วันเสาร์ที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

[1743] ผลิตภัณฑ์ "เสริม” VS “สั่งเสีย” สุขภาพ

สวัสดีครับ
วันนี้ผมเปิด Yahoo mail และได้รับบทความจาก Reader’s Digest เรื่อง
9 Foods for a Good Mood หรือ อาหาร 9 ชนิดที่ช่วยให้อารมณ์ดี
ที่ลิงค์นี้ http://www.rd.com/slideshows/9-foods-for-a-good-mood/
ซึ่งมีดังต่อไปนี้
1. Canned fish (salmon, sardines, herring, tuna)
2. Cashews
3. Chickpeas
4. Dried crimini mushrooms
5. Extra-dark chocolate
6. Flaxseeds
7. Fortified whole-grain cereals
8. Lentils
9. Zinc-fortified cereals
และมีบทความประกอบอีก 5 บทความ อ่านได้ความรู้และฝึก reading skill ด้วย
ขอเชิญครับ...
Eat some happy fish.
Boost your B6.
Have a hearty breakfast cereal.
Toss cashews on those bran flakes.
Savor a chocolate mood-lifter.

ขอแถมนิดนึงนะครับ
ตอนที่ผมอ่านบทความและต้องการดิกชันนารีเป็นตัวช่วย ถ้าขี้เกียจนึกนาน ผมจะใช้ 2 เว็บนี้
-ดิกอังกฤษ-อังกฤษ: http://www.onelook.com/
-ดิกอังกฤษ-ไทย และ ไทย-อังกฤษ: http://dict.longdo.com/    
เพราะมีศัพท์รวมไว้เยอะ ไม่ต้องไปหามาก แต่ตอนที่อ่านบทความเรื่อง 9 Foods for a Good Mood ผมบังเอิญไปเจอลิงค์ของ BBC ลิงค์นี้
-Ingredients A to Z
http://www.bbc.co.uk/food/ingredients
ซึ่งรวบรวมของที่ใช้เป็นเครื่องปรุงอาหารไว้มากมาย มีภาพประกอบด้วย น่าทำ Favorites หรือ Bookmarks ไว้นะครับ

และผมลองเข้าไปหาโดยใช้ Google ว่าในเว็บภาษาไทยได้พูดอะไรเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้บ้างไหม โดยพิมพ์คำว่า อาหารช่วยให้อารมณ์ดี ลงไป ปรากฏว่ามีบทความเยอะแยะเลยครับเกี่ยวกับเรื่องนี้ เชิญคลิกอ่านดูได้เลยครับ

ท่านผู้อ่านครับ เกี่ยวกับเรื่องบทความที่ให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องสุขภาพที่ปรากฏในอินเทอร์เน็ตนี่นะครับ ผมขอแสดงความเห็นนิดนึงนะครับ

[1] ผมคิดว่าโดยทั่วไป เราต้องการบทความที่ให้ข้อมูลทางด้านอาหารและสุขภาพที่ถูกต้องและเป็นกลาง คือให้ข้อมูลทางวิชาการจริง ๆ เท่าที่นึกออกขณะนี้ ผมขอเสนอ 2 เว็บก่อน คือ
เว็บของ Reader’s Digest
http://www.rd.com/health/
http://www.rd.com/food/
เว็บสารานุกรมเสรี Wikipedia
http://en.wikipedia.org/
http://simple.wikipedia.org/

[2] เรื่องที่ต้องระวังก็คือ มีเว็บมากมายแทรกการโฆษณาเข้าไปกับวิชาการ ผมคิดว่าท่านผู้อ่านก็คงเคยอ่านพบมาบ้าง  ทั้งสมุนไพรของไทย จีน หรืออาจจะมาจากที่ไกล ๆ เช่น จาก อเมริกา แอฟริกา มีสรรพคุณทางยา หรือทางโภชนาการ ดีวิเศษอย่างนั้นอย่างนี้

เขาก็จะเอาบทความทางวิชาการ หรืองานวิจัย จากมหาวิทยาลัย หรือสถาบันที่มีชื่อเสียงที่นั่นที่นี่ มาอ้างว่า ถ้ากินเข้าไปแล้ว จะขจัดหรือบรรเทาอาการของโรคนั้นโรคนี้ หรือเสริมสมรรถภาพของร่างกายอย่างนั้นอย่างนี้ พูดง่าย ๆ ก็คือถ้าได้กินเข้าไปจะกลายเป็น superman หรือ superwoman ในเวลาไม่นาน และตบท้ายว่า... ต้องเป็นของที่ผลิตจากบริษัท หรือ “สถาบัน” ของฉันเท่านั้น จึงจะเป็นของที่มีคุณภาพมากที่สุด ปลอดภัยที่สุด คุ้มค่าที่สุด และอีกหลาย ๆ ที่สุด อย่าได้ไปหลงเชื่อคำโฆษณาของที่อื่นเลย ให้หลงเชื่อคำโฆษณาของบริษัทฉันแห่งเดียวเท่านั้น ท่านผู้อ่านที่เคยถูกพายุคำโฆษณาเช่นนี้พัดกระหน่ำ มีความรู้สึกอย่างไรบ้างครับ

จริง ๆ แล้วใครจะซื้อสินค้าของบริษัทใดผมก็ไม่คัดค้านหรอกครับ เพียงแต่มีคำถาม 2-3 ข้อ ที่คิดว่าเราน่าจะได้คำตอบก่อนซื้อ

-เรากินอาหารธรรมชาติ น่าจะดีกว่ากินสารสกัด (extract)หรือไม่ ? บริษัทพวกนี้จะพยายามบอกเราว่า กินสารสกัด (จากบริษัทเขา)ดีกว่า เพราะได้สารครบกว่าทั้งปริมาณและคุณภาพ ไม่อย่างนั้นต้องกินผักเป็นเข่ง ๆ นี่มันเว่อไปหน่อยหรือเปล่าครับ ผมคิดว่าเราต้องยั้งใจหน่อยนะครับ เพราะคำว่า “สรรพคุณ” หรือ มีคุณค่าพร้อมสรรพนี้ มันอาจจะเป็น “สรรพโทษ” ก็ได้ ใครจะรู้

-อาหารเสริม หรือผลิตภัณฑ์เสริมสุขภาพที่เขาโฆษณานี้มันปลอดภัยแน่หรือ? บริษัทจะบอกว่า ปลอดภัยแน่ ๆ ปลอดภัยกว่ากินอาหารธรรมชาติซะอีก เช่น ถ้ากินผักธรรมชาติ ก็ต้องเสี่ยงกับสารฆ่าแมลงหรือปุ๋ยเคมีที่คนปลูกใช้ แต่ถ้ากินผลิตภัณฑ์เสริมสุขภาพจากบริษัทฉันก็หายห่วง เพราะบริษัทของฉันไม่ได้ใช้มัน บอกตรง ๆ ครับว่าผมไม่ค่อยแน่ใจ ว่าทุกบริษัทจะมีมาตรฐานอย่างนี้ แม้จะเป็นบริษัทโด่งดังก็ตาม ถ้าใช้คำว่าไม่เชื่ออาจจะรุนแรงเกินไป

-สิ่งที่บริษัทพวกนี้ต้องทำให้สำเร็จก็คือ ทำให้ผู้บริโภค เกิด “ความอยาก” และ “ความกลัว” อยากได้ประโยชน์ต่อร่างกายตามสรรพคุณที่เขาโฆษณา และกลัวว่าร่างกายจะทรุดโทรมถ้าไม่ซื้อสินค้านั้นมากิน ผู้บริโภคหลายคนถูกชักจูงด้วยความกลัว แต่บางคนก็ถูกชักจูงด้วยความอยาก แต่บางคนโดน 2 อย่างเลย คือ เคลิ้มไปเพราะความอยากและความกลัวที่เขาบรรจงพูดใส่เข้าไปในสมองเรา

ข้อสรุปง่าย ๆ ของผมก็คือ ถ้าเราจะซื้อ ก็ขอให้ตัดสินใจซื้อโดย “ปลอด” จาก ความอยากและความกลัว และเราจะ “ปลอดภัย” , ให้ใช้วิจารณญาณมาก ๆ เพราะสิ่งที่เราเสียไปอาจจะไม่ใช่แค่เงิน แต่อาจจะเป็นสุขภาพที่ดีอยู่แล้ว แต่ต้อง ทรุด ไปเพราะเสี่ยงไปกินผลิตภัณฑ์ “เสริม” สุขภาพ ถ้าท่านอ่านประโยคนี้แล้วรู้สึกกลัวและไม่กล้าซื้อ ก็ขอให้ทราบว่า บริษัทเขาก็จะพยายามสร้างความกลัวทำนองนี้แหละครับ แต่ทำให้ท่านกลัวและซื้อ ส่วน “ความอยาก” ก็ถูกนำมาใช้ในทำนองเดียวกันนี่แหละครับ โดยผลสุดท้ายก็คือ ท่านควักเงินซื้อ หรือ ควักบัตรเครดิตให้เขารูดเงิน

วันนี้ผมเริ่มต้นด้วยเรื่อง อาหารช่วยให้อารมณ์ดี พูดไปพูดมาอารมณ์ชักจะไม่ค่อยดีแล้วล่ะครับ ต้องกลับขึ้นไปอ่านทบทวนซะหน่อย เพื่อดูว่ามีอาหารธรรมชาติอะไรบ้างที่ช่วยให้อารมณ์ดี คงไม่กล้าซื้อผลิตภัณฑ์เสริมสุขภาพ มากินให้อารมณ์ดีหรอกครับ แม้ว่าอยากจะมีอารมณ์ดีก็ตาม

พิพัฒน์
GemTRiple@gmail.com

1 ความคิดเห็น:

Usman Ahmad กล่าวว่า...
ความคิดเห็นนี้ถูกผู้เขียนลบ