สวัสดีครับ
ในบล็อกนี้ ผมกรองเว็บดิกชันนารีคุณภาพดีมาก ๆ มาไว้ที่ลิงค์นี้ -เปิดดิก – ซึ่งมีทั้ง
-Dictionary อังกฤษ - อังกฤษ
-Dictionary อังกฤษ - ไทย & ไทย - อังกฤษ
-ตัวอย่างประโยค 2 ภาษา (ภาษาไทย <- - > อังกฤษ)
-ตัวอย่างประโยคภาษาอังกฤษ
ที่ผมให้ความสำคัญกับเรื่องนี้มากก็เพราะว่า ในการเรียนรู้และฝึกฝนภาษาอังกฤษ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการ ฟัง – พูด – อ่าน – เขียน เรามักจะเรียนจากน้อยไปมากดังนี้
1.-เรียนศัพท์ทีละคำ
2.-เรียนประโยคทีละประโยค
3.-เรียนเนื้อหา ทีละย่อหน้า, ทีละหน้า, ทีละบท, จนถึงทีละเล่ม
โดยทั่วไป การที่เราจะทำได้คล่องตามข้อ 3.- เราคงต้องผ่านการฝึกฝนตามข้อ 1.- และข้อ 2.- มาก่อน และเครื่องมืออันวิเศษที่ช่วยให้เรารู้ศัพท์และประโยคภาษาอังกฤษ ก็คือ ดิกชันนารี ที่ผมรวบรวมไว้ในลิงค์ -เปิดดิก – นี่แหละครับ
จริงอยู่ อาจจะมีหลายท่านที่เก่งภาษาอังกฤษโดยไม่ต้องอาศัยดิกมากนัก แต่ถึงอย่างไรผมก็ยังอยากจะชักชวนให้ท่านได้ใช้ประโยชน์จากดิกชันนารีอยู่นั่นเอง เพราะดิกชันนารีเป็นของดีใกล้ตัว
วันนี้ผมขอเอาเรื่องเก่ามาพูดอีกครั้ง คือเรื่อง dict longdo
ซึ่งผมเคยพูดไว้ที่ลิงค์นี้ [20] บอกศัพท์ ทุกเว็บ ทุกคำ แค่วางเมาส์
เรื่องใหม่ที่ขอแนะนำก็คือ dict longdo มี ตัวอย่างประโยคให้เราดูด้วย อันที่จริง ดิกชันนารี อังกฤษ – อังกฤษ คุณภาพดี ในลิงค์นี้ -เปิดดิก – ก็มีประโยคตัวอย่างให้เราดู แต่ที่เว็บ dict longdo จะมีทั้งคำแปลศัพท์เป็นภาษาไทย และประโยคตัวอย่างให้ดู 2 อย่างพร้อมกันไปเลย และดูเหมือนว่า ตัวอย่างประโยคที่มีให้ดูนี้เอามาจากฐานข้อมูล ภาษาญี่ปุ่น – อังกฤษ จึง สั้น – ง่าย – เรียบ ๆ และอาจจะเหมาะสมกับท่านที่เริ่มศึกษา มากกว่าประโยคยาก ๆ ที่ ดิกชันนารี อังกฤษ – อังกฤษ มีให้อ่าน
ลองเข้าไปเล่นโดยลองพิมพ์คำศัพท์ง่าย ๆ ลงไป ฝึกอ่าน – ตีความ – ออกเสียงเป็นคำ ๆ – อ่านเป็นประโยค กับเว็บนี้ ก่อนที่จะขยับไปหา ดิกชันนารี อังกฤษ – อังกฤษ ก็ดีเหมือนกันครับ
พิพัฒน์
GemTriple@gmail.com
วันพฤหัสบดีที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2553
[1330] ภาษาอังกฤษสำหรับเด็กอนุบาล – ประถม
สวัสดีครับ
ที่บล็อกนี้ ผมได้แนะนำเว็บ/ลิงค์ และไฟล์ดาวน์โหลดมากพอสมควรสำหรับเด็กชั้นอนุบาล และชั้นประถมในการเรียนภาษาอังกฤษ ที่นี่ครับ -เริ่มศึกษา –
ผมชอบใจที่มีเว็บจำนวนมากซึ่งผู้ใหญ่ฝรั่งเขาทำให้เด็กฝรั่ง (และเด็กทั่วโลก) ได้ศึกษาภาษาอังกฤษ ซึ่งครูและผู้ปกครองก็สามารถใช้ในการสอนด้วย
ข้อติดขัด หากจะมี ในการใช้เว็บเหล่านี้ ก็มีเพียงประการเดียว คือ เว็บพวกนี้มักจะมีลูกเล่น เช่น ภาพ เสียง ภาพเคลื่อนไหว ฯลฯ ซึ่งดึงดูดความสนใจของเด็ก (และผู้ใหญ่ด้วย) คุณภาพของคอมฯและ speed ของเน็ตที่ใช้จึงต้องดีหน่อย ไม่อย่างนั้นเว็บที่เขาทำมาดี ๆ ก็จะกลายเป็นไม่น่าใช้ เพราะมันจะช้า ติด ๆ ขัด ๆ หรือดาวน์โหลดได้ไม่สมใจ หรือถึงขั้นน่ารำคาญ
ผมจึงขอแนะท่านผู้อ่านว่า ถ้าไม่ลำบากเกินไปนัก การลงทุนเพื่อการศึกษาภาษาอังกฤษของตัวเองหรือลูกหลาน โดยการติดตั้งอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง ก็น่าจะเป็นสิ่งที่คุ้มค่า
ข้างล่างนี้ เป็นตัวอย่างเว็บเรียนภาษาอังกฤษ สำหรับเด็กระดับอนุบาลและประถม ถ้าท่านเข้าไปใช้เว็บเหล่านี้แล้วชอบใจ อาจจะช่วยให้ท่านตัดสินใจง่ายขึ้น ในการซื้อคอมฯใหม่ ดี ๆ สักเครื่อง หรือติดตั้ง high-speed Internet
[1] http://www.learningplanet.com/stu/index.asp - ใกล้เคียง -
[2] http://www.lil-fingers.com/ - ใกล้เคียง -
[3] http://www.primarygames.com/ - ใกล้เคียง -
[4] http://www.rong-chang.com/kids.htm - ใกล้เคียง –
พิพัฒน์
GemTriple@gmail.com
ที่บล็อกนี้ ผมได้แนะนำเว็บ/ลิงค์ และไฟล์ดาวน์โหลดมากพอสมควรสำหรับเด็กชั้นอนุบาล และชั้นประถมในการเรียนภาษาอังกฤษ ที่นี่ครับ -เริ่มศึกษา –
ผมชอบใจที่มีเว็บจำนวนมากซึ่งผู้ใหญ่ฝรั่งเขาทำให้เด็กฝรั่ง (และเด็กทั่วโลก) ได้ศึกษาภาษาอังกฤษ ซึ่งครูและผู้ปกครองก็สามารถใช้ในการสอนด้วย
ข้อติดขัด หากจะมี ในการใช้เว็บเหล่านี้ ก็มีเพียงประการเดียว คือ เว็บพวกนี้มักจะมีลูกเล่น เช่น ภาพ เสียง ภาพเคลื่อนไหว ฯลฯ ซึ่งดึงดูดความสนใจของเด็ก (และผู้ใหญ่ด้วย) คุณภาพของคอมฯและ speed ของเน็ตที่ใช้จึงต้องดีหน่อย ไม่อย่างนั้นเว็บที่เขาทำมาดี ๆ ก็จะกลายเป็นไม่น่าใช้ เพราะมันจะช้า ติด ๆ ขัด ๆ หรือดาวน์โหลดได้ไม่สมใจ หรือถึงขั้นน่ารำคาญ
ผมจึงขอแนะท่านผู้อ่านว่า ถ้าไม่ลำบากเกินไปนัก การลงทุนเพื่อการศึกษาภาษาอังกฤษของตัวเองหรือลูกหลาน โดยการติดตั้งอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง ก็น่าจะเป็นสิ่งที่คุ้มค่า
ข้างล่างนี้ เป็นตัวอย่างเว็บเรียนภาษาอังกฤษ สำหรับเด็กระดับอนุบาลและประถม ถ้าท่านเข้าไปใช้เว็บเหล่านี้แล้วชอบใจ อาจจะช่วยให้ท่านตัดสินใจง่ายขึ้น ในการซื้อคอมฯใหม่ ดี ๆ สักเครื่อง หรือติดตั้ง high-speed Internet
[1] http://www.learningplanet.com/stu/index.asp - ใกล้เคียง -
[2] http://www.lil-fingers.com/ - ใกล้เคียง -
[3] http://www.primarygames.com/ - ใกล้เคียง -
[4] http://www.rong-chang.com/kids.htm - ใกล้เคียง –
พิพัฒน์
GemTriple@gmail.com
[1329] PDF e-book Search Engine
สวัสดีครับ
E-book จำนวนมาก เป็นไฟล์ PDF มีให้เราดาวน์โหลดฟรีทางเน็ต
เราสามารถหาชื่อของ e-book ดังกล่าวนี้ โดย
วิธีที่ 1:
-ไปที่ การค้นหาขั้นสูง หรือ Advanced Search ของ Google ,
-พิมพ์ 1-2 คำที่เป็นชื่อหนังสือ,
-คลิกเลือก pdf ตรง File type/รูปแบบไฟล์,
-คลิกเลือก in the title of the page/ในชื่อของหน้า ตรง Where your keywords show up/แสดงผลการค้นหาที่มีคำของฉัน
หรือพิมพ์ allintitle: ชื่อหนังสือ filetype:pdf ลงไปในช่อง Search ของ Google ก็ได้
วิธีที่ 2:
-ไปที่ http://search.4shared.com/network/search.jsp
-คลิก แสดงตัวเลือกการค้นหา >>
-ตรงที่ Type of a file: เลือก pdf
-พิมพ์คำค้นลงไปในช่อง ชื่อแฟ้ม
วิธีที่ 3:
หาจากเว็บนี้
http://www.pdf-search-engine.com/
และ - เว็บคล้ายกัน –
ด้วย 3 วิธีนี้ ท่านจะสามารถหา e-book ไฟล์ pdf จำนวนมากมายมาศึกษา ฟรี ๆ
พิพัฒน์
GemTriple@gmail.com
E-book จำนวนมาก เป็นไฟล์ PDF มีให้เราดาวน์โหลดฟรีทางเน็ต
เราสามารถหาชื่อของ e-book ดังกล่าวนี้ โดย
วิธีที่ 1:
-ไปที่ การค้นหาขั้นสูง หรือ Advanced Search ของ Google ,
-พิมพ์ 1-2 คำที่เป็นชื่อหนังสือ,
-คลิกเลือก pdf ตรง File type/รูปแบบไฟล์,
-คลิกเลือก in the title of the page/ในชื่อของหน้า ตรง Where your keywords show up/แสดงผลการค้นหาที่มีคำของฉัน
หรือพิมพ์ allintitle: ชื่อหนังสือ filetype:pdf ลงไปในช่อง Search ของ Google ก็ได้
วิธีที่ 2:
-ไปที่ http://search.4shared.com/network/search.jsp
-คลิก แสดงตัวเลือกการค้นหา >>
-ตรงที่ Type of a file: เลือก pdf
-พิมพ์คำค้นลงไปในช่อง ชื่อแฟ้ม
วิธีที่ 3:
หาจากเว็บนี้
http://www.pdf-search-engine.com/
และ - เว็บคล้ายกัน –
ด้วย 3 วิธีนี้ ท่านจะสามารถหา e-book ไฟล์ pdf จำนวนมากมายมาศึกษา ฟรี ๆ
พิพัฒน์
GemTriple@gmail.com
วันพุธที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2553
[1328] ฝึกอ่าน newspaper และ magazine ทุกวัน
สวัสดีครับ
ในจำนวนหนังสือที่ผมอ่าน หนังสือพิมพ์ (newspaper) และนิตยสาร(magazine) เป็นสิ่งที่ผมชอบมากที่สุด เพราะมีเนื้อหา ใหม่ – สด
ผมเคยสมัครเป็นสมาชิกนิตยสารที่ชอบ แต่ทุกเล่มจะลงท้ายเหมือนกันหมด คืออ่านไม่จบ ค้างไม่ได้อ่านหลายเล่มทีเดียว ผมเลยตัดสินใจว่า ขออ่านนิตยสาร online ดีกว่า เพราะถึงอ่านไม่จบก็ไม่เสียดายตังค์ เพราะไม่ได้จ่ายตังค์
แต่เดิมที่ผมยอมควักเงินจ่ายล่วงหน้าค่าสมาชิกนั้น เพราะผมกะว่า การที่จ่ายตังค์ไปแล้วจะได้พยายามอ่านให้จบเพราะเสียดายเงิน แต่ทำไปทำมาก็อ่านไม่จบ ที่อ่านไม่จบนี้ มิใช่เพราะบิดพลิ้วไม่รักษาวินัยที่ให้ไว้กับตัวเอง แต่เป็นเพราะมีงานเยอะเข้ามาแทรก และอีกอย่างหนึ่งที่ผมไม่ได้คำนึง คือใน magazine 1 ฉบับ มันก็เหมือนหนังสือพิมพ์นั่นแหละครับ คือเราอ่านเฉพาะหน้าหรือคอลัมน์ที่เราชอบ เรื่องไหนไม่ชอบก็ไม่อ่าน
ตอนนี้ผมจึงมาถึงข้อสรุปที่เด็ดขาดตามประสาคนที่ไม่ค่อยมีเงินว่า อ่าน newspaper และmagazine ฟรี online ดีกว่า เพราะ 1)ไม่ต้องเสียเงิน 2)มีให้อ่านหลากหลาย
ถ้าไม่นับ news magazine แล้ว ผมพยายามหานิตยสารทั่วไปคุณภาพดีที่เป็นภาษาไทยอ่านฟรีทางเน็ต แต่ก็หาแทบไม่พบเลย (ท่านใดทราบแจ้งด้วยนะครับ)
แต่พอไปหาที่เป็นภาษาอังกฤษ กลับมีมากมายให้อ่านฟรี วันนี้ผมเลยเอามาให้ท่านดูเป็นตัวอย่าง
ประเภท newspaper
www.ipl.org/div/news
เว็บลักษณะเดียวกัน
ประเภท magazine
1)เว็บที่มีให้หาบทความอ่านอย่างมากมาย ข้างล่างนี้ครับ
http://findarticles.com/
http://www.goarticles.com/
http://www.magportal.com/
2)เว็บ news magazine ที่มีชื่อเสียงระดับโลก
http://www.newsweek.com/
http://www.time.com/
http://www.timesonline.co.uk/
http://www.usnews.com/
http://www.economist.com/
http://www.usatoday.com/
http://www.washingtonpost.com/
http://www.rd.com/
http://www.life.com/
http://www.guinnessworldrecords.com/
และผมก็หาเว็บที่มีลักษณะเป็น magazine สำหรับเด็กและวันรุ่น
http://pbskids.org/
http://pbskids.org/zoom/
http://www.pbskidsplay.org/
http://www.cyberkids.com/
http://www.timeforkids.com/
http://kids.nationalgeographic.com/
http://kids.yahoo.com/
http://kids.discovery.com/
http://www.scholastic.com/kids/stacks/index.asp
http://www.funbrain.com/
http://www.factmonster.com/
ผมขอแนะนำให้ทุกท่านที่ต้องการฟิตภาษาอังกฤษ ฝึกจาก newspaper หรือ magazine นี่แหละครับเพราะมีประโยชน์มาก ในระยะแรกขอให้ค้นดูให้พบว่าท่านชอบอ่านประเภทใด – เล่มใด อาจจะต้องใช้เวลาช่วงนี้นานสักหน่อย เพราะการจะพบหนังสือที่รักก็อาจจะเหมือนหาให้พบคนที่รัก อาจจะหาได้ไม่ง่ายนัก และเมื่อพบแล้ว (หลาย ๆ เล่ม)ก็ฝึกอ่านให้เป็นกิจวัตรเลยครับ
เริ่มน้อย ๆ จากสิ่งที่รักนี่แหละครับดีที่สุด
พิพัฒน์
GemTriple@gmail.com
ในจำนวนหนังสือที่ผมอ่าน หนังสือพิมพ์ (newspaper) และนิตยสาร(magazine) เป็นสิ่งที่ผมชอบมากที่สุด เพราะมีเนื้อหา ใหม่ – สด
ผมเคยสมัครเป็นสมาชิกนิตยสารที่ชอบ แต่ทุกเล่มจะลงท้ายเหมือนกันหมด คืออ่านไม่จบ ค้างไม่ได้อ่านหลายเล่มทีเดียว ผมเลยตัดสินใจว่า ขออ่านนิตยสาร online ดีกว่า เพราะถึงอ่านไม่จบก็ไม่เสียดายตังค์ เพราะไม่ได้จ่ายตังค์
แต่เดิมที่ผมยอมควักเงินจ่ายล่วงหน้าค่าสมาชิกนั้น เพราะผมกะว่า การที่จ่ายตังค์ไปแล้วจะได้พยายามอ่านให้จบเพราะเสียดายเงิน แต่ทำไปทำมาก็อ่านไม่จบ ที่อ่านไม่จบนี้ มิใช่เพราะบิดพลิ้วไม่รักษาวินัยที่ให้ไว้กับตัวเอง แต่เป็นเพราะมีงานเยอะเข้ามาแทรก และอีกอย่างหนึ่งที่ผมไม่ได้คำนึง คือใน magazine 1 ฉบับ มันก็เหมือนหนังสือพิมพ์นั่นแหละครับ คือเราอ่านเฉพาะหน้าหรือคอลัมน์ที่เราชอบ เรื่องไหนไม่ชอบก็ไม่อ่าน
ตอนนี้ผมจึงมาถึงข้อสรุปที่เด็ดขาดตามประสาคนที่ไม่ค่อยมีเงินว่า อ่าน newspaper และmagazine ฟรี online ดีกว่า เพราะ 1)ไม่ต้องเสียเงิน 2)มีให้อ่านหลากหลาย
ถ้าไม่นับ news magazine แล้ว ผมพยายามหานิตยสารทั่วไปคุณภาพดีที่เป็นภาษาไทยอ่านฟรีทางเน็ต แต่ก็หาแทบไม่พบเลย (ท่านใดทราบแจ้งด้วยนะครับ)
แต่พอไปหาที่เป็นภาษาอังกฤษ กลับมีมากมายให้อ่านฟรี วันนี้ผมเลยเอามาให้ท่านดูเป็นตัวอย่าง
ประเภท newspaper
www.ipl.org/div/news
เว็บลักษณะเดียวกัน
ประเภท magazine
1)เว็บที่มีให้หาบทความอ่านอย่างมากมาย ข้างล่างนี้ครับ
http://findarticles.com/
http://www.goarticles.com/
http://www.magportal.com/
2)เว็บ news magazine ที่มีชื่อเสียงระดับโลก
http://www.newsweek.com/
http://www.time.com/
http://www.timesonline.co.uk/
http://www.usnews.com/
http://www.economist.com/
http://www.usatoday.com/
http://www.washingtonpost.com/
http://www.rd.com/
http://www.life.com/
http://www.guinnessworldrecords.com/
และผมก็หาเว็บที่มีลักษณะเป็น magazine สำหรับเด็กและวันรุ่น
http://pbskids.org/
http://pbskids.org/zoom/
http://www.pbskidsplay.org/
http://www.cyberkids.com/
http://www.timeforkids.com/
http://kids.nationalgeographic.com/
http://kids.yahoo.com/
http://kids.discovery.com/
http://www.scholastic.com/kids/stacks/index.asp
http://www.funbrain.com/
http://www.factmonster.com/
ผมขอแนะนำให้ทุกท่านที่ต้องการฟิตภาษาอังกฤษ ฝึกจาก newspaper หรือ magazine นี่แหละครับเพราะมีประโยชน์มาก ในระยะแรกขอให้ค้นดูให้พบว่าท่านชอบอ่านประเภทใด – เล่มใด อาจจะต้องใช้เวลาช่วงนี้นานสักหน่อย เพราะการจะพบหนังสือที่รักก็อาจจะเหมือนหาให้พบคนที่รัก อาจจะหาได้ไม่ง่ายนัก และเมื่อพบแล้ว (หลาย ๆ เล่ม)ก็ฝึกอ่านให้เป็นกิจวัตรเลยครับ
เริ่มน้อย ๆ จากสิ่งที่รักนี่แหละครับดีที่สุด
พิพัฒน์
GemTriple@gmail.com
วันอังคารที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2553
[1327] แนะนำ freeware ที่น่าสนใจ จาก thaiware.com
สวัสดีครับ
ผมเคยแนะนำเว็บ thaiware.com ที่ลิงค์นี้
เว็บนี้มีโปรแกรมฟรี หรือ freeware ภาษาไทย และ ภาษาไทยควบอังกฤษ ที่มีประโยชน์และน่าสนใจหลายโปรแกรมทีเดียว
วันนี้ผมขอแนะนำ freeware สัก 3 ประเภทจากเว็บนี้ ขอชวนให้ท่านคลิกเข้าไปดู เชื่อว่าน่าจะมีอย่างน้อย 1 โปรแกรมที่ท่านชอบมาก ๆ เชิญครับ...
ประเภทที่ 1: โปรแกรมดิกชันนารี อังกฤษ – ไทย, ไทย – อังกฤษ
ประเภทที่ 2:โปรแกรมสำหรับเด็ก
ประเภทที่ 3:โปรแกรมเรียนภาษา
พิพัฒน์
GemTriple@gmail.com
ผมเคยแนะนำเว็บ thaiware.com ที่ลิงค์นี้
เว็บนี้มีโปรแกรมฟรี หรือ freeware ภาษาไทย และ ภาษาไทยควบอังกฤษ ที่มีประโยชน์และน่าสนใจหลายโปรแกรมทีเดียว
วันนี้ผมขอแนะนำ freeware สัก 3 ประเภทจากเว็บนี้ ขอชวนให้ท่านคลิกเข้าไปดู เชื่อว่าน่าจะมีอย่างน้อย 1 โปรแกรมที่ท่านชอบมาก ๆ เชิญครับ...
ประเภทที่ 1: โปรแกรมดิกชันนารี อังกฤษ – ไทย, ไทย – อังกฤษ
ประเภทที่ 2:โปรแกรมสำหรับเด็ก
ประเภทที่ 3:โปรแกรมเรียนภาษา
พิพัฒน์
GemTriple@gmail.com
[1326]ด/ล ไฟล์ mp3 และ pdf จาก BBC
สวัสดีครับ
ผมรู้สึกว่าทุกวันนี้ถ้าใครมีเน็ตใช้ ก็จะไม่ขาดแคลนวัสดุที่จะใช้ฝึกพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษของตัวเอง
วิธีทำก็ง่าย ๆ คือ ไปที่ google.com และพิมพ์คำง่าย ๆ เช่น เรียนภาษาอังกฤษ หรือ esl ลงไป
ก็จะมีเว็บคุณภาพดีมากมายให้เราเรียนภาษาอังกฤษจนอิ่ม
ขอแนะนำเว็บดัง ๆสำหรับการเรียนภาษาอังกฤษตามการจัดของ Google:
PageRank 9/10 - 1
PageRank 7/10 -1 -2 -3 -4
PageRank 6/10 -1 -2 -3 -4 -5 -6
PageRank 5/10 -1
ในบล็อกนี้ ผมมีบริการพิเศษให้ท่านผู้อ่าน คือ ผมได้หาไฟล์ mp3 และ pdf ที่จัดไว้เป็นชุด ๆ ให้ท่านได้ฝึกฟัง, พูดตาม, อ่าน, เขียน ไปครบทั้ง 4 ทักษะ บริการเช่นนี้อาจจะสะดวกสำหรับท่านที่เน็ตช้า ท่านสามารถดาวน์โหลดไฟล์ให้เสร็จไปในคราวเดียว และหลังจากนี้ก็ฝึกกับไฟล์ชุดนี้แหละโดยไม่ต้องต่อเน็ตอีก หรือจะเบิร์นใส่แผ่น CD และเปิดฟังขณะขับรถก็ได้
ที่บล็อกนี้มีให้ท่านดาวน์โหลดมากมายหลากหลายสไตล์ รวมไว้ที่ลิงค์นี้ครับ - ฟัง
และวันนี้ผมมี mp3 และ pdf อีก 2 ชุดให้ท่านดาวน์โหลดไปศึกษาและฝึกฝนภาษาอังกฤษ
ชุดที่ 1: BBC English Lessons (MP3+Transcripts)
อธิบายการพูดภาษาอังกฤษในสถานการณ์ต่าง ๆ ข้างล่างนี้
Complaints apologies and excuses
Conversations
Discussion
Good News Bad News
Hello and goodbye
Instruction and Advice
Requests offers and invitations
ชุดที่ 2: ALL Hot English Weekly Lessons
part1.exe - part2 - part3 -part4- part5- part6
ศึกษาเพิ่มเติม: [1306] แนะนำ Hot English Magazine
แถม:audio stories 1 -2 -3 -4-5
พิพัฒน์
GemTriple@gmail.com
ผมรู้สึกว่าทุกวันนี้ถ้าใครมีเน็ตใช้ ก็จะไม่ขาดแคลนวัสดุที่จะใช้ฝึกพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษของตัวเอง
วิธีทำก็ง่าย ๆ คือ ไปที่ google.com และพิมพ์คำง่าย ๆ เช่น เรียนภาษาอังกฤษ หรือ esl ลงไป
ก็จะมีเว็บคุณภาพดีมากมายให้เราเรียนภาษาอังกฤษจนอิ่ม
ขอแนะนำเว็บดัง ๆสำหรับการเรียนภาษาอังกฤษตามการจัดของ Google:
PageRank 9/10 - 1
PageRank 7/10 -1 -2 -3 -4
PageRank 6/10 -1 -2 -3 -4 -5 -6
PageRank 5/10 -1
ในบล็อกนี้ ผมมีบริการพิเศษให้ท่านผู้อ่าน คือ ผมได้หาไฟล์ mp3 และ pdf ที่จัดไว้เป็นชุด ๆ ให้ท่านได้ฝึกฟัง, พูดตาม, อ่าน, เขียน ไปครบทั้ง 4 ทักษะ บริการเช่นนี้อาจจะสะดวกสำหรับท่านที่เน็ตช้า ท่านสามารถดาวน์โหลดไฟล์ให้เสร็จไปในคราวเดียว และหลังจากนี้ก็ฝึกกับไฟล์ชุดนี้แหละโดยไม่ต้องต่อเน็ตอีก หรือจะเบิร์นใส่แผ่น CD และเปิดฟังขณะขับรถก็ได้
ที่บล็อกนี้มีให้ท่านดาวน์โหลดมากมายหลากหลายสไตล์ รวมไว้ที่ลิงค์นี้ครับ - ฟัง
และวันนี้ผมมี mp3 และ pdf อีก 2 ชุดให้ท่านดาวน์โหลดไปศึกษาและฝึกฝนภาษาอังกฤษ
ชุดที่ 1: BBC English Lessons (MP3+Transcripts)
อธิบายการพูดภาษาอังกฤษในสถานการณ์ต่าง ๆ ข้างล่างนี้
Complaints apologies and excuses
Conversations
Discussion
Good News Bad News
Hello and goodbye
Instruction and Advice
Requests offers and invitations
ชุดที่ 2: ALL Hot English Weekly Lessons
part1.exe - part2 - part3 -part4- part5- part6
ศึกษาเพิ่มเติม: [1306] แนะนำ Hot English Magazine
แถม:audio stories 1 -2 -3 -4-5
พิพัฒน์
GemTriple@gmail.com
วันจันทร์ที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2553
ด/ล โปรแกรม Cambridge Dictionary 2003, 2008
สวัสดีครับ
วันนี้ผมมีโปรแกรม Cambridge Learner's Dictionary จำนวน 2 เวอร์ชั่น มาให้ท่านเลือกดาวน์โหลด ตามชอบใจ
Version 2003: จำนวน 27 ไฟล์ ๆ ละประมาณ 20 mb
Version 2008: จำนวน 33 ไฟล์ ๆ ละประมาณ 15 mb
คลิกอ่านต่อ
วันนี้ผมมีโปรแกรม Cambridge Learner's Dictionary จำนวน 2 เวอร์ชั่น มาให้ท่านเลือกดาวน์โหลด ตามชอบใจ
Version 2003: จำนวน 27 ไฟล์ ๆ ละประมาณ 20 mb
Version 2008: จำนวน 33 ไฟล์ ๆ ละประมาณ 15 mb
คลิกอ่านต่อ
[1325]Write CD ง่ายๆ ด้วย Windows XP(ไม่ง้อ Nero)
สวัสดีครับ
บทความวันนี้ ผมไม่ได้เขียนเอง แต่ขอ copy ลิงค์นี้มาให้ทุกท่านอ่าน
Write CD ง่ายๆ ด้วย Windows XP
และต่อไปนี้ เวลาจะเบิร์นไฟล์ลง CD ถ้าไม่มีโปรแกรม Nero ก็ใช้โปรแกรม Windows XP ที่ติดมากับเครื่องคอมฯได้เลยครับ
พิพัฒน์
GemTriple@gmail.com
บทความวันนี้ ผมไม่ได้เขียนเอง แต่ขอ copy ลิงค์นี้มาให้ทุกท่านอ่าน
Write CD ง่ายๆ ด้วย Windows XP
และต่อไปนี้ เวลาจะเบิร์นไฟล์ลง CD ถ้าไม่มีโปรแกรม Nero ก็ใช้โปรแกรม Windows XP ที่ติดมากับเครื่องคอมฯได้เลยครับ
พิพัฒน์
GemTriple@gmail.com
วันศุกร์ที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2553
[1324] เชิญดาวน์โหลดโปรแกรม Cambridge Dictionary
สวัสดีครับ
วันนี้ผมมีโปรแกรม Cambridge Learner's Dictionary (2008) มาให้ท่านเลือกดาวน์โหลด มีไฟล์อยู่ 2 ชุดให้เลือกดาวน์โหลด
ชุดที่ 1: จำนวน 33 ไฟล์ ๆ ละประมาณ 15 mb01.exe -02 -03 -04 -05 -06 -07 -08 -09 -10
11 -12 -13 -14 -15 -16 -17 -18 -19 -20
21 -22 -23 -24 -25 -26 -27 -28 -29 -30
Cambridge Advanced Learner's Dictionary3rd- 2008.part31.rar
Cambridge Advanced Learner's Dictionary3rd- 2008.part32.rar
Cambridge Advanced Learner's Dictionary3rd- 2008.part33.rar
ชุดที่ 2: จำนวน 4 ไฟล์ ๆ ละประมาณ 100 mb
Cambridge Learner's Dictionary 3rd edition.rar.001
วิธีใช้งาน
1.ให้ท่านดาวน์โหลดทีละไฟล์ ๆ จนครบ (ดาวน์โหลดแต่ละไฟล์เสร็จแล้ว ยังไม่ต้องแตกไฟล์) ให้รวบรวมทุกไฟล์นี้ไว้ในโฟลเดอร์เดียวกัน
2.คลิกแตกเฉพาะไฟล์ที่ 1 ซึ่งจะทำให้ทุกไฟล์แตกรวมอยู่ในโฟลเดอร์เดียวกัน,
ถ้าไม่มีโปรแกรม WinRar สำหรับแตกไฟล์ ให้ดาวน์โหลดและติดตั้งโปรแกรม 7-zip เพื่อใช้แตกไฟล์
คลิกดาวน์โหลดโปรแกรม 7-zip
3.เบิร์นไฟล์ที่แตกแล้วลงแผ่น CD, ถ้าไม่มีโปรแกรมเบิร์น เช่น Nero ไปดาวน์โหลดได้ที่นี่ครับ คลิก
4.เบิร์นเสร็จแล้ว ก็ติดตั้งโปรแกรมเพื่อใช้งานได้เลยครับ เชื่อว่า โปรแกรม Cambridge Learner's dictionary จะไม่ทำให้ท่านผิดหวัง แถมใช้งานได้โดยไม่ต้องต่อเน็ตอีกด้วย
********
ขอคุยด้วยอีกสักนิดนะครับ
ในประเภท English Learner's dictionary online ด้วยกัน, Cambridge เป็นดิกที่ได้รับความนิยมมากที่สุดโดยดูจาก PageRank ของ Google (ตัวเลข ณ วันที่ 22 มกราคม 2533)
PageRank = 8/10
- Cambridge
PageRank = 7/10 -
- Webster Learner's dictionary
- Longman
- Macmillan
- MSN Encarta
PageRank = 6/10
- Cobuild
-Google (ฐานข้อมูลเดียวกับ Cobuild)
- Newburry House
PageRank = 4/10
-Oxford (ไม่น่าเชื่อ)
- Wordsmyth
ส่วนในประเภท English dictionary online ที่ ไม่ใช่ Learner's dictionary แต่ เป็นเวอร์ชั่นผู้ใหญ่
PageRank = 8/10
Merriam- Webster Dictionary
PageRank = 7/10
American Heritage Dictionary
(คลิก head word ที่เป็นลิงค์ เพื่อดูความหมายเต็ม)
สำหรับดิกชันนารี อังกฤษ – ไทย, ไทย – อังกฤษ ที่มีคนนิยมมากสุด 2 อันดับได้แก่
PageRank = 7/10
LEXiTRON
PageRank = 6/10
Longdo Dict
พิพัฒน์
GemTriple@gmail.com
วันนี้ผมมีโปรแกรม Cambridge Learner's Dictionary (2008) มาให้ท่านเลือกดาวน์โหลด มีไฟล์อยู่ 2 ชุดให้เลือกดาวน์โหลด
ชุดที่ 1: จำนวน 33 ไฟล์ ๆ ละประมาณ 15 mb01.exe -02 -03 -04 -05 -06 -07 -08 -09 -10
11 -12 -13 -14 -15 -16 -17 -18 -19 -20
21 -22 -23 -24 -25 -26 -27 -28 -29 -30
Cambridge Advanced Learner's Dictionary3rd- 2008.part31.rar
Cambridge Advanced Learner's Dictionary3rd- 2008.part32.rar
Cambridge Advanced Learner's Dictionary3rd- 2008.part33.rar
ชุดที่ 2: จำนวน 4 ไฟล์ ๆ ละประมาณ 100 mb
Cambridge Learner's Dictionary 3rd edition.rar.001
วิธีใช้งาน
1.ให้ท่านดาวน์โหลดทีละไฟล์ ๆ จนครบ (ดาวน์โหลดแต่ละไฟล์เสร็จแล้ว ยังไม่ต้องแตกไฟล์) ให้รวบรวมทุกไฟล์นี้ไว้ในโฟลเดอร์เดียวกัน
2.คลิกแตกเฉพาะไฟล์ที่ 1 ซึ่งจะทำให้ทุกไฟล์แตกรวมอยู่ในโฟลเดอร์เดียวกัน,
ถ้าไม่มีโปรแกรม WinRar สำหรับแตกไฟล์ ให้ดาวน์โหลดและติดตั้งโปรแกรม 7-zip เพื่อใช้แตกไฟล์
คลิกดาวน์โหลดโปรแกรม 7-zip
3.เบิร์นไฟล์ที่แตกแล้วลงแผ่น CD, ถ้าไม่มีโปรแกรมเบิร์น เช่น Nero ไปดาวน์โหลดได้ที่นี่ครับ คลิก
4.เบิร์นเสร็จแล้ว ก็ติดตั้งโปรแกรมเพื่อใช้งานได้เลยครับ เชื่อว่า โปรแกรม Cambridge Learner's dictionary จะไม่ทำให้ท่านผิดหวัง แถมใช้งานได้โดยไม่ต้องต่อเน็ตอีกด้วย
********
ขอคุยด้วยอีกสักนิดนะครับ
ในประเภท English Learner's dictionary online ด้วยกัน, Cambridge เป็นดิกที่ได้รับความนิยมมากที่สุดโดยดูจาก PageRank ของ Google (ตัวเลข ณ วันที่ 22 มกราคม 2533)
PageRank = 8/10
- Cambridge
PageRank = 7/10 -
- Webster Learner's dictionary
- Longman
- Macmillan
- MSN Encarta
PageRank = 6/10
- Cobuild
-Google (ฐานข้อมูลเดียวกับ Cobuild)
- Newburry House
PageRank = 4/10
-Oxford (ไม่น่าเชื่อ)
- Wordsmyth
ส่วนในประเภท English dictionary online ที่ ไม่ใช่ Learner's dictionary แต่ เป็นเวอร์ชั่นผู้ใหญ่
PageRank = 8/10
Merriam- Webster Dictionary
PageRank = 7/10
American Heritage Dictionary
(คลิก head word ที่เป็นลิงค์ เพื่อดูความหมายเต็ม)
สำหรับดิกชันนารี อังกฤษ – ไทย, ไทย – อังกฤษ ที่มีคนนิยมมากสุด 2 อันดับได้แก่
PageRank = 7/10
LEXiTRON
PageRank = 6/10
Longdo Dict
พิพัฒน์
GemTriple@gmail.com
วันพฤหัสบดีที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2553
[1323] ฟัง – อ่าน audio articles (บทความเสียง)
สวัสดีครับ
ในบล็อกนี้มีหนังสือเสียง หรือ audio book ให้ท่านฟังและอ่านมากพอสมควร
ที่ลิงค์นี้
วันนี้ผมนึกอยากจะหา บทความที่มีเสียงให้คลิกฟังพร้อมข้อความให้อ่าน ผมเลยให้ Google หาโดยพิมพ์คำว่า audio articles ลงไป, ได้ผลครับ เจอเว็บ audio articles อย่างที่ต้องการข้างล่างนี้
Audio articles
http://www.efl.net/articles.htm
http://www.englishonline.org.cn/en/listen-watch/articles
http://www.weeklyletter.com/
*******
แถม:
Audio Stories
Free Audio Books
[1060] search engine ที่ใช้หาประโยคที่ต้องการฟัง
Audio books ภาษาไทย
http://www.esl-lab.com/
[1093] วิธีดูด mp3 จากเว็บ (ทุกเว็บที่ต้องการดูด)
[1169] 4 วิธีในการดาวน์โหลดวีดิโอจากเว็บ
พิพัฒน์
GemTriple@gmail.com
ในบล็อกนี้มีหนังสือเสียง หรือ audio book ให้ท่านฟังและอ่านมากพอสมควร
ที่ลิงค์นี้
วันนี้ผมนึกอยากจะหา บทความที่มีเสียงให้คลิกฟังพร้อมข้อความให้อ่าน ผมเลยให้ Google หาโดยพิมพ์คำว่า audio articles ลงไป, ได้ผลครับ เจอเว็บ audio articles อย่างที่ต้องการข้างล่างนี้
Audio articles
http://www.efl.net/articles.htm
http://www.englishonline.org.cn/en/listen-watch/articles
http://www.weeklyletter.com/
*******
แถม:
Audio Stories
Free Audio Books
[1060] search engine ที่ใช้หาประโยคที่ต้องการฟัง
Audio books ภาษาไทย
http://www.esl-lab.com/
[1093] วิธีดูด mp3 จากเว็บ (ทุกเว็บที่ต้องการดูด)
[1169] 4 วิธีในการดาวน์โหลดวีดิโอจากเว็บ
พิพัฒน์
GemTriple@gmail.com
วันพุธที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2553
[1322] เรียนภาษาอังกฤษกับเพลงเด็ก 60 เพลง
สวัสดีครับ
เพลงภาษาอังกฤษสำหรับเด็ก นอกจากมีประโยชน์ต่อเด็กและวัยรุ่นในฐานะผู้เรียนแล้ว ยังมีประโยชน์ต่อครูในฐานะผู้สอนอีกด้วย
วันนี้ผมมีมาให้ทุกท่านดาวน์โหลด 60 เพลง น่ารัก ๆ ทั้งนั้นเลย คลิกดาวน์โหลดข้างล่างนี้ได้เลยครับ
Learn English with songs
1- 2- 3 -4 - 5 - 6 - 7 - 8 - 9 - 10
11 -12 -13 -14 -15 -16 -17 -18 -19 - 20
21 - 22 - 23 - 24 - 25 - 26 - 27 - 28 - 29 - 30
31- 32 - 33 - 34 - 35 - 36 - 37 - 38 - 39 - 40
41 - 42 - 43 - 44 - 45 - 46 - 47 - 48 - 49 - 50
51 - 52 - 53 - 54 - 55- 56 - 57 - 58 - 59 - 60
พิพัฒน์
GemTriple@gmail.com
เพลงภาษาอังกฤษสำหรับเด็ก นอกจากมีประโยชน์ต่อเด็กและวัยรุ่นในฐานะผู้เรียนแล้ว ยังมีประโยชน์ต่อครูในฐานะผู้สอนอีกด้วย
วันนี้ผมมีมาให้ทุกท่านดาวน์โหลด 60 เพลง น่ารัก ๆ ทั้งนั้นเลย คลิกดาวน์โหลดข้างล่างนี้ได้เลยครับ
Learn English with songs
1- 2- 3 -4 - 5 - 6 - 7 - 8 - 9 - 10
11 -12 -13 -14 -15 -16 -17 -18 -19 - 20
21 - 22 - 23 - 24 - 25 - 26 - 27 - 28 - 29 - 30
31- 32 - 33 - 34 - 35 - 36 - 37 - 38 - 39 - 40
41 - 42 - 43 - 44 - 45 - 46 - 47 - 48 - 49 - 50
51 - 52 - 53 - 54 - 55- 56 - 57 - 58 - 59 - 60
พิพัฒน์
GemTriple@gmail.com
วันอังคารที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2553
[1321]วิธีง่ายที่สุดในการให้ Google ค้นภาษาอังกฤษ
สวัสดีครับ
ถ้าบางท่านจะงงเมื่อเข้ามาในบล็อกนี้ ว่าไม่รู้จะหาเรื่องนั้นเรื่องนี้ได้ที่ไหน ท่านอย่าแปลกใจเลยครับ ผมเองในฐานะคนทำแม้ไม่งงแต่บางครั้งก็จำไม่ได้ว่าเว็บนั้นเว็บนี้เคยแนะนำแล้วหรือยัง? หรือถ้าแนะนำแล้วมันอยู่ที่ไหน? หลายครั้งก็ตอบทันทีไม่ได้ เพราะมันเยอะเหลือเกินจำไม่ไหว
ถ้าท่านใดอยู่ในสภาพคล้าย ๆ กับผม ขอแนะนำให้ไปที่ลิงค์นี้
ตอบเรื่องที่ท่านผู้อ่านถามบ่อย
และอ่าน
คำถามที่ 1: เรื่องนั้นเรื่องนี้ใน Blog นี้มีหรือไม่?
ตอบ: ท่านสามารถค้นหาเรื่องใน Blog นี้ได้ 4 วิธี ดังนี้…..
ก็จะหายงงครับ
**********
วันนี้ผมขอแนะนำวิธีหนึ่งที่ง่ายมาก ๆ ในการค้นให้พบเรื่องดี ๆ เกี่ยวกับการศึกษาภาษาอังกฤษ ทำยังไง? ง่ายมากครับ เพียงแค่:
1.ไปที่ google.com หรือ google.co.th
2.พิมพ์ allintitle:ภาษาอังกฤษ คำค้น
3.คลิก Search
แค่นี้เองครับ ง่ายมาก และผลการค้นของ Google อาจจะดีกว่าที่ท่านตั้งใจไว้ซะอีก
*****
มีเรื่องที่ขอบอกนิดหน่อยไว้ตอนนี้เลย
1. คำค้น นี้ ควรจะเป็นคำสั้น ๆ
2.ถ้าอ่านผลการ Search ของ Google คร่าว ๆ และเห็นว่า คงจะเป็นโฆษณาขายของและเรายังไม่ต้องการซื้อ ก็ข้ามไปเลยไม่ต้องไปคลิกให้เสียเวลา
3.ถ้าชอบใจเว็บหรือลิงค์ใด ทำ Favorite ไว้เลยครับ จะได้ไม่ต้องเสียเวลาหาอีกครั้ง หรือถ้าชอบสุดๆก็น่า save ไว้เลย เพราะเว็บก็มีเกิด-แก่-เจ็บ-ตาย ถ้านิ่งนอนใจไม่ save ไว้ เมื่อเข้าไปอีกครั้ง เว็บอาจจะตายไม่มีให้อ่านอีกแล้วก็ได้
*****
ข้างล่างนี้เป็นตัวอย่างการค้นตามวิธีที่แนะนำข้างต้น ลองคลิกดูได้เลยครับ น่าจะมีอะไรที่ถูกใจท่านบ้าง และท่านอาจจะได้ idea ว่า ต่อไปควรจะค้นยังไงจึงจะพบเรื่องเจาะจงที่ท่านต้องการ
ขอเชิญคลิกดูได้เลยครับ.....
allintitle:ภาษาอังกฤษ พื้นฐาน
allintitle:ภาษาอังกฤษ เบื้องต้น
allintitle:ภาษาอังกฤษ เริ่มต้น
allintitle:ภาษาอังกฤษ อนุบาล
allintitle:ภาษาอังกฤษ ประถม
allintitle:ภาษาอังกฤษ ข้อสอบ
allintitle:ภาษาอังกฤษ เฉลย
allintitle:ภาษาอังกฤษ บทสนทนา
allintitle:ภาษาอังกฤษ พูด
allintitle:ภาษาอังกฤษ ฟัง
allintitle:ภาษาอังกฤษ อ่าน
allintitle:ภาษาอังกฤษ เขียน
allintitle:ภาษาอังกฤษ สำนวน
allintitle:ภาษาอังกฤษ วลี
allintitle:ภาษาอังกฤษ slang
allintitle:ภาษาอังกฤษ ศัพท์
allintitle:ภาษาอังกฤษ grammar
allintitle:ภาษาอังกฤษ passive voice
allintitle:ภาษาอังกฤษ ดาวน์โหลด หนังสือ
allintitle:ภาษาอังกฤษ download free
allintitle:ภาษาอังกฤษ จดหมาย
allintitle:ภาษาอังกฤษ ตัวอย่าง
allintitle:ภาษาอังกฤษ สำหรับ
allintitle:ภาษาอังกฤษ ที่ใช้
allintitle:ภาษาอังกฤษ สัมภาษณ์
allintitle:ภาษาอังกฤษ โปรแกรม
allintitle:ภาษาอังกฤษ ฟรี
allintitle:ภาษาอังกฤษ free
allintitle:ภาษาอังกฤษ link
allintitle:ภาษาอังกฤษ ลิงค์
พิพัฒน์
GemTriple@gmail.com
ถ้าบางท่านจะงงเมื่อเข้ามาในบล็อกนี้ ว่าไม่รู้จะหาเรื่องนั้นเรื่องนี้ได้ที่ไหน ท่านอย่าแปลกใจเลยครับ ผมเองในฐานะคนทำแม้ไม่งงแต่บางครั้งก็จำไม่ได้ว่าเว็บนั้นเว็บนี้เคยแนะนำแล้วหรือยัง? หรือถ้าแนะนำแล้วมันอยู่ที่ไหน? หลายครั้งก็ตอบทันทีไม่ได้ เพราะมันเยอะเหลือเกินจำไม่ไหว
ถ้าท่านใดอยู่ในสภาพคล้าย ๆ กับผม ขอแนะนำให้ไปที่ลิงค์นี้
ตอบเรื่องที่ท่านผู้อ่านถามบ่อย
และอ่าน
คำถามที่ 1: เรื่องนั้นเรื่องนี้ใน Blog นี้มีหรือไม่?
ตอบ: ท่านสามารถค้นหาเรื่องใน Blog นี้ได้ 4 วิธี ดังนี้…..
ก็จะหายงงครับ
**********
วันนี้ผมขอแนะนำวิธีหนึ่งที่ง่ายมาก ๆ ในการค้นให้พบเรื่องดี ๆ เกี่ยวกับการศึกษาภาษาอังกฤษ ทำยังไง? ง่ายมากครับ เพียงแค่:
1.ไปที่ google.com หรือ google.co.th
2.พิมพ์ allintitle:ภาษาอังกฤษ คำค้น
3.คลิก Search
แค่นี้เองครับ ง่ายมาก และผลการค้นของ Google อาจจะดีกว่าที่ท่านตั้งใจไว้ซะอีก
*****
มีเรื่องที่ขอบอกนิดหน่อยไว้ตอนนี้เลย
1. คำค้น นี้ ควรจะเป็นคำสั้น ๆ
2.ถ้าอ่านผลการ Search ของ Google คร่าว ๆ และเห็นว่า คงจะเป็นโฆษณาขายของและเรายังไม่ต้องการซื้อ ก็ข้ามไปเลยไม่ต้องไปคลิกให้เสียเวลา
3.ถ้าชอบใจเว็บหรือลิงค์ใด ทำ Favorite ไว้เลยครับ จะได้ไม่ต้องเสียเวลาหาอีกครั้ง หรือถ้าชอบสุดๆก็น่า save ไว้เลย เพราะเว็บก็มีเกิด-แก่-เจ็บ-ตาย ถ้านิ่งนอนใจไม่ save ไว้ เมื่อเข้าไปอีกครั้ง เว็บอาจจะตายไม่มีให้อ่านอีกแล้วก็ได้
*****
ข้างล่างนี้เป็นตัวอย่างการค้นตามวิธีที่แนะนำข้างต้น ลองคลิกดูได้เลยครับ น่าจะมีอะไรที่ถูกใจท่านบ้าง และท่านอาจจะได้ idea ว่า ต่อไปควรจะค้นยังไงจึงจะพบเรื่องเจาะจงที่ท่านต้องการ
ขอเชิญคลิกดูได้เลยครับ.....
allintitle:ภาษาอังกฤษ พื้นฐาน
allintitle:ภาษาอังกฤษ เบื้องต้น
allintitle:ภาษาอังกฤษ เริ่มต้น
allintitle:ภาษาอังกฤษ อนุบาล
allintitle:ภาษาอังกฤษ ประถม
allintitle:ภาษาอังกฤษ ข้อสอบ
allintitle:ภาษาอังกฤษ เฉลย
allintitle:ภาษาอังกฤษ บทสนทนา
allintitle:ภาษาอังกฤษ พูด
allintitle:ภาษาอังกฤษ ฟัง
allintitle:ภาษาอังกฤษ อ่าน
allintitle:ภาษาอังกฤษ เขียน
allintitle:ภาษาอังกฤษ สำนวน
allintitle:ภาษาอังกฤษ วลี
allintitle:ภาษาอังกฤษ slang
allintitle:ภาษาอังกฤษ ศัพท์
allintitle:ภาษาอังกฤษ grammar
allintitle:ภาษาอังกฤษ passive voice
allintitle:ภาษาอังกฤษ ดาวน์โหลด หนังสือ
allintitle:ภาษาอังกฤษ download free
allintitle:ภาษาอังกฤษ จดหมาย
allintitle:ภาษาอังกฤษ ตัวอย่าง
allintitle:ภาษาอังกฤษ สำหรับ
allintitle:ภาษาอังกฤษ ที่ใช้
allintitle:ภาษาอังกฤษ สัมภาษณ์
allintitle:ภาษาอังกฤษ โปรแกรม
allintitle:ภาษาอังกฤษ ฟรี
allintitle:ภาษาอังกฤษ free
allintitle:ภาษาอังกฤษ link
allintitle:ภาษาอังกฤษ ลิงค์
พิพัฒน์
GemTriple@gmail.com
[1320] อ่าน เจมส์ บอนด์ (James Bond)
สวัสดีครับ
เรื่องราวโดยละเอียดและสมบูรณ์ที่สุดเกี่ยวกับ James Bond มีให้อ่านที่ วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรีภาษาไทย
คลิกที่นี่
และยังมีให้อ่านกระเส็นกระสาย ในภาษาไทย อีกหลายแห่ง คลิก
ขอเรียนตามตรงครับ ผมเองก็ไม่เคยอ่านหนังสือ เจมส์ บอนด์ ไม่ว่าจะเป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ เคยดูแต่หนัง
วันนี้ผมมีหนังสือเจมส์ บอนด์ ภาษาอังกฤษมาให้ลองอ่านดู ใครอ่านแล้วเล่าให้ฟังบ้างนะครับ
คลิกอ่าน James Bond ประพันธ์ โดย Ian Fleming
พิพัฒน์
GemTriple@gmail.com
เรื่องราวโดยละเอียดและสมบูรณ์ที่สุดเกี่ยวกับ James Bond มีให้อ่านที่ วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรีภาษาไทย
คลิกที่นี่
และยังมีให้อ่านกระเส็นกระสาย ในภาษาไทย อีกหลายแห่ง คลิก
ขอเรียนตามตรงครับ ผมเองก็ไม่เคยอ่านหนังสือ เจมส์ บอนด์ ไม่ว่าจะเป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ เคยดูแต่หนัง
วันนี้ผมมีหนังสือเจมส์ บอนด์ ภาษาอังกฤษมาให้ลองอ่านดู ใครอ่านแล้วเล่าให้ฟังบ้างนะครับ
คลิกอ่าน James Bond ประพันธ์ โดย Ian Fleming
พิพัฒน์
GemTriple@gmail.com
วันจันทร์ที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2553
[1319] ฟัง, ดาวน์โหลด, อ่าน เกี่ยวกับ Larry King
สวัสดีครับ
ท่านที่ชมข่าว CNN คงจะคุ้นหน้าคุ้นตา Larry King เป็นอย่างดี เขาดังมากในฐานะพิธีกรผู้สัมภาษณ์บุคคลต่าง ๆ ในหลากหลายวงการโดยเฉพาะอย่างยิ่งคนดัง ผมได้รวมรวมเว็บที่น่าสนใจเกี่ยวกับ Larry king ไว้ข้างล่างนี้ครับ
1. ประวัติและผลงานของ Larry king
2.ดูวีดิโอ Larry King online
เว็บ CNN
เว็บ YouTube Video
เว็บ Google Video#
3. อ่าน script การสัมภาษณ์ของ Larry King
4.ฟัง Audiobook เรื่อง How to Talk to Anyone, Anytime, Anywhere ความยาว 40 นาที เป็นเสียงของเขาเองที่พูดถึงประวัติ ประสบการณ์ ศิลปะ และข้อแนะนำ ในการพูดในสถานการณ์ต่าง ๆ ไม่ใช่ในฐานะผู้สัมภาษณ์คนดังทางทีวีเท่านั้น แต่ในสถานการณ์อื่น ๆ ด้วย เช่น ในงานเลี้ยง ในการขายสินค้า ในการพูดกับหัวหน้า เป็นต้น ผมฟังโดยตลอดแล้ว น่าสนใจมากครับ
จาก 4shared.com
จาก rapidshare.com
ผมพยายามอยู่นานในการหาไฟล์หนังสือของ Audiobook นี้ แต่ก็ยังหาไม่พบ ท่านใดพบช่วยบอกด้วยนะครับ
พิพัฒน์
GemTriple@gmail.com
ท่านที่ชมข่าว CNN คงจะคุ้นหน้าคุ้นตา Larry King เป็นอย่างดี เขาดังมากในฐานะพิธีกรผู้สัมภาษณ์บุคคลต่าง ๆ ในหลากหลายวงการโดยเฉพาะอย่างยิ่งคนดัง ผมได้รวมรวมเว็บที่น่าสนใจเกี่ยวกับ Larry king ไว้ข้างล่างนี้ครับ
1. ประวัติและผลงานของ Larry king
2.ดูวีดิโอ Larry King online
เว็บ CNN
เว็บ YouTube Video
เว็บ Google Video#
3. อ่าน script การสัมภาษณ์ของ Larry King
4.ฟัง Audiobook เรื่อง How to Talk to Anyone, Anytime, Anywhere ความยาว 40 นาที เป็นเสียงของเขาเองที่พูดถึงประวัติ ประสบการณ์ ศิลปะ และข้อแนะนำ ในการพูดในสถานการณ์ต่าง ๆ ไม่ใช่ในฐานะผู้สัมภาษณ์คนดังทางทีวีเท่านั้น แต่ในสถานการณ์อื่น ๆ ด้วย เช่น ในงานเลี้ยง ในการขายสินค้า ในการพูดกับหัวหน้า เป็นต้น ผมฟังโดยตลอดแล้ว น่าสนใจมากครับ
จาก 4shared.com
จาก rapidshare.com
ผมพยายามอยู่นานในการหาไฟล์หนังสือของ Audiobook นี้ แต่ก็ยังหาไม่พบ ท่านใดพบช่วยบอกด้วยนะครับ
พิพัฒน์
GemTriple@gmail.com
[1318]ข่าวแผ่นดินไหวที่เฮติ 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา
สวัสดีครับ
เชิญอ่านข่าวแผ่นดินไหวที่เฮติ ใน 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา ข้างล่างนี้ครับ
ข่าวภาษาไทย
คลิก
ข่าวภาษาอังกฤษ
CNN
BBC
Google News
Yahoo News
พิพัฒน์
GemTriple@gmail.com
เชิญอ่านข่าวแผ่นดินไหวที่เฮติ ใน 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา ข้างล่างนี้ครับ
ข่าวภาษาไทย
คลิก
ข่าวภาษาอังกฤษ
CNN
BBC
Google News
Yahoo News
พิพัฒน์
GemTriple@gmail.com
[1317] คําหยาบภาษาอังกฤษ
สวัสดีครับ
คำหยาบไม่ใช่สิ่งที่ควรพูด แต่รู้ไว้ก็ไม่น่าจะเสียหลาย ได้ยินใครพูดจะได้รู้เรื่อง
ผมไปที่ Google และพิมพ์คำว่า คําหยาบภาษาอังกฤษ ลงไป ก็ได้ผลดังนี้ครับ คลิก
ส่วนที่เป็นภาษาอังฤษก็มีอยู่บ้าง เอามาฝาก 2 ลิงค์นี้ครับ
-http://www.noswearing.com/list.php
-rudest words in Britain
ศึกษาเพิ่มเติม:
http://www.allslang.com/
พิพัฒน์
GemTriple@gmail.com
คำหยาบไม่ใช่สิ่งที่ควรพูด แต่รู้ไว้ก็ไม่น่าจะเสียหลาย ได้ยินใครพูดจะได้รู้เรื่อง
ผมไปที่ Google และพิมพ์คำว่า คําหยาบภาษาอังกฤษ ลงไป ก็ได้ผลดังนี้ครับ คลิก
ส่วนที่เป็นภาษาอังฤษก็มีอยู่บ้าง เอามาฝาก 2 ลิงค์นี้ครับ
-http://www.noswearing.com/list.php
-rudest words in Britain
ศึกษาเพิ่มเติม:
http://www.allslang.com/
พิพัฒน์
GemTriple@gmail.com
วันอาทิตย์ที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2553
[1316]ขอความรัก ความสุข ความสำเร็จ จงมีแด่ทุกท่าน
สวัสดีครับ
จากประสบการณ์ที่เขียนบล็อกมา 3 ปี ถ้ามีใครถามว่า ทำอย่างไรจึงจะเก่งภาษาอังกฤษ คำตอบของผมเป็นสิ่งที่หลายท่านคงจะเดาได้ นั่นคือ การจะประสบความสำเร็จในการเรียนภาษาอังกฤษ หรือในเรื่องใดๆก็ตาม ต้องใช้ อิทธิบาท 4 ข้อ ไปตามลำดับ คือ
อิทธิบาท ข้อ 1 ฉันทะ – รักในสิ่งที่ทำ
อิทธิบาท ข้อ 2 วิริยะ – ขยันทำสิ่งนั้น
อิทธิบาท ข้อ 3 จิตตะ ทำสิ่งนั้นด้วยใจจดจ่อ หรือ มีสมาธิ
อิทธิบาท ข้อ 4 วิมังสา – ใคร่ครวญเพื่อหาวิธีแก้ไขปรับปรุงสิ่งที่ทำ
ทุกคนที่เรียนภาษาอังกฤษด้วยอิทธิบาท 4 ข้อ ไปตามลำดับ 1-2-3-4 ย่อมประสบความสำเร็จ คือ เก่งภาษาอังกฤษ
อย่างไรตาม สิ่งที่น่าสนใจที่ผมได้พบก็คือ ในขณะที่คนไทยต่างรู้จักอิทธิบาท 4 ข้อ แต่แทนที่จะใช้อิทธิบาท 4 จากข้อ 1 -2 -3 -4 ไปตามลำดับ กลับใช้อิทธิบาท 4 ย้อนหลัง คือ 4 -3 -2 -1 ซึ่งผลจากการปฏิบัติธรรมย้อนหลังนอกคำสอนครูบาอาจารย์เช่นนี้ มีประสิทธิภาพน้อยกว่าการปฏิบัติธรรมตามวิธีปกติ
ข้อสังเกตเช่นนี้มาจากอะไร?
ท่านจะเห็นว่า เมื่อเราเรียนภาษาอังกฤษตามวิธีของอิทธิบาท 4 ข้อ จะต้องเริ่มต้นด้วยความรัก เมื่อรักก็จะขยันทำ และทำอย่างมีสมาธิ และใช้สมาธิใคร่ครวญเพื่อแก้ไขปรับปรุง ทำไปตามลำดับเช่นนี้ ความสำเร็จอย่างมีประสิทธิภาพก็เกิดขึ้นได้เร็ว แต่ปัญหาอยู่ตรงที่ว่า คนไทยและเด็กไทยจำนวนไม่น้อยไม่รักภาษาอังกฤษ ไม่ชอบภาษาอังกฤษ หรือบางคนถึงขั้นเกลียดภาษาอังกฤษ แต่...แต่ความจำเป็นที่เห็นและเป็นอยู่บอกว่า ถ้าไม่รู้ภาษาอังกฤษ ถ้าพูดหรือเขียนภาษาอังกฤษไม่ได้ ก็จะแย่กว่าชาวบ้านที่เขาเก่งภาษาอังกฤษ และเมื่อทุกคนต้องการประสบความสำเร็จด้วยภาษาอังกฤษ แต่ไม่รัก หรือไม่สามารถทำใจให้รัก คือ ไม่มีฉันทะ คือ อิทธิบาท ข้อ 1 หลายคนก็ยังไม่ทิ้งอิทธิบาทธรรมอยู่นั่นเอง แต่ไป Start ที่ข้อ 4 และต่อด้วยข้อ 3 -2 -1 ทำให้มีปรากฏการณ์ ดังนี้
อิทธิบาท ข้อ 4 วิมังสา (ใคร่ครวญเพื่อหาวิธีที่ดีที่สุดในการเรียนภาษาอังกฤษ)
จะพบว่าหนังสือ หรือคำถามประเภท How- to เป็นที่นิยมมาก หลายคนพยายามหาคำตอบให้ได้ว่าจะฟิตภาษาอังกฤษด้วยวิธีใด จึงจะได้ผลดีที่สุด เร็วที่สุด ง่ายที่สุด จะหาแหล่งการศึกษา เช่น โรงเรียนสอนภาษา, หนังสือ, ซีดี, เว็บ, โปรแกรม ที่ดีที่สุด และแทบทุกคนก็มีคำตอบให้ตัวเองว่า จะต้องเรียนภาษาอังกฤษอย่างไร แต่ก็หยุดอยู่แค่นี้ เข้าทำนอง รู้แต่ไม่ทำ หลายคนชอบดาวน์โหลดไฟล์หนังสือ หรือ MP3 เก็บไว้ไม่น้อย แต่ก็หยุดอยู่แค่นี้ ... หยุดอยู่แค่นี้จริงๆ
อิทธิบาท ข้อ 3 จิตตะ (เรียนด้วยสมาธิ)
การที่รู้วิธีเรียน แต่ไม่เริ่มต้นเรียน ก็เพราะไม่มีความรักต่อการเรียนภาษาอังกฤษ แต่ก็มีบางท่านที่ฮึดสู้ กัดฟันว่าจะต้องฟิต ภาษาอังกฤษอย่างจริงๆจังๆ เสียที ณ นาทีที่มีความตั้งใจเช่นนี้เกิดขึ้นและเริ่มต้นเรียน เขาก็อยู่ในชั่วโมงที่จิตเป็นสมาธิ และเรียนด้วยสมาธิ นี่เห็นได้เลยว่า เขาใช้อิทธิบาททั้งหมด 2 ข้อในการเรียนภาษาอังกฤษ คือ อิทธิบาท ข้อ 4 – รู้ว่าต้องเรียนอย่างไร และอิทธิบาท ข้อ 3 – เรียนด้วยใจที่เป็นสมาธิ แต่ก็ยังไม่มีใจรักที่จะเรียนอยู่นั่นเอง
อิทธิบาท ข้อ 2 (ขยันเรียน)
เขารู้วิธีเรียนแล้วตามอิทธิบาท ข้อ 4, เขามีสมาธิในการเรียนตามอิทธิบาทข้อ 3, ถ้าหยุดอยู่แค่นั้น ก็จะเป็นการเรียนแบบไฟไหม้ฟาง คือ นานๆจะขยันสักที และก็ทิ้งไปนาน แต่บางคนก็ใจสู้และก้าวเข้ามาถึงอิทธิบาทข้อ 2 คือมีสมาธิในการเรียนอย่างต่อเนื่อง และไม่เลิกราง่ายๆ คือ ขยัน ท่านเหล่านี้ก็จะได้รับความสำเร็จมากกว่าคนที่มีอิทธิบาทเพียง 2 ข้อ คือ ข้อ 3 กับข้อ 4 เพราะอิทธิบาทข้อ 2 คือความต่อเนื่อง เหมือนหยอดตังค์ใส่กระปุก ถ้าหยอดทุกวันก็จะเต็มเร็ว แต่ถ้านานๆหยอดกันที ก็คงนานกว่าจะเต็ม
อย่างไรก็ตาม ถ้าหยุดอยู่แค่นี้ คือ มีอิทธิบาทข้อ 4 (รู้วิธีเรียน), อิทธิบาทข้อ 3 (เรียนด้วยสมาธิ) และอิทธิบาทข้อ 2 (ขยันเรียน) แต่ขาดอิทธิบาทข้อ 1 คือรักที่จะเรียน สิ่งที่เราเห็นก็คือ ท่านเหล่านี้ก็จะเรียนภาษาอังกฤษอย่างคนอมทุกข์ รำคาญ หงุดหงิด เบื่อ จำใจ ขณะที่เรียน เพราะต้องทำสิ่งที่ตัวเองไม่อยากทำ และมีโอกาสสูงที่จะหยุดขยัน อย่างที่มีสำนวนว่าไว้ “ความอดทนของคนมีขีดจำกัด”
ผมรู้สึกว่า คงมีผู้รู้พูดมามากแล้วว่า ทำอย่างไรเพื่อให้ผู้เรียนรักภาษาอังกฤษ ถ้าผมจะทำอย่างนั้นบ้าง วันนี้ผมก็อาจจะบอกท่านผู้อ่านว่า ให้ทุกท่านทำตามข้อ 1 ถึงข้อ 10 และก็จะเกิดความรักภาษาอังกฤษ แต่เรื่องของเรื่องก็คือว่า เมื่อทุนดิมในใจมันไม่รัก ยังจะมาขอให้ทำอย่างนั้นอย่างนี้ เพื่อให้รัก ใครจะไปอยากทำ เหมือนเราชังขี้หน้านาย ก. อย่างมาก แล้วมีคนมาบอกว่าเราควรจะรักนาย ก. และเข้าไปพูดคุยสนิทสนมกับนาย ก. เพราะนาย ก.มีประโยชน์ต่อเรามาก เราก็อาจจะฝืนใจ เข้าไปเจ๊าะแจ๊ะกับนาย ก.บ่อยๆ และเราก็พบว่า นาย ก.มีประโยชน์ต่อเราจริงๆอย่างที่เขาว่าไว้ แต่การที่ต้องเข้าไปสนิทสนมกับนาย ก.นี้ เราต้องอดทนทำด้วยความฝืนใจจึงเป็นทุกข์ และก็อย่างที่เขาพูดกันไว้ “ความอดทนของคนมีขีดจำกัด” ในไม่ช้าเราก็คงหมดความอดทน และไม่ยอมฝืนใจทำอย่างนี้อีก
ด้วยสำนึกเช่นนี้ ผมจึงรีรอที่จะแนะนำท่านผู้อ่านถึงวิธีที่จะทำให้รักภาษาอังกฤษ แม้ผมจะเห็นชัดว่าปัญหาการเกลียดภาษาอังกฤษนี้ ไม่ใช่ปัญหาของเด็กชายสมชาย หรือเด็กหญิงสมศรี ที่มีชื่อซ้ำกันไม่กี่คนในประเทศนี้ แต่มันเป็นปัญหาของคนนับล้านๆคนในประเทศไทย ที่จำเป็นต้องเข้าใจและใช้ภาษาอังกฤษ
พอเขียนมาถึงบรรทัดนี้ ผมก็วางปากกาและนึกว่า สิ่งที่ผมตั้งใจไว้แต่แรกว่าจะคุยกับท่านผู้อ่าน ผมควรจะคุยแบบไหน จึงจะสื่อความได้เหมือนใจ
*****
วิธีทำใจให้รักภาษาอังกฤษ 2 วิธีที่ผมจะพูดต่อไปนี้ ผมเชื่อว่าหลายท่านเคยได้ยินมาแล้ว จึงไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่ก็ขออนุญาตเอามาสรุปซ้ำก็แล้วกันครับ
1. มองให้เห็นประโยชน์ของภาษาอังกฤษ
พยายามมองบ่อยๆให้จำได้ ให้ระลึกได้โดยอัตโนมัติว่าภาษาอังกฤษมีประโยชน์ต่อเราอย่างไร หรือถ้าไม่เก่งภาษาอังกฤษจะเสียประโยชน์อะไรไป การติดข้อความ หรือภาพ หรือสัญลักษณ์ หรือไอคอน หรืออะไรก็ได้ที่โต๊ะทำงานเพื่อเตือนใจให้เห็นคุณค่าของภาษาอังกฤษอยู่เสมอ ก็อาจจะช่วยให้เปลี่ยนใจมารักภาษาอังกฤษมากขึ้นบ้าง ไม่มากก็น้อย
2. ทำอะไรก็ได้ให้ประสบความสำเร็จสักอย่างเกี่ยวกับภาษาอังกฤษ
ที่ง่ายที่สุดก็เช่น กำหนดเป้าหมายและระยะเวลา ที่จะบรรลุกิจกรรมการศึกษา เช่น ภายในเย็นวันนี้ ภายในสัปดาห์นี้ ภายในสิ้นเดือนนี้ ฉันจะต้องสามารถอ่านบทความที่หมายตาไว้จบ 3 บทความ และรู้เรื่องตลอด, ภายในสิ้นเดือนนี้จะต้องอ่านเรื่องสั้นภาษาอังกฤษจบ 1 เรื่อง หรือ จะต้องอ่าน Bangkok Post หรือ The Nation อย่างน้อยวันละ 1 ข่าว และเข้าใจเนื้อหาโดยตลอด หรือจะต้องฟังข่าวสั้น BBC หรือ CNN ซึ่งยาวประมาณ 5 นาที ทุกวัน จะฟังกี่เที่ยวก็ได้ แต่ต้องให้เข้าใจอย่างน้อย 50% ของเนื้อข่าว หรือจะต้องฝึกเล่าเรื่องเป็นภาษาอังกฤษ ให้ผู้ฟังในมโนภาพฟัง อย่างน้อยวันละ 5 นาที เป็นต้น
การตั้งเป้าหมายและกำหนด Deadline ที่คิดว่าตัวเองสามารถทำได้สำเร็จ และเมื่อทำได้จริงก็จะมีกำลังใจและความรักตามมา ในเรื่องนี้ผมมีข้อแนะนำ 2 ข้อ คือ ให้เป้าหมายที่กำหนดนี้ 1)ไม่ควรยาวหรือยากเกินไป และ 2)เป็นเนื้อหาที่เรารัก เช่น เราชอบข่าวการเมือง กีฬา แฟชั่น นิทาน ฯลฯ ก็ให้เนื้อเรื่องอยู่ในประเภทนี้ การที่เราไม่ชอบภาษาอังกฤษ แต่ชอบเนื้อเรื่อง ก็คงช่วยให้ความรักที่เรามีต่อเนื้อเรื่องถ่ายเทไปสู่ความรักภาษาอังกฤษได้บ้างไม่มากก็น้อย
*****
ท่านผู้อ่านครับ ในช่วง 3 ปีที่ทำบล็อกนี้ ผมค่อย ๆ พบว่า ปัญหาพื้นฐานที่หนักมากๆ ของเด็กไทย หรือคนไทย ในการเรียนภาษาอังกฤษ ไม่ได้อยู่ที่ครูไม่เก่ง หลักสูตรไม่ดี วัสดุอุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้ไม่ทันสมัย ผู้เรียนมีพื้นฐานอ่อน จำศัพท์ได้น้อย หรือเมื่อเรียนผ่านเน็ต ปัญหาใหญ่ก็ไม่ได้อยู่ที่เน็ตช้า ดาวน์โหลดยาก ไม่ค่อยรู้เรื่องคอมพิวเตอร์ ใช้งานโปรแกรมไม่เป็น ฯลฯ ปัญหาเหล่านี้เล็กน้อยมากเมื่อเปรียบเทียบกับปัญหาพื้นฐานคือ ไม่รักที่จะเรียนภาษาอังกฤษ หรือ ขาดอิทธิบาทข้อที่ 1 คือ ฉันทะ นั่นเอง
แต่การที่จะทำให้เกิดฉันทะ ก็ไม่ใช่เรื่องง่าย ถ้าทำได้ง่ายจริง ป่านนี้คนไทยคงรักและเก่งภาษาอังกฤษมากกว่านี้อีกเยอะ และแม้ด้วย 2 วิธีที่ผมแนะนำไว้ข้างต้น คือ มองให้เห็นประโยชน์ของภาษาอังกฤษ และสร้างกำลังใจให้เกิดขึ้นจากความสำเร็จ ผมก็ยังไม่แน่ใจว่า จะทำให้คนที่เกลียดหันมารักภาษาอังกฤษได้เพิ่มขึ้นอีกสักกี่ %
ไหนๆก็ไหนๆแล้ว ตอนนี้ ผมขอชวนท่านผู้อ่านมองภาพกว้างๆอย่างนี้ก่อนแล้วกันครับ แล้วเดี๋ยวเราค่อยกลับมาพูดเรื่องภาษาอังกฤษอีกที
ในชีวิตของคนเรานั้น คงมีทั้งสิ่งที่เราชอบและไม่ชอบ จะให้เรารักทุกเรื่องคงเป็นไปไม่ได้ เพราะฉะนั้นถ้าท่านจะไม่ชอบภาษาอังกฤษ ก็เป็นเรื่องปกติ 100% ของคนเรา เพราะเราก็เป็นคนธรรมดา
แต่เรื่องที่ผมอยากจะชี้ก็คือ ณ บัดนี้ ภาษาอังกฤษคือความจำเป็นของคนที่มีชีวิตอยู่ในยุคสมัยนี้ ซึ่งไม่เหมือนสมัยก่อน จำได้ว่าสมัยที่ผมเรียนจบ ม.ศ.3 และจะขึ้นต่อ ม.ศ.4 นักเรียนรุ่นผม ก็จะถามตัวเองว่า ถนัดสายวิทย์ หรือสายศิลป์ ถ้าสายวิทย์ ก็ไปเรียนคณิตศาสตร์ ฟิสิกส์ เคมี ชีวะ ถ้าสายศิลป์ ก็ไปเรียนภาษาไทย ภาษาอังกฤษ สังคม มันคล้ายๆกับว่า ใครที่เลือกสายวิทย์ ไม่มีอะไรที่จะต้องมาเกี่ยวข้องกับภาษาอังกฤษเลย
ต่อมาเมื่อผมเรียนจบและทำงานได้หลายปี และอยู่ในหน่วยงานซึ่งเจ้าหน้าที่ส่วนใหญ่จบมาจากสายวิทย์และเป็นช่าง เจ้าหน้าที่เหล่านี้จำนวนไม่น้อยก็คือคนรุ่นผม ซึ่งเป็นผลผลิตของการศึกษายุคนั้น คือ ไม่ชอบภาษาอังกฤษ
ปัญหาที่ผมเห็นก็คือ วิทยาการทางช่างที่เขาเรียนมาตั้งแต่สมัยโน้น โดยไม่จำเป็นต้องพึ่งภาษาอังกฤษนั้น บัดนี้หลายส่วนมันล้าสมัย และจำเป็นต้อง update และวิธีการ update ที่ practical ที่สุด ก็คือ การศึกษาด้วยตัวเองที่ต้องใช้ภาษาอังกฤษ ท่านผู้อ่านพอจะจินตนาการได้ไหมครับว่า ถ้าความจำเป็นของหลายองค์กรในประเทศไทยในการ update ความรู้ของบุคลากรเป็นเช่นนี้ แต่ก็ทำได้ยากเพราะความอ่อนแอด้านภาษาอังกฤษ คนไทยและประเทศไทยเรา จะแข่งขันกับชาติที่เขาแข็งแรงด้านภาษาอังกฤษไหวหรือครับ
ไม่ใช่แต่คนที่ทำงานด้านช่างเท่านั้น แม้แผนกอื่นๆในองค์กรที่ไม่ใช่ช่าง ความรู้ด้านภาษาอังกฤษก็จำเป็นเช่นกัน ปกติแต่ละองค์กรจะมีแผนกติดต่อกับต่างประเทศ ชื่อว่า ฝ่าย”วิเทศสัมพันธ์”หรือ “International Relations” หรืออะไรทำนองนี้ และทุกอย่างที่องค์กรจะติดต่อกับต่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็นความร่วมมือทางธุรกิจ ทางวิชาการ หรืออะไรก็ตาม จะต้องผ่านฝ่ายวิเทศสัมพันธ์ นี้ เรื่องของเรื่องก็คือ เจ้าหน้าที่ฝ่ายวิเทศสัมพันธ์นั้น ทำหน้าที่เป็นเพียงผู้ประสานงานขั้นต้น หรือ ตกลงในหลักการกับต่างประเทศเท่านั้น ส่วนเนื้องานจริงๆที่ต้องสัมพันธ์กันนั้น จะต้องให้หน่วยงานภาคปฏิบัติซึ่งเป็นเจ้าของเรื่องในองค์กรนั้นรับไปทำ เจ้าหน้าที่วิเทศสัมพันธ์ไม่มีทางที่จะเข้าไปรู้เนื้อหา ศัพท์แสง และรายละเอียดภาคปฏิบัติของทุกหน่วยงานในองค์กร และเมื่อมีการเจรจากัน จะให้ล่ามแปลให้ทุกประโยค ก็เป็นเรื่องที่ไม่ practical อย่างยิ่ง ในกรณีนี้ ท่านผู้อ่านพอจะจินตนาการได้ไหมครับว่า ผลประโยชน์ของบุคคล หรือของหน่วยงาน หรือของประเทศ จะสะดุดมากเพียงใด ถ้าคนไทยขาดความสามารถด้านภาษาอังกฤษอย่างที่ผมเล่ามานี้
ผมขอยกตัวอย่างอีก 2 เรื่อง ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมานี้ ผมได้เดินทางไปเข้าร่วมการแข่งขันฝีมือแรงงานในระดับอาเซียน และนานาชาติ แทบทุกปี เมื่อเปรียบเทียบทักษะภาษาอังกฤษของเยาวชนไทยกับเยาวชนชาติอื่นๆในภูมิภาคนี้ ไม่ต้องมองไปที่มาเลเซีย หรือฟิลิปปินส์หรอกครับ เอาแค่อินโดนีเซีย หรือ เวียดนามก็พอ เด็กไทยก็ดูเหมือนจะสู้เขาได้ยาก และในปี 2015 ซึ่งข้อตกลงตาม ASEAN Economic Community จะมีผลบังคับใช้ ทำให้เขตอาเซียนเป็นเขตไร้พรมแดนด้านแรงงาน คนในประเทศอาเซียนอื่นๆก็จะเข้ามาทำงานในเมืองไทยได้ และบริษัทต่างชาติที่มาลงทุนในเมืองไทย ก็สามารถจ้างเขาเหล่านั้นได้ สถานการณ์เช่นนี้ ถ้าคนไทยยังอ่อนแอด้านภาษาอังกฤษอย่างที่เห็นและเป็นอยู่ เราก็คงจะแย่เพราะถูกแย่งงานในประเทศของเราเอง
ปัญหาที่เล่ามาทั้งหมดนี้ ทำให้ย้อนกลับไปประเด็นเดิมคือ ทำอย่างไรคนไทย หรือเด็กไทยจึงจะเก่งภาษาอังกฤษมากขึ้น และทำอย่างไร คนไทยหรือเด็กไทยจึงจะรักภาษาอังกฤษมากกว่าทุกวันนี้
* * * * *
ท่านผู้อ่านครับ ถ้าสิ่งที่ผมเขียนต่อไปนี้ท่านอ่านแล้วรู้สึกเหมือนฟังพระเทศน์ ก็ต้องขอประทานอภัยด้วยครับ ผมมิได้ตั้งใจให้เป็นเช่นนั้นเลย แต่ที่เอามาเล่าก็เพราะมันเป็นสิ่งที่ผมใช้ได้ผลด้วยตัวเอง จึงอยากจะเอามาแบ่งปันฉันคนรักชอบพอกัน
ณ จุดนี้ ผมอยากจะบอกว่า ถ้าเราไม่สามารถรักภาษาอังกฤษ ก็อย่าไปรักมันเลยครับ แต่อย่างน้อยก็ไม่ควรจะเกลียด และเรียนภาษาอังกฤษด้วยใจที่เป็นกลาง ไม่ต้องรักก็ได้ แต่ทำใจให้สงบขณะที่เรียน ถ้าเกิดความรู้สึกหงุดหงิด รำคาญ เบื่อหน่าย ท้อแท้ กังวล หรือความรู้สึกอะไรก็ตามที่เป็นลบ ก็ให้เห็นว่ามันเป็นเพียงสักแต่ว่าความรู้สึก และไม่ต้องไป serious (ภาษาพระเรียกว่า “ยึดมั่นถือมั่น”) กับความรู้สึกลบเหล่านี้
ถ้าเราเรียนภาษาอังกฤษด้วยความไม่ยึดมั่นถือมั่นในความรู้สึกลบที่เกิดขึ้นในใจ แม้จะไม่รัก แต่เราก็จะสามารถเรียนไปได้เรื่อยๆ อย่างได้ผลดีและไม่มีทุกข์ นี่เป็นคำแนะนำของผมต่อทุกท่านที่ไม่รักภาษาอังกฤษ หรือเกลียดภาษาอังกฤษ แต่จำเป็นต้องพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษ เพื่อช่วยยกระดับการทำงานและคุณภาพชีวิต
การทำใจให้เป็นกลางเช่นนี้ทำยากไหมครับ? ผมเห็นว่า ไม่ว่าจะทำยากหรือทำง่าย ก็น่าจะลองฝึกทำอยู่เรื่อยๆ
ท่านลองสังเกตอย่างนี้ซีครับ ทุกวันเมื่อท่านลุกขึ้นในเวลาตื่นนอนตอนเช้านั้น ความรู้สึกแรกของท่านคือความรู้สึกอะไร เช่น มีความกระตือรือร้นอยากลุกขึ้นไปทำนั่นทำนี่ด้วยความสนุกสนาน ชีวิตช่างเต็มไปด้วยความหวัง หรือว่า เป็นความรู้สึกเบื่อหน่าย เซ็ง วิตกกังวล ซึมเซา เพลีย หงุดหงิด ฯลฯ
ขอให้ฝึกนิสัยที่จะสังเกตความรู้สึกแรกที่เกิดขึ้นเมื่อตื่นนอนตอนเช้า การสังเกตเช่นนี้เป็นความสามารถที่ควรฝึกให้ชำนาญ ถ้าชำนาญแล้วจะมีประโยชน์ต่อชีวิตอย่างยิ่ง
เมื่อสังเกตไปสักระยะหนึ่ง ท่านจะพบว่า ความรู้สึกแรกที่เกิดขึ้นในใจของท่านเมื่อตื่นนอนตอนเช้า ไม่ว่าจะเป็นบวกหรือลบ เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเอง ท่านไม่ได้ตั้งใจหรือวางแผนให้มันเกิดขึ้นอย่างนั้น
เรื่องที่ต้องถามก็คือ ท่านยอมให้ความรู้สึกแรกที่เป็นลบจูงท่านออกจากที่นอน และ start กิจกรรมวันนั้นทั้งวัน ด้วยความรู้สึกลบนี้เมื่อท่านออกจากบ้านในตอนเช้า
หรือว่า เมื่อความรู้สึกแรกที่เป็นลบเกิดขึ้นเมื่อตื่นนอน เช่น เบื่ออย่างยิ่งกับงานที่ต้องทำซ้ำๆซากๆอีกแล้วในวันใหม่นี้ หรือ กังวลหนักใจกับสิ่งที่ต้องเจอในวันนี้ หรือร้อนรนอย่างยิ่งกับสิ่งที่มุ่งหวังว่าต้องได้รับในวันนี้ หรือมีบุคคลที่ท่านขุ่นเคืองใจปรากฏในความรู้สึกแรกเมื่อตื่นนอนตอนเช้า
ถ้าเป็นอย่างที่กล่าวมาข้างต้น นี่คือการขาดสติประเภทที่ 1 คือ ปล่อยให้ความรู้สึกลบครอบงำใจก่อนออกไปทำงาน
แต่ถ้าท่านรู้สึกว่าความรู้สึกลบที่เกิดขึ้นนี้เป็นของไม่ดี และท่านไม่ต้องการให้ตัวเองรู้สึกเช่นนี้ และก็พยายามที่จะขจัดความรู้สึกเช่นนี้ออกไปจากใจ แต่มันก็ดื้อไม่ยอมออกไปง่ายๆ ท่านจึงออกจากบ้าน โดยมีความรู้สึก 2 อย่าง ต่อสู้กันในใจ คือ ความรู้สึกที่เป็นลบ กับความรู้สึกที่ต้องการขจัดความรู้สึกที่เป็นลบ จึงเป็นการ start ที่ไม่ค่อยดีนักเช่นกัน และนี่คือการขาดสติประเภทที่ 2 คือ ปล่อยให้ความรู้สึกขัดแย้งเกิดขึ้นและครอบงำใจ
ย้อนมาถึงเรื่องการเรียนภาษาอังกฤษที่ผมบอกว่า ขอให้เรียนภาษาอังกฤษด้วยใจที่เป็นกลางเถิดครับ อย่า start การเรียนภาษาอังกฤษด้วยความรู้สึกที่เป็นลบ หรือ start ด้วยความรู้สึกที่ขัดแย้ง ดังตัวอย่างที่ผมพูดเกี่ยวกับความรู้สึกที่ท่านออกจากบ้านไปทำงานตอนเช้า แต่ขอให้เริ่มต้นเรียนภาษาอังกฤษด้วยใจที่เป็นกลาง คือ ไม่ว่ามันจะรู้สึกอย่างไร ก็เป็นเพียงแค่ความรู้สึกที่เกิดขึ้น ให้ยอมรับ 100% เลยว่ามีความรู้สึกเช่นนี้เกิดขึ้นแล้วในใจ โดยไม่ต้องต้อนรับ แต่ก็ไม่ต้องรังเกียจ เมื่อตอนที่มันเข้ามาสู่ใจ เราก็ไม่ได้เชิญมันเข้ามา และมันก็จะออกไปจากใจ โดยเราไม่ได้ขับไล่เช่นกัน การต้อนรับและขับไล่ความรู้สึกที่เป็นลบมีแต่จะทำให้ความรู้สึกลบนั้นอยู่ทนและรุนแรงมากขึ้น เราเพียงยอมรับว่ามันเข้ามา เราเพียงอยู่เฉยๆ ถึงเวลามันก็ออกไปเอง
* * * * *
ผมเป็นคนโชคดีอย่างหนึ่ง คือ ได้เดินทางท่องเที่ยวมาหลายประเทศ มีเพื่อนบางคนถามว่า ชอบประเทศไหนมากที่สุด ผมตอบว่ามีอยู่ 3 ประเทศ จากน้อยไปมาก ดังนี้
1.สวิตเซอร์แลนด์ ผมไป 2 ครั้ง มันมีบรรยากาศของความงดงามที่สะอาด เป็นธรรมชาติ และหรูหรา แต่ไม่ดึงดูดใจเท่าไรนัก
2.นิวซีแลนด์ ผมไป 2 ครั้ง สำหรับผมเกาะใต้ของนิวซีแลนด์ สวยงามมาก แม้ไม่หรูหรานัก แต่ก็เป็นธรรมชาติที่ดึงดูดใจอย่างยิ่ง แม้ไม่ตระการตาอย่างสวิตเซอร์แลนด์ แต่ก็ตระการใจมากกว่าหลายเท่า
3.ส่วนประเทศสุดท้ายที่ผมชอบมากที่สุด ชอบมากกว่าสวิตเซอร์แลนด์และนิวซีแลนด์ คือประเทศอินเดีย ผมไปมาทั้งหมด 4 ครั้ง โดยไปแบบแบกเป้เที่ยว ขึ้นยานพาหนะสาธารณะทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็นรถไฟ รถบัส รถสามล้อถีบ รถสองแถว แท็กซี่หรือพาหนะส่วนตัว คือเดิน นอนวัดไทย วัดแขก และโรงแรมราคาถูก ผมไม่มีเวลาเขียนเป็นหนังสือท่องเที่ยวขาย แต่เมื่ออ่านหนังสือท่องเที่ยวอินเดียบางเล่มที่มีวางขาย ผมรู้สึกว่าเรื่องที่ผมเจอสนุกกว่า
เพื่อนผมบางคนที่รู้ว่าผมไปอินเดีย 4 ครั้งแล้ว และกะจะไปอีกถ้ามีโอกาส พูดว่า เขาไม่รู้สึกอยากจะไปอินเดียแม้แต่นิดเดียว ทั้งสกปรก ทั้งเหม็น ขอทานก็เยอะ รถก็เบียดเสียดยัดเยียด ไม่ว่าจะเป็นตึกราม บ้านช่อง ผู้คน ถนนหนทาง อาหาร และ ฯลฯ ผมเห็นว่าเขาพูดไม่ผิด เพราะผมก็เจอมาทุกอย่างที่เขาพูด
แต่อินเดียยังมีมากกว่านี้ อินเดียมีความงดงามของอารยธรรมจากอดีตที่ตกทอดมาจนถึงปัจจุบัน มีความน่ารักของผู้คน มีความรุ่งเรืองของศาสตร์ด้านจิตวิญญาณที่แสดงให้เห็นในสถาปัตยกรรมต่างๆ
อินเดียเป็นทั้งโลกเก่าและโลกใหม่ มี”นรก” ให้เห็น แต่ก็มี “สวรรค์” ให้ชม
การไปเที่ยวอย่างผม บางคนเขาเรียกว่า Sightseeing คือ ผมได้เห็น (see) สิ่งต่างๆ (sight) ทั้งที่สะอาดและสกปรก ทั้งใหม่และเก่า ทั้งที่น่ารื่นรมย์และน่าหดหู่ ผมได้เห็นสองด้านของหลายๆสิ่ง ไม่เหมือนที่สวิตเซอร์แลนด์หรือนิวซีแลนด์ซึ่งผมมักจะเห็นอะไรด้านเดียว
แต่ไม่ว่าผมจะเห็นอะไร ที่ไหน ที่สวิตเซอร์แลนด์ ที่นิวซีแลนด์ ที่อินเดีย หรือที่ประเทศใดในโลกที่เคยท่องเที่ยวผ่านมา ทุกภาพที่เห็นก็ให้ความรู้ ความรื่นรมย์ ความเพลิดเพลินต่อชีวิตทั้งสิ้น และขณะที่เห็นภาพเหล่านั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาพในอินเดีย ไม่ว่าจะเป็นภาพที่ดูแล้วสนุก เช่น แขกจับงูลงตะกร้า แล้วเป่าปี่ให้กระดกหัวเลื้อยออกมา หรือภาพที่เศร้า เช่น ขอทานนอนข้างทาง และย้ายที่นอนเพื่อหนีแดด หรือภาพอื่นใดก็ตาม ความรู้สึกจากการเห็นภาพเหล่านี้ ก็เป็นแค่ความรู้สึก ผมไม่ได้เป็นทุกข์ไปกับความรู้สึก เพราะทุกภาพและทุกความรู้สึกต่างช่วยเพิ่มประสบการณ์ให้แก่ชีวิต ทำให้ชีวิตมีรสชาติและเนื้อหา ผมได้เรียนรู้ “การปล่อยวาง”จากการท่องเที่ยว
เมื่อกลับมาสู่บรรยากาศเดิมในที่ทำงาน ผมเปรียบเทียบ “sight” ที่ผม “see“ ในที่ทำงาน กับสถานที่และผู้คนในประเทศต่างๆที่ผมเคยผ่านพบ มองเผินๆมันอาจจะต่างกัน แต่ผลที่สะท้อนให้เกิดเป็นความรู้สึกในใจมันเหมือนกัน คือ มันเป็นความรู้สึก รัก – ชัง, สนุก-เบื่อ, มุ่งหวัง-กังวล ฯลฯ มันเป็น Sightseeing ในใจที่เกิดดับ เกิดดับ ตลอดเวลา ผมได้เรียนรู้การปล่อยวางจากการทำงานในที่ทำงาน
* * * * *
เมื่อผมมาทำบล็อกนี้ ผมมุ่งหวังว่าท่านผู้อ่านจะได้รับประโยชน์จากภาษาอังกฤษมากขึ้น แต่ผมก็รู้ว่าคงเป็นไปได้ยากที่ทุกคนจะรักภาษาอังกฤษ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คนที่ไม่ได้ชอบภาษาอังกฤษมาแต่เดิม อย่างไรก็ตาม ผมเชื่อว่าทุกคนต่างตระหนักแล้วว่าภาษาอังกฤษคือความจำเป็นของยุคสมัย ผมปรารถนาอย่างยิ่งที่จะให้ท่านผู้อ่านทุกท่านซึ่งรวมทั้งท่านที่เกลียดภาษาอังกฤษ ได้รับประโยชน์มากขึ้นจากการเก่งภาษาอังกฤษ แต่ผมก็ไม่ต้องการให้ใครเรียนภาษาอังกฤษอย่างเป็นทุกข์ แต่อยากให้ทุกคนเรียนภาษาอังกฤษด้วยใจที่เป็นกลาง ปล่อยวาง ซึ่งผมเชื่อว่าการปล่อยวางนี่แหละ จะทำให้เกิดฉันทะ คือ ความรักที่แท้จริงในสิ่งที่ทำ ซึ่งจะตามมาด้วยความสำเร็จ การปล่อยวางคือ Sightseeing, คือเราเพียง see...sight ต่างๆที่เกิดขึ้นในใจ ซึ่งอาจจะเป็นความรู้สึกเบื่อ หรือเกลียดที่จะเรียนภาษาอังกฤษ แต่ sight ก็เป็นสักแต่ว่า sight ความรู้สึกก็เป็นสักแต่ว่าความรู้สึก ไม่มีอะไรมากกว่านั้น ไม่มีอะไรต้อง serious ไม่มีอะไรต้องยึดมั่น
ท่านผู้อ่านครับ ผมขออวยพรให้ทุกท่านมีฉันทะ ความรัก และใจที่สงบ – ปล่อยวาง – เป็นกลาง ในการเรียนภาษาอังกฤษ และขอให้ทุกท่านได้รับความสำเร็จในการเรียนภาษาอังกฤษสมดังตั้งใจ
พิพัฒน์
GemTriple@gmail.com
จากประสบการณ์ที่เขียนบล็อกมา 3 ปี ถ้ามีใครถามว่า ทำอย่างไรจึงจะเก่งภาษาอังกฤษ คำตอบของผมเป็นสิ่งที่หลายท่านคงจะเดาได้ นั่นคือ การจะประสบความสำเร็จในการเรียนภาษาอังกฤษ หรือในเรื่องใดๆก็ตาม ต้องใช้ อิทธิบาท 4 ข้อ ไปตามลำดับ คือ
อิทธิบาท ข้อ 1 ฉันทะ – รักในสิ่งที่ทำ
อิทธิบาท ข้อ 2 วิริยะ – ขยันทำสิ่งนั้น
อิทธิบาท ข้อ 3 จิตตะ ทำสิ่งนั้นด้วยใจจดจ่อ หรือ มีสมาธิ
อิทธิบาท ข้อ 4 วิมังสา – ใคร่ครวญเพื่อหาวิธีแก้ไขปรับปรุงสิ่งที่ทำ
ทุกคนที่เรียนภาษาอังกฤษด้วยอิทธิบาท 4 ข้อ ไปตามลำดับ 1-2-3-4 ย่อมประสบความสำเร็จ คือ เก่งภาษาอังกฤษ
อย่างไรตาม สิ่งที่น่าสนใจที่ผมได้พบก็คือ ในขณะที่คนไทยต่างรู้จักอิทธิบาท 4 ข้อ แต่แทนที่จะใช้อิทธิบาท 4 จากข้อ 1 -2 -3 -4 ไปตามลำดับ กลับใช้อิทธิบาท 4 ย้อนหลัง คือ 4 -3 -2 -1 ซึ่งผลจากการปฏิบัติธรรมย้อนหลังนอกคำสอนครูบาอาจารย์เช่นนี้ มีประสิทธิภาพน้อยกว่าการปฏิบัติธรรมตามวิธีปกติ
ข้อสังเกตเช่นนี้มาจากอะไร?
ท่านจะเห็นว่า เมื่อเราเรียนภาษาอังกฤษตามวิธีของอิทธิบาท 4 ข้อ จะต้องเริ่มต้นด้วยความรัก เมื่อรักก็จะขยันทำ และทำอย่างมีสมาธิ และใช้สมาธิใคร่ครวญเพื่อแก้ไขปรับปรุง ทำไปตามลำดับเช่นนี้ ความสำเร็จอย่างมีประสิทธิภาพก็เกิดขึ้นได้เร็ว แต่ปัญหาอยู่ตรงที่ว่า คนไทยและเด็กไทยจำนวนไม่น้อยไม่รักภาษาอังกฤษ ไม่ชอบภาษาอังกฤษ หรือบางคนถึงขั้นเกลียดภาษาอังกฤษ แต่...แต่ความจำเป็นที่เห็นและเป็นอยู่บอกว่า ถ้าไม่รู้ภาษาอังกฤษ ถ้าพูดหรือเขียนภาษาอังกฤษไม่ได้ ก็จะแย่กว่าชาวบ้านที่เขาเก่งภาษาอังกฤษ และเมื่อทุกคนต้องการประสบความสำเร็จด้วยภาษาอังกฤษ แต่ไม่รัก หรือไม่สามารถทำใจให้รัก คือ ไม่มีฉันทะ คือ อิทธิบาท ข้อ 1 หลายคนก็ยังไม่ทิ้งอิทธิบาทธรรมอยู่นั่นเอง แต่ไป Start ที่ข้อ 4 และต่อด้วยข้อ 3 -2 -1 ทำให้มีปรากฏการณ์ ดังนี้
อิทธิบาท ข้อ 4 วิมังสา (ใคร่ครวญเพื่อหาวิธีที่ดีที่สุดในการเรียนภาษาอังกฤษ)
จะพบว่าหนังสือ หรือคำถามประเภท How- to เป็นที่นิยมมาก หลายคนพยายามหาคำตอบให้ได้ว่าจะฟิตภาษาอังกฤษด้วยวิธีใด จึงจะได้ผลดีที่สุด เร็วที่สุด ง่ายที่สุด จะหาแหล่งการศึกษา เช่น โรงเรียนสอนภาษา, หนังสือ, ซีดี, เว็บ, โปรแกรม ที่ดีที่สุด และแทบทุกคนก็มีคำตอบให้ตัวเองว่า จะต้องเรียนภาษาอังกฤษอย่างไร แต่ก็หยุดอยู่แค่นี้ เข้าทำนอง รู้แต่ไม่ทำ หลายคนชอบดาวน์โหลดไฟล์หนังสือ หรือ MP3 เก็บไว้ไม่น้อย แต่ก็หยุดอยู่แค่นี้ ... หยุดอยู่แค่นี้จริงๆ
อิทธิบาท ข้อ 3 จิตตะ (เรียนด้วยสมาธิ)
การที่รู้วิธีเรียน แต่ไม่เริ่มต้นเรียน ก็เพราะไม่มีความรักต่อการเรียนภาษาอังกฤษ แต่ก็มีบางท่านที่ฮึดสู้ กัดฟันว่าจะต้องฟิต ภาษาอังกฤษอย่างจริงๆจังๆ เสียที ณ นาทีที่มีความตั้งใจเช่นนี้เกิดขึ้นและเริ่มต้นเรียน เขาก็อยู่ในชั่วโมงที่จิตเป็นสมาธิ และเรียนด้วยสมาธิ นี่เห็นได้เลยว่า เขาใช้อิทธิบาททั้งหมด 2 ข้อในการเรียนภาษาอังกฤษ คือ อิทธิบาท ข้อ 4 – รู้ว่าต้องเรียนอย่างไร และอิทธิบาท ข้อ 3 – เรียนด้วยใจที่เป็นสมาธิ แต่ก็ยังไม่มีใจรักที่จะเรียนอยู่นั่นเอง
อิทธิบาท ข้อ 2 (ขยันเรียน)
เขารู้วิธีเรียนแล้วตามอิทธิบาท ข้อ 4, เขามีสมาธิในการเรียนตามอิทธิบาทข้อ 3, ถ้าหยุดอยู่แค่นั้น ก็จะเป็นการเรียนแบบไฟไหม้ฟาง คือ นานๆจะขยันสักที และก็ทิ้งไปนาน แต่บางคนก็ใจสู้และก้าวเข้ามาถึงอิทธิบาทข้อ 2 คือมีสมาธิในการเรียนอย่างต่อเนื่อง และไม่เลิกราง่ายๆ คือ ขยัน ท่านเหล่านี้ก็จะได้รับความสำเร็จมากกว่าคนที่มีอิทธิบาทเพียง 2 ข้อ คือ ข้อ 3 กับข้อ 4 เพราะอิทธิบาทข้อ 2 คือความต่อเนื่อง เหมือนหยอดตังค์ใส่กระปุก ถ้าหยอดทุกวันก็จะเต็มเร็ว แต่ถ้านานๆหยอดกันที ก็คงนานกว่าจะเต็ม
อย่างไรก็ตาม ถ้าหยุดอยู่แค่นี้ คือ มีอิทธิบาทข้อ 4 (รู้วิธีเรียน), อิทธิบาทข้อ 3 (เรียนด้วยสมาธิ) และอิทธิบาทข้อ 2 (ขยันเรียน) แต่ขาดอิทธิบาทข้อ 1 คือรักที่จะเรียน สิ่งที่เราเห็นก็คือ ท่านเหล่านี้ก็จะเรียนภาษาอังกฤษอย่างคนอมทุกข์ รำคาญ หงุดหงิด เบื่อ จำใจ ขณะที่เรียน เพราะต้องทำสิ่งที่ตัวเองไม่อยากทำ และมีโอกาสสูงที่จะหยุดขยัน อย่างที่มีสำนวนว่าไว้ “ความอดทนของคนมีขีดจำกัด”
ผมรู้สึกว่า คงมีผู้รู้พูดมามากแล้วว่า ทำอย่างไรเพื่อให้ผู้เรียนรักภาษาอังกฤษ ถ้าผมจะทำอย่างนั้นบ้าง วันนี้ผมก็อาจจะบอกท่านผู้อ่านว่า ให้ทุกท่านทำตามข้อ 1 ถึงข้อ 10 และก็จะเกิดความรักภาษาอังกฤษ แต่เรื่องของเรื่องก็คือว่า เมื่อทุนดิมในใจมันไม่รัก ยังจะมาขอให้ทำอย่างนั้นอย่างนี้ เพื่อให้รัก ใครจะไปอยากทำ เหมือนเราชังขี้หน้านาย ก. อย่างมาก แล้วมีคนมาบอกว่าเราควรจะรักนาย ก. และเข้าไปพูดคุยสนิทสนมกับนาย ก. เพราะนาย ก.มีประโยชน์ต่อเรามาก เราก็อาจจะฝืนใจ เข้าไปเจ๊าะแจ๊ะกับนาย ก.บ่อยๆ และเราก็พบว่า นาย ก.มีประโยชน์ต่อเราจริงๆอย่างที่เขาว่าไว้ แต่การที่ต้องเข้าไปสนิทสนมกับนาย ก.นี้ เราต้องอดทนทำด้วยความฝืนใจจึงเป็นทุกข์ และก็อย่างที่เขาพูดกันไว้ “ความอดทนของคนมีขีดจำกัด” ในไม่ช้าเราก็คงหมดความอดทน และไม่ยอมฝืนใจทำอย่างนี้อีก
ด้วยสำนึกเช่นนี้ ผมจึงรีรอที่จะแนะนำท่านผู้อ่านถึงวิธีที่จะทำให้รักภาษาอังกฤษ แม้ผมจะเห็นชัดว่าปัญหาการเกลียดภาษาอังกฤษนี้ ไม่ใช่ปัญหาของเด็กชายสมชาย หรือเด็กหญิงสมศรี ที่มีชื่อซ้ำกันไม่กี่คนในประเทศนี้ แต่มันเป็นปัญหาของคนนับล้านๆคนในประเทศไทย ที่จำเป็นต้องเข้าใจและใช้ภาษาอังกฤษ
พอเขียนมาถึงบรรทัดนี้ ผมก็วางปากกาและนึกว่า สิ่งที่ผมตั้งใจไว้แต่แรกว่าจะคุยกับท่านผู้อ่าน ผมควรจะคุยแบบไหน จึงจะสื่อความได้เหมือนใจ
*****
วิธีทำใจให้รักภาษาอังกฤษ 2 วิธีที่ผมจะพูดต่อไปนี้ ผมเชื่อว่าหลายท่านเคยได้ยินมาแล้ว จึงไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่ก็ขออนุญาตเอามาสรุปซ้ำก็แล้วกันครับ
1. มองให้เห็นประโยชน์ของภาษาอังกฤษ
พยายามมองบ่อยๆให้จำได้ ให้ระลึกได้โดยอัตโนมัติว่าภาษาอังกฤษมีประโยชน์ต่อเราอย่างไร หรือถ้าไม่เก่งภาษาอังกฤษจะเสียประโยชน์อะไรไป การติดข้อความ หรือภาพ หรือสัญลักษณ์ หรือไอคอน หรืออะไรก็ได้ที่โต๊ะทำงานเพื่อเตือนใจให้เห็นคุณค่าของภาษาอังกฤษอยู่เสมอ ก็อาจจะช่วยให้เปลี่ยนใจมารักภาษาอังกฤษมากขึ้นบ้าง ไม่มากก็น้อย
2. ทำอะไรก็ได้ให้ประสบความสำเร็จสักอย่างเกี่ยวกับภาษาอังกฤษ
ที่ง่ายที่สุดก็เช่น กำหนดเป้าหมายและระยะเวลา ที่จะบรรลุกิจกรรมการศึกษา เช่น ภายในเย็นวันนี้ ภายในสัปดาห์นี้ ภายในสิ้นเดือนนี้ ฉันจะต้องสามารถอ่านบทความที่หมายตาไว้จบ 3 บทความ และรู้เรื่องตลอด, ภายในสิ้นเดือนนี้จะต้องอ่านเรื่องสั้นภาษาอังกฤษจบ 1 เรื่อง หรือ จะต้องอ่าน Bangkok Post หรือ The Nation อย่างน้อยวันละ 1 ข่าว และเข้าใจเนื้อหาโดยตลอด หรือจะต้องฟังข่าวสั้น BBC หรือ CNN ซึ่งยาวประมาณ 5 นาที ทุกวัน จะฟังกี่เที่ยวก็ได้ แต่ต้องให้เข้าใจอย่างน้อย 50% ของเนื้อข่าว หรือจะต้องฝึกเล่าเรื่องเป็นภาษาอังกฤษ ให้ผู้ฟังในมโนภาพฟัง อย่างน้อยวันละ 5 นาที เป็นต้น
การตั้งเป้าหมายและกำหนด Deadline ที่คิดว่าตัวเองสามารถทำได้สำเร็จ และเมื่อทำได้จริงก็จะมีกำลังใจและความรักตามมา ในเรื่องนี้ผมมีข้อแนะนำ 2 ข้อ คือ ให้เป้าหมายที่กำหนดนี้ 1)ไม่ควรยาวหรือยากเกินไป และ 2)เป็นเนื้อหาที่เรารัก เช่น เราชอบข่าวการเมือง กีฬา แฟชั่น นิทาน ฯลฯ ก็ให้เนื้อเรื่องอยู่ในประเภทนี้ การที่เราไม่ชอบภาษาอังกฤษ แต่ชอบเนื้อเรื่อง ก็คงช่วยให้ความรักที่เรามีต่อเนื้อเรื่องถ่ายเทไปสู่ความรักภาษาอังกฤษได้บ้างไม่มากก็น้อย
*****
ท่านผู้อ่านครับ ในช่วง 3 ปีที่ทำบล็อกนี้ ผมค่อย ๆ พบว่า ปัญหาพื้นฐานที่หนักมากๆ ของเด็กไทย หรือคนไทย ในการเรียนภาษาอังกฤษ ไม่ได้อยู่ที่ครูไม่เก่ง หลักสูตรไม่ดี วัสดุอุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้ไม่ทันสมัย ผู้เรียนมีพื้นฐานอ่อน จำศัพท์ได้น้อย หรือเมื่อเรียนผ่านเน็ต ปัญหาใหญ่ก็ไม่ได้อยู่ที่เน็ตช้า ดาวน์โหลดยาก ไม่ค่อยรู้เรื่องคอมพิวเตอร์ ใช้งานโปรแกรมไม่เป็น ฯลฯ ปัญหาเหล่านี้เล็กน้อยมากเมื่อเปรียบเทียบกับปัญหาพื้นฐานคือ ไม่รักที่จะเรียนภาษาอังกฤษ หรือ ขาดอิทธิบาทข้อที่ 1 คือ ฉันทะ นั่นเอง
แต่การที่จะทำให้เกิดฉันทะ ก็ไม่ใช่เรื่องง่าย ถ้าทำได้ง่ายจริง ป่านนี้คนไทยคงรักและเก่งภาษาอังกฤษมากกว่านี้อีกเยอะ และแม้ด้วย 2 วิธีที่ผมแนะนำไว้ข้างต้น คือ มองให้เห็นประโยชน์ของภาษาอังกฤษ และสร้างกำลังใจให้เกิดขึ้นจากความสำเร็จ ผมก็ยังไม่แน่ใจว่า จะทำให้คนที่เกลียดหันมารักภาษาอังกฤษได้เพิ่มขึ้นอีกสักกี่ %
ไหนๆก็ไหนๆแล้ว ตอนนี้ ผมขอชวนท่านผู้อ่านมองภาพกว้างๆอย่างนี้ก่อนแล้วกันครับ แล้วเดี๋ยวเราค่อยกลับมาพูดเรื่องภาษาอังกฤษอีกที
ในชีวิตของคนเรานั้น คงมีทั้งสิ่งที่เราชอบและไม่ชอบ จะให้เรารักทุกเรื่องคงเป็นไปไม่ได้ เพราะฉะนั้นถ้าท่านจะไม่ชอบภาษาอังกฤษ ก็เป็นเรื่องปกติ 100% ของคนเรา เพราะเราก็เป็นคนธรรมดา
แต่เรื่องที่ผมอยากจะชี้ก็คือ ณ บัดนี้ ภาษาอังกฤษคือความจำเป็นของคนที่มีชีวิตอยู่ในยุคสมัยนี้ ซึ่งไม่เหมือนสมัยก่อน จำได้ว่าสมัยที่ผมเรียนจบ ม.ศ.3 และจะขึ้นต่อ ม.ศ.4 นักเรียนรุ่นผม ก็จะถามตัวเองว่า ถนัดสายวิทย์ หรือสายศิลป์ ถ้าสายวิทย์ ก็ไปเรียนคณิตศาสตร์ ฟิสิกส์ เคมี ชีวะ ถ้าสายศิลป์ ก็ไปเรียนภาษาไทย ภาษาอังกฤษ สังคม มันคล้ายๆกับว่า ใครที่เลือกสายวิทย์ ไม่มีอะไรที่จะต้องมาเกี่ยวข้องกับภาษาอังกฤษเลย
ต่อมาเมื่อผมเรียนจบและทำงานได้หลายปี และอยู่ในหน่วยงานซึ่งเจ้าหน้าที่ส่วนใหญ่จบมาจากสายวิทย์และเป็นช่าง เจ้าหน้าที่เหล่านี้จำนวนไม่น้อยก็คือคนรุ่นผม ซึ่งเป็นผลผลิตของการศึกษายุคนั้น คือ ไม่ชอบภาษาอังกฤษ
ปัญหาที่ผมเห็นก็คือ วิทยาการทางช่างที่เขาเรียนมาตั้งแต่สมัยโน้น โดยไม่จำเป็นต้องพึ่งภาษาอังกฤษนั้น บัดนี้หลายส่วนมันล้าสมัย และจำเป็นต้อง update และวิธีการ update ที่ practical ที่สุด ก็คือ การศึกษาด้วยตัวเองที่ต้องใช้ภาษาอังกฤษ ท่านผู้อ่านพอจะจินตนาการได้ไหมครับว่า ถ้าความจำเป็นของหลายองค์กรในประเทศไทยในการ update ความรู้ของบุคลากรเป็นเช่นนี้ แต่ก็ทำได้ยากเพราะความอ่อนแอด้านภาษาอังกฤษ คนไทยและประเทศไทยเรา จะแข่งขันกับชาติที่เขาแข็งแรงด้านภาษาอังกฤษไหวหรือครับ
ไม่ใช่แต่คนที่ทำงานด้านช่างเท่านั้น แม้แผนกอื่นๆในองค์กรที่ไม่ใช่ช่าง ความรู้ด้านภาษาอังกฤษก็จำเป็นเช่นกัน ปกติแต่ละองค์กรจะมีแผนกติดต่อกับต่างประเทศ ชื่อว่า ฝ่าย”วิเทศสัมพันธ์”หรือ “International Relations” หรืออะไรทำนองนี้ และทุกอย่างที่องค์กรจะติดต่อกับต่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็นความร่วมมือทางธุรกิจ ทางวิชาการ หรืออะไรก็ตาม จะต้องผ่านฝ่ายวิเทศสัมพันธ์ นี้ เรื่องของเรื่องก็คือ เจ้าหน้าที่ฝ่ายวิเทศสัมพันธ์นั้น ทำหน้าที่เป็นเพียงผู้ประสานงานขั้นต้น หรือ ตกลงในหลักการกับต่างประเทศเท่านั้น ส่วนเนื้องานจริงๆที่ต้องสัมพันธ์กันนั้น จะต้องให้หน่วยงานภาคปฏิบัติซึ่งเป็นเจ้าของเรื่องในองค์กรนั้นรับไปทำ เจ้าหน้าที่วิเทศสัมพันธ์ไม่มีทางที่จะเข้าไปรู้เนื้อหา ศัพท์แสง และรายละเอียดภาคปฏิบัติของทุกหน่วยงานในองค์กร และเมื่อมีการเจรจากัน จะให้ล่ามแปลให้ทุกประโยค ก็เป็นเรื่องที่ไม่ practical อย่างยิ่ง ในกรณีนี้ ท่านผู้อ่านพอจะจินตนาการได้ไหมครับว่า ผลประโยชน์ของบุคคล หรือของหน่วยงาน หรือของประเทศ จะสะดุดมากเพียงใด ถ้าคนไทยขาดความสามารถด้านภาษาอังกฤษอย่างที่ผมเล่ามานี้
ผมขอยกตัวอย่างอีก 2 เรื่อง ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมานี้ ผมได้เดินทางไปเข้าร่วมการแข่งขันฝีมือแรงงานในระดับอาเซียน และนานาชาติ แทบทุกปี เมื่อเปรียบเทียบทักษะภาษาอังกฤษของเยาวชนไทยกับเยาวชนชาติอื่นๆในภูมิภาคนี้ ไม่ต้องมองไปที่มาเลเซีย หรือฟิลิปปินส์หรอกครับ เอาแค่อินโดนีเซีย หรือ เวียดนามก็พอ เด็กไทยก็ดูเหมือนจะสู้เขาได้ยาก และในปี 2015 ซึ่งข้อตกลงตาม ASEAN Economic Community จะมีผลบังคับใช้ ทำให้เขตอาเซียนเป็นเขตไร้พรมแดนด้านแรงงาน คนในประเทศอาเซียนอื่นๆก็จะเข้ามาทำงานในเมืองไทยได้ และบริษัทต่างชาติที่มาลงทุนในเมืองไทย ก็สามารถจ้างเขาเหล่านั้นได้ สถานการณ์เช่นนี้ ถ้าคนไทยยังอ่อนแอด้านภาษาอังกฤษอย่างที่เห็นและเป็นอยู่ เราก็คงจะแย่เพราะถูกแย่งงานในประเทศของเราเอง
ปัญหาที่เล่ามาทั้งหมดนี้ ทำให้ย้อนกลับไปประเด็นเดิมคือ ทำอย่างไรคนไทย หรือเด็กไทยจึงจะเก่งภาษาอังกฤษมากขึ้น และทำอย่างไร คนไทยหรือเด็กไทยจึงจะรักภาษาอังกฤษมากกว่าทุกวันนี้
* * * * *
ท่านผู้อ่านครับ ถ้าสิ่งที่ผมเขียนต่อไปนี้ท่านอ่านแล้วรู้สึกเหมือนฟังพระเทศน์ ก็ต้องขอประทานอภัยด้วยครับ ผมมิได้ตั้งใจให้เป็นเช่นนั้นเลย แต่ที่เอามาเล่าก็เพราะมันเป็นสิ่งที่ผมใช้ได้ผลด้วยตัวเอง จึงอยากจะเอามาแบ่งปันฉันคนรักชอบพอกัน
ณ จุดนี้ ผมอยากจะบอกว่า ถ้าเราไม่สามารถรักภาษาอังกฤษ ก็อย่าไปรักมันเลยครับ แต่อย่างน้อยก็ไม่ควรจะเกลียด และเรียนภาษาอังกฤษด้วยใจที่เป็นกลาง ไม่ต้องรักก็ได้ แต่ทำใจให้สงบขณะที่เรียน ถ้าเกิดความรู้สึกหงุดหงิด รำคาญ เบื่อหน่าย ท้อแท้ กังวล หรือความรู้สึกอะไรก็ตามที่เป็นลบ ก็ให้เห็นว่ามันเป็นเพียงสักแต่ว่าความรู้สึก และไม่ต้องไป serious (ภาษาพระเรียกว่า “ยึดมั่นถือมั่น”) กับความรู้สึกลบเหล่านี้
ถ้าเราเรียนภาษาอังกฤษด้วยความไม่ยึดมั่นถือมั่นในความรู้สึกลบที่เกิดขึ้นในใจ แม้จะไม่รัก แต่เราก็จะสามารถเรียนไปได้เรื่อยๆ อย่างได้ผลดีและไม่มีทุกข์ นี่เป็นคำแนะนำของผมต่อทุกท่านที่ไม่รักภาษาอังกฤษ หรือเกลียดภาษาอังกฤษ แต่จำเป็นต้องพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษ เพื่อช่วยยกระดับการทำงานและคุณภาพชีวิต
การทำใจให้เป็นกลางเช่นนี้ทำยากไหมครับ? ผมเห็นว่า ไม่ว่าจะทำยากหรือทำง่าย ก็น่าจะลองฝึกทำอยู่เรื่อยๆ
ท่านลองสังเกตอย่างนี้ซีครับ ทุกวันเมื่อท่านลุกขึ้นในเวลาตื่นนอนตอนเช้านั้น ความรู้สึกแรกของท่านคือความรู้สึกอะไร เช่น มีความกระตือรือร้นอยากลุกขึ้นไปทำนั่นทำนี่ด้วยความสนุกสนาน ชีวิตช่างเต็มไปด้วยความหวัง หรือว่า เป็นความรู้สึกเบื่อหน่าย เซ็ง วิตกกังวล ซึมเซา เพลีย หงุดหงิด ฯลฯ
ขอให้ฝึกนิสัยที่จะสังเกตความรู้สึกแรกที่เกิดขึ้นเมื่อตื่นนอนตอนเช้า การสังเกตเช่นนี้เป็นความสามารถที่ควรฝึกให้ชำนาญ ถ้าชำนาญแล้วจะมีประโยชน์ต่อชีวิตอย่างยิ่ง
เมื่อสังเกตไปสักระยะหนึ่ง ท่านจะพบว่า ความรู้สึกแรกที่เกิดขึ้นในใจของท่านเมื่อตื่นนอนตอนเช้า ไม่ว่าจะเป็นบวกหรือลบ เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเอง ท่านไม่ได้ตั้งใจหรือวางแผนให้มันเกิดขึ้นอย่างนั้น
เรื่องที่ต้องถามก็คือ ท่านยอมให้ความรู้สึกแรกที่เป็นลบจูงท่านออกจากที่นอน และ start กิจกรรมวันนั้นทั้งวัน ด้วยความรู้สึกลบนี้เมื่อท่านออกจากบ้านในตอนเช้า
หรือว่า เมื่อความรู้สึกแรกที่เป็นลบเกิดขึ้นเมื่อตื่นนอน เช่น เบื่ออย่างยิ่งกับงานที่ต้องทำซ้ำๆซากๆอีกแล้วในวันใหม่นี้ หรือ กังวลหนักใจกับสิ่งที่ต้องเจอในวันนี้ หรือร้อนรนอย่างยิ่งกับสิ่งที่มุ่งหวังว่าต้องได้รับในวันนี้ หรือมีบุคคลที่ท่านขุ่นเคืองใจปรากฏในความรู้สึกแรกเมื่อตื่นนอนตอนเช้า
ถ้าเป็นอย่างที่กล่าวมาข้างต้น นี่คือการขาดสติประเภทที่ 1 คือ ปล่อยให้ความรู้สึกลบครอบงำใจก่อนออกไปทำงาน
แต่ถ้าท่านรู้สึกว่าความรู้สึกลบที่เกิดขึ้นนี้เป็นของไม่ดี และท่านไม่ต้องการให้ตัวเองรู้สึกเช่นนี้ และก็พยายามที่จะขจัดความรู้สึกเช่นนี้ออกไปจากใจ แต่มันก็ดื้อไม่ยอมออกไปง่ายๆ ท่านจึงออกจากบ้าน โดยมีความรู้สึก 2 อย่าง ต่อสู้กันในใจ คือ ความรู้สึกที่เป็นลบ กับความรู้สึกที่ต้องการขจัดความรู้สึกที่เป็นลบ จึงเป็นการ start ที่ไม่ค่อยดีนักเช่นกัน และนี่คือการขาดสติประเภทที่ 2 คือ ปล่อยให้ความรู้สึกขัดแย้งเกิดขึ้นและครอบงำใจ
ย้อนมาถึงเรื่องการเรียนภาษาอังกฤษที่ผมบอกว่า ขอให้เรียนภาษาอังกฤษด้วยใจที่เป็นกลางเถิดครับ อย่า start การเรียนภาษาอังกฤษด้วยความรู้สึกที่เป็นลบ หรือ start ด้วยความรู้สึกที่ขัดแย้ง ดังตัวอย่างที่ผมพูดเกี่ยวกับความรู้สึกที่ท่านออกจากบ้านไปทำงานตอนเช้า แต่ขอให้เริ่มต้นเรียนภาษาอังกฤษด้วยใจที่เป็นกลาง คือ ไม่ว่ามันจะรู้สึกอย่างไร ก็เป็นเพียงแค่ความรู้สึกที่เกิดขึ้น ให้ยอมรับ 100% เลยว่ามีความรู้สึกเช่นนี้เกิดขึ้นแล้วในใจ โดยไม่ต้องต้อนรับ แต่ก็ไม่ต้องรังเกียจ เมื่อตอนที่มันเข้ามาสู่ใจ เราก็ไม่ได้เชิญมันเข้ามา และมันก็จะออกไปจากใจ โดยเราไม่ได้ขับไล่เช่นกัน การต้อนรับและขับไล่ความรู้สึกที่เป็นลบมีแต่จะทำให้ความรู้สึกลบนั้นอยู่ทนและรุนแรงมากขึ้น เราเพียงยอมรับว่ามันเข้ามา เราเพียงอยู่เฉยๆ ถึงเวลามันก็ออกไปเอง
* * * * *
ผมเป็นคนโชคดีอย่างหนึ่ง คือ ได้เดินทางท่องเที่ยวมาหลายประเทศ มีเพื่อนบางคนถามว่า ชอบประเทศไหนมากที่สุด ผมตอบว่ามีอยู่ 3 ประเทศ จากน้อยไปมาก ดังนี้
1.สวิตเซอร์แลนด์ ผมไป 2 ครั้ง มันมีบรรยากาศของความงดงามที่สะอาด เป็นธรรมชาติ และหรูหรา แต่ไม่ดึงดูดใจเท่าไรนัก
2.นิวซีแลนด์ ผมไป 2 ครั้ง สำหรับผมเกาะใต้ของนิวซีแลนด์ สวยงามมาก แม้ไม่หรูหรานัก แต่ก็เป็นธรรมชาติที่ดึงดูดใจอย่างยิ่ง แม้ไม่ตระการตาอย่างสวิตเซอร์แลนด์ แต่ก็ตระการใจมากกว่าหลายเท่า
3.ส่วนประเทศสุดท้ายที่ผมชอบมากที่สุด ชอบมากกว่าสวิตเซอร์แลนด์และนิวซีแลนด์ คือประเทศอินเดีย ผมไปมาทั้งหมด 4 ครั้ง โดยไปแบบแบกเป้เที่ยว ขึ้นยานพาหนะสาธารณะทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็นรถไฟ รถบัส รถสามล้อถีบ รถสองแถว แท็กซี่หรือพาหนะส่วนตัว คือเดิน นอนวัดไทย วัดแขก และโรงแรมราคาถูก ผมไม่มีเวลาเขียนเป็นหนังสือท่องเที่ยวขาย แต่เมื่ออ่านหนังสือท่องเที่ยวอินเดียบางเล่มที่มีวางขาย ผมรู้สึกว่าเรื่องที่ผมเจอสนุกกว่า
เพื่อนผมบางคนที่รู้ว่าผมไปอินเดีย 4 ครั้งแล้ว และกะจะไปอีกถ้ามีโอกาส พูดว่า เขาไม่รู้สึกอยากจะไปอินเดียแม้แต่นิดเดียว ทั้งสกปรก ทั้งเหม็น ขอทานก็เยอะ รถก็เบียดเสียดยัดเยียด ไม่ว่าจะเป็นตึกราม บ้านช่อง ผู้คน ถนนหนทาง อาหาร และ ฯลฯ ผมเห็นว่าเขาพูดไม่ผิด เพราะผมก็เจอมาทุกอย่างที่เขาพูด
แต่อินเดียยังมีมากกว่านี้ อินเดียมีความงดงามของอารยธรรมจากอดีตที่ตกทอดมาจนถึงปัจจุบัน มีความน่ารักของผู้คน มีความรุ่งเรืองของศาสตร์ด้านจิตวิญญาณที่แสดงให้เห็นในสถาปัตยกรรมต่างๆ
อินเดียเป็นทั้งโลกเก่าและโลกใหม่ มี”นรก” ให้เห็น แต่ก็มี “สวรรค์” ให้ชม
การไปเที่ยวอย่างผม บางคนเขาเรียกว่า Sightseeing คือ ผมได้เห็น (see) สิ่งต่างๆ (sight) ทั้งที่สะอาดและสกปรก ทั้งใหม่และเก่า ทั้งที่น่ารื่นรมย์และน่าหดหู่ ผมได้เห็นสองด้านของหลายๆสิ่ง ไม่เหมือนที่สวิตเซอร์แลนด์หรือนิวซีแลนด์ซึ่งผมมักจะเห็นอะไรด้านเดียว
แต่ไม่ว่าผมจะเห็นอะไร ที่ไหน ที่สวิตเซอร์แลนด์ ที่นิวซีแลนด์ ที่อินเดีย หรือที่ประเทศใดในโลกที่เคยท่องเที่ยวผ่านมา ทุกภาพที่เห็นก็ให้ความรู้ ความรื่นรมย์ ความเพลิดเพลินต่อชีวิตทั้งสิ้น และขณะที่เห็นภาพเหล่านั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาพในอินเดีย ไม่ว่าจะเป็นภาพที่ดูแล้วสนุก เช่น แขกจับงูลงตะกร้า แล้วเป่าปี่ให้กระดกหัวเลื้อยออกมา หรือภาพที่เศร้า เช่น ขอทานนอนข้างทาง และย้ายที่นอนเพื่อหนีแดด หรือภาพอื่นใดก็ตาม ความรู้สึกจากการเห็นภาพเหล่านี้ ก็เป็นแค่ความรู้สึก ผมไม่ได้เป็นทุกข์ไปกับความรู้สึก เพราะทุกภาพและทุกความรู้สึกต่างช่วยเพิ่มประสบการณ์ให้แก่ชีวิต ทำให้ชีวิตมีรสชาติและเนื้อหา ผมได้เรียนรู้ “การปล่อยวาง”จากการท่องเที่ยว
เมื่อกลับมาสู่บรรยากาศเดิมในที่ทำงาน ผมเปรียบเทียบ “sight” ที่ผม “see“ ในที่ทำงาน กับสถานที่และผู้คนในประเทศต่างๆที่ผมเคยผ่านพบ มองเผินๆมันอาจจะต่างกัน แต่ผลที่สะท้อนให้เกิดเป็นความรู้สึกในใจมันเหมือนกัน คือ มันเป็นความรู้สึก รัก – ชัง, สนุก-เบื่อ, มุ่งหวัง-กังวล ฯลฯ มันเป็น Sightseeing ในใจที่เกิดดับ เกิดดับ ตลอดเวลา ผมได้เรียนรู้การปล่อยวางจากการทำงานในที่ทำงาน
* * * * *
เมื่อผมมาทำบล็อกนี้ ผมมุ่งหวังว่าท่านผู้อ่านจะได้รับประโยชน์จากภาษาอังกฤษมากขึ้น แต่ผมก็รู้ว่าคงเป็นไปได้ยากที่ทุกคนจะรักภาษาอังกฤษ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คนที่ไม่ได้ชอบภาษาอังกฤษมาแต่เดิม อย่างไรก็ตาม ผมเชื่อว่าทุกคนต่างตระหนักแล้วว่าภาษาอังกฤษคือความจำเป็นของยุคสมัย ผมปรารถนาอย่างยิ่งที่จะให้ท่านผู้อ่านทุกท่านซึ่งรวมทั้งท่านที่เกลียดภาษาอังกฤษ ได้รับประโยชน์มากขึ้นจากการเก่งภาษาอังกฤษ แต่ผมก็ไม่ต้องการให้ใครเรียนภาษาอังกฤษอย่างเป็นทุกข์ แต่อยากให้ทุกคนเรียนภาษาอังกฤษด้วยใจที่เป็นกลาง ปล่อยวาง ซึ่งผมเชื่อว่าการปล่อยวางนี่แหละ จะทำให้เกิดฉันทะ คือ ความรักที่แท้จริงในสิ่งที่ทำ ซึ่งจะตามมาด้วยความสำเร็จ การปล่อยวางคือ Sightseeing, คือเราเพียง see...sight ต่างๆที่เกิดขึ้นในใจ ซึ่งอาจจะเป็นความรู้สึกเบื่อ หรือเกลียดที่จะเรียนภาษาอังกฤษ แต่ sight ก็เป็นสักแต่ว่า sight ความรู้สึกก็เป็นสักแต่ว่าความรู้สึก ไม่มีอะไรมากกว่านั้น ไม่มีอะไรต้อง serious ไม่มีอะไรต้องยึดมั่น
ท่านผู้อ่านครับ ผมขออวยพรให้ทุกท่านมีฉันทะ ความรัก และใจที่สงบ – ปล่อยวาง – เป็นกลาง ในการเรียนภาษาอังกฤษ และขอให้ทุกท่านได้รับความสำเร็จในการเรียนภาษาอังกฤษสมดังตั้งใจ
พิพัฒน์
GemTriple@gmail.com
วันศุกร์ที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2553
[1315] Read online Google Books
สวัสดีครับ
หลายเว็บมีหนังสือให้เราอ่านขณะต่อเน็ต หรือ Read online ซึ่งในความรู้สึกของผม เว็บ Read online ที่ดีที่สุดก็คือ
http://www.books.google.com/
เพราะมีหนังสือและนิตยสาร ใหม่ ๆ ที่น่าสนใจจำนวนมากที่สุด
สำหรับท่านที่ยังไม่ค่อยคุ้นเคยกับเว็บนี้ ผมอยากเชิญชวนให้ท่านลงทุนใช้เวลาทำความเข้าใจกับการ Search เว็บนี้ให้เข้าใจ เพราะเขาทำไว้ดีมาก ผมขอแนะนำคร่าว ๆ ว่า ให้ท่านคลิกสำรวจให้ทั่วๆ ดังนี้ครับ
1.เมื่อคลิกที่ Homepage http://www.books.google.com/ และดูที่คอลัมน์ซ้ายมือ จะพบลิงค์ต่าง ๆ ดังนี้
Fiction
Literature
Science fiction
Fantasy
Romance
Mystery
Fairy tales
Short stories
Poetry
› Non-fiction
Philosophy
Economics
Political science
Linguistics
Mathematics
Physics
Chemistry
Biology
› Random subjects
Toys
Poets
Cartography
Postmodernism Social aspects
Women's rights
Dating (Social customs)
Housekeeping
History of Medicine
2.เมื่อพิมพ์ key word ลงใน Search, และคลิกเข้าไปที่หนังสือเล่มใดแล่มหนึ่งแล้ว, ให้ดูที่คอลัมน์ซ้ายมือ จะพบลิงค์ต่าง ๆ ข้างล่างนี้ ให้คลิกดูลักษณะการใช้งานของแต่ละปุ่มให้ละเอียด
-List view
-Cover view
-› All books
-Limited preview and full view (คลิกลิงค์นี้ ถ้าต้องการเลือกหนังสือหรือ magazine ที่ Read online ได้ทั้งเล่ม/ฉบับ หรืออ่านได้เฉพาะตัวอย่าง)
-Full view only (คลิกลิงค์นี้ ถ้าต้องการเลือกหนังสือหรือ magazine ที่ Read online ได้ทั้งเล่ม/ฉบับ)
-Public domain only (คลิกลิงค์นี้ ถ้าต้องการเลือกหนังสือหรือ magazine ที่สามารถดาวน์โหลด ได้ทั้งเล่ม/ฉบับ - - เมื่อเข้าไปแล้ว ให้คลิกที่ DOWNLOAD ที่มุมขวาด้านบนของหน้า)
-และ ถ้าต้องการทราบว่ามีคำใดคำหนึ่งอยู่ในหน้าใดของหนังสือเล่มนี้ ให้พิมพ์คำนั้นในช่อง Search in this book ที่คอลัมน์ซ้ายมือ, บริการเช่นนี้สะดวกมาก เพราะเราสามารถรู้ได้โดยไม่ต้องคลิกพลิกดูทั้งเล่ม
3.ให้คลิกที่ Advanced Book Search และศึกษาการค้นแบบก้าวหน้า
ผมยังมีเว็บ Read online อื่น ๆ ข้างล่างนี้
http://books.google.com/books
http://www.gutenberg.org/
http://www.readprint.com/
http://www.archive.org/
http://www.pagebypagebooks.com/
http://manybooks.net/
http://onlinebooks.library.upenn.edu/archives.html
ส่วนเว็บข้างล่างนี้ ต้องดาวน์โหลดหนังสือให้เสร็จก่อนเพื่อเอาไปเปิดอ่านเอง
-http://englishtips.org/
-http://gigapedia.com/
-http://gigle.ws/-http://www.avaxhome.ws/
-http://www.langacademy.net/vb/index.php
-http://search.4shared.com/network/search.jsp
-http://englishphonics.blogspot.com/
พิพัฒน์
GemTriple@gmail.com
หลายเว็บมีหนังสือให้เราอ่านขณะต่อเน็ต หรือ Read online ซึ่งในความรู้สึกของผม เว็บ Read online ที่ดีที่สุดก็คือ
http://www.books.google.com/
เพราะมีหนังสือและนิตยสาร ใหม่ ๆ ที่น่าสนใจจำนวนมากที่สุด
สำหรับท่านที่ยังไม่ค่อยคุ้นเคยกับเว็บนี้ ผมอยากเชิญชวนให้ท่านลงทุนใช้เวลาทำความเข้าใจกับการ Search เว็บนี้ให้เข้าใจ เพราะเขาทำไว้ดีมาก ผมขอแนะนำคร่าว ๆ ว่า ให้ท่านคลิกสำรวจให้ทั่วๆ ดังนี้ครับ
1.เมื่อคลิกที่ Homepage http://www.books.google.com/ และดูที่คอลัมน์ซ้ายมือ จะพบลิงค์ต่าง ๆ ดังนี้
Fiction
Literature
Science fiction
Fantasy
Romance
Mystery
Fairy tales
Short stories
Poetry
› Non-fiction
Philosophy
Economics
Political science
Linguistics
Mathematics
Physics
Chemistry
Biology
› Random subjects
Toys
Poets
Cartography
Postmodernism Social aspects
Women's rights
Dating (Social customs)
Housekeeping
History of Medicine
2.เมื่อพิมพ์ key word ลงใน Search, และคลิกเข้าไปที่หนังสือเล่มใดแล่มหนึ่งแล้ว, ให้ดูที่คอลัมน์ซ้ายมือ จะพบลิงค์ต่าง ๆ ข้างล่างนี้ ให้คลิกดูลักษณะการใช้งานของแต่ละปุ่มให้ละเอียด
-List view
-Cover view
-› All books
-Limited preview and full view (คลิกลิงค์นี้ ถ้าต้องการเลือกหนังสือหรือ magazine ที่ Read online ได้ทั้งเล่ม/ฉบับ หรืออ่านได้เฉพาะตัวอย่าง)
-Full view only (คลิกลิงค์นี้ ถ้าต้องการเลือกหนังสือหรือ magazine ที่ Read online ได้ทั้งเล่ม/ฉบับ)
-Public domain only (คลิกลิงค์นี้ ถ้าต้องการเลือกหนังสือหรือ magazine ที่สามารถดาวน์โหลด ได้ทั้งเล่ม/ฉบับ - - เมื่อเข้าไปแล้ว ให้คลิกที่ DOWNLOAD ที่มุมขวาด้านบนของหน้า)
-และ ถ้าต้องการทราบว่ามีคำใดคำหนึ่งอยู่ในหน้าใดของหนังสือเล่มนี้ ให้พิมพ์คำนั้นในช่อง Search in this book ที่คอลัมน์ซ้ายมือ, บริการเช่นนี้สะดวกมาก เพราะเราสามารถรู้ได้โดยไม่ต้องคลิกพลิกดูทั้งเล่ม
3.ให้คลิกที่ Advanced Book Search และศึกษาการค้นแบบก้าวหน้า
ผมยังมีเว็บ Read online อื่น ๆ ข้างล่างนี้
http://books.google.com/books
http://www.gutenberg.org/
http://www.readprint.com/
http://www.archive.org/
http://www.pagebypagebooks.com/
http://manybooks.net/
http://onlinebooks.library.upenn.edu/archives.html
ส่วนเว็บข้างล่างนี้ ต้องดาวน์โหลดหนังสือให้เสร็จก่อนเพื่อเอาไปเปิดอ่านเอง
-http://englishtips.org/
-http://gigapedia.com/
-http://gigle.ws/-http://www.avaxhome.ws/
-http://www.langacademy.net/vb/index.php
-http://search.4shared.com/network/search.jsp
-http://englishphonics.blogspot.com/
พิพัฒน์
GemTriple@gmail.com
วันพฤหัสบดีที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2553
[1314] ชวนอ่าน Reader’s Digest อีกครั้ง นะครับ
สวัสดีครับ
เมื่อเราอ่านภาษาอังกฤษ เราคงไม่ได้หวังเพียงเพิ่มทักษะการอ่าน หรือ reading skill แต่เราน่าจะได้อะไรอื่นพร้อมกันไปขณะที่อ่านหรือเมื่ออ่านจบ เช่น
-ความสนุก
-ความรู้
-เนื้อหาใช้ประกอบการเรียน – ทำการบ้าน
เพราะฉะนั้น สิ่งที่เราเลือกอ่านเพื่อให้ได้รับประโยชน์ครบตามที่กล่าวข้างต้น จะต้องเป็นข้อเขียนที่มีคุณภาพ และ Reader’s Digest ก็คือแหล่งของข้อเขียนนี้
ที่ผมกล้าพูดเช่นนี้ก็เพราะว่า เนื้อหาที่ตีพิมพ์ในหน้านิตยสารหรือหน้าเว็บของ Reader’s Digest มีทั้งคุณภาพและความหลากหลาย และไม่เก่าง่าย ๆ แม้จะเป็นฉบับย้อนหลัง
ผมเคยแนะนำ Reader’s Digest [http://www.rd.com/ ]ไว้ที่ลิงค์นี้
[79] นิตยสารที่มีคนอ่านมากที่สุดในโลก
โดยมีข้อความโดยสรุปว่า
Reader’s Digest เป็นนิตยสารที่ขายดีและมีคนอ่านมากที่สุดในโลกกว่า 100 ล้านคนในกว่า 70 ประเทศ, มากกว่า 50 edition และพิมพ์เป็นภาษาต่างๆ กว่า 20 ภาษา เนื้อหาที่นำมาลงตีพิมพ์มีทั้งบทความที่พิมพ์เป็นครั้งแรก, เนื้อหาที่คัดย่อมาจากหนังสือเล่มๆ, ขำขัน-เรื่องเล่าสนุกๆที่ผู้อ่านส่งมา, และคอลัมน์ต่างๆ เขาบอกว่านิตยสารของเขาทำ 3 อย่าง คือ inform (ให้ข้อมูล) entertain (ให้ความบันเทิง) และ inspire (ให้แรงบันดาลใจ) เนื้อหาแต่ละบทใน Reader’s Digest มักจะสั้นๆ ใช้เวลาไม่นานก็อ่านจบ และมีเรื่องหลากหลายให้เลือกอ่าน
[และลิงค์อื่น ๆ ที่ผมเคยเขียนแนะนำ คลิก ]
เพื่อให้ได้รับประโยชน์จากนิตยสารยักษ์ใหญ่ระดับนานาชาติฉบับนี้ วันนี้ ผมขอแนะนำอะไรเพิ่มเติมอีก 2 เรื่อง คือ
1.การหาบทความภาษาอังกฤษ และ
2.การหาบทความภาษาไทย
- - -- ขอแนะนำให้ท่านอ่านคำแนะนำข้างล่างนี้พร้อมกับคลิกทำ อ่านเฉย ๆ โดยไม่คลิกทำไปพร้อมกัน มีโอกาสงงครับ- - -- -
1.การหาบทความภาษาอังกฤษ จาก Reader’s Digest
[1] เมื่อเข้าไปที่เว็บ Reader’s Digest http://www.rd.com/ แล้ว ท่านสามารถค้นหาเรื่องได้ 2 วิธีคือ (1) คลิกที่ปุ่มเมนูต่าง ๆ ที่เขาทำไว้ให้ และ (2) พิมพ์ key word ลงไปในช่อง Search
ในหน้าที่แสดงผลของการ Search, บรรทัดบน ๆ จะมีรูปถุงหิ้ว นี่คือรายการขายหนังสือของเขา ถ้าท่านไม่ได้ประสงค์จะซื้อก็ไม่ต้องไปคลิกให้เสียเวลา, ให้เลือกคลิกที่บรรทัดใต้รูปถุงหิ้วถุงสุดท้าย ซึ่งจะเป็นบทความต่าง ๆ ตาม key word ที่ท่าน Search
ถ้าบทความหนึ่งมีหลายตอนให้คลิกเลข 1 – 2 – 3 – 4 … ไปตามลำดับ ขอเรียนว่า ถ้าชอบใจบทความใดให้ save ไว้เลยครับ
ในยุคอินเทอร์เน็ตนี้ให้ท่านพก flash drive ติดตัวหรือติดกระเป๋าถือไว้ตลอดเวลา ไปเจอไฟล์ดี ๆ กระทันหันจะได้สามารถ save ได้ทันท่วงที
สำหรับแฟนบล็อกนี้ ผมขอแนะนำเป็นพิเศษว่า ให้ท่านสร้างโฟลเดอร์ใน flash drive นี้อย่างน้อย 3 โฟลเดอร์ คือ
1.โฟลเดอร์ ชื่อ reading - รวมไฟล์ทั้งหลายที่ท่านจะฝึกอ่าน อาจจะตั้งโฟลเดอร์ย่อย ๆ ก็ได้ เช่น “อ่านวันนี้”, “อ่านเสาร์-อาทิตย์ นี้” เป็นต้น
2.โฟลเดอร์ ชื่อ listening – รวมไฟล์ mp3 หรือ วีดิโอที่ท่านจะฝึกฟัง
3.โฟลเดอร์ชื่อ reading+listening – รวมไฟล์ mp3 หรือวีดิโอ ที่มีไฟล์ script ด้วย
ส่วนท่านจะตั้งโฟลเดอร์อื่น ๆ อีก เช่น ศัพท์, grammar, สนทนาภาษาอังกฤษ ฯลฯ ก็เชิญได้ตามอัธยาศัยครับ
โฟลเดอร์ที่ท่านเก็บไฟล์ไว้นี้ คือห้องสมุดเคลื่อนที่ส่วนตัวของท่าน ยังไงก็อย่าลืมเข้าห้องสมุดบ้างนะครับ
[2] ผมมีข้อสังเกตอย่างหนึ่งว่า Search ที่มีให้บริการในเว็บ Reader’s Digest นี้ หาบทความได้ต่างจากผลที่ท่านให้ Google Search ช่วยหา ผมขอเปรียบเทียบให้ท่านดูอย่างนี้ครับ
-เมื่อท่านไปที่ http://www.rd.com/ และพิมพ์ คำว่า conversation ลงไป จะได้ผลการค้น ดังนี้ คลิก
-หรือถ้าพิมพ์ intitle:conversation เพื่อหาเฉพาะบทความที่มี คำว่า conversation อยู่ในชื่อบทความ ก็จะได้บทความ 3- 4 เรื่อง ดังนี้ (ค้นวันที่ 14 มค 53) คลิก
คราวนี้ลองใหม่ครับ ให้ท่านไปที่ http://www.google.com/ และให้ Google ค้นคำดียวกัน คือ conversation จากเว็บ http://www.rd.com/ ให้ท่านพิมพ์อย่างนี้ conversation site:www.rd.com
ลงไป, google ก็จะแสดงผลอย่างนี้ คลิก
ลองดูนะครับ ชอบใจผลการค้นแบบไหน ก็ใช้วิธีค้นแบบนั้น
2..การหาบทความภาษาไทย จาก Reader’s Digest
1).ไปที่นี่ Reader’s Digest ฉบับภาษาไทย http://www.readersdigest.co.th/
2).ต้องลงทะเบียนก่อน จึงจะมีสิทธิอ่านแต่ละบทความโดยสมบูรณ์ โดยให้คลิกที่ ลงทะเบียนที่นี่ ซึ่งอยู่ที่มุมบนด้านซ้ายของหน้าใต้คำว่า Reader’s Digest
3).เข้า email ที่ให้ไว้ตอนลงทะเบียน, เปิด email ฉบับที่ Reader’s Digest ลงไปให้ และคลิกลิงค์ในนั้นเพื่อยืนยันการลงทะเบียน (email ฉบับที่ Reader’s Digest ส่งมาให้นี้ ถ้าหาไม่เจอ ให้ดูในโฟลเดอร์อีเมลขยะด้วย เพราะอาจจะไปตกอยู่ในนั้น)
หลังจากนี้ ท่านจะสามารถ Search และ save บทความได้เต็มบทความ ถ้าไม่ล็อกอิน ท่านจะเห็นคำว่า
"เพียงแค่ลงทะเบียนเป็นสมาชิกเว็บไซต์รีดเดอร์ส ไดเจสท์ คุณก็จะได้อ่านเนื้อหาทั้งหมดของบทความนี้"
ที่บรรทัดสุดท้ายของ part 1 ของบทความ คือไม่สามารถอ่านหรือ save บทความทั้งหมดนั่นเอง
ตอนนี้ท่านจัดการคลิก LOGIN ได้เลยครับ โดยใช้ username และ password ที่ให้ไว้ตอน REGISTER , ตำแหน่ง LOGIN อยู่ใกล้ ๆ กับลงทะเบียนที่นี่
3).ตอนนี้มาถึงขั้นตอนการ Search, ก็คล้าย ๆ กับ การ Search ที่เว็บภาษาอังกฤษ, ที่เว็บภาษาไทยนี้ในหน้าแสดงผลการ Search จะมีข้อความว่า “สินค้าในคลังสินค้าอิเล็คทรอนิค” นี่คือการขายหนังสือ ถ้าท่านไม่ประสงค์จะซื้อ, ให้เลื่อนลงไปดูชื่อบทความที่ใต้บรรทัด “บทความในนิตยสาร”
ผมเชื่อว่าท่านที่ยังไม่ค่อยคุ้นเคยกับ Reader’s Digest เพื่อได้อ่านไปสักพักหนึ่ง ไม่ว่าเป็นภาษาไทยหรือภาษาอังฤษ จะต้องชอบนิตยสารฉบับนี้แน่นอน คำว่า “ชอบ” ในที่นี้มิได้หมายความว่าท่านชอบทุกบทความ, แต่หมายความว่า ใน Reader’s Digest จะต้องมีบางบทความหรือหลายบทความที่ท่านชอบอยู่ แน่ ๆ, ใช้เวลา Search นิดนึง ขอรับรองว่าท่านเจอแน่ครับ
ก่อนจากขอแถมอีกนิดนึงครับ อย่างที่ผมเรียนแล้วข้างต้นว่า Reader’s Digest พิมพ์จำหน่ายหลายภาษา และแม้ฉบับภาษาอังกฤษที่พิมพ์จำหน่ายในประเทศต่าง ๆ ก็มีเนื้อหาไม่เหมือนกันนัก เมื่อท่านเข้าไปที่เว็บ http://www.rd.com/ และเลื่อนลงมาข้างล่างใต้บรรทัด Reader's Digest Around the World ท่านจะเห็นรายชื่อประมาณ 40 ประเทศที่มี Reader’s Digest ฉบับของประเทศนั้นพิมพ์จำหน่าย (ในจำนวนนี้รวม Thailand ด้วย)
เฉพาะฉบับของประเทศที่ตีพิมพ์เป็นภาษาอังกฤษ น่าจะมี 6 ประเทศข้างล่างนี้:
1.Australia
2.Asia ( ฉบับ Singapore, Malaysia, Philippines เนื้อหาเหมือนกัน
คลิก )
3.Canada (English)
4.Great Britain
5.New Zealand
6.India (บทความที่สมบูรณ์ มีให้อ่านเฉพาะะในฉบับย้อนหลัง คลิก PAST ISSUES แต่ก็น่าสนใจครับ)
เรื่องสุดท้ายที่ขอเรียนให้ทราบก็คือ ถ้าท่านอ่านบทความใดถึงบรรทัดสุดท้ายและพบประโยคนี้
To access the complete story, you have to be a registered member of RDAsia website.
Please LOGIN or REGISTER now.
นี่แสดงว่าเขาไม่ยอมท่านอ่าน จนกว่าท่านจะ REGISTER และ LOGIN (รวมทั้ง Reader’s Digest Thailand ด้วย)
คิดว่าจุดสำคัญ ๆ น่าจะหมดแล้ว ต่อไปนี้ก็ขอเชิญท่านเข้าไปอ่าน Reader’s Digest ซึ่งจะช่วยให้ได้รับทั้ง reading skill, ความรู้ และความเพลิดเพลิน ขอเรียนเชิญคลิกลิงค์ที่แนะนำแล้วข้างบนได้ตามอัธยาศัยครับ
พิพัฒน์
GemTriple@gmail.com
เมื่อเราอ่านภาษาอังกฤษ เราคงไม่ได้หวังเพียงเพิ่มทักษะการอ่าน หรือ reading skill แต่เราน่าจะได้อะไรอื่นพร้อมกันไปขณะที่อ่านหรือเมื่ออ่านจบ เช่น
-ความสนุก
-ความรู้
-เนื้อหาใช้ประกอบการเรียน – ทำการบ้าน
เพราะฉะนั้น สิ่งที่เราเลือกอ่านเพื่อให้ได้รับประโยชน์ครบตามที่กล่าวข้างต้น จะต้องเป็นข้อเขียนที่มีคุณภาพ และ Reader’s Digest ก็คือแหล่งของข้อเขียนนี้
ที่ผมกล้าพูดเช่นนี้ก็เพราะว่า เนื้อหาที่ตีพิมพ์ในหน้านิตยสารหรือหน้าเว็บของ Reader’s Digest มีทั้งคุณภาพและความหลากหลาย และไม่เก่าง่าย ๆ แม้จะเป็นฉบับย้อนหลัง
ผมเคยแนะนำ Reader’s Digest [http://www.rd.com/ ]ไว้ที่ลิงค์นี้
[79] นิตยสารที่มีคนอ่านมากที่สุดในโลก
โดยมีข้อความโดยสรุปว่า
Reader’s Digest เป็นนิตยสารที่ขายดีและมีคนอ่านมากที่สุดในโลกกว่า 100 ล้านคนในกว่า 70 ประเทศ, มากกว่า 50 edition และพิมพ์เป็นภาษาต่างๆ กว่า 20 ภาษา เนื้อหาที่นำมาลงตีพิมพ์มีทั้งบทความที่พิมพ์เป็นครั้งแรก, เนื้อหาที่คัดย่อมาจากหนังสือเล่มๆ, ขำขัน-เรื่องเล่าสนุกๆที่ผู้อ่านส่งมา, และคอลัมน์ต่างๆ เขาบอกว่านิตยสารของเขาทำ 3 อย่าง คือ inform (ให้ข้อมูล) entertain (ให้ความบันเทิง) และ inspire (ให้แรงบันดาลใจ) เนื้อหาแต่ละบทใน Reader’s Digest มักจะสั้นๆ ใช้เวลาไม่นานก็อ่านจบ และมีเรื่องหลากหลายให้เลือกอ่าน
[และลิงค์อื่น ๆ ที่ผมเคยเขียนแนะนำ คลิก ]
เพื่อให้ได้รับประโยชน์จากนิตยสารยักษ์ใหญ่ระดับนานาชาติฉบับนี้ วันนี้ ผมขอแนะนำอะไรเพิ่มเติมอีก 2 เรื่อง คือ
1.การหาบทความภาษาอังกฤษ และ
2.การหาบทความภาษาไทย
- - -- ขอแนะนำให้ท่านอ่านคำแนะนำข้างล่างนี้พร้อมกับคลิกทำ อ่านเฉย ๆ โดยไม่คลิกทำไปพร้อมกัน มีโอกาสงงครับ- - -- -
1.การหาบทความภาษาอังกฤษ จาก Reader’s Digest
[1] เมื่อเข้าไปที่เว็บ Reader’s Digest http://www.rd.com/ แล้ว ท่านสามารถค้นหาเรื่องได้ 2 วิธีคือ (1) คลิกที่ปุ่มเมนูต่าง ๆ ที่เขาทำไว้ให้ และ (2) พิมพ์ key word ลงไปในช่อง Search
ในหน้าที่แสดงผลของการ Search, บรรทัดบน ๆ จะมีรูปถุงหิ้ว นี่คือรายการขายหนังสือของเขา ถ้าท่านไม่ได้ประสงค์จะซื้อก็ไม่ต้องไปคลิกให้เสียเวลา, ให้เลือกคลิกที่บรรทัดใต้รูปถุงหิ้วถุงสุดท้าย ซึ่งจะเป็นบทความต่าง ๆ ตาม key word ที่ท่าน Search
ถ้าบทความหนึ่งมีหลายตอนให้คลิกเลข 1 – 2 – 3 – 4 … ไปตามลำดับ ขอเรียนว่า ถ้าชอบใจบทความใดให้ save ไว้เลยครับ
ในยุคอินเทอร์เน็ตนี้ให้ท่านพก flash drive ติดตัวหรือติดกระเป๋าถือไว้ตลอดเวลา ไปเจอไฟล์ดี ๆ กระทันหันจะได้สามารถ save ได้ทันท่วงที
สำหรับแฟนบล็อกนี้ ผมขอแนะนำเป็นพิเศษว่า ให้ท่านสร้างโฟลเดอร์ใน flash drive นี้อย่างน้อย 3 โฟลเดอร์ คือ
1.โฟลเดอร์ ชื่อ reading - รวมไฟล์ทั้งหลายที่ท่านจะฝึกอ่าน อาจจะตั้งโฟลเดอร์ย่อย ๆ ก็ได้ เช่น “อ่านวันนี้”, “อ่านเสาร์-อาทิตย์ นี้” เป็นต้น
2.โฟลเดอร์ ชื่อ listening – รวมไฟล์ mp3 หรือ วีดิโอที่ท่านจะฝึกฟัง
3.โฟลเดอร์ชื่อ reading+listening – รวมไฟล์ mp3 หรือวีดิโอ ที่มีไฟล์ script ด้วย
ส่วนท่านจะตั้งโฟลเดอร์อื่น ๆ อีก เช่น ศัพท์, grammar, สนทนาภาษาอังกฤษ ฯลฯ ก็เชิญได้ตามอัธยาศัยครับ
โฟลเดอร์ที่ท่านเก็บไฟล์ไว้นี้ คือห้องสมุดเคลื่อนที่ส่วนตัวของท่าน ยังไงก็อย่าลืมเข้าห้องสมุดบ้างนะครับ
[2] ผมมีข้อสังเกตอย่างหนึ่งว่า Search ที่มีให้บริการในเว็บ Reader’s Digest นี้ หาบทความได้ต่างจากผลที่ท่านให้ Google Search ช่วยหา ผมขอเปรียบเทียบให้ท่านดูอย่างนี้ครับ
-เมื่อท่านไปที่ http://www.rd.com/ และพิมพ์ คำว่า conversation ลงไป จะได้ผลการค้น ดังนี้ คลิก
-หรือถ้าพิมพ์ intitle:conversation เพื่อหาเฉพาะบทความที่มี คำว่า conversation อยู่ในชื่อบทความ ก็จะได้บทความ 3- 4 เรื่อง ดังนี้ (ค้นวันที่ 14 มค 53) คลิก
คราวนี้ลองใหม่ครับ ให้ท่านไปที่ http://www.google.com/ และให้ Google ค้นคำดียวกัน คือ conversation จากเว็บ http://www.rd.com/ ให้ท่านพิมพ์อย่างนี้ conversation site:www.rd.com
ลงไป, google ก็จะแสดงผลอย่างนี้ คลิก
ลองดูนะครับ ชอบใจผลการค้นแบบไหน ก็ใช้วิธีค้นแบบนั้น
2..การหาบทความภาษาไทย จาก Reader’s Digest
1).ไปที่นี่ Reader’s Digest ฉบับภาษาไทย http://www.readersdigest.co.th/
2).ต้องลงทะเบียนก่อน จึงจะมีสิทธิอ่านแต่ละบทความโดยสมบูรณ์ โดยให้คลิกที่ ลงทะเบียนที่นี่ ซึ่งอยู่ที่มุมบนด้านซ้ายของหน้าใต้คำว่า Reader’s Digest
3).เข้า email ที่ให้ไว้ตอนลงทะเบียน, เปิด email ฉบับที่ Reader’s Digest ลงไปให้ และคลิกลิงค์ในนั้นเพื่อยืนยันการลงทะเบียน (email ฉบับที่ Reader’s Digest ส่งมาให้นี้ ถ้าหาไม่เจอ ให้ดูในโฟลเดอร์อีเมลขยะด้วย เพราะอาจจะไปตกอยู่ในนั้น)
หลังจากนี้ ท่านจะสามารถ Search และ save บทความได้เต็มบทความ ถ้าไม่ล็อกอิน ท่านจะเห็นคำว่า
"เพียงแค่ลงทะเบียนเป็นสมาชิกเว็บไซต์รีดเดอร์ส ไดเจสท์ คุณก็จะได้อ่านเนื้อหาทั้งหมดของบทความนี้"
ที่บรรทัดสุดท้ายของ part 1 ของบทความ คือไม่สามารถอ่านหรือ save บทความทั้งหมดนั่นเอง
ตอนนี้ท่านจัดการคลิก LOGIN ได้เลยครับ โดยใช้ username และ password ที่ให้ไว้ตอน REGISTER , ตำแหน่ง LOGIN อยู่ใกล้ ๆ กับลงทะเบียนที่นี่
3).ตอนนี้มาถึงขั้นตอนการ Search, ก็คล้าย ๆ กับ การ Search ที่เว็บภาษาอังกฤษ, ที่เว็บภาษาไทยนี้ในหน้าแสดงผลการ Search จะมีข้อความว่า “สินค้าในคลังสินค้าอิเล็คทรอนิค” นี่คือการขายหนังสือ ถ้าท่านไม่ประสงค์จะซื้อ, ให้เลื่อนลงไปดูชื่อบทความที่ใต้บรรทัด “บทความในนิตยสาร”
ผมเชื่อว่าท่านที่ยังไม่ค่อยคุ้นเคยกับ Reader’s Digest เพื่อได้อ่านไปสักพักหนึ่ง ไม่ว่าเป็นภาษาไทยหรือภาษาอังฤษ จะต้องชอบนิตยสารฉบับนี้แน่นอน คำว่า “ชอบ” ในที่นี้มิได้หมายความว่าท่านชอบทุกบทความ, แต่หมายความว่า ใน Reader’s Digest จะต้องมีบางบทความหรือหลายบทความที่ท่านชอบอยู่ แน่ ๆ, ใช้เวลา Search นิดนึง ขอรับรองว่าท่านเจอแน่ครับ
ก่อนจากขอแถมอีกนิดนึงครับ อย่างที่ผมเรียนแล้วข้างต้นว่า Reader’s Digest พิมพ์จำหน่ายหลายภาษา และแม้ฉบับภาษาอังกฤษที่พิมพ์จำหน่ายในประเทศต่าง ๆ ก็มีเนื้อหาไม่เหมือนกันนัก เมื่อท่านเข้าไปที่เว็บ http://www.rd.com/ และเลื่อนลงมาข้างล่างใต้บรรทัด Reader's Digest Around the World ท่านจะเห็นรายชื่อประมาณ 40 ประเทศที่มี Reader’s Digest ฉบับของประเทศนั้นพิมพ์จำหน่าย (ในจำนวนนี้รวม Thailand ด้วย)
เฉพาะฉบับของประเทศที่ตีพิมพ์เป็นภาษาอังกฤษ น่าจะมี 6 ประเทศข้างล่างนี้:
1.Australia
2.Asia ( ฉบับ Singapore, Malaysia, Philippines เนื้อหาเหมือนกัน
คลิก )
3.Canada (English)
4.Great Britain
5.New Zealand
6.India (บทความที่สมบูรณ์ มีให้อ่านเฉพาะะในฉบับย้อนหลัง คลิก PAST ISSUES แต่ก็น่าสนใจครับ)
เรื่องสุดท้ายที่ขอเรียนให้ทราบก็คือ ถ้าท่านอ่านบทความใดถึงบรรทัดสุดท้ายและพบประโยคนี้
To access the complete story, you have to be a registered member of RDAsia website.
Please LOGIN or REGISTER now.
นี่แสดงว่าเขาไม่ยอมท่านอ่าน จนกว่าท่านจะ REGISTER และ LOGIN (รวมทั้ง Reader’s Digest Thailand ด้วย)
คิดว่าจุดสำคัญ ๆ น่าจะหมดแล้ว ต่อไปนี้ก็ขอเชิญท่านเข้าไปอ่าน Reader’s Digest ซึ่งจะช่วยให้ได้รับทั้ง reading skill, ความรู้ และความเพลิดเพลิน ขอเรียนเชิญคลิกลิงค์ที่แนะนำแล้วข้างบนได้ตามอัธยาศัยครับ
พิพัฒน์
GemTriple@gmail.com
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)