วันเสาร์ที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

[1338] เก็บตกจากการคุยกับแขกต่างประเทศ

สวัสดีครับ

เมื่อวันที่ 30 – 31 มกราคม 25553 ผมอยู่ที่จังหวัดราชบุรี เพื่อร่วมงานแข่งขันฝีมือแรงงานแห่งชาติ ครั้งที่ 23 ท่านใดต้องการอ่านข่าวเรื่องนี้ คลิกที่นี่ครับ

http://www.dsd.go.th/index.php?option=com_content&view=article&id=1077:-23&catid=1:ciafss

แต่เรื่องที่ผมจะคุยด้วย ในวันนี้ไม่เกี่ยวข้องโดยตรงกับงาน คือว่า ผมได้รับมอบหมายจากผู้บังคับบัญชาให้ take care ชาวต่างประเทศ 2 คน จาก ประเทศติมอร์ตะวัน ออก (East Timor) หรือ ติมอร์-เล สเต (Timor-Leste) ที่เดินทางมาดูงานการแข่งขันฝีมือแรงงานแห่งชาติของไทยครั้งนี้ เขาชื่อ Mr Salem และ Ms Isabel

หน้าที่ของผมก็คือพาเขาเดินดูงานตามบูธต่าง ๆ ที่จัดแข่งขัน ซึ่งมีทั้งหมด 30 สาขา แบ่งการแข่งขันออกเป็น 2 ประเภท คือ ประเภทเยาวชน จัดการแข่งขันใน 20 สาขา ได้แก่ เมคคาทรอนิกส์ ออกแบบและเขียนแบบเครื่องกลด้วยคอมพิวเตอร์ CAD เครื่องจักรกล CNC เครื่อง ประดับ ปูกระเบื้อง เทคโนโลยีสารสนเทศ อิเล็กทรอนิกส์อุตสาหกรรม กราฟิกดีไซน์ เครื่องปรับอากาศ การติดตั้ง ไฟฟ้าภายในอาคาร อุตสาหกรรมไม้เครื่องเรือน ต่อประกอบมุมไม้ ท่อและสุขภัณฑ์ จัดดอกไม้ บริการอาหารและเครื่องดื่ม เทคโนโลยียานยนต์ เว็บดีไซน์ ก่ออิฐ เทคโนโลยีงานเชื่อม และแฟชั่นเทคโนโลยี และประเภทบุคคลทั่วไป จัดการแข่งขันใน 10 สาขา ได้แก่ เทคโนโลยีจักรยานยนต์ เทคโนโลยีงานสีรถยนต์ แต่งผม ประกอบอาหารไทย ฉาบปูน เว็บดีไซน์ ก่ออิฐ เทคโนโลยีงานเชื่อม แฟชั่นเทคโนโลยี และเทคโนโลยียานยนต์

ขณะที่พาเดินชมบูธต่าง ๆ ที่แข่งขัน ผมก็อธิบายทุกเรื่องเพื่อให้เขาเข้าใจงานและตอบคำถามที่เขาสงสัย และถ่ายภาพให้เขาด้วย หรือถ้าเขาขอเอกสารทางเทคนิคอะไรที่เรามีก็จะส่งทางอีเมลไปให้เขา เพราะเขาต้องเขียนรายงานและแนบรูปภาพนำเสนอรัฐมนตรีของเขาเมื่อเดินทางกลับประเทศติมอร์-เลสเต

งานในลักษณะนี้ผมทำมาหลายครั้ง แล้วจึงทำได้สบายมาก ไม่หนักใจอะไร

แต่ผมกำลังจะบอกท่านว่า ความสนุกของงานอย่างนี้อยู่ตรงที่ว่า เราได้แลกเปลี่ยนข้อมูลและความคิดเห็นซึ่งกันและกัน เราได้เล่าเรื่องเกี่ยวกับเมืองไทยให้เขาฟัง และเรา ได้ฟังเรื่องเกี่ยวกับประเทศของเขาที่เขาเล่าหรือเราถาม และเรื่องเกี่ยวกับประเทศติมอร์-เล สเต ที่เขาเล่าให้ผมฟังสรุปได้ดังนี้ครับ

ประเทศติมอร์-เล สเตในประวัติศาสตร์เป็นประเทศในอาณานิคมของโปรตุเกสมาประมาณ 300 ปี หลังจากนั้นถูกอินโดนีเซียยึดครองอีกประมาณ 30 ปี เพิ่งจะได้รับเอกราชเมื่อปี 2545 และในช่วงที่ถูกอินโดนีเซียยึดครองนี้ ชาวติมอร์ก็ได้พยายามต่อสู้ด้วย 3 แนวทางพร้อม ๆ กันเพื่อให้ได้รับเอกราชคืนจากอินโดนีเซีย คือ 1.ให้นานาชาติและองค์การสหประชาชาติกดดันอินโดนีเซีย 2.ให้นักการเมืองติมอร์ต่อสู้ใน สภาผู้แทนของอินโดนีเซีย และ 3.ใช้วิธีแบบสงครามกองโจร จนได้ รับอิสรภาพในที่สุด

ติมอร์เป็นประเทศเล็ก ๆ คนแค่ 1 ล้านคน (กว่า 90 % เป็นคริสต์นิกายคาทอลิก) แต่มีทรัพยากรที่สำคัญมาก คือ น้ำมันดิบ ก๊าซธรรมชาติ; กาแฟคุณภาพดี; และทรัพยากรสัตว์น้ำ จน คล้าย ๆ เป็นหญิงสาวที่ถูกชายหนุ่มรุมจีบ ทำให้ ติมอร์ต้องระมัดระวังในการทำสัญญากับประเทศรวย ๆ หลายชาติที่เข้ามาติดต่อ

เนื่องจากเป็นประเทศที่ผ่านสงครามมาหลายปีก่อนจะได้รับเอกราช ติมอร์จึงต้องการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์คือฝีมือของคนในประเทศให้เป็นฐานการผลิต ในประเทศของเขา แทนที่จะพึ่งทรัพยากรธรรมชาติเพียงอย่างเดียว

ข้อมูลตัวเอนทั้งหมดที่ผมรับฟังจากเขาและนำมาเล่าต่อนี้ไม่มีอะไรน่าตื่นเต้นเลย เราสามารถหาอ่านได้จากที่ไหนก็ได้ และไม่ต้องใช้เวลาตั้ง 2 วัน อย่างที่ผมทำเพื่อให้ได้ข้อมูลนี้

แต่เรื่องของเรื่องก็คือว่า การคุยแลกเปลี่ยนกับชาวต่างประเทศในลักษณะเช่นนี้ เรามิได้รับเพียงแค่ความรู้ แต่เราได้ความรู้สึกและความสนิทสนมด้วย ตอนที่ Mr Salem เล่าถึงประวัติศาสตร์ เลือดในช่วง 30 ปี แห่งการต่อสู้เพื่อเอาอกราชคืนมาจากอินโดนีเซีย และมีคนเจ็บป่วยล้มตายนับแสนคน ผัวเมียลูกหลานต้องพลัดพรากจากกัน ผู้หญิงถูกข่มขืน ผู้ชายถูกฆ่า ประวัติศาสตร์เลือดบทนี้ถูกเล่าโดยคนที่ผ่านเหตุการณ์นี้มาด้วยตัวเอง ซึ่งเป็นอย่างที่ผมบอกไว้ คือ เรามิได้รับเพียงแค่ความรู้ แต่เราได้ความรู้สึกด้วย เมื่อ ฟังเขาเล่าแล้ว เรามักจะจำได้อย่างรวดเร็วและจำได้ไม่ลืม

อย่างไรก็ตาม จุดอ่อนของการฟังเรื่องทำนองนี้ก็มีอยู่เหมือนกัน คือ ผู้ฟังจะเล่าด้วยความรู้สึกที่ตัวเองเข้าไปมีส่วนร่วมหรือเล่าตามข้อมูลที่ ตัวเองจำได้ ส่วนข้อมูลที่ตัวเองไม่ได้รู้สึกร่วม หรือไม่ทราบ หรือไม่อยากจำ ก็คงไม่ได้เล่า การอ่านเพิ่มเพื่อให้ได้ข้อมูลที่ครบถ้วนจึงเป็นเรื่องจำเป็น

สำหรับผมเอง ถ้ามีเวลาก็จะอ่านเรื่องราวเกี่ยวกับประเทศของชาวต่างชาติที่ผมต้องคุยด้วย พอให้ได้มีหัวข้อที่สามารถยกขึ้นมาคุยได้เมื่อมีโอกาสเหมาะ เพราะความจริงก็คือ ใครก็ตามที่สามารถพูดภาษาอังกฤษได้แต่ไม่มีเรื่องคุยก็ไปไม่เป็นเหมือนกัน แหละครับ

ถ้า ท่านต้องการอ่านเรื่องราวของประเทศต่าง ๆ ซึ่งมีข้อมูลทั้งอดีตและปัจจุบัน ไปที่นี่ครับ

สารานุกรม ภาษาอังกฤษ

http://www.answers.com/

http://en.wikipedia.org/wiki/Main_Page

***http://en.wikipedia.org/wiki/Countries_of_the_world/By_continent

***Africa · Asia · Europe · North America · Oceania · South America

***http://www.answers.com/List%20of%20countries%20inthe%20world


สารานุกรม ภาษาไทย

http://th.wikipedia.org/

http://guru.sanook.com/encyopedia/

***ทวีปเอเซีย - ทวีปแอฟริกา - ทวีปอเมริกาเหนือ - ทวีปอเมริกาใต - ทวีปยุโรป - ทวีปออสเตรเลีย


***ประเทศ แบ่งตามทวีป


http://tinyurl.com/y9spfz9


***ประเทศ ทั่วโลก จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

http://tinyurl.com/yayykog

พิพัฒน์

GemTriple@gmail.com


5 ความคิดเห็น:

Unknown กล่าวว่า...

เสียดายที่ผมไม่ได้เจออาจารย์ที่งาน เพราะผมก็ไปงานที่นี้ด้วยไปกับบริษัท เสียดายมากไม่มีโอกาสพบกันแบบ Face-to-face ขอเรียกครูเถอะครับ เพราะผมถือว่าใครที่ให้ความรู้ประสิทธิประสาทความรู้ให้ ถึงแม้ว่าผมอาจจะไม่ได้พบหรือสอนกันแบบ face to faceก็ตาม ดังคำไทยที่ว่าสามคนเดินมา หนึ่งในนั้นคือครูฉัน

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

ขอบคุณอาจารย์มากสำหรับความรู้ ตั้งแต่เริ่มใช้คอมเป็นและต้องการเรียนภาษาอังกฤษเริ่มต้น จนต่อมาเริ่มมีความรู้เพิ่มขึ้น และที่ได้แถมมาคือ รู้เรื่องการใช้ Computer ติดตามทั้ง watnai and e 4 thai
many thanks for everything

Saowananta Loetphong กล่าวว่า...

I would like to thank you to you for everything

mod-x กล่าวว่า...

การใ้ห้ไม่รู้จบเขาเรียกว่าครู ให้อย่างไม่ต้องการผลตอบแทน
เพียงแค่ได้เห็นศิษย์ พัฒนาและเติบโต ไปในทิศทางที่สวยงาม และไม่ลืมครู
แค่นี้ก็เพียงพอ

english กล่าวว่า...

รู้สึกชื่นชมครูมากครับ
ผมติดตามอ่านคอลัมน์ของ อาจารย์มาตลอด
ไม่เคยเบื่อเลย
อาจารย์ช่างทุ่มเทกับการสอนภาษษอังกฤษเหลือเกิน
นับถือครับ