ผมไม่แน่ใจว่านักเรียนนักศึกษาระดับประถม, มัธยม, มหาวิทยาลัยสมัยนี้ได้เรียนเรื่อง collocation หรือเปล่า? แต่สำหรับผมสมัยโน้นไม่เคยได้เรียนเลยครับ สมัยนี้น่าจะดีว่าสมัยที่ผมเป็นนักเรียน
Collocation คืออะไร? ก็คือคำที่มักใช้ด้วยกัน ยกตัวอย่างง่าย ๆ เช่น ภาษาไทย เราพูดว่า ฝกตกหนัก, ลมพัดแรง ภาษาอังกฤษ เขาพูดว่า heavy rain, strong wind นี่เป็นเพียงตัวอย่างง่าย ๆ นะครับ ที่ยากกว่านี้ยังมีอีกเยอะ
มีคำถามว่า ถ้าจะพูดว่า ฝนตกแรง, ลมพัดหนัก (แทนที่จะเป็น ฝกตกหนัก, ลมพัดแรง ) หรือ strong rain, heavy wind(แทนที่จะเป็น heavy rain, strong wind) จะฟังรู้เรื่องไหม? ผมคิดว่าก็คงรู้เรื่องแหละครับ แต่ว่ามันไม่ใช่สำนวนภาษาตามธรรมชาติที่เขาพูดกันตามปกติ ถ้าใครพูดอาจจะฟังแปลก หรือ ถ้ามันเป็นเรื่องอื่นที่ละเอียดอ่อนหรือกำกวมง่าย ดีไม่ดีอาจจะฟังเข้าใจผิดไปเลย เพราะฉะนั้น จะว่าเรื่อง collocation ไม่สำคัญก็คงไม่ได้แหละครับ
แล้ว collocation เขาเรียนกันยังไง? ถ้าเป็นเจ้าของภาษาก็ง่ายมาก เพราะได้ใช้ภาษาของเขาเองมาตั้งแต่เด็ก แต่ถ้าเป็นคนต่างชาติเช่น คนไทยเรียนภาษาอังกฤษ อย่างนี้อาจจะยากหน่อย เว้นแต่บางคนได้ใช้ชีวิตนาน ๆ ในประเทศที่พูดภาษาอังกฤษเป็นภาษาหลัก อย่างนี้ก็จะได้เรียนรู้การใช้ collocation อย่างถูกต้องไปเองโดยไม่ต้องใช้ความพยายามมากนักในการศึกษาจดจำ ผมมีเพื่อนร่วมงานรุ่นน้องคนหนึ่งเป็นลูกเอกอัครราชทูตไทยไปประจำอยู่หลายประเทศ และเธอก็ได้ย้ายตามบิดาไปใช้ชีวิตและศึกษาอยู่ที่ประเทศนั้นประเทศนี้ด้วย ภาษาอังกฤษของเธอจึงดีมาก
แต่คนไทยโดยทั่วไปจะมีสักกี่คนที่มีโอกาสอย่างนั้น และจะทำอย่างไรจึงจะเก่งกับเขาบ้าง ? คำตอบง่าย ๆ ของผมที่บางท่านอาจจะไม่อยากฟังก็คือ ก็ฝึกอ่านเยอะ ๆ และฟังเยอะ ๆ และสิ่งที่เข้ามาทางตาโดยการอ่าน และเข้ามาทางหูโดยการฟัง ก็จะถูกจดจำนำไปใช้เมื่อถึงเวลาที่เราต้องพูดหรือเขียน พูดสั้น ๆ ก็คือ การอ่านและการฟังเป็นต้นทุนของการพูดและการเขียน
ที่พูดมา 5 ย่อหน้าข้างต้นนี้คืออารัมภบท ต่อไปนี้คือเรื่องที่ผมตั้งใจจะพูดในวันนี้...
... ก็คือว่า ณ วันนี้มีตัวช่วย 2 ตัวให้เราใช้ collocation ได้อย่างถูกต้องและสามารถฝึกทักษะการใช้ collocation ได้อย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น
ยกตัวอย่างเช่น ท่านสงสัยว่า love คือ รัก และถ้า รักมาก ล่ะ จะต้องใช้ศัพท์คำใดมาขยายเพื่อให้เป็นภาษาที่เป็นธรรมชาติ ก็พิมพ์คำว่า love ถามเข้าไปที่เว็บนี้ได้เลย ผมขอแนะนำให้ท่านใช้เวลาสักนิดหนึ่งทำความคุ้นเคยกับเว็บนี้ พอคุ้นเคยแล้วก็จะสามารถใช้มันได้อย่างสะดวกมือ
แถม: ท่านใดต้องการโปรแกรมของเว็บไซต์นี้เพื่อนำไปติดตั้งใช้งาน offline (ไม่ต้องต่อเน็ต) เชิญดาวน์โหลดได้เลยครับ
คลิก Oxford Collocations Dictionary
คลิก Oxford Collocations Dictionary
ผมยังมีไฟล์ pdf หนังสือ Oxford Colocations Dictionary ให้ท่านดาวน์โหลด มีทั้งหมด 9,127 หน้า, หน้าที่ 1-222 เป็นสารบัญแสดงคำศัพท์ ท่านเพียงคลิกที่คำศัพท์ซึ่งเป็นลิงค์ มันก็จะวิ่งไปยังหน้าคำศัพท์นั้นทันที
คลิกเพื่อดาวน์โหลดลิงค์ใดลิงค์หนึ่งข้างล่างนี้
ตัวช่วยที่ 2: ตำราช่วยในการฝึกฝนทักษะการใช้ collocation
ผมมีไฟล์ pdf เป็นตำรา 3 เล่มที่ช่วยในการฝึกใช้ collocation โดยผู้แต่งได้รวบรวมคำศัพท์ที่ใช้บ่อย ๆ หลายร้อยคำ และ collocation ที่เกี่ยวข้องอีกหลายพันคำ ที่ผมบอกว่าเป็นตัวช่วยก็เพราะว่า เราไม่ต้องเสียเวลาไปจ้องสังเกตว่า วลีใดที่มักมีศัพท์อะไรใช้คู่กัน เพราะผู้แต่งได้รวบรวมมาให้เราอย่างเรียบร้อย แถมมีแบบฝึกหัดให้ลองทำเพื่อความชำนาญ เพราะฉะนั้นตำรา 3 เล่มนี้จึงมิใช่นิยายที่อ่านจบแล้วเลิกหยิบ แต่เป็นหนังสืออ้างอิงที่เราสามารถหยิบขึ้นมาปรึกษาหารือและ test ตัวเองได้เรื่อย ๆ ดาวน์โหลดตำรา:
ศึกษาเพิ่มเติม:
พิพัฒน์
e4thai@live.com
4 ความคิดเห็น:
ขอบคุณคะครู เคยสงสัยและพยายามจดจำ เกี่ยวกับการใช้ collocation แต่ตอนนั้นไม่รู้ว่าเค้าเรียนว่า collocation และคิดว่า ถ้ารู้คำัศัพท์ที่ใช้คู่กันได้ มันเหมือนกับว่าเราได้รู้จักการใช้ภาษาของเค้าอย่างถูกต้อง ขอโทษนะคะที่จะยกตัวอย่างที่บ้างทีไม่เป็นภาษาที่ไม่เพราะ เช่น กิน เสวย แดก รับประทาน ถ้าเราเลือกใช้ได้ถูกกาลเทศะ ก็ดูเหมือนเราจะใช้คำเหล่านี้พูดได้ถูกกาลเทศะ อย่างนี้เป็นต้นนะคะ
ขอบคุณครูมากคะ สุดท้ายนี้ขอให้ครูมีสุขภาพแข็งแรง มีแต่สิ่งที่สบายใจสู่ชีวิตนะคะ
เมนี่
เมนี่
เพื่อให้ทันเหตุการณ์ จึงขอยก collocation ที่เกี่ยวกับน้ำท่วมมาให้ดูเล่น ๆ
คลิก flood
ต้องขอบคุณอย่างใจจริง แวะเข้ามาทีไรก็ทึ่งกับความเสียสละของคุณพิพัฒน์ทุกที ขอให้บุญกุศลเหล่านี้ช่วยให้คุณมีสุขภาพที่แข็งแรง ไม่เจ็บ ไม่จนนะคะ
ขอบคุณอาจารย์พิพัฒน์มากครับ ได้สิ่งดีๆจากที่นี่มากเลยครับ
แสดงความคิดเห็น