ต่อไปนี้เป็นประสบการณ์ และความคิดเห็นส่วนตัวในการฝึกอ่านข่าวภาษาอังกฤษของผม ซึ่งผมหวังว่าจะเป็นประโยชน์ต่อท่านผู้อ่านที่ต้องการฝึกอ่านภาษาอังกฤษบ้าง ไม่มากก็น้อย
[1] ฝึกอ่านข่าวภาษาอังกฤษมีประโยชน์อย่างไร?
-ศัพท์ ในข่าวเป็นศัพท์ทันสมัยและร่วมสมัย เป็นศัพท์ที่ใช้ในการฟัง-พูด-อ่าน-เขียน ทุกเรื่องโดยทั่วไป ถ้าอ่านข่าวเข้าใจก็อ่านเรื่องอื่น ๆ เข้าใจได้ไม่ยาก
-การอ่านข่าว นอกจากได้ฝึกทักษะภาษาอังกฤษ ยังทำให้ไม่ตกข่าว
-การอ่านข่าว นอกจากได้ฝึกทักษะภาษาอังกฤษ ยังทำให้ไม่ตกข่าว
[2] ข่าวใดที่ควรเลือกมาฝึกอ่าน?
-ควร เริ่มต้นอ่านข่าวที่เราสนใจ หรือมีความรู้พื้นฐานในข่าวนั้น ถ้าชอบข่าวทั่วไป, ข่าวการเมือง, ข่าวกีฬา, หรือข่าวอื่นเป็นพิเศษ ก็ฝึกอ่านข่าวนั้นก่อน
-อ่านข่าวที่ไม่ยากเกินกำลังสมอง หรือไม่ยาวเกินกำลังความอดทนของเรา ควรอ่านแค่เหนื่อยนิด ๆ อย่าให้เหนื่อยหนักเกินไป แต่ควรอ่านทุกวัน
ขอแนะนำเว็บข่าวข้างล่างนี้
ข่าวค่อนข้างง่าย
www.student-weekly.com
Bangkok Post Learning
VOA Special English
ข่าวง่ายปนยาก
Bangkok Post
BBC Learning English
-อ่านข่าวที่ไม่ยากเกินกำลังสมอง หรือไม่ยาวเกินกำลังความอดทนของเรา ควรอ่านแค่เหนื่อยนิด ๆ อย่าให้เหนื่อยหนักเกินไป แต่ควรอ่านทุกวัน
ขอแนะนำเว็บข่าวข้างล่างนี้
ข่าวค่อนข้างง่าย
www.student-weekly.com
Bangkok Post Learning
VOA Special English
ข่าวง่ายปนยาก
Bangkok Post
BBC Learning English
[3] ปริมาณในการอ่าน 1 วัน และอ่านทุกวัน คือขนาดไหน?
-ควรตั้งเป้าหมายไว้เลยว่า จะฝึกอ่านอย่างน้อยวันละ 1 ข่าว หรือวันละ 3-4 ย่อหน้า
-เมื่อคล่องขึ้นก็ตั้งเป้าในการอ่านให้มากขึ้น, แต่อย่าตั้งเป้าให้สูงเกินไปเพราะถ้าทำตามเป้าไม่ได้จะท้อ
-ฝึกอ่านทุกวัน เหมือนทุกวันต้องกินอาการ อาบน้ำและแปรงฟัน
-เมื่อคล่องขึ้นก็ตั้งเป้าในการอ่านให้มากขึ้น, แต่อย่าตั้งเป้าให้สูงเกินไปเพราะถ้าทำตามเป้าไม่ได้จะท้อ
-ฝึกอ่านทุกวัน เหมือนทุกวันต้องกินอาการ อาบน้ำและแปรงฟัน
[4] ตัวช่วยประกอบการอ่าน คือ ดิกชันนารี
โปรแกรม LEXiTRON (ดิก อังกฤษ – ไทย & ไทย - อังกฤษ ประมาณ 50 MB คลิก
โปรแกรม WordWeb 6.7 (ดิกอังกฤษ – อังกฤษ ประมาณ 18.5 MB คลิก
ดิก online ลิงค์ 1 และลิงค์ 2
โปรแกรม WordWeb 6.7 (ดิกอังกฤษ – อังกฤษ ประมาณ 18.5 MB คลิก
ดิก online ลิงค์ 1 และลิงค์ 2
[5]ขั้นตอนการฝึกอ่านอย่างจริงจัง
1)copy เนื้อข่าว มา paste ลงในหน้า WORD, โดยในบรรทัดแรก ให้ใช้ชื่อพาดหัวข่าวและวันที่เป็นชื่อของข่าว เช่น Bangkok flood (20 Nov 2011)
2)ในเที่ยวแรก ให้อ่านด้วยสมาธิตั้งแต่ต้นจนจบโดยไม่ต้องเปิดดิก โดยทำอย่างนี้...
-คำ, วลี, ประโยค ใดที่ไม่แน่ใจ ให้ไฮไลต์ด้วยสีจาง
-คำ, วลี, ประโยค ใดที่ไม่รู้เรื่องเลย ให้ไฮไลต์ด้วยสีเข้ม
3)ในเที่ยวที่สอง ให้กลับมาเก็บอ่านข้อความที่ไฮไลต์ไว้
-ถ้าติดศัพท์แต่สามารถเดาได้พอรู้เรื่องก็ไม่ต้องเปิดดิก, แต่ถ้าจำเป็นต้องเปิดดิก-ก็เปิด
-ออก แรงสมองในการเลือกความหมายที่เหมาะสมจากคำแปลในดิก และตีความให้รู้เรื่อง ถ้ารู้เรื่องแล้วก็เอาไฮไลต์ออก ถ้ายังแคลงใจหรือไม่รู้เรื่อง ก็ค้างไฮไลต์ไว้อย่างนั้นก่อน
-ถ้าขยันก็พิมพ์แทรกลงไปในสิ่งที่เห็นว่ามีประโยชน์ เช่น คำแปลศัพท์, ข้อสังเกต, ข้อสงสัย เป็นต้น
4)วันต่อ ๆ มา ก็ copy ข่าวชิ้นใหม่มา paste ต่อในไฟล์ WORD เดียวกันนี้ และฝึกอ่านในลักษณะเดียวกัน
5)ให้ย้อนขึ้นไปอ่านไฮไลต์ที่ค้างไว้ในข่าววันก่อน ๆ ถ้ารู้เรื่องก็เอาไฮไลต์ออก
[6] การเตรียมเขี้ยวเล็บให้พร้อมที่จะต่อสู้กับการอ่าน – ทำไปพร้อมกับการฝึกอ่านทุกวัน
-“เทคนิคการเดาศัพท์” –นี่เป็นวิชาที่หลายโรงเรียนไม่ได้สอนและท่านอาจจะยังไม่ได้เรียนอย่างเป็นกิจจลักษณะ ถ้าเป็นอย่างนี้ ยอมลงทุนเรียนที่นี้เถอะครับ คลิกดาวน์โหลดตำราเดาศัพท์
-“ศัพท์พื้นฐานที่ควรรู้” – ผมขอแนะนำอย่างรุนแรงให้ท่านจำศัพท์เหล่านี้ให้ได้ คลิก
-“แกรมมาร์ที่ควรรู้เพื่อการอ่านให้เข้าใจ” คลิก
-เทคนิคเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่น่าจะมีประโยชน์ในการวิเคราะห์ประโยคที่อ่าน คลิก
-“ศัพท์พื้นฐานที่ควรรู้” – ผมขอแนะนำอย่างรุนแรงให้ท่านจำศัพท์เหล่านี้ให้ได้ คลิก
-“แกรมมาร์ที่ควรรู้เพื่อการอ่านให้เข้าใจ” คลิก
-เทคนิคเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่น่าจะมีประโยชน์ในการวิเคราะห์ประโยคที่อ่าน คลิก
[7] ประมวลสาเหตุที่ทำให้อ่านภาษาอังกฤษไม่รู้เรื่อง จากประสบการณ์ส่วนตัวของผม
-อ่านเรื่องที่เนื้อหายากเกินไป: ถ้ามันยากเกินไป ไม่ต้องพูดถึงภาษาอังกฤษหรอกครับ ภาษาไทยเราเองก็ยังอ่านไม่รู้เรื่อง ท่านเคยอ่านตำราภาษาไทยที่ว่าด้วยทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์หรือทางปรัชญายาก ๆ ไหมครับ ภาษาไทยแท้ ๆ ยังไม่ค่อยจะรู้เรื่อง เพราะฉะนั้น ถ้าเรื่องภาษาอังกฤษที่ท่านเลือกอ่านมีเนื้อหายากเกินไป... ยากเกินมือเอื้อมถึง ก็หาเรื่องที่ง่ายกว่าเดิมอ่าน แต่ก็อย่าเลือกเรื่องที่มันง่ายเกินไปจนไม่ต้องเอื้อมสมองอ่าน
-ได้คำแปลจากดิกแล้วก็ยังอ่านไม่รู้เรื่อง: ถ้าประเด็นอย่างนี้ น่าจะมาจาก 3 สาเหตุ ดังนี้
-ได้คำแปลจากดิกแล้วก็ยังอ่านไม่รู้เรื่อง: ถ้าประเด็นอย่างนี้ น่าจะมาจาก 3 สาเหตุ ดังนี้
(1)ศัพท์คำนี้ที่เราเปิดดิกมีหลายความหมาย แต่ความหมายที่เราเลือกมาไม่ใช่ความหมายที่สอดคล้องกับเนื้อเรื่อง พอเอามาแปลจึงไม่เข้ากับเรื่อง อย่างนี้ท่านต้องเลือกให้ดีหน่อยครับ
(2)แม้จะเลือกความหมายได้ถูกต้องแล้ว แต่พอเอามาแปลในประโยคมันก็ยังอ่านไม่รู้เรื่อง นี่เป็นปัญหาของการ “ตีความ” ในการแปลครับ แต่ผมขอให้กำลังใจท่านว่า ถ้าท่านฝึกอ่านไปเรื่อย ๆ ท่านจะตีความได้เก่งขึ้นเอง ไอ้ที่เคยไม่แน่ใจก็จะกลายเป็นแน่ใจ ไอ้ที่เคยไม่เข้าใจก็จะกลายเป็นเข้าใจ ทุกอย่างมีเวลาของมัน แต่มีข้อแม้ว่าเราต้องให้เวลากับมัน
(3)หลายครั้งที่ดิกอังกฤษ-ไทย ไม่มีความหมายที่ผู้เขียนใช้ สมมุติเช่นคำว่า love ดิกอังกฤษ-ไทย ให้ไว้ 5 ความหมาย แต่ในยุคนี้ภาษาอังกฤษมีวิวัฒนาการเร็วมาก มีความหมายใหม่ ๆ เกิดขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งศัพท์เฉพาะทางหรือศัพท์ slang เมื่อดิกอังกฤษ-ไทย ตามไม่ทัน เราก็ต้องใช้ดิกอังกฤษ-อังกฤษ ซึ่งตามทันการเปลี่ยนแปลงของภาษาได้รวดเร็วกว่าดิกอังกฤษ-ไทย (เชิญ คลิกใช้ดิกอังกฤษ-อังกฤษ ลิงค์ 1และลิงค์ 2)
-รู้ศัพท์แล้ว แต่ก็ยังอ่านไม่รู้เรื่อง: ปัญหาอย่างนี้ที่พบบ่อย สาหตุน่าจะมาจาก บางประโยคยาวมาก เช่น ทั้งย่อหน้ามีแค่ประโยคเดียว คือ ประธาน-กริยา-กรรม ประกอบด้วยคำหลายคำ แต่ละคำทำหน้าที่ต่างกัน เช่น เป็นคำหลัก คำรอง คำขยาย คำถูกขยาย ขยายโดยวางชิดกัน หรืขยายโดยวางห่างกัน ฯลฯ ลักษณะทำนองนี้จะทำให้คนที่ไม่แม่นเรื่องโครงสร้างประโยคงงได้ ผมขอแนะนำให้ท่านกลับขึ้นไปฝึกข้อ [6] ข้างบน การเตรียมเขี้ยวเล็บให้พร้อมที่จะต่อสู้กับการอ่าน ในเรื่อง, “แกรมมาร์ที่ควรรู้เพื่อการอ่านให้เข้าใจ” และ “เทคนิคเล็ก ๆ น้อย ๆ ในการวิเคราะห์ประโยค”
ที่เล่ามาทั้งหมดนี้เป็นประสบการณ์ส่วนตัวของผมในการฝึกอ่านภาษาอังกฤษ ท่านใดสนใจลองเอาไปใช้ได้ครับ หรือถ้ามีเทคนิคดี ๆ ช่วยเขียนมาเล่าด้วยครับ คนอื่น ๆ อาจจะนำเอาไปใช้ได้ผล ของดี ๆ แบ่งกันใช้ได้บุญครับ
พิพัฒน์
www.facebook.com/e4thai
e4thai@live.com
-รู้ศัพท์แล้ว แต่ก็ยังอ่านไม่รู้เรื่อง: ปัญหาอย่างนี้ที่พบบ่อย สาหตุน่าจะมาจาก บางประโยคยาวมาก เช่น ทั้งย่อหน้ามีแค่ประโยคเดียว คือ ประธาน-กริยา-กรรม ประกอบด้วยคำหลายคำ แต่ละคำทำหน้าที่ต่างกัน เช่น เป็นคำหลัก คำรอง คำขยาย คำถูกขยาย ขยายโดยวางชิดกัน หรืขยายโดยวางห่างกัน ฯลฯ ลักษณะทำนองนี้จะทำให้คนที่ไม่แม่นเรื่องโครงสร้างประโยคงงได้ ผมขอแนะนำให้ท่านกลับขึ้นไปฝึกข้อ [6] ข้างบน การเตรียมเขี้ยวเล็บให้พร้อมที่จะต่อสู้กับการอ่าน ในเรื่อง, “แกรมมาร์ที่ควรรู้เพื่อการอ่านให้เข้าใจ” และ “เทคนิคเล็ก ๆ น้อย ๆ ในการวิเคราะห์ประโยค”
ที่เล่ามาทั้งหมดนี้เป็นประสบการณ์ส่วนตัวของผมในการฝึกอ่านภาษาอังกฤษ ท่านใดสนใจลองเอาไปใช้ได้ครับ หรือถ้ามีเทคนิคดี ๆ ช่วยเขียนมาเล่าด้วยครับ คนอื่น ๆ อาจจะนำเอาไปใช้ได้ผล ของดี ๆ แบ่งกันใช้ได้บุญครับ
พิพัฒน์
www.facebook.com/e4thai
e4thai@live.com
2 ความคิดเห็น:
อ่าน The Nation ค่ะ รู้สึกว่าศัพท์ของ Bangkok Post จะยากกว่า The Nation มีใครเหมือนเราบ้างคะ อ่านข่าวภาษาอังกฤษยากจัง
ขอบคุณมากๆค่ะ ได้รู้อะไรเยอะเลยเข้ามาในบล็อกนี้ ^^
แสดงความคิดเห็น