วันเสาร์ที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2551

[819]ดาวน์โหลดไฟล์ Encyclopedia ฟรี ที่น่าใช้มาก ๆ

เพิ่ม 12 พย 52:
Britannica 2010 เป็น encyclopedia ฉบับปี 2010 ที่มีเนื้อหาสมบูรณ์มากครับ

สวัสดีครับ
ตัวเลขที่มีคนชอบอ้างบ่อย ๆ ว่าคนไทยอ่านหนังสือปีละไม่ถึง 10 บรรทัดนั้น ไม่ว่าจะจริงหรือไม่ก็ตาม แต่เหมารวม ๆ ก็ต้องพูดว่า คนไทยเราอ่านหนังสือน้อย... น้อยกว่าคนชาติอื่นอีกหลายชาติ

ผมไม่อยากจะด่วนสรุปว่านี่เป็นเพราะคนไทยไม่มีนิสัยรักการอ่าน แต่สาเหตุส่วนหนึ่งน่าจะเพราะว่า เมื่อมองภาพรวมทั้งประเทศโดยเฉพาะอย่างยิ่งในต่างจังหวัด เรามีแหล่งหนังสือดี ๆให้ประชาชน (ผมหมายถึงห้องสมุด) น้อยเกินไป น้อยทั้งปริมาณและคุณภาพ คนไทยส่วนใหญ่ก็เลยอ่านแค่หนังสือพิมพ์รายวันเท่านั้น

แต่เมื่อเราเข้าสู่ยุคอินเตอร์เน็ต ผมว่าตัวเลข 10 บรรทัดที่อ้างกันข้างบนน่าจะเปลี่ยนไป คนไทยโดยเฉลี่ยต้องอ่านหนังสือมากขึ้นแน่นอน

เมื่อเราอยากอ่านอะไรสักเรื่องหนึ่ง เราก็ไปที่ http://www.google.com/ พิมพ์คำที่ต้องการค้นหาลงไปให้ Mr. Goo ช่วยหาให้ แต่เรื่องที่เราต้องยอมรับก็คือ ความรู้ที่มีให้เราอ่านในอินเตอร์เน็ตนี้มีการโฆษณาสินค้าแทรกอยู่มากมาย บางครั้งต้องหากันนานทีเดียวกว่าจะพบสิ่งที่ต้องการจะอ่าน

วิธีหนึ่งที่จะแก้ปัญหานี้ก็คือ เราตรงไปยังเว็บซึ่งเป็นแหล่งความรู้โดยตรง ก็คือเว็บพวกสารานุกรม หรือ encyclopedia นั่นเอง ผมเคยรวมรวมไว้แล้ว ทั้งสารานุกรมภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
[212] อ่านฟรี... สารานุกรมภาษาไทย หลายเว็บ
[244] อ่านฟรี... สารานุกรมภาษาอังกฤษ หลายเว็บ

เมื่อพูดถึงสารานุกรม ผมว่าคนไทยหลายคนอาจจะมีภาพในแง่ลบเกี่ยวกับหนังสือประเภทนี้ คือเห็นว่าเป็นหนังสือที่หนัก อ่านแล้วไม่สนุก ชวนปวดหัวและน่าเบื่อ สมัยก่อนตอนที่ยังเรียนอยู่มหาวิทยาลัยซึ่งยังไม่มีอินเตอร์เน็ตใช้ มีสารานุกรมหรือ encyclopedia 2 ยี่ห้อซึ่งผมเข้าไปเปิดพลิกอ่านดูเป็นครั้งคราว คือ Britannica (ค่ายประเทศอังกฤษ) และ Americana (ค่ายประเทศสหรัฐอเมริกา) ซึ่งเป็นแหล่งขุมความรู้ที่ยิ่งใหญ่และอ่านได้อย่างน่าเบื่อน่านับถือยิ่งนัก ตอนนั้นผมมีความคิดว่า คนไทยเราน่าจะปลูกฝังให้เด็กได้มีนิสัยที่จะหาความรู้จากสารานุกรม หรือ encyclopedia ไว้บ้าง แต่พอเห็นสไตล์หนังสือ Britannica และ Americana ก็รู้สึกว่าไม่ไหวแน่ แค่เห็นหน้าปกยังไม่ทันเปิดเข้าไปข้างในก็น่ากลัวซะแล้ว และพอเปิดอ่านจริง ๆ ก็อยากจะปิดอย่างรวดเร็ว คือไม่ว่าจะเป็นการออกแบบหนังสือ หรือสไตล์การเขียนเรื่องราวในสารานุกรมมันน่าเบื่อไปหมดทุกย่าง

ต่อมาในระยะหลัง ๆ ผมพบว่ามีการจัดทำสารานุกรมขายในรูป CD ซึ่งที่ห้างพันทิพย์ก็มี CD encyclopedia ปลอมวางขายเยอะแยะ ซึ่งน่าใช้กว่าสารานุกรมเล่ม ๆ สมัยก่อนเยอะทีเดียว คือ บทความก็เขียนได้น่าอ่านมากขึ้น มีภาพและวีดิโอให้ดู การค้นหาก็ง่ายขึ้น และสามารถคลิกโยงเรื่องนี้ไปเรื่องนั้น – เรื่องโน้นได้ง่ายขึ้น ยิ่งการค้นหาเรื่องยิ่งทำได้ง่ายกว่าเดิมหลายเท่า และที่พิเศษเพิ่มขึ้นมาก็คือ มีดิกชันนารีแถมเข้ามา เมื่ออ่านล้วไม่รู้ศัพท์คำใดก็คลิกหาความหมายได้ทันที CD encyclopedia พวกนี้มีหลายยี่ห้อและ update แทบทุกปี น่าอ่านกว่า encyclopedia เล่ม ๆ สมัยเดิมเยอะทีเดียว

จากเดิมที่คนจะซื้อ encyclopedia สักชุดต้องใช้เงินหลายหมื่นบาท กลายเป็นเสียเงินไม่กี่ร้อยบาทซื้อ encyclopedia เป็น CD ไปเปิดดูจากเครื่องคอมพิวเตอร์

และต่อมาเมื่อมีอินเตอร์เน็ตใช้ ก็มี encyclopedia ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษให้อ่านฟรี ๆ ตามที่ผมว่าไว้ข้างบน ตอนนี้แม้แต่ CD encyclopedia ก็ไม่ต้องซื้อ เพราะเปิดอ่านจากเน็ตได้เลย

อย่างไรก็ตาม การจะฝึกให้เด็กไทยอ่าน encyclopedia นั้น น่าจะต้องเริ่มที่ฉบับง่าย ๆ ก่อน เพราะภาษาอังกฤษของเด็กไทยหรือคนไทยไม่ได้แข็งแรงมากมายเท่าเจ้าของภาษา

วันนี้ผมหามาให้ท่านได้ลองชิมอ่านสัก 2 เว็บก่อน ข้างล่างนี้

[1] http://www.enchantedlearning.com/Home.html
http://www.enchantedlearning.com/siteindex.shtml

[2] http://encyclopedia.kids.net.au/

ทั้ง 2 ชุดนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งชุดที่ 1 เป็นชุดที่สมควรแนะนำให้เด็กคุ้นเคยเป็ยอย่างยิ่ง เพราะมีการจัดทำรูปเล่ม เนื้อหา และกิจกรรมประกอบได้อย่างน่าสนใจมาก มันคล้าย ๆ เป็น dictionary ภาพ และ encyclopedia ไปพร้อม ๆ กัน

และเมื่อไม่กี่วันมานี้ ผมโชคดีไปได้ไฟล์สารานุกรม e-Encyclopedia มา 1 ไฟล์ เป็นไฟล์ pdf ขนาดประมาณ 57 MB ท่านสามารถดาวน์โหลดได้เลยครับ
e_encyclopedia.zip
อาจจะต้องใช้เวลาดาวน์โหลดนานสักนิดนะครับ

สาเหตุที่ผมแนะนำให้ท่านดาวน์โหลด encyclopedia ชุดนี้ไปใช้ก็เพราะว่า
[1] เขารวบรวมความรู้ไว้มากมาย เรื่องนี้ทำให้ผมนึกถึงคนบางคนที่ผมรู้จัก ไม่ว่าเราจะพูดเรื่องอะไร เขามักจะมีเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยเป็นความรู้มาคุยร่วมด้วยเสมอ หนังสือพวก encyclopedia นี่แหละครับ ที่จะช่วยให้เรามีเสน่ห์สามารถร่วมคุยกับใคร ๆ ได้ทุกเรื่อง เพราะได้ตุนความรู้หลากหลายจาก encyclopedia ไว้

[2] เขาใช้ศัพท์และโครงสร้างภาษาที่ง่าย ๆ ในการเขียนบทความ แต่ละเรื่องมีขนาดสั้น ๆ (อ่านจบก่อนเบื่อ) พอที่จะทำให้เรามีความรู้พื้นฐานในเรื่องนั้น ๆ และสามารถเก็บเอาไปสนทนากับคนอื่น ๆ ได้ และทุกเรื่องมีภาพประกอบที่ช่วยทำให้เราเข้าใจเนื้อเรื่องได้ง่ายกว่าอ่านตัวหนังสืออย่างดียว ถ้าจะถือเอาการอ่าน encyclopedia เป็นการฝึก reading skill ก็เป็นการฝึกที่คุ้มค่ามาก คือได้ทั้งศัพท์ สำนวนภาษา และความรู้พร้อมกันไปในคราวเดียว

[3] ไฟล์ pdf encyclopedia ชุดนี้มี 450 หน้า เมื่อท่านเปิดไฟล์และดาวน์โหลดเรียบร้อยแล้ว ให้ท่านพิมพ์เลข 4 หรือเลข 5 (ซึ่งเป็นหน้าสารบัญ) ลงในช่องเลขหน้าด้านบนของหน้า ซึ่งเขาจะแบ่งเนื้อหาออกเป็น 9 หมวด ในแต่ละเรื่องของแต่ละหมวดจะมีตัวเลขหน้าพิมพ์ไว้ หากท่านต้องการอ่านเรื่องใดก็พิมพ์เลขหน้านั้นลงในช่องเลขหน้าที่ด้านบนของหน้า และกด Enter ท่านก็จะไปยังบทความที่ต้องการอ่านทันที ถ้าต้องการขยายฟอนค์ให้ตัวโตขึ้นก็เพิ่มให้มากกว่า 100% ท่านสามารถเปิดไฟล์นี้ดูได้โดยไม่ต้องต่อเน็ต

[4] ในกรณีที่ท่านต่อเน็ต ท่านสามารถอ่านเนื้อหาเพิ่มเติมจากลิงค์ที่ระบุไว้ในวงกลมสีเทาในบทความ โดยให้ท่านไปที่เว็บนี้
http://www.dke-encyc.com/
และพิมพ์คำศัพท์ในวงกลมสีเทาในบทความ ในช่อง Enter your next keyword here ลงไปม กด Enter, ลิงค์นี้ก็จะนำท่านไปยังบทความที่เขาคัดเลือกไว้โดยเฉพาะสำหรับประกอบบทความที่ท่านอ่านในไฟล์ pdf นี้ ทำให้การค้นคว้าของท่านสมบูรณ์ยิ่งขึ้น

[5] เมื่อจะกลับไปยังสารบัญก็ให้พิมพ์เลข 4 หรือเลข 5 อีกครั้ง ตามที่อธิบายในข้อ 3 ข้างบน ผมอยากแนะนำให้ท่านอ่านสารบัญในหน้า 4 – 5 ให้ครบทั้ง 9 หมวด เพื่อให้ท่านจับได้ว่าในเนื้อหาหลากหลายนี้ ท่านชอบเรื่องอะไร อาจจะจดเลขหน้าไว้เลยก็ได้ครับ เมื่อจะอ่านก็เพียงพิมพ์เลขหน้านั้น ก็ใช้ได้แล้ว สะดวกมากครับ

[6] สำหรับท่านที่อ่านแล้วรู้สึกว่ามีศัพท์ที่ไม่รู้เยอะ ทำให้อ่านไม่ค่อยรู้เรื่อง ผมขอแนะนำให้ท่านลงโปรแกรมดิกชันนารี ข้างล่างนี้
- ดิกชันนารี อังกฤษ – ไทย คือ-My Buddy Dictionary คลิกดูรายละเอียด ที่นี่
- ดิกชันนารี อังกฤษ – อังกฤษ คือ-WordWeb Dictionary คลิกดูรายละเอียด ที่นี่

และท่านก็จะไม่มีปัญหาเรื่องติดศัพท์อีกต่อไป เพราะเพียงคลิกที่คำศัพท์ในบทความ ก็จะมีคำแปลปรากฎทันที (อ่านรายละเอียดการใช้ดิก ข้างต้น)

ก็เป็นอันว่า วันนี้ผมได้แนะนำ encyclopedia ฉบับภาษาอังกฤษที่ใช้ง่าย น่าอ่าน ที่ท่านสามารถดาวน์โหลดเอาไปศึกษาได้โดยไม่ต้องต่อเน็ต ท่านจะศึกษาเองก็ได้ หรือถ้าท่านสามารถปลูกฝังการรู้จักใช้ encyclopedia ให้แก่บุตรหลานของท่าน ก็จะเป็นประโยชน์ต่อเขาอย่างมากในอนาคต

พิพัฒน์
GemTriple@gmail.com

4 ความคิดเห็น:

Nuch & Tor กล่าวว่า...

เยี่ยมยอดมากมาย

หัวข้อนี้ให้ห้าดาวเลยครับ

..บุญรักษา..

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

ขอบคุณมั๊กมากค่ะ
CD กำลังดำเนินการให้นะค่ะ

nan_wawa กล่าวว่า...

mybuddy load ไม่ได้ค่ะ

pipat - blogger กล่าวว่า...

แก้ไขแล้วครับ
หรือจะไปที่ลิงค์นี้ก็ได้เพื่อดาวน์โหลด
http://www.thaibuddy.com/myDict3.51.zip
พิพัฒน์