สวัสดีครับ
ผมเคยถูกแซวทำนองว่า ในบล็อกนี้ดูเหมือนจะแนะนำดิกชันนารีมากไปหน่อย ขอเรียนว่าอย่าว่าแต่ท่านเลยครับที่รู้สึกเช่นนี้ ผมเองเป็นคนแนะนำก็ยังรู้สึก แต่จะให้ผมทำกระไรได้ล่ะครับ ใจมันลงรักปักลึกซะแล้ว เพราะเมื่อเจอดิกใหม่ดี ๆ ครั้งใดก็อดที่จะเอามาแนะนำไม่ได้ ขอเปรียบอย่างนี้แล้วกันครับ ท่านไปงานเลี้ยงงานหนึ่ง เขาเลี้ยงแบบบุปเฟ่ต์ ผมขอให้ท่านเลือกระหว่างงานที่มีอาหารให้เลือกไม่กี่อย่าง และท่านก็ไม่ต้องเสียเวลาเลือกมาก เพราะมีให้เลือกเพียง 2 อย่าง คือจะกินหรือไม่กิน กับอีกงานเลี้ยงหนึ่งที่มีอาหารให้เลือกมากเหลือเกิน จนท่านเลือกไม่ถูก และต้องใช้เวลามากหน่อยในการเลือกตักอาหาร ท่านจะเลือกที่จะไปเจองานเลี้ยงบุปเฟต์แบบไหน ถ้าบล็อกนี้เปรียบเหมือนอาหารบุปเฟต์ที่ผมเอามาตั้งเสิร์ฟท่าน ผมก็คิดว่าผมเลือกทำอย่างหลังดีกว่า คือให้มากไว้ก่อน ส่วนท่านใดได้อาหารหรือเว็บดิกที่ถูกใจไว้ก่อนหน้านี้แล้ว จะไม่สนใจอาหารถาดอื่นหรือเว็บดิกอื่นที่ผมทยอยมาเสิร์ฟอีกก็ตามสะดวกครับ
วันที่ผมมีเว็บอังกฤษ – ไทย, ไทย – อังกฤษ มาแนะนำอีก 1 เว็บ เป็นของ Google ครับ
http://www.google.com/dictionary
เมื่อท่านพิมพ์คำศัพท์ลงไป จะเป็นคำไทยหรือคำอังกฤษก็ได้ ให้ท่านคลิกที่สามเหลี่ยมหัวลงท้ายคำว่า English Dictionary, เลื่อนลงไปถึงบรรทัด Thai และเลือก English > Thai หรือ Thai > English ตามต้องการ, และคลิก Search Dictionary ก็จะมีคำแปลปรากฏ
เรื่องฐานข้อมูลดิกชันนารี English > Thai หรือ Thai > English ที่มีให้เราใช้ฟรี ๆ ในเน็ตนี่นะครับ เท่าที่ผมรู้จัก ก็มีอยู่ 8 ฐาน คือ
1. ฐานข้อมูลของ ศูนย์ เทคโนโลยีอิเลิกทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ หรือ National Electronics and Computer Technology Center หรือที่เรียกกันโดยทั่วไปว่า NECTEC ซึ่งมีดิก Lexitron ให้ใช้ อยู่ที่นี่ครับ http://lexitron.nectec.or.th/
และมีเว็บอื่น ๆ หลายเว็บเอาข้อมูลของดิก Lexitron ไปใช้หรือพัฒนาใช้ที่เว็บของตนเอง
2. ดิกชันนารีที่ ดร. วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม เป็นคนเรียบเรียง ผมไม่รู้หรอกครับว่าในแง่กฎหมายใครเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ฐานข้อมูล หรืออะไรทำนองนี้ แต่ก็มีคนเอาฐานข้อมูลนี้ไปทำอย่างข้อ 1 เยอะเหมือนกัน
3. ฐานข้อมูลของ ลอย ชุนพงษ์ทอง
ฐานข้อมูลของทั้งข้อ 2 และ 3 มีอยู่ที่เว็บนี้ครับ เป็นดิก อังกฤษ – ไทย (เฉพาะฐานข้อมูลที่ 2 มีให้พบที่อื่นอีกหลายเว็บ)
http://www.babylon.com/define/122
4. ฐานข้อมูลดิกของอาจารย์ สอ เสถบุตร เท่าที่พบมีอยู่แห่งเดียว คือที่ใน ห้องสมุดความรู้ ของ sanook.com ที่พิเศษคือเป็นดิกไทย online ที่มีเสียงอ่านทั้งอังกฤษ และ ไทยให้คลิกฟังด้วย-: อังกฤษ-ไทย-: ไทย-อังกฤษ
5. ฐานข้อมูลดิกซึ่งฝรั่งชื่อคุณ Glenn ทำขึ้น ที่เว็บนี้นอกจากดิกแล้ว ยังมีอีกหลายอย่างที่น่าสนใจ
http://www.thai-language.com/dict/
6. ฐานข้อมูลของ Nontri ผมไม่รู้อะไรมากนักเกี่ยวกับฐานข้อมูลนี้ รู้แต่ว่าถ้าต้องการเปิดดิกจากฐานนี้ ให้พิมพ์คำศัพท์ลงไปที่เว็บนี้ http://dict.longdo.com/ คำแปลที่โชว์ใต้บรรทัด English-Thai: Nontri Dictionary ก็คือคำแปลจากฐานข้อมูลนี้แหละครับ
7. ดิกจากฐานข้อมูลของ SEAlang library
http://www.sealang.net/thai/index.htm
อ่านคำแนะนำเพิ่มเติมได้ที่นี่ครับ คลิก ดูที่หัวข้อ ลิงค์ที่ 2
8. Webster's Online Dictionary ภาษาไทย > ภาษาอังกฤษ, พจนานุกรม & การแปล
http://www.websters-online-dictionary.org/definition/Thai-english/
เว็บนี้ลองเข้าไปดูซะหน่อยก็ดีครับ
ผมลองตรวจคำแปลที่ Google Dictionary โชว์ ไม่ว่าจะเป็นดิก English > Thai หรือ Thai > English ก็เห็นว่า ไม่ซ้ำกันเด๊ะกับฐานข้อมูลทั้ง 8 ฐานข้างต้นนี้ และนี่ก็เป็นเหตุผลหลักที่เมื่อผมได้รับการแนะนำจากคุณชานุวัลภ์ ชินโกมุท ผมตัดสินใจเอา Google Dictionary มาแนะนำที่บล็อกนี้ (ต้องขอขอบคุณคุณชานุวัลภ์ ชินโกมุท ไว้ ณ ที่นี้ด้วยครับ) ผมไม่ทราบว่าใครคือผู้เรียบเรียงดิก English > Thai และ Thai > English ให้ Google ท่านใดทราบช่วยบอกหน่อยนะครับ
จากที่เป็น “คนบ้าดิก” มาหลายปี มีเรื่องหนึ่งที่ผมค่อนข้างจะแน่ใจและอยากจะแสดงความคิดเห็นต่อท่านผู้อ่าน คือ ไม่มีดิกเล่มไหนหรอกครับที่ดีจนไร้ที่ติ และในทำนองเดียวกันก็ไม่มีดิกเล่มไหนที่มีแต่ข้อให้ติหาข้อดีไม่ได้เลย เมื่อเราปิดดิกก็เอาดิกเป็นที่ปรึกษา แต่ก็อย่าเชื่อที่ปรึกษา 100 % นะครับ
อาหารบุปเฟต์พร้อมแล้ว ขอเชิญเลือกรับประทานได้เลยครับ !
พิพัฒน์
pptstn@yahoo.com
มีเยอะจนเลือกไม่ถูกแล้วครับ
ตอบลบขอบคุณครับ
ไม่รู้จะสรรหาคำขอบคุณจากไหนมาให้คุณ ขอให้สิ่งดีดีที่คุณได้ทำส่งผลให้คุณและครอบครัวพบเจอแต่สิ่งที่ดี ๆ ต่อไปนะคะ แอบสารภาพอ่าน บล็อกของคุณจนตอนนี้ติดงอมแงม เลยอะ ท่าทางจะเลิกยากซะด้วยสิ อิอิ
ตอบลบดีที่สุด
ตอบลบขอบคุณครับ
เป็นประโยชน์มากครับ
ตอบลบขอบคุณจากใจจริง