สวัสดีครับ
วันนี้เป็น “วันแม่” ของประเทศไทย
ผมทำงานในกรุงเทพ และวันเสาร์อาทิตย์หรือวันหยุดถ้าไม่ติดงานพิเศษผมจะกลับแม่กลองไปหาแม่ วันนี้เป็นวันแม่และเป็นวันหยุด ผมได้โทรศัพท์บอกแม่ตั้งแต่เมื่อวานแล้วว่าผมจะไปหาแม่ ตอนนี้ผมขอเขียนเรื่องลงบล็อกวันนี้ให้จบก่อน แล้วค่อยออกจากบ้านไปหาแม่
มีเรื่องหนึ่งจะเล่าให้ฟังครับ ทุกครั้งที่ผมไปหาแม่ พอเจอแม่ก็ต้องกอดแม่ เพื่อนบางคนของแม่ที่สนิทกันมาก ๆ พอเห็นแม่กอดผมก็จะแซวแม่ว่า ลูกชายโต (ยังกะอะไร)แล้วยังจะกอดอีกหรือ แม่บอกว่า “ลูกของข้า ข้าจะกอด ใครจะทำไม” ผมฟังแล้วก็รู้สึกว่า แม่พูดมีเหตุผลมาก ๆ ทีเดียว
เอาละครับ ขอคุยเรื่องวันแม่สักนิด คือผมสงสัยว่า “วันแม่” ในประเทศอื่น ๆ ทั่วโลกเขาเป็นยังไงกันบ้าง ก็เลยไปที่ http://www.google.com/ และพิมพ์คำว่า mother's day Wikipedia ลงไป เว็บแรกที่ Wikipedia โชว์คือเว็บนี้ครับ
http://en.wikipedia.org/wiki/Mother's_Day
ซึ่งเล่าเรื่องราวของวันแม่ใน 30 ประเทศทั่วโลก ซึ่งทำให้ได้ทราบว่า นอกจากวันที่จัดวันแม่แล้ว วันแม่ของแต่ละประเทศยังแตกต่างกันในหลายเรื่อง เช่น ประวัติศาตร์ความเป็นมา ความคิด ความเชื่อ และธรรมเนียมการปฏิบัติเกี่ยวกับวันแม่ของผู้คนในประเทศนั้น ๆ ซึ่งประเด็นพวกนี้น่าสนใจมาก เช่น....
ที่เมืองจีน หรือ China
http://en.wikipedia.org/wiki/Mother's_Day#China
เขาบอกว่า ในวันแม่เมืองจีน คาร์เนชั่นเป็นดอกไม้ที่คนจำนวนมากนิยมใช้เป็นของขวัญ นอกจากนี้ในปี พ.ศ. 2540 ได้มีการกำหนดให้วันนี้เป็นวันช่วยเหลือแม่ที่ยากจน เช่นในชนบททางภาคตะวันตกของประเทศ โดยแม้ว่าวันแม่จะมีต้นกำเนิดที่ประเทศสหรัฐฯแต่ก็สอดคล้องกับปรเพณีจีนที่เคารพผู้สูงอายุ นอกจากนี้ยังมีผู้พยายามที่จะให้ใช้ดอกลิลลี่ซึ่งในสมัยโบราณแม่จะปลูกต้นไม้นี้เมื่อลูก ๆ จะลาจากบ้านไปนานๆ... เป็นข้อมูลที่น่าสนใจมากทีเดียวครับ
ข้อความภาษาอังกฤษ อย่างนี้ครับ...
In China, Mother's Day is becoming more popular, and carnations are a very popular gift and the most sold type of flower. In 1997 it was set as the day to help poor mothers, specially to remind people of the poor mothers in rural areas such as China's western region. In the People's Daily, the Chinese government's official newspaper, an article explained that "despite originating in the United States, people in China take the holiday with no hesitance because it goes in line with the country's traditional ethics – respect to the elderly and filial piety to parents." In recent years the Communist Party member Li Hanqiu began to advocate for the official adoption of Mother's Day in memory of Meng Mu, the mother of Mèng Zǐ, and formed a non-governmental organization called Chinese Mothers' Festival Promotion Society, with the support of 100 Confucian scholars and lecturers of ethics. They also ask to replace the Western gift of carnations with lilies, which, in ancient times, were planted by Chinese mothers when children left home. It remains an unofficial festival, except in a small number of cities.
ส่วนที่ Japan
http://en.wikipedia.org/wiki/Mother's_Day#Japan
ขณะนี้วันแม่ค่อนข้างเป็น marketed holiday ไปแล้ว และชาวญี่ปุ่นก็มักจะใช้ดอกไม้เป็นของขวัญ เช่น ดอกคาร์เนชั่นแดงและดอกกุหลาบ
Nowadays it is rather a marketed holiday, and people typically give flowers such as red carnations and roses as gifts.
สำหรับวันแม่ในประเทศเยอรมนี Germany
http://en.wikipedia.org/wiki/Mother's_Day#Germany
มีแง่มุมที่น่าสนใจเช่นกัน โดยเขาบอกว่า ....
คือว่า... ขอโทษเถอะครับ คือ ผมพิมพ์ดีดได้ช้ามาก ท่านช่วยอ่านเอาเองแล้วกันครับ 3 – 4 บรรทัดข้างล่างนี้
In the 1920s Germany had the lowest birthrate in Europe, and it was still declining. It was attributed to women's participation in the labor market. At the same time, all influential groups in society (politicians in both Left and Right, churchwomen and feminists) thought that mothers should be honored, but they couldn't agree on how to do it. All those groups agreed strongly in the promotion of the values of motherhood. This resulted in the unanimous adoption in 1923 of the Muttertag, the Mother's Day holiday as imported from America and Norway.
และอีกประเทศหนึ่ง คือ วันแม่ใน Mexico
http://en.wikipedia.org/wiki/Mother's_Day#Mexico
ซึ่งมีนัยะทางการเมืองเช่นกัน ผมยกมาประโยคเดียวข้างล่างนี้
The conservative government tried to use the holiday to promote a more conservative role for mothers in families, which was criticized by the socialists as promoting an unrealistic image of a woman who wasn't good for much more than breeding.
ที่สั้น ๆ และน่าฟังคือวันแม่ในประเทศศรีลังกา (Sri Lanka) โดยเขาบอกว่า แม้จะมีการฉลองอย่างเป็นทางการว่าเป็นวันแม่ แต่เขาก็เชื่อว่าทุก ๆ วันควรเป็นวันสำหรับพ่อแม่ซึ่งเป็นที่รักของลูก ๆ ซึ่งสอดคล้องตามประเพณีสิงหลและประเพณีชาวพุทธ
Though Sri Lankans celebrate this day as official Mothers day, they believe each and every day should be kept for their beloved parents. Backed by sinhaleese aarya traditions and buddhist culture, they tend to worship their parents.
และที่ประทับใจ สะดุดใจ และผมอยากเอามาคุยมากที่สุดก็คือวันแม่ในประเทศเนปาลและประเทศสหรัฐอเมริกา...
วันแม่ในประเทศเนปาลNepal
http://en.wikipedia.org/wiki/Mother's_Day#Nepal
วันนี้เป็นวันที่มีการฉลอง โดยมีการแสดงความเคารพและมอบของขวัญต่อแม่ที่ยังมีชีวิตอยู่ และระลึกถึงแม่ซึ่งเป็นอมตะและพักอยู่ในสถานที่อันสงบ มีการเดินทางไปแสวงบุญที่หมู่บ้าน Mata Tirtha ซึ่งอยู่แถบเมืองหลวงคือกรุงกาตมันดุ ทั้งนี้มีตำนานเกี่ยวกับสถานที่แสวงบุญแห่งนี้ว่า ในสมัยโบราณพระมารดาของพระกฤษณะ คือ พระนาง Devaki ได้ออกจากบ้านเพื่อเดินทางท่องเที่ยว พระนางได้เสด็จไปยังสถานที่ต่าง ๆหลายแห่งและเมื่อถึงเวลานานแล้วก็ยังไม่กลับบ้าน พระกฤษณะทรงเป็นห่วงมากที่พระมารดาหายไปจึงทรงออกตระเวณหาแต่ก็ไม่พบ แต่แล้วในที่สุดเมื่อพระองค์ไปถึง "Mata Tirtha Kunda" ก็ได้พบพระมารดำลังสรงน้ำอยู่ที่สระน้ำ ทรงโล่งพระทัยและเล่าให้พระมารดาฟังถึงความทุกข์ขณะที่พระมารดาหายไป
พระนาง Devaki จึงกล่าวต่อพระกฤษณะซึ่งเป็นโอรสว่า ถ้าเป็นอย่างนั้นตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ขอให้ "Mata Tirtha Kunda" เป็นสถานที่นัดพบอันศักดิ์สิทธิ์ระหว่างลูกและมารดาที่จากไป ตำนานกล่าวว่านับแต่บัดนั้น สถานที่แห่งนี้ได้กลายเป็นสถานที่แสวงบุญอันศักดิ์สิทธิ์และมีชื่อเสียงซึ่งผู้แสวงบุญจะได้เห็นหน้าแม่ที่เสียชีวิตไปแล้ว กล่าวกันว่าผู้แสวงบุญคนหนึ่งได้เห็นมารดาของตนในสระน้ำแห่งนั้นและเขาเองได้เสียชีวิตโดยตกลงไปในสระน้ำนั้นด้วย
และทุกวันนี้ ณ ที่นั้นก็ยังมีสระน้ำเล็ก ๆ สระหนึ่งมีเสาเหล็กเป็นรั้วกั้นรอบ หลังจากทำการสักการะตามพิธีแสวงบุญแล้ว ตลอดวันจะมีการร้องรำทำเพลงอย่างร่าเริง อย่างไรก็ตามไม่มีการพบหลักฐานซึ่งเป็นบันทึกยืนยันว่าตำนานเช่นนี้มาจากปากคำของผู้เฒ่าผู้แก่ในสมัยก่อน
… สำหรับผมเอง ไม่ว่าตำนานนี้จะมีเงื่อนเค้ามาจากเรื่องจริงหรือไม่ก็ตาม แต่มันก็แสดงความน่ารักของบทหนึ่งแห่งวัฒนธรรมเนปาลอย่างน่าพิศมัยทีเดียวครับ...
ภาษาอังกฤษจาก Wikipedia ว่าอย่างนี้ครับ
"Mata Tirtha Aunshi", translated as "Mother Pilgrimage fortnight", falls in the month of Baishak dark fortnight (April). This festival falls in the time of dark moon’s time which is why this called "Mata Tirtha Aunshi" derived from words: "Mata" meaning mother; "Tirtha" meaning pilgrimage. This festival is observed in the commemoration and respect of the mother which is celebrated by worshipping and gifting living mother or remembering mothers who have become immortal and are resting in peace. Going to Mata Tirtha Pilgrimage located towards the Kathmandu valley’s eastern side at Mata Tirtha Village development committee’s periphery is another tradition common in Nepal.
There is a legend regarding this pilgrimage. In ancient times Lord Krishna’s mother Devaki walked out her house to sight-see. She visited many places and delayed a lot to return back at her house. Lord Krishna became very unhappy because of his mother’s disappearance. So he went out in search of his mother to many places without success. Finally, when he reached "Mata Tirtha Kunda", he happened to see his mother taking bath there in the spouts of that pond. Lord Krishna was very happy to find her there and narrated all of his tragedies in the absence of his mother. Mother Devaki said to lord Krishna that "oh! Son Krishna let then, this place be the pious rendezvous of children to meet their departed mothers". So legends believe that since then this place had become a noted holy pilgrimage to see back a devotees’ deceased mother. Also legend believes that a devotee saw his mother’s image inside the pond and he happened to die falling there down. So still there is a small pond fenced by the iron rods in the place even on this present day as well. After the worship the pilgrimage enjoy there singing and dancing throughout the day in the festive mood. There is not evidence of happening of this legend as these are coming from elders based on ancient readings.
สำหรับวันแม่ของประเทศสหรัฐอเมริกา
http://en.wikipedia.org/wiki/Mother's_Day#United_States
ซึ่งคนไทยหลายคนอาจจะคุ้นเคยกับประวัติศาสตร์ว่า มาจากสตรีผู้มีนามว่า Anna Jarvis ซึ่งพยายามต่อสู้ให้มีวันนี้เกิดขึ้นเป็นวันแม่แห่งชาติในประเทศสหรัฐฯได้สำเร็จในปี คศ 1914 โดย Anna Jarvis มีความต้องการที่จะให้มีวันนี้เพื่อทำให้ความฝันของแม่ของเธอเองเป็นความจริง คือมีวันที่ตั้งขึ้นมาเพื่อให้เกียรติแม่ทุกคน แต่หลังจากนี้กิจกรรมของวันนี้ก็ถูกพลิกผันเป็นเรื่องการสร้างผลประโยชน์ทางการค้าอย่างมากมาย เช่น การขายดอกไม้ การ์ด ของที่ระลึก ซื้ออัญมณีให้แม่ หรือแม่กระทั่งการกินอาหารมื้อพิเศษนอกบ้าน จนแม้กระทั่ง Anna Jarvis ก็กลายเป็นผู้ต่อต้านวันแม่ที่เธอพยายามผลักดันให้เกิดขึ้นมาในประเทศสหรัฐฯ เธอวิจารณ์ว่าการซื้อการ์ดวันแม่เป็นสิ่งหนึ่งที่สื่อให้เห็นว่า ผู้คนเกียจคร้านแม้แต่จะเขียนจดหมายส่วนตัวสักฉบับถึงแม่ ท่านอย่าลืมนะครับว่าเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นในสมัยนั้นประมาณ 60 ปีที่แล้วที่ยังไม่มีมือถือใช้เหมือนทุกวันนี้ ในปี 1948 Anna Jarvis ถูกจับเพราะก่อกวนความสงบโดยการประท้วงการทำธุรกิจพาณิชย์กับวันแม่ ท้ายที่สุดเธอกล่าวว่า เธอจะไม่พยายามทำให้เกิดวันแม่ขึ้นมาถ้ารู้ว่าวันแม่จะออกมาในรูปพาณิชย์อย่างนี้จนควบคุมอะไรไม่ได้
บางส่วนใน Wikipedia เขาเขียนไว้อย่างนี้ครับ…
The United States celebrates Mother's Day on the second Sunday in May. In the 1880s and 1890s there were several attempts to establish a Mother's Day, but they didn't succeed beyond the local level. The holiday was created by Anna Jarvis in Grafton, West Virginia, in 1908 as a day to honor one's mother. Jarvis wanted to accomplish her mother's dream of making a celebration for all mothers, although the idea didn't take off until she enlisted the services of wealthy Philadelphia merchant John Wanamaker. She kept promoting the holiday until President Woodrow Wilson made it an official national holiday in 1914. The holiday eventually became so highly commercialized that many, including its founder, Anna Jarvis, considered it a "Hallmark Holiday", i.e. one with an overwhelming commercial purpose. Jarvis eventually ended up opposing the holiday she had helped to create. She died in 1948, regretting what had become of her holiday. In the United States, Mother's Day remains one of the biggest days for sales of flowers, greeting cards, and the like; it is also the biggest holiday for long-distance telephone calls.
Commercialization
Nine years after the first official Mother's Day, commercialization of the U.S. holiday became so rampant that Anna Jarvis herself became a major opponent of what the holiday had become and spent all her inheritance and the rest of her life fighting what she saw as an abuse of the celebration.
Later commercial and other exploitations of the use of Mother's Day infuriated Anna and she made her criticisms explicitly known throughout her time. She criticized the practice of purchasing greeting cards, which she saw as a sign of being too lazy to write a personal letter. She was arrested in 1948 for disturbing the peace while protesting against the commercialization of Mother's Day, and she finally said that she "wished she would have never started the day because it became so out of control ...".
Mother's Day continues to this day to be one of the most commercially successful U.S. occasions. According to the National Restaurant Association, Mother's Day is now the most popular day of the year to dine out at a restaurant in the United States.
For example, according to IBISWorld, a publisher of business research, Americans will spend approximately $2.6 billion on flowers, $1.53 billion on pampering gifts—like spa treatments—and another $68 million on greeting cards.
Mother's Day will generate about 7.8% of the U.S. jewelry industry's annual revenue in 2008, with custom gifts like mother's rings.
สำหรับผม ตอนนี้เขียนบทความเรื่องวันแม่จบบรรทัดนี้แล้ว ขอลาไปหาแม่ที่แม่กลองก่อนนะครับ กะว่าจะไปกราบและกอดแม่ คงไม่ซื้อการ์ดหรือซื้อดอกไม้ไปให้แม่หรอกครับ แต่กะว่าจะไปกินอาหารที่แม่ทำให้กิน เพราะอร่อยกว่าที่อื่น
อีก 2 -3 วันค่อยเจอกันนะครับ
พิพัฒน์
GemTriple@gmail.com
วันพฤหัสบดีที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2553
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น