8. เรียนรู้ที่จะคิดให้เป็นภาษาอังกฤษ
หนึ่งในกุญแจสำคัญที่จะทำให้คุณพูดภาษาอังกฤษได้นั่นก็คือ “การคิดให้เป็นภาษาอังกฤษ” อีกหนึ่งวิธีที่ดีที่สุดที่ในการเรียนรู้ และจะทำให้คุณพูดได้อย่างง่ายดาย ไม่ต้องอายถ้าเกิดความผิดพลาดขึ้นมา เพราะไม่มีใครรู้!!!! โดยคุณสามารถทำตามกระบวนการและขั้นตอนได้ ดังนี้
Level 1 : คิดคำศัพท์ภาษาอังกฤษในแต่ละวันของคุณ
เมื่อคุณตื่นขึ้นมาในตอนเช้าให้คิดคำศัพท์ขึ้นมา 1 ชุด เช่น
bed, toothbrush, bathroom, eat, banana, coffee, clothes, shoes
หรือถ้าคุณกำลังนั่งทำงานอยู่ก็คิดถึงคำศัพท์ขึ้นมาอีก 1 ชุด
car, job, company, desk, computer, paper, pencil, colleague, boss
Level 2 : ลองเอาคำศัพท์มาแต่งให้เป็นประโยค
เมื่อคุณกำลังนั่งกินอาหารกลางวันอยู่ คิด…
• I’m eating a sandwich.
• My friend is drinking soda.
• This restaurant is very good.
ขณะที่คุณกำลังนั่งดูทีวีอยู่ คิด…
• That actress is beautiful.
• The journalist has black hair.
• He’s talking about politics.
Level 3 : สุดท้ายจินตนาการประโยคภาษาอังกฤษทั้งหมดให้เป็นเรื่องราวขึ้นมาในหัวของคุณ โดยให้คิดเป็นภาษาอังกฤษทั้งหมด เช่นในขณะที่คุณออกกำลังกาย หรือกำลังรอรถไฟฟ้า รถเมล์ ให้ลองนึกบรรยายเหตุการณ์ต่างๆ บอกเล่าเรื่องราวในหัวคุณให้เป็นภาษาอังกฤษ คุณจะรู้สึกผ่อนคลาย เพราะนี่เป็นเพียงความคิด ยังไม่ได้พูดจริงๆ
9. พูดด้วยคำศัพท์ที่แตกต่าง ดูดีมีความคิดสร้างสรรค์
สองอุปสรรคใหญ่ที่ทำให้การพูดภาษาอังกฤษดูไม่คล่องแคล่วมั่นใจ นั่นก็คือ “ไม่รู้ศัพท์ และ การหยุดหรือลังเล” ซึ่งทั้งสองอย่างนี้มักมาพร้อมกันเสมอ หลายครั้งที่คุณพูดภาษาอังกฤษแต่นึกคำศัพท์ไม่ออก นั่นก็เป็นอุปสรรคหนึ่งที่ทำให้เราพูดภาษาอังกฤษไม่ได้ เออๆ อ่าๆ...เพราะมัวแต่คิดถึงคำศัพท์ที่เคยท่องไว้ คราวนี้เราลองมาเปลี่ยนวิธีใหม่ ถ้านึกไม่ออกก็ไม่เป็นไร ลองหาคำอื่นมาอธิบายขยายความเอาก็ได้
ถ้าคุณจะบอกว่า “หัวหอม” ภาษาอังกฤษคือ “onion” แต่นึกคำศัพท์ไม่ออกก็ให้อธิบายไปว่า “the white vegetable that when you cut it you cry” นี่เป็นคำบรรยายที่เข้าใจได้ ว่าสิ่งที่คุณกำลังจะสื่อสารหมายถึงอะไร รวมไปถึงคำศัพท์อื่นๆ ที่จะใช้แทนกันได้ในภาษาอังกฤษ เช่น การกล่าวทักทาย ที่นอกจาก “hello” แล้วมีคำว่าอะไรบ้าง หรือการกล่าวลา วลีของการล่ำลาในภาษาอังกฤษนั้นก็มีมากมายหลายสถานการณ์ด้วยกัน
10. ใช้ภาษาอังกฤษในชีวิตประจำวันให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้
เปลี่ยนสภาพแวดล้อมของคุณให้เต็มไปด้วยภาษาอังกฤษ ถือเป็นการฝึกฝนไปในตัว แต่ถ้าจะให้ง่ายและรวดเร็วที่สุดนั่นก็คือ “พยายามหาเพื่อนที่เป็นชาวต่างชาติ” นอกจากจะได้เพื่อนแล้ว เรายังได้ฝึกภาษาด้วย ที่สำคัญเพื่อนชาวต่างชาตินี่แหละที่จะช่วยคุณแก้ไขคำผิด ทั้งคำศัพท์ รูปประโยคและหลักไวยากรณ์ต่างๆ ให้คุณได้ พยายามหาเพื่อนฝรั่งคุยแชทบ้าง คุย Skype บ้าง เพื่อเป็นการฝึกภาษาและฟังสำเนียงที่ถูกต้องนั่นเอง
แนะนำให้ใช้ภาษาอังกฤษทุกวันๆ ละ 10 นาที และจะดีมากๆ ถ้าคุณใช้ภาษาอังกฤษมากกว่า 1 ชั่วโมง ต่อสัปดาห์ แม้ว่าคุณจะไม่ได้อยู่ในประเทศที่พูดภาษาอังกฤษ แต่ก็ยังมีวิธีอีกมากมายที่จะทำให้ภาษาอังกฤษมีส่วนร่วมในชีวิตประจำวันของคุณ เช่น ฟังภาษาอังกฤษในขณะที่คุณกำลังขับรถไปทำงาน, อ่านข่าวหรือฟังข่าวออนไลน์เป็นภาษาอังกฤษแทนภาษาไทย, ฝึกการคิดเป็นภาษาอังกฤษในขณะที่คุณกำลังทำงานบ้านหรือออกกำลังกาย, อ่านบทความ ฟังพอดคาสต์ หรือดูวิดีโอภาษาอังกฤษในแบบที่คุณชอบ เป็นต้น
→ คลิกดูคลิป
กด Control ค้างไว้, และเลื่อนลูกล้อบนเมาส์ไป-มาเพื่อเพิ่ม-ลดขนาดของจอคลิป
กำหนดเวลาในการอ่าน
คุณมีสมาร์ทโฟนไหม? ใช้การตั้งเวลาแบบถอยหลังเพื่อกำหนดเวลาในการอ่านเรื่องเป็นครั้งแรก เริ่มจาก 30 วินาทีต่อ 100 คำ นี่เป็นวิธีการที่ยอดเยี่ยมในการที่คุณจะไม่ติดอยู่ที่คำบางคำที่คุณไม่รู้จัก เมื่อคุณรู้ว่าตัวเองมีเวลาจำกัด คุณจะมุ่งความสนใจไปที่คำหรือวลีที่สำคัญซึ่งคุณเข้าใจความหมายของมันดีเพื่อทำความเข้าใจความหมายโดยรวมของเนื้อหาเหล่านั้น
การกำหนดเวลาเป็นสิ่งสำคัญทั้งสำหรับการอ่านผ่านๆ และการอ่านเพื่อจับใจความเพื่อที่คุณจะไม่ติดอยู่กับการพยายามอ่านทุกรายละเอียดในเนื้อหานั้นๆ กำหนดเวลาให้สั้นลงสำหรับการอ่านเพื่อจับใจความ(แค่ย่อหน้าละ 2-3 วินาที) เพราะในการอ่านเพื่อจับใจความนั้นคุณจำเป็นต้องฝึกการมองหาข้อมูลสำคัญเท่านั้น
พยายามสันนิษฐานชื่อของเรื่องที่อ่าน
โดยปกติชื่อเรื่องจะบอกถึงใจความสำคัญของงานเขียน ถ้าคุณกำลังฝึกเทคนิคการอ่านผ่านๆ อยู่ ก็ขอให้โยงสิ่งที่อ่านเข้ากับชื่อเรื่อง อ่านเรื่องภายในเวลาที่กำหนด และสันนิษฐานว่าเรื่องที่อ่านน่าจะมีชื่อเรื่องว่าอย่างไร ถ้าชื่อเรื่องที่คุณสันนิษฐานตรงกับที่เป็นจริง แสดงว่าคุณเข้าใจใจความสำคัญของเนื้อหาเหล่านั้นได้ถูกต้อง
วิเคราะห์ก่อนอ่านว่าข้อมูลที่คุณจะหามีอะไรบ้าง
นี่เป็นคำแนะนำในการอ่านเพื่อจับใจความ ถ้าคุณกำลังมองหาข้อมูลบางอย่าง ไม่ว่าจะเป็นคำตอบสำหรับบางคำถามหรือบางสิ่งบางอย่างที่คุณจำเป็นต้องค้นหาเพื่อการค้นคว้าของคุณ ก่อนอื่นก็ขอให้แน่ใจว่าคุณรู้ว่าตัวเองกำลังค้นหาอะไร จำนวน? วันที่? ชื่อ? หรือบางสิ่งบางอย่างที่มีความเฉพาะเจาะจงยิ่งกว่านั้น? เมื่อคุณรู้ว่าคำหรือสำนวนแบบไหนที่คุณกำลังมองหา คุณก็สามารถมองข้ามข้อมูลอื่นๆ ที่ไม่จำเป็น
การเน้นคำเพื่อที่จะกลับมาดูทีหลัง
เมื่อคุณอ่านแบบผ่านๆ โดยมีการกำหนดเวลาก็มักจะมีคำที่น่าสนใจที่คุณยังไม่มีเวลาพอที่จะเดาความหมายของมันปรากฏให้เห็นอยู่เรื่อย สิ่งสำคัญก็คือคุณไม่สามารถปล่อยให้คำเหล่านั้นมาทำให้คุณเสียเวลา แต่ถ้าคุณต้องการที่จะเพิ่มคำเหล่านั้นลงในคำศัพท์ของคุณก็เพียงแต่ไฮไล้ท์หรือขีดเส้นใต้มันขณะที่คุณอ่าน แล้วค่อยกลับมาดูคำดังกล่าวทีหลังเพื่อเดาความหมายหรือค้นหาความหมาย
อ่านย้อน
เริ่มจากการหาคำสำคัญจากข้างล่างของเรื่องแล้วย้อนขึ้นมาเรื่อยๆ จนถึงข้างบน วิธีนี้ใช้ได้ผลสำหรับการอ่านเพื่อจับใจความเท่านั้นแต่ก็เป็นวิธีที่ดีมากๆ สำหรับการอ่านให้เร็วขึ้นเพราะมันบังคับคุณไม่ให้สนใจในทุกๆ คำแต่ให้มุ่งไปเฉพาะที่คำที่ให้ข้อมูลที่คุณต้องการเท่านั้น
อ่านกลับหัว
นี่ก็เป็นคำแนะนำสำหรับการอ่านเพื่อจับใจความเช่นกัน(คุณไม่สามารถอ่านหนังสือทั้งเล่มด้วยการอ่านกลับหัว!) นี่เป็นอีกวิธีหนึ่งที่มุ่งหาเฉพาะข้อมูลที่จำเป็นโดยที่ไม่ต้องเสียเวลากับเนื้อความทั้งหมด มันอาจจะดูแปลกๆ หน่อยหากเราทำแบบนี้ในที่สาธารณะ เพราะฉะนั้นจึงเป็นการดีที่สุดที่จะฝึกการใช้วิธีนี้เฉพาะที่บ้านเท่านั้น!
→ คลิกดูคลิป
กด Control ค้างไว้, และเลื่อนลูกล้อบนเมาส์ไป-มาเพื่อเพิ่ม-ลดขนาดของจอคลิป
1. เขียนแล้วทบทวนแก้ไขหลายรอบ
อย่าเขียนครั้งเดียวส่ง ถ้าเป็นการบ้านที่อีกนานกว่าจะส่งก็ให้รีบทำแต่เนิ่นๆ ตรวจรอบแรกแล้วทิ้งไว้ซัก 3 วันมาอ่านอีกที แก้ไขแล้วก็เว้นไว้อีก 5 วันมาแก้อีกรอบ ควรเว้นจังหวะระหว่างการแก้ไขแต่ละครั้งด้วย ครั้งหลังๆ มาอ่านก็จะรู้สึกว่า “วันนั้นฉันเขียนอะไรลงไปเนี่ย”
2. ลองอ่านออกเสียงเผื่อสะดุด
การอ่านออกเสียงทำให้เราได้ใช้ประสาทสัมผัสเพิ่มมากขึ้น ซึ่งประสาทสัมผัสที่เพิ่มขึ้นก็เหมือนกับตัวช่วยตรวจสอบที่เพิ่มขึ้น บางทีพูดไปพูดมาน้องก็อาจจะรู้สึกแปลกๆ ขึ้นมากับบางประโยค
3. ขยันพิมพ์ภาษาอังกฤษในสเตตัส
ลองเปลี่ยนมาอัพสเตตัสเป็นภาษาอังกฤษแทน เขียนไปตามใจชอบเลย เพื่อนในเฟซบุ๊คที่เก่งภาษาอังกฤษผ่านมาเห็นก็จะช่วยแนะนำแก้ไขให้ และการแสดงความเห็นเป็นภาษาอังกฤษบ่อยๆ ก็จะทำให้ไม่รู้สึกว่ามันน่ากลัวเวลาต้องเขียนงาน ใครจะว่ายังไงก็ช่าง แต่เราทำเพื่อพัฒนาทักษะตัวเอง
4. พิมพ์ลง Google
เมื่อมีประโยคที่ไม่แน่ใจว่าเขียนถูกมั้ย วางคำขยายถูกตำแหน่งหรือยัง ให้ลองพิมพ์ประโยคนั้นลง Google ดู ผลลัพธ์ที่ขึ้นมาจะช่วยยืนยันได้ว่ามีคนเขียนแบบนี้หรือไม่ แต่ต้องอ่านทีละผลลัพธ์ดีๆ ว่าเขาใช้ในสถานการณ์เดียวกันกับเรารึเปล่า
→ คลิกดูคลิป
กด Control ค้างไว้, และเลื่อนลูกล้อบนเมาส์ไป-มาเพื่อเพิ่ม-ลดขนาดของจอคลิป
|
|
|