สวัสดีครับ
ผมได้รวบรวม ดิกชันนารีสำหรับผู้ศึกษาภาษาอังกฤษ คุณภาพดีและชื่อดังระดับโลก ไว้ที่ลิงค์นี้ โดยมี Search ให้ท่านพิมพ์คำศัพท์เพื่อหาความหมายได้ทันที ที่ลิงค์นี้
http://dictionarysearchbox.blogspot.com/
ซึ่งมีดิกอยู่ 9 ยี่ห้อ คือ
- Webster
-Oxford
-Longman
-Cambridge
-Encarta
-COBUILD
-Newburry House
-Google
-Macmillan
ถ้าถามผมว่า ดิกยี่ห้อใดดีที่สุด ผมไม่มีความสามารถจะตอบได้หรอกครับ และแม้จะถามง่ายกว่านี้ คือถามว่า ผมชอบดิกยี่ห้อใดมากที่สุด คำถามนี้ผมก็ตอบไม่ได้อีกเช่นกัน เพราะถ้าผมตอบได้ สมัยก่อนตอนที่ยังไม่มีเน็ตใช้ ผมคงสามารถตัดใจไม่ต้องควักตังค์ซื้อดิกกว่าร้อยเล่มมากองไว้ที่บ้าน ทั้ง ๆ ที่หลายเล่มก็เปิดใช้ไม่กี่ครั้ง โชคดีที่นิสัยซื้อของแบบนี้เป็นเฉพาะกับดิกเท่านั้น ถ้าเป็นกับของอย่างอื่นด้วย คงหมดตัวไม่มีเงินซื้อข้าวกินแน่
มาวันนี้ ผมขออนุญาตพูดถึงดิกที่รักสัก 1 เล่ม คือ Macmillan Dictionary
ซึ่งอยู่ที่เว็บนี้ http://www.macmillandictionary.com/
ผมเคยเขียนแนะนำ Macmillan Dictionary ไว้แล้วที่ 2 ลิงค์นี้
แนะนำ Macmillan Dictionary ฟรีออนไลน์
Thesaurus ที่อธิบายความต่าง ในความเหมือน
ที่แนะนำนั้นเป็น เว็บ แต่ที่จะแนะนำวันนี้เป็น บล็อก
ที่นี่ครับ http://www.macmillandictionaryblog.com/
ที่บล็อกนี้เขาบอกว่า “learn English, live English, love English” โดยแต่ละวรรค มีบทความที่ให้ความรู้เกี่ยวกับคำศัพท์และการใช้ภาษาอังกฤษ ดังนี้
learn-english
common-errors-in-english
improve-your-english
language-resources
live-english
global-english
language-change-and-slang
things-people-say-that-i-hate
love-english
language-and-words-in-the-news
language-technology
linguistics-and-lexicography
และเรื่องที่สำคัญที่สุดที่ผมต้องการเรียนท่านผู้อ่านก็คือ ที่ศัพท์ทุกคำในบทความเหล่านี้ ท่านเพียงดับเบิ้ลคลิก ก็จะปรากฏคำว่า Definition สีแดง, ซึ่งเมื่อท่านคลิกอีก ก็จะมีหน้าต่างใหม่แสดงคำแปลศัพท์, ตัวอย่างประโยค, คลิกฟังเสียงอ่าน ฯลฯ
บทความทั้งหลายแหล่ภายใต้หัวข้อ “learn English, live English, love English” เมื่อลงมืออ่านแล้ว ถ้าไม่คุ้นเคยกับเรื่องทำนองนี้ท่านอาจจะรู้สึกว่า “หนัก” บ้าง แต่ทั้ง ๆ ที่รู้อย่างนี้ ผมก็ยังอยากจะเอามาแนะนำอยู่นั่นเอง ไม่ใช่เพราะผมมีความสุขใจที่ได้แนะนำเรื่องที่พอเดาออกว่าหลายท่านคงไม่อ่านแน่ ๆ แต่เพราะเหตุผลดังต่อไปนี้ครับ
1.เพราะบทความที่บล็อกนี้มีมากมายหลากหลาย เป็นบทความดี ๆ ทั้งนั้น ที่ให้ความรู้เรื่องศัพท์และภาษา, ใน 10 เรื่องที่ท่านอ่านรอบแรกอย่างผ่าน ๆ น่าจะมีอย่างน้อย 1 เรื่องที่ถูกใจท่าน และท่านก็จะได้ความรู้จากเรื่องนี้ที่ท่านถูกใจนี่แหละ
2.ถ้าความหวังของผมเป็นจริงได้ ผมอยากจะให้คนไทยทุกคนที่เรียนภาษาอังกฤษ สามารถใช้ดิกชันนารี อังกฤษ-อังกฤษ ได้คล่องแคล่วและเข้าใจ เหมือนเปิดดิก อังกฤษ-ไทย ทั้งนี้เพราะผมเห็นว่า ความสามารถเช่นนี้จะพาให้เราสามารถเก่งภาษาอังกฤษในลักษณะอื่น ๆ ขึ้นมาได้อีกมากมายหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง อ่าน – ฟัง – พูด – เขียน
แต่การจะสามารถใช้ดิกชันนารี อังกฤษ-อังกฤษ ได้คล่องแคล่วนั้น ต้องอาศัยความเพียรอยู่พอสมควร ผมเองจำได้ว่า เริ่มใช้ตอนอยู่มัธยมปลาย ตอนแรกก็ใช้บ้าง ไม่ใช้บ้าง เพราะมันเบื่อและท้อ เปิดอ่านแล้วไม่ค่อยรู้เรื่อง เลยไม่อยากฝืนใจใช้ดิกที่ดีมีประโยชน์ น่าจะเป็นตอนอยู่ปี 1 มหาวิทยาลัยล่ะมั้งที่ผมเริ่มใช้ดิกอังกฤษ-อังกฤษ ได้คล่อง บทสรุปตรงนี้ก็คือ อยากคล่องต้องฝืนใจฝึก ตั้งเวลาไว้และฝึกให้ครบตามเวลา ตัดใจง่าย ๆ อย่างนี้แหละครับ
มาถึง พ.ศ. นี้ ผมเห็นว่า ท่านใดต้องการฝึกให้ครบตามเวลาที่ท่านตั้งใจไว้ ในการใช้ดิก อังกฤษ – อังกฤษ คงไม่ต้องฝืนใจมากเหมือนผม เพราะอะไรหรือครับ? ก็เพราะว่า สมัยผมนั้น ถ้าต้องการรู้ศัพท์ 100 คำ ก็ต้องเปิดดิก 100 ครั้ง คือฝืนใจ 100 คราว แต่สมัยนี้ ท่านสามารถอ่านทุกเรื่องจากหน้าจอที่ต่อเน็ต และเปิดดิกเพียงแค่ดับเบิ้ลคลิกคำศัพท์ที่สงสัย (เดาความหมายสักนิดก่อนคลิกก็ดีนะครับ) สะดวกกว่าสมัยก่อนมาก ๆ เลย
นอกจากบทความใน 9 หัวข้อข้างล่างนี้ คือ
common-errors-in-english
improve-your-english
language-resources
global-english
language-change-and-slang
things-people-say-that-i-hate
language-and-words-in-the-news
language-technology
linguistics-and-lexicography
ผมยังมีอีก 4 เว็บ ที่ท่านสามารถดับเบิ้ลคลิกเพื่อดูศัพท์จาก Macmillan Dictionary คือ
1.เว็บ นสพ. The Nation ของไทยเรา
http://www.nationmultimedia.com/
2. onestopenglish.com เป็นเว็บเรียนภาษาอังกฤษที่น่าสนใจมาก มีทุกอย่างที่ต้องการศึกษาที่เว็บนี้
http://www.onestopenglish.com/
3. และ 4. เป็นเว็บที่บริษัท Macmillan เขาโฆษณาหนังสือเรียนภาษาอังกฤษของเขา แต่เราสามารถใช้หน้าโษฆณาของเขานั่นแหละครับ ในการฝึกอ่านภาษาอังกฤษ เพราะมันมี Double – Click Dictionary ให้เราใช้
http://www.macmillanreaders.com/
http://www.macmillanenglish.com/Catalogue.aspx
5. – 6. เป็นเว็บอื่น ๆ แต่มี Double – Click Dictionary ของ Macmillan บริการอยู่ด้วย
http://www.mango.org.uk/ เป็นเว็บการบริหารการเงินขององค์กร NGO
http://www.psa.eu.com/ เว็บที่ปรึกษาทางด้านการศึกษา
ไหน ๆ ก็ไหน ๆ แล้ว ขอเรียนแถมเลยว่า การให้บริการ double – click dictionary ที่จัดโดย Macmillan dictionary นี้ ดิกยี่ห้ออื่นเขาก็ทำกัน เช่น ที่ผมเคยผ่านตาได้แก่
Merriam-Webster’s Learner’s Dictionary ที่เว็บ VOA Special English
http://www.voanews.com/learningenglish/home/
ขอสรุปจบท้ายครับว่า ด้วยเครื่องมือพร้อมใช้ที่เรียกว่า Double Click Dictionary นี้ ถ้าเราฝึกใช้บ่อย ๆ ขณะที่อ่านภาษาอังกฤษเมื่อต่อเน็ต reading skill ของเราจะเพิ่มขึ้นรวดเร็วโดยไม่รู้ตัว
พิพัฒน์
GemTriple@gmail.com
วันพฤหัสบดีที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น