สวัสดีครับ
เวลาอ่านหนังสือพิมพ์ภาษาอังกฤษ เช่น Bangkok Post, The Nation หรือ Student Weekly และก็อ่านไม่ค่อยรู้เรื่องเพราะติดศัพท์ พยายามเดาแล้วก็ยังไม่ค่อยรู้เรื่องก็เลยต้องเปิดดิก, ศัพท์คำหนึ่ง ๆ อาจจะมีหลายความหมายก็ต้องเลือกความหมายที่คิดว่าเข้ากับเนื้อเรื่องทากที่สุด, และสุดท้ายก็คือการตีความเพื่อให้อ่านรู้เรื่อง
ขั้นตอนที่พูดมานี้พูดง่ายแต่อาจจะทำยากถ้ายังไม่คุ้นเคยกับการอ่าน ตัวช่วยสำหรับนักอ่านข่าวภาษาอังกฤษมือใหม่ก็คือ ศึกษาเว็บที่เขาแปลข่าวภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทยให้ดู แต่ที่ต้องกำกับตัวเองให้ดีก็คือ ต้องแปลด้วยตัวเองก่อนจึงค่อยดูที่เขาแปลเฉลยไว้ให้ เพราะถ้าไม่หัดแปลเองเราจะไม่รู้ว่าจุดอ่อนที่เราติดขัดอยู่ตรงไหน เพราะฉะนั้น ใน 3 ขั้นตอนนี้ คือ
(1) อ่าน
(2) แปลด้วยตัวเองให้สุดความสามารถ อาจจะเปิดดิกหรือไม่เปิดดิกก็แล้วแต่ท่าน
(3) ดูเฉลยที่เขาแปลไว้
ถ้าท่านทำข้อ (1) และข้ามไปข้อ (3) โดยไม่ทำข้อ (2) ท่านจะพัฒนา Reading Skill หรือทักษะในการอ่านของท่านได้ช้าเกินไป เพราะอะไร? คำตอบก็คือ
[1] ศัพท์หลายคำเป็นศัพท์ที่ท่านเคยผ่านมาแล้ว แต่ท่านก็อาจจะ delete ลงถังขยะ หรือ Recycle Bin ไปแล้วเช่นกัน แต่มันก็ยังอยู่ในนั้นแหละครับ ท่านจะต้องพยายาม Restore หรือปลุกมันโดยการดูจากข้อความรอบข้างที่เรียกว่า context (ศัพท์หรู ๆ คือ “บริบท”)โดยการเดา... เดา... และ เดา.....ความหมาย และแม้ศัพท์ที่ท่านแน่ใจว่าท่านไม่เคยเจอมาก่อนเลย ท่านก็ต้องใช้วิธีนี้เช่นกัน คือ เดา... เดา... และ เดา..... จากบริบท ถ้าเนื้อหาที่ท่านเดาไม่สำคัญนัก ท่านอาจจะผ่าน ๆ ไปก่อนก็ได้ คือไม่จำเป็นต้องเข้าใจ 100 % ประเด็นที่ผมต้องการบอกในที่นี้ก็คือ ถ้าท่านไม่ฝึกเดาหรือในที่นี้ก็คือการรื้อฟื้นความทรงจำ มันก็จะเข้าอีหรอบเดิมทุกครั้ง คือศัพท์จะเหมือนคนที่ “ผ่านมา... ผ่านไป... แต่ไม่เคยหยุดพัก” อยู่ในสมองของท่าน การพยายามเดา... เดา... และ เดา..... จากบริบท คือการกระชากศัพท์ให้กลับมา เรื่องนี้ท่านไม่ทำไม่ได้ ต้องทำครับ นี่คือการเดาโดยไม่ต้องเปิดดิก
[2] คราวนี้มาถึงขั้นที่ 2 คือศัพท์คำนั้นสำคัญมาก ถ้าไม่รู้หรือรู้ผิด ๆ จะทำให้อ่านไม่เข้าใจ และเดายังไงก็เดาไม่ออก ในกรณีนี้ท่านต้องเปิดดิก ปัญหาก็คือศัพท์คำหนึ่งมีหลายความหมาย
ท่านก็ต้องเลือกความหมายที่คิดว่าเข้ากับเนื้อเรื่องมากที่สุด, การเลือกนี้ก็คือการเดาอีกเช่นกัน แต่อาจจะเดาได้ง่ายกว่าการเดาในข้อ [1] นี่คือการเดาโดยเปิดดิก
[3] เมื่อเลือกได้ความหมายที่แน่ใจแล้ว ก็กลับไปอ่านประโยคที่ค้างไว้อีกครั้ง ดูซิว่าเข้าใจไหม นี่คือการ “ตีความ” ถึงนาทีนี้ไม่ว่าท่านจะแน่ใจในสิ่งที่ท่านอ่านถึง 100 % หรือไม่ก็ตาม ก็ต้องปรบมือให้ตัวเอง 1 ครั้งที่มีวินัยในการอ่าน เพราะถ้าท่านไม่ยอมรักษาวินัยเหล็กเช่นนี้ สมองส่วนที่ใช้ในการตีความ (หรือก็คือการ ‘เดา’นั่นแหละครับ) ก็จะไม่แข็งแรง ทำให้อ่านไม่ค่อยรู้เรื่อง
[4] การอ่านไม่รู้เรื่องบางทีก็ไม่ใช่เรื่องของศัพท์ แต่เป็นเรื่องของความไม่ชำนาญในการวิเคราะห์โครงสร้างของประโยค เช่น ไม่รู้ว่าอะไรเป็นกริยาหลัก ไม่รู้ว่าอะไรขยายอะไร เพราะมันขยายกันไปขยายกันมาจนอีรุงตุงนังไปหมด ถ้าท่านยอมลงทุนวิเคราะห์ส่วนประกอบของประโยคไว้บ้าง ครั้งหน้าต่อให้เจอประโยคปราบเซียนยังไงท่านก็แปลได้ เพราะท่านไม่ใช่เซียนเด็ก ๆ ที่จะถูกรังแกด้วยประโยคง่าย ๆ อย่างนี้ เพราะฉะนั้นท่านจะต้องฟิตให้ตัวเองเป็นเซียนตัวจริง
ทั้งหมดนี้คือเหตุผลอย่างน้อย 4 ข้อที่ท่านจะต้องแปลด้วยตัวเองให้สุดความสามารถ ก่อนที่จะดูคำแปลภาษาไทยที่เขามีไว้ให้
เว็บข้างล่างนี้เป็นข่าวภาษาอังกฤษที่มีคำแปลภาษาไทยแสดงไว้ให้ เป็นบทเรียนที่ดีมาก ๆ เลยครับที่จะช่วยท่านพัฒนาทักษะในการอ่านหรือ reading skill โดยการอ่านหนังสือพิมพ์ฝรั่ง และท้ายบทความนี้ผมได้รวบรวมคำแนะนำที่เคยเขียนไว้ก่อนหน้านี้ น่าจะเป็นประโยชน์ต่อบางท่านบ้างไม่มากก็น้อย
เชิญครับ...
เว็บที่ 1: Bangkok Post
[199] เรียนแปลข่าวจากนักแปลชั้นครู (แจกไฟล์)
เว็บที่ 2: ชมรมค่านิยมเพื่อสร้างชาติ
http://www.buildingthailand.net/
http://www.buildingthailand.net/content/category/4/16/27/
(ขอบคุณคุณ DA มากครับที่แนะนำเว็บนี้)
เว็บที่ 3: LANGHUB.COM
http://thai.langhub.com/component/option,com_joomap/Itemid,50/lang,thai/
เว็บที่ 4: Bangkok Post แปลข่าว คำต่อคำ โดยการวางเมาส์บนคำศัพท์
http://dict.longdo.com/popthai-url.php?service=popthai&url=http%3A%2F%2Fwww.bangkokpost.com%2F
แถม: Useful Links
http://www.seventranslation.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=10158
ศึกษาเพิ่มเติม
[179]สอนเทคนิคการเดาความหมายของศัพท์
[175] เทคนิคการอ่าน นสพ.ฝรั่งให้รู้เรื่อง (ภาค 2)
[344]วิธีอ่านเพื่อจับ main idea (ใจความหลัก)ให้ได้
[173] แนะนำเทคนิคการฝึกอ่าน นสพ.ภาษาอังกฤษ
พิพัฒน์
pptstn@yahoo.com
วันพฤหัสบดีที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2552
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
1 ความคิดเห็น:
ขอบคุณครับ
แสดงความคิดเห็น