สวัสดีครับ
ผมมานั่งถามตัวเองว่า มีวิธีใดที่จะแนะนำท่านผู้อ่านถึงวิธีจำคำศัพท์ภาษาอังกฤษให้ได้อย่างรวดเร็วที่สุด
พอผมตั้งต้นที่จะคิดเพื่อตอบคำถามนี้ ก็มีอีก 1 คำถามแทรกเข้ามาในใจว่า ทำไมถึงต้องจำให้ได้เร็วที่สุด ก็ทีศัพท์ภาษาไทยเรายังไม่เห็นต้องรีบจำให้ได้เยอะ ๆ ภายในเวลาอันรวดเร็ว เราก็ยังจำได้เพียงพอต่อการใช้ แล้วทำไมภาษาอังกฤษเราต้องรีบจำด้วย
พอถึงตรงนี้ผมสามารถตอบตัวเองได้อย่างแน่ใจเลยว่า การที่เรารู้ศัพท์ภาษาไทยได้อย่างเพียงพอ ก็เพราะเราอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่เป็นธรรมชาติแบบไทย ๆ จึงทำให้เรารู้ศัพท์ภาษาไทยเพียงพอต่อการสื่อสารด้วยภาษาไทย แต่ในชั้นเรียนวิชาภาษาอังกฤษที่โรงเรียนหรือมหาวิทยาลัย มิได้มีสิ่งแวดล้อมอย่างเพียงพอที่จะทำให้เราจำศัพท์ภาษาอังกฤษได้มากจนพอใช้
คำถามที่รอคำตอบสุดท้ายก็คือ เมื่อสิ่งแวดล้อมไม่เพียงพอ ทำให้เรารู้ศัพท์ไม่พอเพียง เราจะต้องทำอย่างไรจึงจะรู้ศัพท์เพิ่มมากขึ้นจนพอใช้ และต้องรู้อย่างรวดเร็วด้วย เพราะการเรียนหรือการงานบังคับให้เราต้องรู้อย่างเร่งรัด มิใช่รู้ไปทีละคำ ๆ ตามความเร็วธรรมชาติ เราจึงต้องจำศัพท์ให้ได้รวดเร็วกว่าปกติ เพื่อชดเชยกับเวลาในอดีตที่เราจำศัพท์ได้ช้ากว่าปกติ
เราต้องทำอย่างไร?
ท่านผู้อ่านครับ ท่านอย่าต่อว่าผมเลยนะครับ ถ้าผมจะบอกท่านอย่างตรงไปตรงมาว่า ผมไม่รู้จริง ๆ ครับว่าจะต้องทำยังไง
ผมรู้แต่ว่า ผมเองก็ลองทำมาทุกวิธีแหละครับ ทั้ง อ่าน – เดา – จด – ท่อง (ในใจ-ออกเสียง) ทำด้วยใจรัก(ฉันทะ), ทำบ่อย ๆ (วิริยะ), ทำด้วยสมาธิ(จิตตะ), และทำไปคิดไปว่าทำยังไงจึงจะได้ผลดีที่สุด(วิมังสา) นี่เป็นทฤษฎีที่ผมรู้ และแม้ว่าจะทำไม่ได้ทุกครั้ง ก็พยายามทำให้ได้มากที่สุด
วันนี้ผมมี verb 1.904 คำที่ใช้บ่อยมาให้ท่านศึกษา แต่ละคำมีประโยคตัวอย่างให้ดู ผมหวังว่าท่านจะศึกษาโดยการอ่าน – เดา – จด – ท่อง ด้วยใจรัก(ฉันทะ), ด้วยการทำบ่อย ๆ (วิริยะ), ด้วยสมาธิ(จิตตะ), และด้วยการพิจารณาว่าต้องฝึกจำอย่างไรที่ได้ผลดีที่สุดสำหรับท่าน(วิมังสา)
ผมมีไฟล์อยู 3 ชุด
ชุดที่ 1 เมื่อดับเบิ้ลคลิกที่คำศัพท์ จะมีคำแปลภาษาไทยปรากฏ [คลิกฟังเสียงคำอ่าน และ ฝึกพูดตาม] คลิก
ชุดที่ 2 เมื่อดับเบิ้ลคลิกที่คำศัพท์ จะมีคำแปลภาษาอังกฤษปรากฏ จาก Oxford Dictionary [คลิกฟังเสียงคำอ่าน และ ฝึกพูดตาม] คลิก
ชุดที่ 3 เมื่อดับเบิ้ลคลิกที่คำศัพท์ และคลิก Definition จะมีคำแปลภาษาอังกฤษปรากฏ จาก Cambridge Dictionary [คลิกฟังเสียงคำอ่าน และ ฝึกพูดตาม] คลิก
วิธีศึกษา
1.อ่านประโยค และจับให้ได้ว่า คำไหนเป็น verb
2.แปลประโยคให้ได้ใจความ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง verb แปลว่าอะไร? ถ้าไม่รู้ก็พยายามเดา
3.ดับเบิ้ลคลิกคำศัพท์ เพื่อดูความหมาย [คลิกฟังเสียงอ่านและออกเสียงตามด้วย]
4.แปลให้ได้ความอย่างกระจ่างอีกครั้งหนึ่ง
ผมหวังว่า Double-Click Dictionary ทั้ง3 ชุดนี้ จะเป็นอุปกรณ์ที่ช่วยให้ท่าน อ่าน – เดา – จด – ท่อง verb 1,904 คำนี้ได้อย่างรวดเร็ว และพอเพียงต่อการใช้ เพื่อชดเชยกับวันคืนในอดีตที่บางท่านอาจจะจำศัพท์ได้ช้าและน้อยเกินไป
พิพัฒน์
GemTriple@gmail.com
วันอังคารที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2554
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
1 ความคิดเห็น:
ลองใช้ไฟล์ชุดที่ 1 แล้ว ถูกใจมากค่ะ ได้รู้คำศัพท์เพิ่มขึ้นอีกเยอะเลย มีทั้งเสียงให้ฟัง และตัวอย่างประโยคให้นำไปประยุกต์ใช้ ขอบคุณมากค่ะ คุณพิพัฒน์
แสดงความคิดเห็น