ที่นี่ http://www.ozdic.com/
สวัสดีครับ
ผมคิดว่า collocation นี่คงจะมีทุกภาษานั่นแหละครับ ซึ่งก็คือการใช้คำนั้นคำนี้ด้วยกัน ถ้ามีใครใช้แบบอื่นที่คนทั่วไปเขาไม่ใช้กัน แม้จะอ่านหรือฟังเข้าใจ ก็จะรู้สึกแปลก ๆ ผมขอยกตัวอย่างข่าวจากหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ วันที่ 8 ธันวาคม 2552 ข้างล่างนี้
ขยายจัดงานในหลวงถึงวันที่13ธ.ค.รัฐบาลประกาศเลื่อนจัดงานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวไปจนถึงวันที่ 13 ธันวาคม แต่เว้นให้หยุดในวันที่ 10 ธันวาคมเพื่อเปิดทางกลุ่มเสื้อแดงชุมนุมวันรัฐธรรมนูญ ...นายกรณ์ จาติกวณิช รมว.คลัง ในฐานะประธานการจัดงานเฉลิมพระเกียรติพระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภายใต้แนวคิด “ความสุขของคนไทย ใต้แสงพระบารมี” เปิดเผยว่า รัฐบาลจะขยายระยะเวลาการจัดงานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 82 พรรษา 5 ธันวาคม 2552 บนถนนแห่งความสุขไปจนถึงวันที่ 13 ธ.ค.นี้ เพื่อเป็นการตอบรับกระแสการเรียกร้องของประชาชนในการเข้าร่วมงาน โดยจะเปิดโอกาสให้ประชาชนทุกภาคส่วนร่วมชื่นชมพระบารมี และ ร่วมสร้างประวัติศาสตร์หน้าใหม่อีกครั้งบนถนนราชดำเนินกลางสำหรับการขยายระยะเวลาจัดงานในครั้งนี้ ถือเป็นครั้งที่ 2 หลังจากรัฐบาลได้ขยายเวลามาครั้งหนึ่งแล้ว จากเดิมที่ต้องสิ้นสุดงานในวันที่ 7 ธ.ค.ก็ได้ขยายระยะเวลามาเป็นวันที่ 9 ธ.ค. แต่เนื่องจากวันที่ 10 ธ.ค.นี้ ซึ่งเป็นวันรัฐธรรมนูญ ทางกลุ่มเสื้อแดงยืนยันที่จะมีการชุมนุมในวันดังกล่าว รัฐบาลจึงกำหนดให้ไม่มีการจัดงานในวันนั้น เพื่อไม่ให้เสียบรรยากาศของประชาชนที่เข้าร่วมงาน ซึ่งพิจารณาแล้วว่า อาจจะไม่เหมาะสมนักหากจะมีการชุมนุมพร้อมกับการจัดงานเฉลิมฉลอง พร้อมทั้งมั่นใจว่ากลุ่มเสื้อแดงคงจะไม่ทำให้การชุมนุมยืดเยื้อ เพราะไม่มีเหตุผลในการชุมนุมแล้ว ส่วนการดูแลรักษาความปลอดภัยภายในบริเวณการจัดงานนั้น ขณะนี้ได้ประสานงานกับเจ้าหน้าที่ตำรวจให้ดูแลความปลอดภัยทรัพย์สินของราชการในส่วนของการจัดงานเรียบร้อยแล้ว
ข่าวข้างบนนี้ ถ้าเขียนอย่างข้างล่างนี้ (สังเกตตัวแดง) ท่านจะรู้สึกอย่างไรรัฐบาลประกาศผลักออกไปจัดงานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวไปจนถึงวันที่ 13 ธันวาคม แต่เว้นให้หยุดในวันที่ 10 ธันวาคมเพื่อเปิดทางกลุ่มเสื้อแดงชุมนุมวันรัฐธรรมนูญ ...นายกรณ์ จาติกวณิช รมว.คลัง ในฐานะประธานการทำงานเฉลิมพระเกียรติพระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภายในขอบการคิด “ความสุขของคนไทย ใต้แสงพระบารมี” เปิดเผยว่า รัฐบาลจะขยายจำนวนเวลาการจัดงานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 82 พรรษา 5 ธันวาคม 2552 บนถนนแห่งความสุขไปจนถึงวันที่ 13 ธ.ค.นี้ เพื่อเป็นการตอบรับคลื่นการร้องเรียกของประชาชนในการเข้าร่วมงาน โดยจะแฉโอกาสให้ประชาชนทุกภาคส่วนร่วมชื่นชมพระบารมี และ ร่วมทำประวัติศาสตร์เล่มใหม่อีกครั้งบนถนนราชดำเนินกลางสำหรับการขยายระยะเวลาจัดงานในครั้งนี้ ถือเป็นครั้งที่ 2 หลังจากรัฐบาลได้ขยายเวลามาครั้งหนึ่งแล้ว จากเดิมที่ต้องสิ้นสุดงานในวันที่ 7 ธ.ค.ก็ได้ขยายระยะเวลามาเป็นวันที่ 9 ธ.ค. แต่เนื่องจากวันที่ 10 ธ.ค.นี้ ซึ่งเป็นวันรัฐธรรมนูญ ทางกลุ่มเสื้อแดงยืนยันที่จะมีการชุมนุมในวันดังกล่าว รัฐบาลจึงกำหนดให้ไม่มีการจัดงานในวันนั้น เพื่อไม่ให้เสียอารมณ์ของประชาชนที่เข้าร่วมงาน ซึ่งพิจารณาแล้วว่า อาจจะไม่เหมาะสมนักหากจะมีการชุมนุมพร้อมกับการจัดงานเฉลิมฉลอง พร้อมทั้งมั่นใจว่ากลุ่มเสื้อแดงคงจะไม่ทำให้การชุมนุมยืดเยื้อ เพราะไม่มีเหตุผลในการชุมนุมแล้ว ส่วนการถนอมความปลอดภัยภายในบริเวณการจัดงานนั้น ขณะนี้ได้ติดต่องานกับเจ้าหน้าที่ตำรวจให้ดูแลความปลอดภัยทรัพย์สินของราชการในส่วนของการจัดงานเรียบร้อยแล้ว
ผมเดาว่า ท่านผู้อ่านจะรู้สึกว่าข่าวข้างล่างนี้เขียนแปลก ๆ
ในภาษาอังกฤษก็เช่นเดียวกันครับ เขาก็มี collocation ของเขา ถ้าใครพูดหรือเขียนผิดจากนี้ คนอ่านหรือคนฟังก็จะรู้สึกแปลก ๆ เช่นกัน
แต่ในเรื่องนี้ผมมีความเห็นนิดหน่อยอย่างนี้ครับ
1.ผมเห็นว่า การใช้ภาษาเป็นเรื่องของการ จดจำ-เลียนแบบ-สร้างสรรค์ เพราะฉะนั้นการอ่านและฟังมาก ๆ จะทำให้เราเห็นการใช้ภาษาของเขา หลังจากผ่านการจดจำและเลียนแบบแล้ว เราก็จะสามารถสร้างสรรค์ภาษาในสไตล์ของเราเอง เพราะฉะนั้น สำหรับคนไทยที่เรียนภาษาอังกฤษ การอ่านและฟังมาก ๆจึงมีประโยชน์อย่างยิ่ง ซึ่งแม้จะอยู่เมืองไทยก็เหมือนได้ไปเรียนภาษาอังกฤษที่เมืองนอก ส่วนคนที่ไปอยู่เมืองนอกซะอีก ถ้าไม่ค่อยได้อ่านภาษาอังกฤษ และไม่ค่อยได้พูดคุยบ่อย ๆ ก็คงไม่สามารถใช้ภาษาได้เป็นธรรมชาติอย่างฝรั่งหรอกครับ แถมเมื่อกลับมาเมืองไทยอาจจะเครียดหรือหงุดหงิดก็ได้เพราะถูกคนอื่นคาดหวังให้ต้องเก่งอังกฤษ
การจะเขียนและพูดให้ถูกต้องตาม collocation ของฝรั่ง จึงต้องเริ่มด้วยการรับเข้ามามาก ๆ โดยการอ่านและฟัง
2.แต่เพียงแค่อ่านและฟังยังไม่พอครับ ต้องก้าวไปอีก 1 ก้าว คือ ทำให้การอ่านกลายเป็นการเขียนด้วยมือของตัวเอง และทำให้การฟังเป็นการพูดด้วยปากของตัวเอง และตรงนี้แหละครับที่ผมขอบอกว่าคนไทยไปกันไม่ค่อยรอด เพราะคนไทยขี้อายมากเกินไปจนไม่กล้าพูดและไม่กล้าเขียน ก็เลยไม่ได้ฝึก ไม่ผ่านการลองผิดซึ่งจะช่วยให้เราค่อย ๆ จำได้ไม่ทำผิดอีก, ไม่ผ่านการลองถูกซึ่งจะช่วยให้เรามั่นใจและทำถูกซ้ำอีกจนกลายเป็นความชำนาญ, เราไม่อยากให้ตัวเองต้องลองผิด-แต่ต้องการลองถูกเพียงอย่างเดียว ซึ่งมันเป็นไปไม่ได้หรอกครับ มันต้องไปด้วยกันทั้งถูกและผิด และเมื่อฝึกไปเรื่อย ๆ ผิดก็จะน้อยลง ถูกก็จะมากขึ้น เพราะฉะนั้น มีอยู่วิธีเดียวเท่านั้นแหละครับที่จะทำให้เราไม่ต้องเขียนผิด-พูดผิด คือเราต้องรู้ว่าตัวเองเขียนผิด-พูดผิดตรงไหน ก็แก้ไขตรงนั้นด้วยตัวเอง ถ้าอายไม่กล้าเรียนรู้ความผิดของตัวเองโดยการเขียนและพูดออกมา ก็ยากครับที่จะเขียนได้ถูกหรือพูดได้ถูก
พยัญชนะในภาษาไทย ถ(ถูก) มาก่อน ผ(ผิด) และพยัญชนะในภาษาอังกฤษ r(right) มาก่อน w(wrong) แต่ในโลกของการเรียนภาษา หลาย ๆ ครั้ง เราต้องยอมที่จะให้ ผ(ผิด) มาก่อน ถ(ถูก) และ w(wrong) มาก่อน r(right) ขืนไม่ยอมให้ตัวเองผิดบ้าง ก็จะไม่ได้ฝึก และเขียนไม่เป็น – พูดไม่เป็นสักที
การจะเขียนและพูดให้ถูกต้องตาม collocation ของฝรั่ง จึงต้องยอมผิด และเรียนรู้จากความผิดของตัวเอง เพื่อจะได้ไม่ต้องทำผิดอีก
และวันนี้ผมมีโปรแกรม Oxford Collocations Dictionary มาให้ท่านดาวน์โหลดเพื่อนำเอาไปใช้เป็นคู่มืออ้างอิงหรือสอบถามเพื่อให้แน่ใจว่าต้องใช้อย่างไรจึงจะถูกต้อง เช่น
-verb ตัวนี้ มี preposition, adverb, หรือ noun (ที่ทำหน้าที่เป็นกรรม) อะไรบ้างที่สามารถนำมาต่อท้ายได้
-adjective ตัวนี้ สามารถวางไว้หน้าคำนามอะไรบ้าง เพื่อทำหน้าที่ขยาย
เป็นต้น
แต่ไม่ว่า โปรแกรม Oxford Collocations Dictionary จะเป็นคู่มืออ้างอิงหรือที่ปรึกษาที่ดีวิเศษเพียงใดก็ตาม เราก็ต้องฝึก 2 ข้อข้างบนอญุ่นั่นเอง คือ
(1) ฝึกอ่าน – ฝึกเขียน มาก ๆ และพยายามจดจำ – เลียนแบบ – สร้างสรรค์
(2) ฝึกเขียน – ฝึกพูด อย่างไม่อาย และพยายามเรียนให้รู้จากการลองผิด – ลองถูก ของตัวเอง
เอาละครับ ผมชักจะพูดมากเกินไปซะแล้ว เชิญดาวน์โหลด โปรแกรม Oxford Collocations Dictionary ได้เลยครับ
คลิก Oxford_Collocations_Dictionary.zip
code ตอนแตกไฟล์ zip คือ englishtips.org
ศึกษาเพิ่มเติม:
(1) Dictionary online หรือ database
พิมพ์คำศัพท์ลงไปเพื่อหาวลีหรือประโยคตัวอย่าง ซึ่งก็คือศึกษาการใช้ภาษาให้สอดคล้องกับ collocation นั่นเอง
A-http://www.natcorp.ox.ac.uk/
B-http://new.wordsmyth.net/?mode=rs
[1.พิมพ์คำศัพท์ในช่อง Search for entries that contain 2. ติ๊กเลือก Word(s) + Forms 3.ติ๊ก Example 4.คลิก Perform Search]
C-http://www.jukuu.com/
D-http://eedic.naver.com/
[1.พิมพ์คำศัพท์ 2.กด Enter 3.คลิก Example]
E-http://sara.natcorp.ox.ac.uk/lookup.html
F-http://www.edict.com.hk/concordance/WWWAssocWords.htm
G-http://www.lextutor.ca/concordancers/concord_e.html
(2) หัวข้อที่ผมเคยพูดเกี่ยวกับ collocation ในบล็อกนี้ คลิก
พิพัฒน์
GemTriple@gmail.com
9 ความคิดเห็น:
a lot of thank you
ขอบคุณคุณพิพัฒน์ มาก ๆ เช่นกันคะ สำหรับคลังข้อมูลที่มอบให้ ได้download collocation
http://www.4shared.com/file/168616157/1a9d6d13/Oxford_Collocations_Dictionary.html
ไปได้ ดีใจแทบแย่ เพราะกว่าจะdownload ได้ ใช้ความพยายามหลายที พอได้ปรากฎว่าติด passwordคะ รบกวนช่วยบอกหน่อยได้ไหมคะ
ช่วยตอบหน่อยนะครับ ว่า password englishtips.org ใช้ได้หรือเปล่า
พิพัฒน์ - blogger
เรียนคุณพิพัฒน์
ได้ลองใช้password enlishtips.org ตั้งแต่แรกแล้วคะ แต่ใช้ไม่ได้คะ
ถาม:ได้ลองใช้password enlishtips.org ตั้งแต่แรกแล้วคะ แต่ใช้ไม่ได้คะ
ตอบ:คุณดาวน์โหลดจากลิงค์นี้ใช่ไหมครับ หรือว่าลิงค์อื่น ถ้าเป็นลิงค์นี้ผมขอรับรองว่า ลิงค์นี้ดาวน์โหลดได้ เว้นแต่ดาวน์โหลดไม่ครบ และตอนแตกไฟล์ก็ไม่ต้องใช้ password ด้วยซ้ำ
http://www.4shared.com/file/168616157/1a9d6d13/Oxford_Collocations_Dictionary.html
พิพัฒน์-blogger
จะลองดาวน์โหลดใหม่คะ ขอบพระคุณนะคะที่ช่วยตอบให้
กำลังหาโปรแกรมนี้อยู่พอดี ขอบพระคุณที่นำมาแบ่งปันนะคะ และเว็บต่าง ๆ ที่แนะนำมาก็เป็นประโยชน์มากเลยค่ะ
จะใช้ online ก็ได้ครับ ที่นี่
www.lixiaolai.com/ocd
ขอบคุณค่ะ
แสดงความคิดเห็น