วันเสาร์ที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

[2311] อ่าน สำคัญไม่น้อยกว่า พูด


สวัสดีครับ

การอ่าน ไม่ว่าภาษาอังกฤษหรือภาษาไทย เป็นทักษะที่ต้องฝึกด้วยสมาธิ นักเรียนหรือนักศึกษาที่สมาธิสั้นหรือตื้น  อาจจะไม่ค่อยชอบการอ่าน ซึ่งก็คือไม่ชอบการบำรุงสมองของตนด้วยการอ่าน เขาอาจจะคิดว่าถึงอ่านน้อยก็ฉลาดมากได้ ซึ่งเป็นการเข้าใจผิด ภาษาไทยเป็นเช่นใด  ภาษาอังกฤษก็เป็นเช่นนั้น



ผมกำลังสงสัยว่า เด็กไทยเราตั้งแต่เรียนอนุบาลจนจบมหาวิทยาลัย ถ้านำข้อความภาษาอังกฤษทั้งหมดที่อ่านผ่านตา (ด้วยความตั้งใจ)มาพิมพ์ลงหน้ากระดาษขนาด A4 - - จะได้สักกี่หน้า ?  

ทุกวันนี้พอพูดถึงการฝึกหัดทักษะภาษาอังกฤษ ก็มักจะนึกไปถึง speaking หรือ conversation มีคนจำนวนไม่มากนักที่นึกถึงการอ่าน ทั้ง ๆ ที่ถ้าพูดถึงการได้มาซึ่งความรู้ การอ่านสำคัญมาก ๆ  อาจจะสำคัญเท่ากับหรือมากกว่าทักษะการพูดเสียอีก  แต่นักเรียนไทยกลับสนใจทักษะนี้น้อยเกินไป   ถ้ามีการสำรวจข้อมูลประเทศฐานะปานกลางที่อ่านภาษาอังกฤษน้อยที่สุด ผมไม่แน่ใจใจว่าประเทศไทยจะติดอันดับ Top Ten หรือเปล่า ซึ่งถ้าติด ก็ไม่ใช่เรื่องที่น่าภูมิใจ ผมคนหนึ่งหละที่ไม่ภูมิใจ เพราะการลดหรือปิดโอกาสให้ความรู้จากข้อมูลสากลไหลเข้ามาสู่ตัวเราผ่านการอ่านภาษาอังกฤษ ซึ่งเป็นสิ่งที่นักเรียนไทยบางคนกำลังปฏิบัติอยู่นี้   ต้องถือว่าเป็นนิสัยที่เป็นปัญหา

ในอินเทอร์เน็ต มีภาษาอังกฤษให้เราฝึกอ่านมากมาย ท่านเพียงไปที่ www.google.com  แล้วพิมพ์คำว่า   esl reading    ก็จะมีเว็บมากมายให้ท่านฝึก


ลองดูตัวอย่างสัก 2 – 3 เว็บข้างล่างนี้


ส่วนในบล็อกนี้ ผมได้รวบรวมเว็บหรือลิงค์เกี่ยวกับการอ่านไว้ที่นี่  คลิก-อ่าน 
ผมขอเน้นอีกครั้งหนึ่งครับว่า
-ฝึกการอ่าน  อาจจะไม่ค่อยสนุก   แต่ก็จำเป็น
-ถ้าอ่านครั้งแรก ๆ ไม่รู้เรื่อง หรือไม่ค่อยรู้เรื่อง ก็ทนอ่านไปเรื่อย ๆ เถอะครับ  จะค่อย ๆ รู้เรื่องมากขึ้นเอง
-อ่านทุกวัน ทั้งวันที่ขี้เกียจและวันที่ขยัน ถ้าไม่มีเวลาถึง 30 นาที ก็เปิดหน้าจอหรือหน้าหนังสืออ่านสัก 5 นาทีก็ได้....  แต่อย่าไม่อ่าน
ผมมีคำแนะนำอีกนิดหน่อย สำหรับท่านที่ต้องการฝึกอ่านภาษาอังกฤษ ที่ลิงค์นี้ครับ
พิพัฒน์

1 ความคิดเห็น:

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

แปลกจัง คนไทยเรียนภาษาอังกฤษหลายปี แถมมีสถาบันภาษาเยอะมาก แต่พูดไม่ได้ ทีคนต่างชาติเรียนภาษาไทยแค่ไม่กี่เดือน ก็สามารถพูดได้ อยากบอกว่าประเทศไทยเป็นประเทศที่มีสถาบันสอนภาษามากที่สุด มี ร.ร.ติวเตอร์เยอะที่สุดอีก ทำให้สามารถวิเคราะห์ได้ว่าสถาบันการศึกษาไทยไม่ได้มาตรฐาน

น่าจะลดวิชาเรียนให้น้อยลง แต่เน้นวิชาที่ส่งเสริมวิชาชีพมากกว่า คือ เน้นเพื่อการทำงานมากกว่าเรียนแบบเน้นแต่ทฤษฏี คือ อยากให้เน้นคุณภาพมากกว่า จะจบมหาลัยแบบไหน ไม่จำเป็นแต่เน้นคุณภาพบุคลคลากรนักศึกษา