วันพฤหัสบดีที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2552

[1012] D/L โปรแกรม Oxford Learner’s Thesaurus

เพิ่ม 7 พฤศจิกายน 2552
โปรแกรม Oxford Learner’s Thesaurus ชนิดใช้งานโดยไม่ต้องติดตั้ง (portable):
ผมเพิ่งได้มา ใช้งานง่ายกว่าที่แนะนำไว้ข้างล่างนี้เยอะเลยครับ เพียงแต่ว่าไม่มีเสียงครับ
Oxford_Learner_s_Thesaurus (Portable).zip
* * * * *

สวัสดีครับ
ทุกภาษาในโลกนี้ ในความหมายหนึ่ง ๆ มักมีคำให้ใช้หลายคำ ยกตัวอย่างภาษาไทยก็ได้ครับ กิริยาที่เอาอาหารใส่ปากมีอะไรบ้าง คำที่นึกออกทันทีก็คงจะมีคำว่า กิน, ทาน, รับ, รับประทาน, ฉัน (สำหรับพระสงฆ์), เสวย (ราชาศัพท์) นี่ยังไม่นับคำหยาบอีกหลายคำ

สำหรับเราเองที่เป็นคนไทย เรารู้ว่าโอกาสไหนควรจะใช้คำใด เพราะแม้ว่าบางคำอาจจะใช้แทนกันได้ แต่ก็ไม่ใช่ว่าจะใช้แทนกันได้ทุกโอกาส เนื่องจากคำแต่ละคำจะมี shade of meaning ของมัน และ shade of meaning ของหลาย ๆ คำก็อาจจะเหลื่อมกัน ไม่ซ้อนกัน 100 % และแม้ว่าเราจะใช้เป็น แต่การจะแต่งตำราอธิบายการใช้คำแต่ละคำและเปรียบเทียบความแตกต่างของคำที่ใกล้เคียงกัน คงทำไม่ได้ง่ายนัก ท่านลองดู 4 คำที่ผมยกตัวอย่างข้างต้นก็ได้ คือ กิน, ทาน, รับ, รับประทาน ท่านสามารถไหมครับที่จะอธิบายให้คนต่างชาติที่เรียนภาษาไทยเข้าใจความแตกต่างของ 4 คำนี้อย่างกระจ่าง และใช้ได้ถูกต้องอย่างที่คนไทยใช้เป็น ผมเชื่อว่าทำได้ไม่ง่ายเลย แม้จะดูง่าย

เพื่อให้เห็นว่าสิ่งที่ผมพูดข้างต้นนั้นผมไม่ได้พูดเอาเอง ผมจึงเปิด พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน เพื่อค้นหาสิ่งที่ท่านให้ไว้เกี่ยวกับ 4 คำนี้ ก็ได้มาอย่างนี้ครับ

กิน = เคี้ยวกลืน เช่น กินข้าว, ทําให้ล่วงลําคอลงไปสู่กระเพาะ
รับประทาน = กิน เช่น รับประทานอาหาร
ส่วนคำว่า ทาน และ รับ ซึ่งหมายถึงอาการที่เอาอาหารใส่ปาก ท่านราชบัณฑิตไม่ได้บรรจุไว้ในพจนานุกรมเลย สงสัยท่านจะไม่ยอมรับความหมายเช่นนี้ที่ชาวบ้านชาวเมืองเขาใช้กัน ท่านอาจจะเห็นว่าเป็นความหมายที่ไม่ได้มาตรฐานก็อาจจะเป็นได้

ในแง่นี้ข้อที่น่าสังเกตก็คือ พจนานุกรมท่านบอกแต่เพียงว่า หมายความว่าอย่างไร แต่ท่านไม่ได้บอกว่าใช้อย่างไร โอกาสไหน ใช้กับใคร แต่ละคำต่างกันอย่างไร ฯลฯ ผลก็คือ เราคงหวังอะไรไม่ได้มากนักจากการศึกษาภาษาไทยจากพจนานุกรมไทย แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ไม่ใช่ความผิดของท่านราชบัณฑิต เพราะอย่างที่ผมเรียนแล้ว พจนานุกรมที่บอกทั้งความหมายและการใช้ มันน่าจะเรียบเรียงออกมาได้ยากมาก ๆ

คราวนี้เราไปดูฝรั่งที่ทำ dictionary ออกมาขายชาวโลกบ้าง เท่าที่มองดูก็เห็นว่า dictionary ของฝรั่งก็มีอยู่ 2 ประเภท คือ

ประเภทที่ 1 บอกแต่ความหมายของศัพท์ ไม่บอกวิธีใช้
Dictionary ของค่ายประเทศสหรัฐอเมริกาที่มีชื่อเสียงมาก ๆ ก็เช่น
Merriam-Webster's Online Dictionary, 11th Edition
Webster's New World College Dictionary, 4th Ed.:

ค่ายอังกฤษที่ขอยกตัวอย่าง ก็คือ
The Compact Oxford English Dictionary

ประเภทที่ 2 บอกทั้งความหมายและวิธีใช้ มีศัพท์เรียกว่า learner’s dictionary
ค่ายอเมริกันที่ผมขอยกตัวอย่าง คือ
-learner's dictionary ของ Webster
-MSN Encarta

ส่วนค่ายอังกฤษ มีหลายเว็บ-
-Oxford
-Longman
-Cambridge
-Cobuild
-Newburry House

ตัวผมเองก็ใช้ learner’s dictionary พวกนี้แหละครับ ในการศึกษาหาความหมายและการใช้คำศัพท์ เพราะดิกพวกนี้จะอธิบายความหมายค่อนข้างละเอียด และให้ตัวอย่างแสดงวิธีใช้ศัพท์ในประโยคที่เป็นสถานการณ์จริง

แต่ผมยังมีอีกสิ่งหนึ่งที่อยากได้เพิ่มเติม คือบ่อยครั้งที่ผมเองก็ไม่อยากจะสังเกตมากเพราะมันเปลืองแรง ผมอยากจะได้ dictionary ที่เขารวบรวมคำที่มีความหมายเหมือนกันหรือคล้ายกันไว้ด้วยกัน แล้วช่วยอธิบายในคราวเดียวกันให้เห็นชัด ๆ ว่ามันเหมือนกัน หรือคล้ายกัน (หรือต่างกัน) ตรงไหน ดิกคำเหมือนพวกนี้แหละครับที่เขามีศัพท์เรียกว่า thesaurus ซึ่งในอินเตอร์เน็ตก็มีให้ใช้ฟรีหลายเว็บ ผมรวบรวมไว้ที่ 2 ลิงค์นี้
ก. เว็บบอกคำศัพท์ที่ 'เหมือน-คล้าย-ต่าง’กัน
ข. รวมดิกชันนารีช่วยงานเขียน – แปล ภาษาอังกฤษ
[เลื่อนลงไปที่ข้อ [4] ดิกชันนารี คำเหมือน – คำคล้าย]

ผมซอกแซกหามาจนถึงขั้นนี้ก็ยังไม่รู้สึกพอใจ เพราะอะไรหรือครับ? ก็เพราะว่า เว็บ thesaurus ทั้งหลายที่ดีที่สุด ก็มักจะบอกเพียงทำนองนี้ เช่น ศัพท์คำนี้ ถ้าเป็น verb จะมีอยู่ 3 ความหมาย, แต่ละความหมายมีคำที่มีความหมายเหมือนหรือคล้ายกัน คือคำนี้ ๆ แต่ก็ไม่ได้บอกให้เห็นชัด ๆ ว่า ไอ้ที่ว่าเหมือนนั้นเหมือนกันขนาดไหน ใช้แทนกันได้ทุกสถานการณ์หรือเปล่า ฯลฯ พูดง่าย ๆ ก็คือ thesaurus ที่เป็นหนังสือหรือเว็บที่มีให้ใช้ขณะนี้ เป็นแค่ thesaurus เฉย ๆ ไม่ได้เป็น learner’s thesaurus คือเป็น thesaurus ที่ยากเกินไป แต่ผมต้องการ thesaurus ที่อธิบายอย่างละเอียด อย่างเข้าใจง่าย ๆ แยกแยะให้เห็นความเหมือนและความต่างของความหมาย ที่ใช้ในฐานะที่เป็นคำ noun, verb หรือ adjective, จะต้องใช้แกรมมาร์ต่างกันหรือไม่กับคำศัพท์ที่มีความหมายเหมือนกัน, สไตล์ของภาษา, และคำอื่น ๆ ที่มักใช้ควบคู่กัน (ที่เรียกว่า collocation) ฯลฯ เหล่านี้คือรายละเอียดที่ผมอยากได้ แต่ก็ไม่เว็บไหนหรือหนังสือเล่มใดบอกไว้ชัด ๆ

แต่แล้ววันหนึ่งฟ้าก็ปรานี ผมได้เห็นหนังสือเล่มนั้นแล้ว ชื่อ Oxford Learner's Thesaurus (เป็นไฟล์โปรแกรมครับ)

Oxford Learner's Thesaurus รวบรวมศัพท์ไว้เป็นหมวดหมู่ และมีรายละเอียดอย่างที่ผมต้องการทุกประการ ขอยกตัวอย่างให้เห็นชัด ๆ สัก 2 ตัวอย่าง

ตัวอย่างที่ 1
ศัพท์ที่มีความหมายว่า เล็ก หรือ น้อย เขาบอกเลยว่ามีคำเหล่านี้ small • little • tiny • miniature • compact • minute • microscopic

ซึ่งความหมายรวม ๆ ก็คือ
“These words all describe something that is not large in size, number, degree or amount or not as large as something else of the same type. “

และแต่ละคำเขาบอกว่า
small / BrE ; AmE /
not large in size, number, degree or amount; not as large as other things of the same type

little / BrE ; AmE / [ usually before noun ] ( not usually used in the comparative or superlative )
small

tiny / BrE ; AmE /
very small in size or amount

compact / BrE ; AmE /
small and easy to carry; using or filling only a small amount of space

minute / BrE ; AmE ( AmE also ) /
extremely small

microscopic / BrE ; AmE / [ usually before noun ]
extremely small and difficult or impossible to see without a microscope

ตัวอย่างที่ 2 คำที่มีความหมายว่า ชอบ เขาบอกเลยว่ามีคำเหล่านี้
like • love • be fond of something • be keen on something • adore • go for somebody/ something

ซึ่งความหมายรวม ๆ ก็คือ
These words all mean to find something pleasant, attractive or satisfactory, or to enjoy something.

และแต่ละคำเขาบอกว่า
like / BrE ; AmE / [ T ] ( not usually used in the progressive tenses )
to find sth pleasant, attractive or satisfactory; to enjoy sth

love / BrE ; AmE / [ T ] ( not usually used in the progressive tenses )
to like or enjoy sth very much

be fond of sth phrase
to like or enjoy sth, especially sth you have liked or enjoyed for a long time

be keen on something phrase ( BrE , informal , especially spoken ) ( often used in negative statements )
to like or enjoy something

adore / BrE ; AmE / [ T ] ( not used in the progressive tenses ) ( informal )
to like or enjoy sth very much
NOTE love or adore? Adore is more informal than love , and expresses a stronger feeling.

go for someboby/something phrasal verb goes , went , gone ( not used in the progressive tenses ) ( informal )
to be attracted by sb/sth; to like or prefer someboby/something

หลังจากอธิบายความหมายและแกรมมาร์เบื้องต้นของแต่ละคำแล้ว ก็แสดงหลายประโยคตัวอย่างให้เห็นการใช้อย่างชัดเจน

สรรพคุณที่ผมเล่าให้ฟังนี้เป็นเพียงส่วนเล็กน้อยเท่านั้น ยังมีอะไรอีกเยอะแยะที่น่าสนใจในโปรแกรมนี้ อ้อ โปรแกรมนี้ออกเสียงคำศัพท์ได้ด้วยครับ

หนังสือเล่มนี้มีไฟล์โปรแกรมให้ดาวน์โหลดฟรี มีทั้งหมด 4 ไฟล์
ท่านใดสนใจทำอย่างนี้ครับ

1. เครื่องคอมฯของท่านจะต้องมี 2 โปรแกรมลงไว้ก่อน คือ
- โปรแกรม WinRAR หรือโปรแกรมอื่นที่สามารถแตกไฟล์ WinRAR ได้ เช่น 7-zip หรือ ZipGenius )
- โปรแกรมเบิร์น CD Nero

2. ดาวน์โหลดไฟล์ WinRAR ข้างล่างนี้ให้ครบทั้ง 4 ไฟล์ (ผมคิดว่าถ้าไม่ได้ใช้อินเตอร์เน็ต high speed จะมีปัญหาเพราะไฟล์มีขนาดใหญ่มาก) เก็บไฟล์ทั้ง 4 ไฟล์นี้ไว้ในโฟลเดอร์เดียวกัน ตอนนี้ยังไม่ต้องแตกไฟล์ - ขอย้ำนะครับ ตอนนี้ยังไม่ต้องแตกไฟล์

http://rapidshare.com/files/143177337/OXFORD_LEARNERS_THESAURUS_A_Dictionary_of_Synonyms.part1.rar (97.6 MB)

http://rapidshare.com/files/143149760/OXFORD_LEARNERS_THESAURUS_A_Dictionary_of_Synonyms.part2.rar (97.6 MB)

http://rapidshare.com/files/143177626/OXFORD_LEARNERS_THESAURUS_A_Dictionary_of_Synonyms.part3.rar (97.6 MB)

http://rapidshare.com/files/143160851/OXFORD_LEARNERS_THESAURUS_A_Dictionary_of_Synonyms.part4.rar (55.7 MB)

3. ใส่แผ่น CD เปล่าในช่อง CD

4. แตก (extract) ไฟล์แรก (เฉพาะไฟล์แรกเท่านั้น), และเข้าไปในโฟลเดอร์สีเหลือง ดับเบิ้ลคลิกไฟล์เดียวที่มีอยู่ในนั้น

5. ขั้นตอนต่อจากนี้ โปรแกรม Nero ในเครื่องคอมฯของท่านจะเบิร์นไฟล์ทั้งหมดลงใส่แผ่น CD ตามขั้นตอนของมัน (โปรแกรม Thesaurus ของ Oxford ตัวนี้ จะต้องเบิร์นลงแผ่นซะก่อน จึงจะสามารถดำเนินการติดตั้งและใช้งานได้

6. เมื่อเบิร์นลงแผ่นเรียบร้อยแล้ว ก็ติดตั้งจากแผ่นลงเครื่องคอมฯของท่าน

ผมขอเชิญชวนอย่างรุนแรงให้ท่านลงทุนทำตามขั้นตอนทั้งหมดนี้ เมื่อทำเสร็จแล้ว ท่านจะได้เครื่องมือสำหรับศึกษาภาษาอังกฤษอีก 1 เครื่องมือที่วิเศษมาก ขอบอกอีกครั้งว่าคำอธิบายสรรพคุณทั้งหมดที่ผมพูดข้างต้นเป็นเพียงส่วนน้อยนิดของสรรพคุณทั้งหมดของโปรแกรมนี้

และถ้าท่านสนใจ ควรรีบดาวน์โหลดเสียตั้งแต่วันนี้ ผมไม่แน่ใจว่าลิงค์ที่ผมยกมาแนะนำนี้ จะมีอายุอยู่ต่อไปได้อีกสักกี่วัน

พิพัฒน์
GemTriple@gmail.com

4 ความคิดเห็น:

Ddy กล่าวว่า...

หายไปนานเลยนะครับ เรื่องดิก

ดิกแบบนี้ผมก็พึ่งเคยเห็นเหมือนกัน จะลองโหลดดูครับ



ขอบคุณครับ

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

ใช้โปรแกรม Deamon tool lite เปิดได้โดยไม่ต้องไรท์แผ่นง่ายกว่านะจะ ขอแนะนำให้คุณ พิพัฒน์ ไปเยี่ยมEnglishtips.org โหลดอุปกรณ์เรียนภาษาได้สารพัดเลย ลงทะเบียนก่อนแล้วจึงจะเห็นลิงค์ น่าจะเป็นเวปของรัสเซีย

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

ผมเข้าไปดูที่ englishtips.org แล้ว รู้สึกเหมือนเจอขุมทรัพย์ขนาดมหึมา ขอบคุณอย่างยิ่งเลยครับ และขอบคุณแทนท่านผู้อ่านทุกท่านด้วย เชื่อว่าผมจะสามารถเก็บอะไรได้มากมายจากเว็บนี้มาฝากท่านผู้อ่าน

พิพัฒน์
Blog Writer

Ddy กล่าวว่า...

พึ่งจะโหลดได้ครบครับ

พอลองใช้ๆดู ก็พบว่า ข้างล่างโปรแกรม มีexercise และ games ให้เล่นด้วยครับ ดีกว่าที่คิดจริงๆ

ขอบคุณอีกครั้งครับ