วันอาทิตย์ที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

[2268] อ่าน ธรรมบท บูชาพระพุทธเจ้า ในโอกาส พุทธชยันตี

สวัสดีครับ
ผมเข้าใจว่า คนไทยเราโดยทั่วไป เมื่อจะอ่านธรรมะของพระพุทธเจ้า ก็มีจำนวนไม่มากนักที่จะ “พุทธพจน์” โดยตรง แต่จะอ่านหรือฟังธรรมะที่พระสงฆ์นำคำสอนของพระพุทธมาสอน โดยพระสงฆ์ที่สอนก็จะเติมประสบการณ์และความเข้าใจของท่านลงไปด้วย

ถ้าศาสนิกจะอ่านคำของศาสดาโดยตรง ดูเหมือนชาวพุทธจะลำบากกว่าเพื่อน เพราะพระไตรปิฎกนั้นมีถึง 45 เล่ม ส่วนชาวคริสต์นั้นเขามีพระคัมภีร์ไบเบิ้ล และชาวมุสลิม ก็มีพระคัมภีร์อัล-กุรอ่าน เล่มเดียว คลิกอ่าน ไบเบิ้ล / อัล-กุรอ่าน จะให้ชาวพุทธอ่านพระไตรปิฎกก็คงลำบาก

อย่างไรก็ตาม ในหน้าพระไตรปิฎกที่มีมากมายนี้ ดูเหมือนว่า ธรรมบท ซึ่งเป็น พุทธพจน์ที่จารึกไว้ในพระไตรปิฎก เล่มที่ 25 และได้รับการแปลจากภาษาบาลีเป็นภาษาอังกฤษเกิน 100 เวอร์ชั่นนั้น มีผู้อ่านมากที่สุดในโลก สาเหตุก็อาจจะเนื่องมาจากความงดงามและกระชับของถ้อยคำภาษา ความลึกซึ้งของคำสอน ซึ่งนำเอาไปปฏิบัติตามได้ทั้งทางโลกและทางธรรม ตามสถานะของแต่ละบุคคล แม้ว่าบางครั้งเมื่อเราอ่านธรรมบท เราอาจจะรู้สึกว่าเป็นคำสอนที่สอน ‘พระ’ หรือผู้ที่ ‘สละโลก’แล้ว แต่จริง ๆ แล้วธรรมบทเป็นพุทธพจน์ที่ทุกคนสามารถประยุกต์ใช้ได้ในชีวิตทางโลก ไม่ว่าจะเป็นชาวบ้าน ชาววัด เด็กหรือผู้ใหญ่

ธรรมบท เวอร์ชั่นภาษาไทยที่แปลจากภาษาบาลีก็มีหลายสำนวน แต่สำนวนซึ่งเป็นที่รู้จักมากที่สุดน่าจะเป็นของ อาจารย์ เสฐียรพงษ์ วรรณปก หนังสือเล่มนี้ผมอ่านมาตั้งแต่เรียนอยู่มหาวิทยาลัยกว่า 30 ปีมาแล้ว วันนี้ผมหยิบขึ้นมาอ่านอีก ก็ยังรู้สึกถึงคุณค่าแห่งพุทธพจน์ในธรรมบทดังเดิม

ผมจึงขอชักชวนให้ท่านลองเข้าไปอ่าน ธรรมบท จะถือว่าเป็นการบูชาพระพุทธเจ้า ในโอกาส พุทธชยันตี ก็ดีครับ

อ่าน ธรรมบท online
“พุทธวจนะในธรรมบท” online - โดย เสฐียรพงษ์ วรรณปก (1)
“พุทธวจนะในธรรมบท” online - โดย เสฐียรพงษ์ วรรณปก (2)
เพิ่มเติม: อ่าน ธรรมะ โดย อาจารย์ เสฐียรพงษ์ วรรณปก

ดาวน์โหลดไฟล์ pdf ธรรมบท เพื่ออ่านหน้าคอมฯเวลาที่ไม่ได้ต่อเน็ต หรือนำไปพิมพ์เป็นเล่มพกติดตัวไว้อ่าน
http://www.e4thai.com/e4e/images/pdf/tipitaka/tammabot.pdf

พิพัฒน์
e4thai@live.com

2 ความคิดเห็น:

pfan กล่าวว่า...

เป็นกุศลอย่างมากเลยคุณพิพัฒน์ที่นำพุทธพจน์มาเผยแพร่ ที่อยากได้มากไปกว่านี้ก็คือเนื้อเรื่องของธรรมบทครับ มีไหม ถ้าเจอก็เอามาฝากหน่อยนะครับ

pipat - blogger กล่าวว่า...

อ่านเบื้องหลัง ธรรมบทแต่ละวรรค
ภาษาอังกฤษ
http://www.buddhanet.net/pdf_file/bmDamaStory.pdf

ภาษาไทย ฉบับสมบูรณ์ยังหาไม่ได้ครับ
พิพัฒน์