย่างหนึ่งก็จะช่วยเป็นฐานให้อีก 3 อย่างดีตามไปด้วย แต่ไม่ว่าท่านจะฟิตอะไรก็ตาม ถ้าท่านสะสมการรู้ศัพท์ จากอังกฤษ แปลเป็นไทย และจากไทยแปลเป็นอังกฤษ ยิ่งรู้มากเท่าใดก็จะเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาภาษาอังกฤษของท่านมากเท่านั้น

พิพัฒน์
GemTriple@gmail.com

1 ความคิดเห็น:

BigJoe กล่าวว่า...

ยิ่งติดตามยิ่งทึ่ง...สุดยอดจริงๆครับ..ขอบคุณมากครับ.