วันอาทิตย์ที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2554

[1770] news & view เกี่ยวกับไทย จากแหล่งข่าวโลก

สวัสดีครับ
ผมเคยเขียน 2 บทความนี้ คือ
1)‘ตามข่าว’ เพื่อไม่ ‘ตกข่าว’ แต่ ‘ไม่มีเวลา’ จะทำยังไง
ซึ่งพูดถึงการใช้ Google Search หาข่าวเกี่ยวกับเมืองไทยจากสำนักข่าว BBC, CNN, Aljazeera และ Asia News Network และ
2) ประเทศอื่นลงข่าวเกี่ยวกับเมืองไทยยังไงบ้าง?
ซึ่งพูดถึงการใช้ Google Search หาข่าวภาษาอังกฤษเกี่ยวกับเมืองไทยที่ตีพิมพ์ หรือโพสต์ในเว็บในประเทศต่าง ๆ 

วันนี้ผมขอพูดอีกเรื่องหนึ่ง คือ การติดตามข่าวเกี่ยวกับเมืองไทยที่รายงานโดยสำนักข่าวหรือนิตยสารข่าวระดับโลก ได้แก่ Time, Newsweek, The Economist, USA Today และ Washington Post

ก่อนจะเข้าเรื่องผมขอพูดอะไรสักนิดนะครับ

เรื่องข่าวนี่นะครับ ทุกวันนี้ด้วยอิทธิพลของเทคโนโลยีทำให้ “ข่าว” เปลี่ยนไปจากเดิมโดยสิ้นเชิง ทุกวันนี้แม้การรายงานข่าวจะมิได้เป็นอุดมคติอย่างที่หลายคนหวัง แต่ผมก็เชื่อว่า ข่าวจะมีบทบาทต่อทุกสังคมมากขึ้น ๆ และจะส่งผลในทางที่ดี โดยผมมีความเห็นว่า...

1.ทุกวันนี้ ข่าวที่เกี่ยวกับเมืองไทย มิใช่รายงานโดยหนังสือพิมพ์ไทย เว็บไทย หรือคนไทย เท่านั้น แต่เป็นหนังสือพิมพ์ต่างประเทศ เว็บต่างประเทศ และชาวต่างประเทศด้วย ที่สำคัญคือ รายงานด้วยภาษาต่างประเทศ คือภาษาอังกฤษ นี่จึงเป็นเหตุผลที่หนักแน่นว่า ถ้าเราต้องการรู้จักตัวเราเอง ผ่านเนื้อข่าว (news) และความเห็น (view) ของคนทั่วโลก เราต้องอ่านและฟังภาษาอังกฤษให้รู้เรื่อง

2.เราสนใจข่าวเกี่ยวกับเมืองไทยที่สำนักข่าวดังระดับโลกรายงานก็เพราะว่า ข่าวที่เกี่ยวกับเมืองไทยอาจจะเกิดขึ้นในเมืองไทย หรือเกิดขึ้นที่ไหนก็ได้ในโลกนี้ ที่คือ news และเมื่อมีข่าวก็ต้องมีความเห็นของแหล่งข่าว (view) ซึ่งอาจจะเห็นหมือนหรือเห็นต่างจากเราก็ได้

3.ทุกวันนี้ แม้เราจะเข้าถึงข่าวได้อย่างมากมาย แต่คุณภาพของข่าวก็ยังน่าเป็นห่วง การ (1)ปิดข่าว, (2)รายงานข่าวเพียงด้านเดียว หรือ(3)บิดเบือนข่าว ยังเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นทุกแห่ง ผู้นำของทุกประเทศ ไม่ว่าจะเป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว กำลังพัฒนา หรือด้อยพัฒนา ต่างก็ทำทั้ง 3 เรื่องนี้ เพื่อหลอกคนในประเทศของตัวเอง และคนประเทศอื่น เพื่อผลประโยชน์ส่วนตน หรือของประเทศตน ยิ่งถ้าบวกการให้ความเห็น (view) ที่มุ่งชักจูงให้คนคล้อยตามเพื่อผลประโยชน์ส่วนตน หรือของประเทศตน ก็ทำให้ชวนรู้สึกว่า การไม่ติดตามข่าวสารการเมืองในประเทศหรือต่างประเทศ อาจจะดีเหมือนกัน เพราะจะได้ไม่เครียดและไม่ถูกหลอก แต่คงไม่ได้หรอกครับ !!

4.เพราะอย่างที่บอกแล้ว ผมยังมองในแง่ดีครับ คือมองว่า ไม่ว่าข่าวในประเทศที่คนมีอำนาจในประเทศหนึ่งๆ หรือข่าวต่างประเทศที่ประเทศมหาอำนาจหนึ่ง ๆ พยายามจะปิดบัง, บิดเบือน, หรือหลอกคนในประเทศ หรือชาวต่างประเทศ แต่สักวันหนึ่งความจริงก็ต้องปรากฏ และจะปรากฏเร็วขึ้นกว่าที่เคยเป็นมา ทั้งนี้เพราะอิทธิพลของเทคโนโลยี โดยเฉพาะอย่างยิ่งก็คืออินเทอร์เน็ตนี่แหละครับ

5.และเมื่อความจริงปรากฏ แนวทางการปกครองประเทศก็จะเปลี่ยนไป คือเปลี่ยนไปตามความต้องการของผู้คนส่วนใหญ่ในประเทศนั้นซึ่งรู้ข้อมูลที่เคยถูกปิดบัง, บิดเบือน, หรือหลอกลวง ผมเชื่อว่านี่คือกระแสโลก ซึ่งได้แสดงรูปธรรมให้เห็นแล้วในหลายประเทศที่มีการประท้วงผู้นำอยู่ขณะนี้

6.สำนักข่าวดังที่ผมยกตัวอย่างในวันนี้ คือ Time, Newsweek, The Economist, USA Today และ Washington Post ก็ไช่ว่าจะบริสุทธิ์ผุดผ่อง บางครั้งก็ถูกวิพากย์วิจารณ์ว่าเสนอข่าวและความเห็นอย่างบิดเบือนผิดเพี้ยน (ผมได้นำลิงค์ของ Wikipedia ซึ่งบางบทความก็มีข้อความวิจารณ์สำนักข่าวเหล่านี้ด้วย แต่ Wikipedia เองก็เคยถูกวิจารณ์ว่า บางครั้งก็ลงบทความที่บิดเบือนผิดเพี้ยนเช่นกัน)

แต่การแก้ปัญหาโดยการไม่ติดตามข่าว คงไม่ใช่วิธีการที่ถูกต้อง ผมว่าวิธีแก้ปัญหาที่เราพอจะทำได้ก็คือ
1)อ่านและฟังข่าวจากหลายแหล่ง
2)ศึกษาภูมิหลังและความเป็นมาของแต่ละประเทศ [ ลิงค์ 1 ลิงค์ 2  ] และ
3)ใช้วิจารณญาณในการรับฟังและเลือกเชื่อ, เลือกไม่เชื่อ,หรือ  เลือกที่จะยังไม่ปักใจในทางใดทางหนึ่ง

ข้อที่น่าสนใจของสำนักข่าวดังที่ผมยกมานี้ น่าจะมีดังต่อไปนี้

1)เขามี database ขนาดใหญ่ให้เราได้สืบค้นย้อนหลังไปนาน ๆ แต่ถ้าเป็นหนังสือพิมพ์ภาษาไทย มักจะมีให้ย้อนหลังไม่เยอะ

2)มีทั้งเนื้อข่าว วีดิโอข่าว ภาพข่าว ให้เราค้น โดยมี Search และ Menu ในหน้าเว็บ ให้ค้นได้อย่างง่ายดาย

3)สำนักข่าวพวกนี้ มักจะมีนักข่าวต่างชาติหรือนักข่าวชาวไทย ประจำอยู่ในประเทศไทย (หรือประเทศใกล้เคียง) เก็บข่าวและส่งไฟล์ไปให้สำนักงานใหญ่เพื่อ post ลงเว็บให้คนทั่วโลกอ่าน คุณภาพของข่าวที่เขารายงาน จะสะท้อนถึงคุณภาพของนักข่าวและมุมมองของเขา ซึ่งเขาอาจจะมีมุมมอง (view)ที่ต่างจากเราก็ได้ นี่เป็นเรื่องธรรมดา เราควรยอมรับได้, แต่เขาไม่ควรรายงานเนื้อข่าว (news) อย่าง ปิดบัง, บิดเบือน, หรือหลอกลวง ซึ่งเราหรือใครก็ยอมรับไม่ได้

ปรากฏการณ์ที่น่าเศร้าซึ่งเกิดขึ้นในหลาย ๆ ประเทศก็คือ มีผู้ปกครองบางประเทศที่ไม่ชอบนักข่าวต่างประเทศ เพราะแสดง view ที่เขาไม่อยากให้แสดง, หรือรายงาน news ที่เขาไม่อยากให้รายงาน แม้จะเป็นเรื่องจริงก็ตาม

การที่ผมชวนท่านผู้อ่านให้พยายามศึกษาภาษาอังกฤษ เพื่ออ่านและฟังข่าวภาษาอังกฤษให้รู้เรื่องก็เพราะว่า
-เราจะได้ฟังหรืออ่าน news ใหม่ ๆเกี่ยวกับเมืองไทยเราเอง ที่ไม่มีในข่าวภาษาไทย
-เราจะได้ฟังหรืออ่าน view เกี่ยวกับเมืองไทย ที่อาจจะต่างไปจากความเห็นที่แสดงในภาษาไทย

ผมว่านี่เป็นสิ่งวิเศษนะครับที่ทักษะภาษาอังกฤษและอินเทอร์เน็ตมีให้แก่เราในโลกยุคนี้

ขอเชิญชมนิตยสารข่าวระดับโลกที่ผมแนะนำได้เลยครับ

http://www.time.com/
http://www.time.com/time/magazine/asia/
บทความที่เกี่ยวข้องใน wikipedia

http://www.newsweek.com/
บทความที่เกี่ยวข้องใน wikipedia

http://www.economist.com/
บทความที่เกี่ยวข้องใน wikipedia

http://www.usatoday.com/
บทความที่เกี่ยวข้องใน wikipedia

www.washingtonpost.com/
บทความที่เกี่ยวข้องใน wikipedia

http://english.aljazeera.net/
บทความที่เกี่ยวข้องใน wikipedia

http://www.cnn.com/
บทความที่เกี่ยวข้องใน wikipedia

http://www.bbc.co.uk/
บทความที่เกี่ยวข้องใน wikipedia

http://www.reuters.com/
บทความที่เกี่ยวข้องใน wikipedia

http://www3.nhk.or.jp/daily/english/
บทความที่เกี่ยวข้องใน wikipedia

สำนักข่าวในประเทศจีน
http://english.news.cn/
http://www.xinhuanet.com/english2010/
บทความที่เกี่ยวข้องใน wikipedia  

http://english.cntv.cn/01/index.shtml
บทความที่เกี่ยวข้องใน wikipedia

หาข่าวจาก Search Engine
http://news.google.com/
http://news.yahoo.com/

พิพัฒน์
GemTriple@gmail.com

ไม่มีความคิดเห็น: