วันศุกร์ที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2552

[1104] ด/ล CD dict: Oxford, Cambridge, NHD

สวัสดีครับ
เมื่ออ่านภาษาอังกฤษจากหน้าจอคอมพิวเตอร์ ไม่ว่าจะขณะต่อเน็ตหรือไม่ได้ต่อเน็ต ผมมักจะเปิดหน้าต่างโปรแกรมดิกชันนารีไว้ด้วย เพราะมันช่วยอำนวยความสะดวกในการแปลศัพท์ และโปรแกรมที่ผมเห็นว่าใช้งานได้สะดวกมาก ๆ คือ
1. ดิกอังกฤษ – ไทย คือโปรแกรม Dict Loy อ่านแนะนำการติดตั้งและใช้งานที่ ลิงค์นี้
2. ดิกอังกฤษ – อังกฤษ คือโปรแกรม wordweb

ข้อดีของโปรแกรมคือ ใช้งานได้โดยไม่ต้องต่อเน็ต เพียงคลิกที่คำศัพท์ก็จะมีหน้าต่างแปลคำศัพท์ผุดขึ้นมาให้เห็น ไม่ต้องเสียเวลาในการเปิดดิก

แต่ถ้าผมต้องการคำแปลศัพท์โดยละเอียด, อ่านคำอธิบายการใช้ศัพท์, ศึกษาประโยคตัวอย่างที่ใช้ศัพท์คำนั้น ฯลฯ ผมก็มีโปรแกรมดิกชันนารียี่ห้อดัง ๆ เช่น Oxford, Longman, COBUILD, Cambridge เป็นต้น ไว้ใช้งาน โปรแกรมพวกนี้มักขายมาพร้อมกับดิกเล่ม และมีเวอร์ชั่นใหม่ ๆ ออกมาเรื่อย ๆ คือปรับปรุงคุณภาพของดิกตัวเองให้ดีกว่าเดิม และให้เหนือกว่าดิกยี่ห้ออื่น เราคนซื้อก็เลยได้ใช้โปรแกรมดิกที่มีคุณภาพสูงขึ้นเรื่อย ๆ น่าใช้มากขึ้นเรื่อย ๆ เช่น นอกจากมีข้อความให้อ่านและสามารถ search ได้อย่างสะดวกกว่าการเปิดพลิกหาศัพท์จากดิกเล่มแล้ว โปรแกรมพวกนี้ยังมีเสียงอ่านคำศัพท์หรืออ่านทั้งประโยคให้ฟัง, มีภาพให้ดู, มีแบบฝึกหัดให้ลองทำพร้อมเฉลย, มีเกมภาษาให้เล่น น่าดึงดูดใจอย่างยิ่งครับ

พูดง่าย ๆ ก็คือ CD Dictionary อำนวยความสะดวกอย่างยิ่งในการศึกษาภาษาอังกฤษ ทั้งในเรื่องศัพท์ การแต่งประโยค การฟังการออกเสียง การใช้คำศัพท์ให้ถูกหลักแกรมมาร์ และการฝึกฝนให้ชำนาญ และแม้ว่าจะมีเว็บมากมายอธิบายการใช้คำศัพท์ มันก็ไม่สะดวกเท่ากับการใช้ CD Dictionary เป็นที่ปรึกษา

แต่ปัญหาหรือข้อหงุดหงิดใจที่ผมพบบ่อย ๆ ก็คือ เนื่องจากเป็นโปรแกรมขนาดใหญ่ ขนาด 600 – 700 MB เมื่อติดตั้งแล้วถ้าคอมฯของท่านกำลังน้อย โปรแกรมอาจจะฉุดให้เครื่องคอมฯของท่านทำงานได้ช้าลง ยิ่งถ้าลงหลายโปรแกรม คอมฯก็ยิ่งอืดมากขึ้น จนหลายครั้งเมื่อใช้ไปได้สักระยะหนึ่ง ผมต้องตัดสินใจถอนการติดตั้ง (หรือ uninstall) CD Dictionary บางโปรแกรมหรือทุกโปรแกรมออก ก็เลยไม่ใช้โปรแกรมดิกขนาดยักษ์ ใช้แต่ขนาดย่อม คือ Dict Loy และ wordweb ดังที่กล่าวแล้ว เพราะแม้ว่าจะให้ข้อมูลที่น้อยกว่า แต่ก็ใช้งานได้สะดวกกว่า และไม่ทำให้เครื่องคอมฯ อืด

เพิ่งไม่กี่วันนี่แหละครับที่ผมทดลองดึงไฟล์เสียงออกจากโปรแกรม CD Dictionary ทำให้โปรแกรมมีขนาดเล็กลงมาก ๆ และผมคิดว่าท่านสามารถลงติดตั้งเพื่อใช้งานได้โดยไม่ทำให้เครื่องคอมฯทำงานอืด และเนื่องจากโปรแกรมมีขนาดเล็กลงมาก จึงไม่ยากนักที่จะดาวน์โหลดไปใช้งาน ทั้งนี้ท่านขาดไป 1 อย่างคือเปิดฟังเสียงไม่ได้ แต่คุณสมบัติอย่างอื่น ๆ ของโปรแกรมยังคงมีให้ท่านใช้อย่างครบถ้วน

โปรแกรม CD Dictionary ชื่อเสียงโด่งดังระดับโลกที่กล่าวมานี้ ผมเคยแนะนำมาแล้ว 1 โปรแกรม คือ COBUILD Dictionary

วันนี้ผมขอแนะนำอีก 5 โปรแกรมคือ
[1] Cambridge Advanced Learner’s Dictionary (ขนาด 99.44 MB)
คลิกดาวน์โหลด
-ในขั้นตอนการติดตั้ง เมื่อถึงหน้า Setup Type ให้ท่านเลือก Modified (เลือกอยู่แล้ว) ท่านไม่สามารถใช้เวอร์ชั่น Full เพราะผมดึงเอาไฟล์เสียงออกแล้ว
-ทุกคำในหน้าต่างดิกเป็นลิงค์ เมื่อคลิกจะแสดงความหมายของคำนั้น

[2] Dictionary Oxford Advanced Genie (ขนาด 14.58 MB) โปรแกรมเป็นหน้าต่างเล็ก ๆ ที่ท่านสามารถดึงไปวางไว้ที่ตำแหน่งใดก็ได้บนหน้าจอ
คลิกดาวน์โหลด
-ในขั้นตอนการติดตั้ง เมื่อถึงหน้า Setup Type ให้ท่านเลือก Normal (เลือกอยู่แล้ว) ท่านไม่สามารถใช้เวอร์ชั่น Full เพราะผมดึงเอาไฟล์เสียงออกแล้ว
-เมื่อเปิดหน้าโปรแกรม Oxford Genie ขึ้นมาแล้ว มีวิธีใช้ดังนี้ (1)ที่ขอบขวาให้ท่านคลิกเครื่องหมาย +/- เพื่อให้ดิกแสดง / ไม่แสดง ประโยคตัวอย่าง (2)ที่ขอบขวาด้านล่าง ให้คลิกสามเหลี่ยมหัวชี้ขึ้น / ลง เพื่อเลื่อนข้อความที่ต้องการอ่าน (3)คลิกปุ่มสีเลืองที่กรอบล่าง เพื่อตั้งค่าต่าง ๆ (4)ทุกคำในหน้าต่างดิกเป็นลิงค์ เมื่อคลิกจะแสดงความหมายของคำนั้น

[3] PopUp New Oxford Dictionary of English
http://dl1.s31.ifile.it/fhganlrm/b00007e8bh.rar
(วิธีใช้:ไฮไลต์ที่คำศัพท์, copy, ศัพท์และความหมายจะปรากฏในหน้าต่างดิก)

[4] Oxford Dictionary 10th Edition
http://rs329.rapidshare.com/files/138709509/Oxford_Dictionary_10th_edition.rar

[5] Newbury House Dictionary (ขนาด 10.3 MB)
คลิกดาวน์โหลด
สำหรับโปรแกรมนี้ เมื่อติดตั้งแล้วอาจเจอข้อความ “This program requires at least 3 MB of free virtual memory to run” ก็ต้องแก้ปัญหาที่คอมฯของท่าน

สุดท้ายนี้ผมอยากจะพูดว่า จากประสบการณ์ในการเป็นคนบ้าดิก มาหลายปี ทำให้ผมได้ข้อสรุปว่า
1. ดิกดี ๆ แม้มีประโยชน์แน่ ๆ แต่ถ้าเราไม่ชอบหรือไม่ถูกโฉลกกับดิกนั้น เราก็ไม่อยากจะใช้และไม่ได้รับประโยชน์จากมัน
2. เราจึงควรผ่านประสบการณ์การใช้ดิกหลาย ๆ เล่ม, หลาย ๆ เว็บ, หลาย ๆ โปรแกรม จนเราเลือกได้อันที่ถูกใจเรามากที่สุด 1 อัน, 2 อัน, หรือ 3 อัน แล้วก็ใช้ประโยชน์จากอันนั้นแหละครับ การเลือกจนได้เจอของที่ถูกใจนี้เป็นเรื่องที่ต้องลงทุนเสียเวลากับมันสักเล็กน้อย แต่ประโยชน์ที่ได้รับคุ้มค่าครับ

พิพัฒน์
GemTriple@gmail.com

ไม่มีความคิดเห็น: