สวัสดีครับ
ท่านผู้อ่านครับ บางครั้งผมก็อดคิดไม่ได้ว่า หลายเรื่องที่เอามาคุยกับท่านผู้อ่าน ผมพูดจากประสบการณ์ของตัวเองมากเกินไปหรือเปล่า และพูดเรื่องที่ผู้อ่านไม่ได้รู้เรื่องด้วย แต่คิดไปคิดมาก็ปลอบใจตัวเองว่า เอาน่า! ถ้าท่านผู้อ่านไม่อยากอ่านก็หยุดอ่านเองแหละ คงไม่รบกวนท่านผู้อ่านมากนัก
เรื่องที่จะพูดวันนี้ก็น่าจะเป็นประสบการณ์ของคนเริ่มแก่ คือตอนที่ผมเรียนหนังสือซึ่งยังไม่มีอินเตอร์เน็ตใช้ ผมซื้อหนังสือชุดธรรมโฆษณ์ปกดำของท่านอาจารย์พุทธทาสไว้เยอะทีเดียว หลายเล่มอ่านจบแล้ว และกะว่าพอเรียนจบได้งานทำก็จะตลุยอ่านอีกรอบหนึ่ง
ครั้นเมื่อได้งานทำแล้ว ก็มีไอ้นั่นไอ้นี่เยอะไปหมดที่ต้องทำ ก็เลยไม่ได้อ่านตามที่ตั้งใจไว้ จนสุดท้ายต้องปลอบใจตัวเองว่า พอถึงวัยเกษียณอายุจะเปิดตู้หยิบหนังสือพวกนี้ออกมาอ่านทุกเล่ม
แต่ตอนนี้ผมชักจะไม่แน่ใจแล้วละครับว่าจะได้ทำหรือเปล่า เพราะว่าสายตามันชักจะไม่ค่อยดีเหมือนก่อน จริงอยู่ครับ ถ้าใส่แว่นก็มองเห็นและอ่านได้ แต่มันเหนื่อยลูกตา และอ่านได้ไม่นานเหมือนตอนที่ยังหนุ่ม ๆ
ผมกำลังจะบอกท่านว่า ท่านอาจจะผิดหวังถ้ามีความหวังว่า ตอนวัยเริ่มชราสายตาของท่านคงจะสามารถรับใช้ท่านได้แข็งแรงเหมือนเมื่ออยู่ในวัยหนุ่ม เพราะฉะนั้นเมื่อถึงวัยนั้น ท่านอาจจะต้องพึ่งหูมากกว่าตา
ต่อมา ผมมีธุระต้องไปสมาคมคนตาบอดแห่งประเทศไทย ผมเห็นเจ้าหน้าที่คอมพิวเตอร์ของสมาคมซึ่งเป็นคนตาบอด เมื่อเข้าไปดูใกล้ ๆ ก็เห็นว่าที่เครื่องคอมฯของเขาก็มีโปรแกรมติดตั้งไว้สำหรับอ่านข้อความจากหน้าเว็บ
สิ่งที่ผมทึ่งก็คือ เขาฟังภาษาอังกฤษรู้เรื่องหมด ผมฟังดูก็รู้สึกว่าเสียงไม่ค่อยชัดจึงถามเขาว่า ทำไมไม่ติดตั้งโปรแกรมอ่านที่ออกเสียงชัด ๆ หน่อย เขาบอกว่าโปรแกรมที่ว่านั้นมันจะกิน RAM มากเกินไปทำให้เครื่องทำงานช้า เลยใช้โปรแกรมเล็ก ๆ ที่แม้จะไม่ค่อยชัดแต่ก็ฟังรู้เรื่อง ผมถามว่าถ้าอย่างนั้นตอนฟังจากเว็บโดยตรง เช่น ฟังข่าว BBC หรือ CNN ก็ฟังได้ชัดเลยซีครับ เขายิ้ม ๆ และบอกว่า “ใช่” ผมถึงกับสะอึกในใจเล็กน้อย เพราะรู้สึกว่าเราเองก็ยังไม่ได้ใช้ความพยายามเท่าที่ควรในการฝึก listening skill เพราะมัวแต่โอ้เอ้ผลัดนั่นผลัดนี่อยู่เรื่อย
ถึงตอนนี้ ผมได้ข้อสรุปว่า ถ้าตอนแก่ผมไม่อยากเหงา, ไม่อยากตกข่าว, และไม่อยากทรมานลูกกะตาที่เริ่มอ่อนแอ ผมต้องพยายามทำให้หูมีความสามารถในการฟังภาษาอังกฤษให้รู้เรื่องมากที่สุดเท่าที่จะมากได้เสียตั้งแต่ตอนนี้ เพราะเหตุว่าความรู้หรือเรื่องราวมากมายในโลกนี้ไม่ได้เขียนไว้ด้วยภาษาไทย แต่เขียนด้วยภาษาของโลกคือภาษาอังกฤษ และไฟล์ audio หรือ mp3 หรือ โปรแกรม Text-to-Speech ที่มากทั้งปริมาณและคุณภาพนั้น ก็เป็นภาษาอังกฤษทั้งนั้น ที่เป็นภาษาไทยมีน้อยกว่าหลายเท่า... น้อยมากจนไม่เพียงพอต่อความอยากรู้อยากเห็นของผม
ถ้าท่านใดคิดว่า อาจจะตกอยู่ในสภาพที่ว่านี้เช่นเดียวกับผม ก็ขอชวนครับให้ฝึก listening skill ภาษาอังกฤษ ซึ่งในเว็บนี้ผมได้รวบรวมไว้ที่ลิงค์นี้ ฟัง - listening
ผมยังมีเพิ่มเติมอีกครับ คือมีไฟล์เสียงอีกมากมายที่เขารวบรวมไว้ที่เว็บ แบ่งเนื้อหาออกเป็นประเภทต่าง ๆ และมี Search ให้ค้นอีกด้วย ที่เรียกว่า podcast ไฟล์มากมายหลายหลากพวกนี้แหละครับ ที่สามารถเป็นอุปกรณ์ให้เราฝึก listening skill ได้เป็นอย่างดี เพราะมีให้เลือกตามรสนิยม ความยากง่าย และความสั้นยาว ตามที่เราต้องการ
ขอแนะนำ 3 เว็บนี้ก่อนครับ
podcast.com
ไม่แยกระดับ
ระดับ basic
ระดับ intermediate
ระดับ advanced
bbc.co.uk/podcasts
ไม่แยกระดับ
ระดับ basic
ระดับ intermediate
podfeed.net
ไม่แยกระดับ
ระดับ basic
ระดับ intermediate
ระดับ advanced
ถ้ายังไม่จุใจก็ขอเชิญไปที่ 3 ลิงค์นี้ เชื่อว่ามีมากเพียงพอต่อความต้องการของทุกท่านแน่ ๆ เชิญครับ...
ระดับ basic
ระดับ intermediate
ระดับ advanced
พิพัฒน์
GemTriple@gmail.com
วันอาทิตย์ที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554
วันศุกร์ที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554
[1749] เพิ่มคำศัพท์ กับ click dict
สวัสดีครับ
สมัยก่อนโน้น ๆ ๆ ๆๆ ๆ .... ตอนที่ผมยังเป็นวัยรุ่นล่วงเข้าวัยหนุ่มต้น ๆ ผมมีนิสัยชอบเอาดิกชันนารีขึ้นมา พลิกไปพลิกมา หน้านั้นหน้านี้เล่นๆ เพื่อ ท่อง-ทบทวน-ทดสอบ ศัพท์ภาษาอังกฤษของตัวเอง ของเล่นอย่างนี้บางท่านอาจจะเคยเล่น
ผมอยากจะบอกว่า ถ้ามีการจัดประกวดกิจกรรมการจำศัพท์ที่สามารถสร้างความเบื่อได้ อย่างรวดเร็วที่สุด กิจกรรมท่อง-ทบทวน-ทดสอบ ศัพท์ อย่างที่ว่านี้แหละครับ ที่ต้องติดอันดับความน่าเบื่อทุกครั้งที่ส่งประกวด มันเบื่อเร็วจริง ๆ
แต่ในขณะดียวกัน ถ้ามีการประกวดกิจกรรม ที่สามารถช่วยให้จำศัพท์ได้อย่างรวดเร็วที่สุด ผมดูแล้วก็น่าจะเป็นกิจกรรมนี้อีกเช่นกันที่ติดอันดับ เพราะมันช่วยให้จำได้เยอะกว่าวิธีอื่น
อ้อ ! ผมลืมบอกไป ดิกชันนารีที่ผมเอามาใช้ในกิจกรรมนี้ มีทั้งดิกอังกฤษ – ไทย; ไทย – อังกฤษ; และ อังกฤษ – อังกฤษ ประเภท learner’s dictionary ครับ
ในหลายปีที่ผ่านมานี้ ผมเลิกเล่นกิจกรรมนี้แล้ว เพราะมีอินเทอร์เน็ตให้ผมเล่นกิจกรรมคล้าย ๆ กันนี้โดยไม่เบื่อ เพียงคลิก ๆ ๆ ไม่ต้องพลิก ๆ ๆ อย่างที่เคยทำมา
click dict ข้างล่างนี้ที่ผมเตรียมให้ท่านผู้อ่าน….
-เมื่อคลิกแต่ละตัวอักษรเข้าไปแล้ว จะมีศัพท์โชว์ไว้, เมื่อดับเบิ้ลคลิกก็จะปรากฏคำแปล
-ผมขอแนะนำให้ท่านคลิกที่ลิงค์พร้อมกับกด Shift, ลิงค์จะเปิดในหน้าต่างใหม่ซึ่งเมื่อเลิกใช้ก็ปิดได้ทันทีไม่ต้องเสียเวลาคลิก Back
-หรือถ้าท่านต้องการให้เปิดลิงค์ใน tab ใหม่, ก็ให้คลิกที่ลิงค์พร้อมกับกด Control
ผมขอชวนให้ท่านผู้อ่านที่ต้องการเพิ่มคำศัพท์ลองเล่นดูก่อนนะครับ ถ้าเล่นหลายครั้งแล้วรู้สึกว่ามีแต่ความเบื่อโดยไม่สามารถจำศัพท์เพิ่มขึ้นได้เลย ก็เลิกเล่นเถอะครับ; แต่ถ้าเบื่อและจำศัพท์ได้บ้าง ก็น่าจะทนเล่นต่อไปเพราะคุ้มค่าเบื่อ; แต่ถ้าทั้งสนุกและจำศัพท์ได้ ไม่เบื่อเลย ก็ต้องถือว่าท่านทำบุญมาดี เช่นอาจเคยถวายดิกชันนารีแก่หลวงพี่เมื่อชาติที่แล้ว ให้เล่นต่อไปอย่าได้หยุดครับ
ชุดที่ 1:อังกฤษ – ไทย; อังกฤษ – อังกฤษ
จาก Alan Beale's Core Vocabulary Compiled from 3 Small ESL Dictionaries (21,877)
-ดับเบิ้ลคลิกที่คำศัพท์ จะปรากฏคำแปลภาษาไทย
-ดับเบิ้ลคลิกที่ไอคอนรูปลำโพงเพื่อฟังเสียงอ่านคศัพท์
-เลื่อนลงไปข้างล่างแล้วคลิก Show more Web definitions » เพื่อดูคำแปลอังกฤษ-อังกฤษ
ชุดที่ 2: อังกฤษ – ไทย; ไทย – อังกฤษ
จาก dict.longdo.com/page/showwordslist
ภาษาอังกฤษ
ภาษาไทย
ก, ข, ฃ, ค, ฅ, ฆ, ง, จ, ฉ, ช, ซ, ฌ, ญ, ฎ, ฏ, ฐ, ฑ, ฒ, ณ, ด, ต, ถ, ท, ธ, น, บ, ป, ผ, ฝ, พ, ฟ, ภ, ม, ย, ร, ฤ, ล, ฦ, ว, ศ, ษ, ส, ห, ฬ, อ, ฮ
ชุดที่ 3: อังกฤษ – อังกฤษ
จาก en.wiktionary.org/wiki/Wiktionary:Main_Page
ชุดที่ 4: อังกฤษ – ไทย; ไทย – อังกฤษ
จาก guru.sanook.com/dictionary
ชุดที่ 5: ไทย - อังกฤษ มีแต่คำกริยาภาษาไทยล้วน ๆ ที่ผมดึงมาจากพจนานุกรมไทย และอาศัยเว็บ thai2english.com ช่วยให้คำแปลเป็นภาษาอังกฤษ ถ้าวางเมาส์บนคำศัพท์แล้วไม่มีคำแปลปรากฏก็แสดงว่า เว็บ thai2english.comไม่ได้มีคำแปลไว้ให้ |
แถมชุดที่ 6:อังกฤษ – อังกฤษ
Dictionary of Difficult Words
พิพัฒน์
GemTriple@gmail.com
วันพฤหัสบดีที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554
[1748] ฝึกฟังภาษาอังกฤษหลายสำเนียงทั่วโลก
สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านครับ ท่านเคยรู้สึกกระดากอายบ้างไหมครับที่ต้องพูดภาษาอังกฤษด้วยสำเนียงไทยจ๋าซึ่งกลุ่มคนไทยที่อยู่ในที่นั้นมีบางคนที่สำเนียงดีมาก เรียกว่ายังกะฝรั่งพูดเลยแหละ ผมอยากจะบอกว่า ไม่ต้องอายหรอกครับ ถ้าเราพูดให้สำเนียงคล้ายเจ้าของภาษาได้ก็เป็นเรื่องดี เพราะคนต่างชาติที่เราคุยหรือประชุมด้วยเขาจะได้ฟังรู้เรื่องง่าย ๆ เพราะนั่นเป็น accent อินเตอร์ที่เราเดาว่าคนชาติต่าง ๆ คงจะคุ้น
แต่ว่า ผมขอถามคำถามนี้ ใครคือเจ้าของภาษาครับ ถ้าเราบอกว่าคนอังกฤษ คนชาติอเมริกา คนแคนาดา หรือคนออสเตรเลีย หรือคนในประเทศที่เคยเป็นเมืองขึ้นจนรับภาษาอังกฤษมาเป็นภาษาแม่หรือภาษาทางการ และเราก็บอกว่าคนเหล่านี้คือเจ้าของภาษาอังกฤษ คำตอบนี้ถูกต้องหรือไม่
ผมมีความเห็นที่อาจจะต่างจากบางท่านบ้าง คือ คนที่เกิดในประเทศอื่นที่อังกฤษมิใช่เป็นภาษาหลัก การที่เขาฝึกพูดภาษาอังกฤษอย่างจริงจังก็เมื่อลิ้นแข็งแล้ว จะให้ออก accent ได้เหมือนคนไทยที่ใช้ชีวิตในเมืองฝรั่งตั้งแต่เล็กก็คงเป็นไปได้ยาก
หน้าที่ของเขาก็คือพูดภาษาอังกฤษให้คนชาติอื่นฟังรู้เรื่อง แต่คงไม่ต้องถึงกับเอาเป็นเอาตายให้มี accent เป็นฝรั่งหรอกครับ อาจจะตายเปล่าและทำไม่สำเร็จ หรืออาจจะทำสำเร็จแต่ก็เสียเวลาไปเปล่า ๆ... เวลาที่ควรเอาไปให้กับสิ่งมีคุณค่าอย่างอื่นมากกว่าการดัดลิ้นจีบปากอย่างเอาเป็นเอาตายให้พูดเหมือนฝรั่ง ผมเคยได้ยินมาว่ามีเอกอัครราชทูตบางท่านที่เวลาออกงานก็พูดภาษาอังกฤษสำเนียงไทยทั้ง ๆ ที่ท่านสามารถพูดสำเนียงฝรั่งได้ นี่สะท้อนถึงอะไรท่านลองคิดดูซีครับ
คราวนี้มาพูดถึงการฟังบ้าง ผมเห็นว่าหน้าที่ในการฝึกฟังให้รู้เรื่องนี้เป็นหน้าที่ของคนทุกชาติที่พูดภาษาอังกฤษกับคนชาติอื่น ผมเคยคุยกับชาวมาเลเซียคนหนึ่งซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของสำนักเลขาธิการอาเซียน (สำนักงานอยู่ที่อินโดนีเซีย) เขารับผิดชอบในการจัดการประชุมกลุ่มอาเซียนและนานาชาติบ่อยมาก เขาบอกผมว่าเขาฟังภาษาอังกฤษทุกสำเนียงทั่วโลกรู้เรื่อง ซึ่งผมเชื่อว่าเขาไม่ได้โกหก
ในทำนองตรงกันข้ามตัวผมเองและเพื่อนบางคนเคยเจอว่า เมื่อเราพูดภาษาอังกฤษกับ native speaker ชาวอเมริกันหรืออังกฤษบางคน เขาทำหน้าเหมือนกับไม่รู้เรื่องที่เราพูด การที่เขาไม่รู้เรื่องนี้มีได้ 2 สาเหตุ คือ เขาดัดจริตฟังไม่รู้เรื่องสำเนียงที่เราพูดเพี้ยน(จากเขา)ทั้ง ๆ ที่ก็ฟังรู้เรื่อง หรือ เขาอาจจะไม่รู้เรื่องจริง ๆ ตรงนี้มาถึงประเด็นที่ผมพูดว่า โลกทุกวันนี้ภาษาอังกฤษมิใช่สมบัติส่วนตัวของฝรั่งอังกฤษอเมริกันอีกต่อไปแล้ว แต่เป็นสิ่งของเครื่องใช้ที่คนทั้งโลกใช้สื่อสาร มันจึงมิได้มีแบบเดียวเหมือนกันเด๊ะทั้งโลก
เพราะฉะนั้นเมื่อเรายอมรับร่วมกันว่าเราจะสื่อสารกันด้วยภาษานี้ซึ่งกลายเป็นภาษาของโลกไปแล้ว ทุกคนจึงต้องประนีประนอมเข้าหากัน ด้วยการปรับลิ้นให้พูดสำเนียงกลาง ๆ ที่คนอื่นฟังรู้เรื่องได้ไม่ลำบากนัก และปรับหูเพื่อพยายามฟังให้รู้เรื่องสำเนียงที่คนอื่นพูด แม้เป็นฝรั่งอังกฤษอเมริกันหรือเจ้าของภาษาก็ต้องมีหน้าที่นี้เช่นเดียวกับคนทั่วโลก ผมคิดว่าฝรั่งจำนวนหนึ่งซึ่งไม่มีประสบการณ์ในการฟังภาษาอังกฤษสำเนียงอื่นก็มีปัญหานี้เช่นกันแม้จะเป็นฝรั่ง เพราะฉะนั้นถ้าเขาจะพูดกับคนชาติอื่นเขาก็ต้องฝึกหูของเขาเช่นกัน
เอาละครับ ขอวกเข้าเรื่อง เว็บที่ผมนำมาเสนอในวันนี้ จะช่วยให้ท่านได้ฝึกฟังภาษาอังกฤษสำเนียงต่าง ๆ ซึ่งจะช่วยให้สมรรถภาพในการฟังของท่านสูงขึ้น เพื่อจะได้เข้าใจเมื่อฟังเขาพูด เชิญครับ...
เว็บที่ 1:
http://www.world-english.org/listening.htm
Listening Comprehension Exercises
เว็บที่ 2:
http://www.englishclub.com/listening/radio.htm
เว็บที่ 3: เว็บนี้น่าสนใจมากครับ เพราะมีไฟล์เสียงให้เราฟังสำเนียงพูดภาษาอังกฤษของคนทั่วโลก โดยพูดข้อความเดียวกัน
http://accent.gmu.edu/
http://accent.gmu.edu/browse_language.php
ลองฟังดูเป็นตัวอย่างก็ได้ครับ
สำเนียงคนไทยหลายจังหวัดพูดภาษาอังกฤษ คลิก
สำเนียงคนลาวพูดภาษาอังกฤษ คลิก
สำเนียงคนฮินดี(อินเดีย)พูดภาษาอังกฤษ คลิก
สำเนียงคนจีนพูดภาษาอังกฤษ มีถึง 55 สำเนียง คลิก
สำเนียงคนญี่ปุ่นพูดภาษาอังกฤษ มี 14 สำเนียง คลิก
เว็บที่ 4: เลือกคลิกหัวข้อใต้ Categories ที่คอลัมน์ซ้ายมือ
http://www.eviews.net/english-lessons/
เว็บที่ 5:
http://alt-usage-english.org/audio_archive.shtml
ศึกษาเพิ่มเติม:
http://www.bbc.co.uk/radio/
http://www.englishpage.com/listening/
ท่านผู้อ่านครับ เมื่อหลายวันก่อนผมอ่านบทความในนิตยสาร Newsweek เรื่อง English is here to stay เขาบอกว่า แม้ในอีก 2-3 ทศวรรษหน้าซึ่งจีนจะขึ้นมาเป็นผู้นำเศรษฐกิจของโลก แต่ก็ยากนักที่ภาษาจีนจะสามารถแทนที่ภาษาอังกฤษในฐานะภาษาของโลก ถ้าผมยังมีชีวิตอยู่ถึงเวลานั้น ผมอยากเห็นคนไทยส่วนใหญ่สื่อสารด้วยภาษาอังกฤษกับชาวโลกรู้เรื่อง ผมจึงอยากให้รุ่นน้อง ๆ ซึ่งจะเป็นเรี่ยวแรงของประเทศไทยในอนาคตพัฒนาความสามารถในการสื่อสารด้วยภาษาโลกภาษานี้ตั้งแต่เดี๋ยวนี้
พิพัฒน์
GemTriple@gmail.com
แต่ว่า ผมขอถามคำถามนี้ ใครคือเจ้าของภาษาครับ ถ้าเราบอกว่าคนอังกฤษ คนชาติอเมริกา คนแคนาดา หรือคนออสเตรเลีย หรือคนในประเทศที่เคยเป็นเมืองขึ้นจนรับภาษาอังกฤษมาเป็นภาษาแม่หรือภาษาทางการ และเราก็บอกว่าคนเหล่านี้คือเจ้าของภาษาอังกฤษ คำตอบนี้ถูกต้องหรือไม่
ผมมีความเห็นที่อาจจะต่างจากบางท่านบ้าง คือ คนที่เกิดในประเทศอื่นที่อังกฤษมิใช่เป็นภาษาหลัก การที่เขาฝึกพูดภาษาอังกฤษอย่างจริงจังก็เมื่อลิ้นแข็งแล้ว จะให้ออก accent ได้เหมือนคนไทยที่ใช้ชีวิตในเมืองฝรั่งตั้งแต่เล็กก็คงเป็นไปได้ยาก
หน้าที่ของเขาก็คือพูดภาษาอังกฤษให้คนชาติอื่นฟังรู้เรื่อง แต่คงไม่ต้องถึงกับเอาเป็นเอาตายให้มี accent เป็นฝรั่งหรอกครับ อาจจะตายเปล่าและทำไม่สำเร็จ หรืออาจจะทำสำเร็จแต่ก็เสียเวลาไปเปล่า ๆ... เวลาที่ควรเอาไปให้กับสิ่งมีคุณค่าอย่างอื่นมากกว่าการดัดลิ้นจีบปากอย่างเอาเป็นเอาตายให้พูดเหมือนฝรั่ง ผมเคยได้ยินมาว่ามีเอกอัครราชทูตบางท่านที่เวลาออกงานก็พูดภาษาอังกฤษสำเนียงไทยทั้ง ๆ ที่ท่านสามารถพูดสำเนียงฝรั่งได้ นี่สะท้อนถึงอะไรท่านลองคิดดูซีครับ
คราวนี้มาพูดถึงการฟังบ้าง ผมเห็นว่าหน้าที่ในการฝึกฟังให้รู้เรื่องนี้เป็นหน้าที่ของคนทุกชาติที่พูดภาษาอังกฤษกับคนชาติอื่น ผมเคยคุยกับชาวมาเลเซียคนหนึ่งซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของสำนักเลขาธิการอาเซียน (สำนักงานอยู่ที่อินโดนีเซีย) เขารับผิดชอบในการจัดการประชุมกลุ่มอาเซียนและนานาชาติบ่อยมาก เขาบอกผมว่าเขาฟังภาษาอังกฤษทุกสำเนียงทั่วโลกรู้เรื่อง ซึ่งผมเชื่อว่าเขาไม่ได้โกหก
ในทำนองตรงกันข้ามตัวผมเองและเพื่อนบางคนเคยเจอว่า เมื่อเราพูดภาษาอังกฤษกับ native speaker ชาวอเมริกันหรืออังกฤษบางคน เขาทำหน้าเหมือนกับไม่รู้เรื่องที่เราพูด การที่เขาไม่รู้เรื่องนี้มีได้ 2 สาเหตุ คือ เขาดัดจริตฟังไม่รู้เรื่องสำเนียงที่เราพูดเพี้ยน(จากเขา)ทั้ง ๆ ที่ก็ฟังรู้เรื่อง หรือ เขาอาจจะไม่รู้เรื่องจริง ๆ ตรงนี้มาถึงประเด็นที่ผมพูดว่า โลกทุกวันนี้ภาษาอังกฤษมิใช่สมบัติส่วนตัวของฝรั่งอังกฤษอเมริกันอีกต่อไปแล้ว แต่เป็นสิ่งของเครื่องใช้ที่คนทั้งโลกใช้สื่อสาร มันจึงมิได้มีแบบเดียวเหมือนกันเด๊ะทั้งโลก
เพราะฉะนั้นเมื่อเรายอมรับร่วมกันว่าเราจะสื่อสารกันด้วยภาษานี้ซึ่งกลายเป็นภาษาของโลกไปแล้ว ทุกคนจึงต้องประนีประนอมเข้าหากัน ด้วยการปรับลิ้นให้พูดสำเนียงกลาง ๆ ที่คนอื่นฟังรู้เรื่องได้ไม่ลำบากนัก และปรับหูเพื่อพยายามฟังให้รู้เรื่องสำเนียงที่คนอื่นพูด แม้เป็นฝรั่งอังกฤษอเมริกันหรือเจ้าของภาษาก็ต้องมีหน้าที่นี้เช่นเดียวกับคนทั่วโลก ผมคิดว่าฝรั่งจำนวนหนึ่งซึ่งไม่มีประสบการณ์ในการฟังภาษาอังกฤษสำเนียงอื่นก็มีปัญหานี้เช่นกันแม้จะเป็นฝรั่ง เพราะฉะนั้นถ้าเขาจะพูดกับคนชาติอื่นเขาก็ต้องฝึกหูของเขาเช่นกัน
เอาละครับ ขอวกเข้าเรื่อง เว็บที่ผมนำมาเสนอในวันนี้ จะช่วยให้ท่านได้ฝึกฟังภาษาอังกฤษสำเนียงต่าง ๆ ซึ่งจะช่วยให้สมรรถภาพในการฟังของท่านสูงขึ้น เพื่อจะได้เข้าใจเมื่อฟังเขาพูด เชิญครับ...
เว็บที่ 1:
http://www.world-english.org/listening.htm
Listening Comprehension Exercises
เว็บที่ 2:
http://www.englishclub.com/listening/radio.htm
เว็บที่ 3: เว็บนี้น่าสนใจมากครับ เพราะมีไฟล์เสียงให้เราฟังสำเนียงพูดภาษาอังกฤษของคนทั่วโลก โดยพูดข้อความเดียวกัน
http://accent.gmu.edu/
http://accent.gmu.edu/browse_language.php
ลองฟังดูเป็นตัวอย่างก็ได้ครับ
สำเนียงคนไทยหลายจังหวัดพูดภาษาอังกฤษ คลิก
สำเนียงคนลาวพูดภาษาอังกฤษ คลิก
สำเนียงคนฮินดี(อินเดีย)พูดภาษาอังกฤษ คลิก
สำเนียงคนจีนพูดภาษาอังกฤษ มีถึง 55 สำเนียง คลิก
สำเนียงคนญี่ปุ่นพูดภาษาอังกฤษ มี 14 สำเนียง คลิก
เว็บที่ 4: เลือกคลิกหัวข้อใต้ Categories ที่คอลัมน์ซ้ายมือ
http://www.eviews.net/english-lessons/
เว็บที่ 5:
http://alt-usage-english.org/audio_archive.shtml
ศึกษาเพิ่มเติม:
http://www.bbc.co.uk/radio/
http://www.englishpage.com/listening/
ท่านผู้อ่านครับ เมื่อหลายวันก่อนผมอ่านบทความในนิตยสาร Newsweek เรื่อง English is here to stay เขาบอกว่า แม้ในอีก 2-3 ทศวรรษหน้าซึ่งจีนจะขึ้นมาเป็นผู้นำเศรษฐกิจของโลก แต่ก็ยากนักที่ภาษาจีนจะสามารถแทนที่ภาษาอังกฤษในฐานะภาษาของโลก ถ้าผมยังมีชีวิตอยู่ถึงเวลานั้น ผมอยากเห็นคนไทยส่วนใหญ่สื่อสารด้วยภาษาอังกฤษกับชาวโลกรู้เรื่อง ผมจึงอยากให้รุ่นน้อง ๆ ซึ่งจะเป็นเรี่ยวแรงของประเทศไทยในอนาคตพัฒนาความสามารถในการสื่อสารด้วยภาษาโลกภาษานี้ตั้งแต่เดี๋ยวนี้
พิพัฒน์
GemTriple@gmail.com
วันพุธที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554
[1747] ศึกษาการเขียนความเรียงภาษาอังกฤษจากแผนฯชาติ
สวัสดีครับ
มีบางท่านถามผมว่า ทำอย่างไรจึงจะเขียน essay ได้ดี?
ตามความเห็นของผม การจะเขียน essay หรือ เรียงความหรือความเรียง ได้ดีต้องอาศัยหลายปัจจัย แต่สิ่งแรกที่ผุดขึ้นมาในใจก็คือ การจะเป็นนักเขียนที่ดีต้องเป็นนักอ่านที่ดี อ่านเยอะๆ อ่านแล้วรู้จักวิเคราะห์และสังเกตสิ่งที่อ่าน ทั้งในด้านเนื้อหาและสไตล์ การเขียนไม่ว่าภาษาอะไรก็คงเป็นเช่นนี้ทั้งนั้น
ผมเคยอ่านแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ซึ่ง สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ รับผิดชอบจัดทำ และก็เกิดความรู้สึกขึ้นมาว่า ลักษณะการเขียนแผนชาติฯ นี้ น่าศึกษาและจดจำไปใช้เขียนเอกสารที่เป็นงานเป็นการ เพราะอ่านแล้วดูดีมีสกุลรุนชาติ ทั้งในด้านเนื้อหาที่กระชับ สอดคล้องกัน ใช้ศัพท์ สำนวน และรูปแบบประโยค ที่อ่านแล้วเข้าใจชัดเจนและน่าเบื่ออย่างน่าชื่นชม เป็นหนังสือที่เขียนด้วยสำนวนไร้อารมณ์และน่านิยมคนเขียนเป็นอย่างยิ่ง
งานที่ผมทำอยู่ต้องเขียนเอกสารภาษาอังกฤษที่เป็นความเรียงทางวิชาการอยู่บ้าง (ไม่มากนัก) และผมก็เห็นว่า สำนวนการเขียนทางวิชาการของแผนชาติฯ ฉบับภาษาอังกฤษนี้น่าศึกษามาก ทั้งด้านการใช้ศัพท์ สำนวน รูปแบบประโยค การแสดงเหตุผลและคำอธิบาย และเชื่อมโยงร้อยเรียงเนื้อหาทีละย่อหน้า ทีละบท ฯลฯ การศึกษาเช่นนี้ต้องใช้เวลาและความอดทนสูงมาก แต่ถ้าใครเขียนได้ ไม่ต้องเป็นภาษาอังกฤษหรอกครับ แค่เป็นภาษาไทยนี่แหละ เขาก็อาจจะเป็นคนเด่นในที่ทำงาน เพราะสามารถทำเรื่องที่คนอื่นทำไม่ค่อยได้ ยิ่งถ้าสามารถเขียนเป็นภาษาอังกฤษได้ยิ่งจะเป็นคนเด่นมาก
ในเว็บของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ มีแผนชาติตั้งแต่ฉบับแรกจนถึงปัจจุบันให้เราศึกษาทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ผมขอชักชวนว่า ถ้าท่านใดต้องการศึกษาการเขียนความเรียงทางวิชาการที่ดี ทั้งเนื้อหาและสำนวน ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ขอให้ศึกษาจากแผนชาติฯ นี่แหละครับ ท่านจะได้อย่างที่ต้องการแน่ ๆ ถ้าไม่เบื่อและหยุดอ่านซะก่อน
ผมขอยกตัวอย่าง Introduction ของ Chapter 3 ของแผนชาติฯ ฉบับที่ 10 ท่านลองเข้าไปอ่านอย่างน้อย 2 เที่ยวนะครับ คลิก
ขอให้ท่านสังเกตสิ่งต่อไปนี้
-การเรียงร้อยเนื้อหาจากผลไปสู่เหตุหรือเหตุไปสู่ผล ประกอบด้วยคำอธิบายขยายความทีละประเด็น ๆ
-การใช้คำนาม (noun) หรือคำกริยา (verb) หรือคำขยาย (adjective หรือ adverb) ท่านจะสังเกตว่าคำเหล่านี้ที่เขาเลือกมาใช้ เป็นคำที่อมความหมาย เป็นคำใหญ่มีพลังและดูหรูหรา บางทีเราอาจจะต้องจดลงสมุดโน้ตเอาไปใช้บ้าง เพราะคิดเองอาจจะคิดคำพวกนี้ไม่ค่อยออก
-สิ่งที่ผมอยากให้ท่านสังเกตเป็นพิเศษก็คือ การผูกประโยคภาษาอังกฤษ ในฐานะที่ผมต้องรับผิดชอบการแปลต้นฉบับภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษอยู่บ้าง ทำให้พบบ่อยว่า บางครั้งคนไทยเราใช้ “ที่”, “ซึ่ง”, “อัน”บ่อยมากในการเชื่อมข้อความ จนทำให้แต่ละประโยคยาวมาก ถ้าต้องแปลเป็นภาษาอังกฤษโดยยึดโครงสร้างประโยคแบบภาษาไทยเป๊ะ ๆ ก็จะได้ประโยคภาษาอังกฤษที่ยาว...วววววว.... มาก ๆ และไม่น่าอ่านเลย
เพราะฉะนั้น ขอให้ท่านสังเกตวิธีการเขียนที่ไม่ทำให้แต่ละประโยคยาวเกินไป แต่เนื้อหาก็ไหลลื่นสอดคล้องสนับสนุนกันได้ เช่น วิธีการหยุด การเชื่อม การเรียงร้อยถ้อยคำและเนื้อหา เป็นต้น
พูดมาถึงตรงนี้ทำให้ต้องบ่นหน่อยว่า บางครั้ง ความยากของงานแปลไม่ได้อยู่ที่การแปล แต่อยู่ที่เนื้อหาที่เขาส่งมาให้เราแปล ซึ่งหย่อนทั้งในการเรียงร้อยถ้อยคำและเหตุผล มันทำให้อึดอัดใจที่ต้องแปลไปอย่างนั้น แต่จะให้เรา “ปรับ” เนื้อหาซะเองก็อึดอัดใจอีกนั่นแหละ เพราะผู้ “แปล” ไม่ควรเป็นผู้ “แปลง” ข้อความ
รู้สึกผมจะคุยยาวเกินไปซะแล้ว ต่อจากนี้ท่านลองเข้าไปศึกษาแผนชาติฯ และลองดูนะครับว่า มันช่วยให้ไอเดียแก่เราในการเขียนความเรียงภาษาอังกฤษให้ดีขึ้นอย่างที่ผมว่าไว้ได้บ้างหรือเปล่า ขอเชิญครับ...
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 1 – 10 (ภาษาไทย)
คลิก
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 1 – 10 (ภาษาอังกฤษ)
เข้าไปแล้ว คลิกที่ลิงค์ด้านบนของหนังสือเพื่อดาวน์โหลด คลิก
แผนฯ 11 ภาษาไทย คลิก
แผนฯ 11 ภาษาอังกฤษ คลิก
พิพัฒน์
GemTriple@gmail.com
มีบางท่านถามผมว่า ทำอย่างไรจึงจะเขียน essay ได้ดี?
ตามความเห็นของผม การจะเขียน essay หรือ เรียงความหรือความเรียง ได้ดีต้องอาศัยหลายปัจจัย แต่สิ่งแรกที่ผุดขึ้นมาในใจก็คือ การจะเป็นนักเขียนที่ดีต้องเป็นนักอ่านที่ดี อ่านเยอะๆ อ่านแล้วรู้จักวิเคราะห์และสังเกตสิ่งที่อ่าน ทั้งในด้านเนื้อหาและสไตล์ การเขียนไม่ว่าภาษาอะไรก็คงเป็นเช่นนี้ทั้งนั้น
ผมเคยอ่านแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ซึ่ง สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ รับผิดชอบจัดทำ และก็เกิดความรู้สึกขึ้นมาว่า ลักษณะการเขียนแผนชาติฯ นี้ น่าศึกษาและจดจำไปใช้เขียนเอกสารที่เป็นงานเป็นการ เพราะอ่านแล้วดูดีมีสกุลรุนชาติ ทั้งในด้านเนื้อหาที่กระชับ สอดคล้องกัน ใช้ศัพท์ สำนวน และรูปแบบประโยค ที่อ่านแล้วเข้าใจชัดเจนและน่าเบื่ออย่างน่าชื่นชม เป็นหนังสือที่เขียนด้วยสำนวนไร้อารมณ์และน่านิยมคนเขียนเป็นอย่างยิ่ง
งานที่ผมทำอยู่ต้องเขียนเอกสารภาษาอังกฤษที่เป็นความเรียงทางวิชาการอยู่บ้าง (ไม่มากนัก) และผมก็เห็นว่า สำนวนการเขียนทางวิชาการของแผนชาติฯ ฉบับภาษาอังกฤษนี้น่าศึกษามาก ทั้งด้านการใช้ศัพท์ สำนวน รูปแบบประโยค การแสดงเหตุผลและคำอธิบาย และเชื่อมโยงร้อยเรียงเนื้อหาทีละย่อหน้า ทีละบท ฯลฯ การศึกษาเช่นนี้ต้องใช้เวลาและความอดทนสูงมาก แต่ถ้าใครเขียนได้ ไม่ต้องเป็นภาษาอังกฤษหรอกครับ แค่เป็นภาษาไทยนี่แหละ เขาก็อาจจะเป็นคนเด่นในที่ทำงาน เพราะสามารถทำเรื่องที่คนอื่นทำไม่ค่อยได้ ยิ่งถ้าสามารถเขียนเป็นภาษาอังกฤษได้ยิ่งจะเป็นคนเด่นมาก
ในเว็บของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ มีแผนชาติตั้งแต่ฉบับแรกจนถึงปัจจุบันให้เราศึกษาทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ผมขอชักชวนว่า ถ้าท่านใดต้องการศึกษาการเขียนความเรียงทางวิชาการที่ดี ทั้งเนื้อหาและสำนวน ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ขอให้ศึกษาจากแผนชาติฯ นี่แหละครับ ท่านจะได้อย่างที่ต้องการแน่ ๆ ถ้าไม่เบื่อและหยุดอ่านซะก่อน
ผมขอยกตัวอย่าง Introduction ของ Chapter 3 ของแผนชาติฯ ฉบับที่ 10 ท่านลองเข้าไปอ่านอย่างน้อย 2 เที่ยวนะครับ คลิก
ขอให้ท่านสังเกตสิ่งต่อไปนี้
-การเรียงร้อยเนื้อหาจากผลไปสู่เหตุหรือเหตุไปสู่ผล ประกอบด้วยคำอธิบายขยายความทีละประเด็น ๆ
-การใช้คำนาม (noun) หรือคำกริยา (verb) หรือคำขยาย (adjective หรือ adverb) ท่านจะสังเกตว่าคำเหล่านี้ที่เขาเลือกมาใช้ เป็นคำที่อมความหมาย เป็นคำใหญ่มีพลังและดูหรูหรา บางทีเราอาจจะต้องจดลงสมุดโน้ตเอาไปใช้บ้าง เพราะคิดเองอาจจะคิดคำพวกนี้ไม่ค่อยออก
-สิ่งที่ผมอยากให้ท่านสังเกตเป็นพิเศษก็คือ การผูกประโยคภาษาอังกฤษ ในฐานะที่ผมต้องรับผิดชอบการแปลต้นฉบับภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษอยู่บ้าง ทำให้พบบ่อยว่า บางครั้งคนไทยเราใช้ “ที่”, “ซึ่ง”, “อัน”บ่อยมากในการเชื่อมข้อความ จนทำให้แต่ละประโยคยาวมาก ถ้าต้องแปลเป็นภาษาอังกฤษโดยยึดโครงสร้างประโยคแบบภาษาไทยเป๊ะ ๆ ก็จะได้ประโยคภาษาอังกฤษที่ยาว...วววววว.... มาก ๆ และไม่น่าอ่านเลย
เพราะฉะนั้น ขอให้ท่านสังเกตวิธีการเขียนที่ไม่ทำให้แต่ละประโยคยาวเกินไป แต่เนื้อหาก็ไหลลื่นสอดคล้องสนับสนุนกันได้ เช่น วิธีการหยุด การเชื่อม การเรียงร้อยถ้อยคำและเนื้อหา เป็นต้น
พูดมาถึงตรงนี้ทำให้ต้องบ่นหน่อยว่า บางครั้ง ความยากของงานแปลไม่ได้อยู่ที่การแปล แต่อยู่ที่เนื้อหาที่เขาส่งมาให้เราแปล ซึ่งหย่อนทั้งในการเรียงร้อยถ้อยคำและเหตุผล มันทำให้อึดอัดใจที่ต้องแปลไปอย่างนั้น แต่จะให้เรา “ปรับ” เนื้อหาซะเองก็อึดอัดใจอีกนั่นแหละ เพราะผู้ “แปล” ไม่ควรเป็นผู้ “แปลง” ข้อความ
รู้สึกผมจะคุยยาวเกินไปซะแล้ว ต่อจากนี้ท่านลองเข้าไปศึกษาแผนชาติฯ และลองดูนะครับว่า มันช่วยให้ไอเดียแก่เราในการเขียนความเรียงภาษาอังกฤษให้ดีขึ้นอย่างที่ผมว่าไว้ได้บ้างหรือเปล่า ขอเชิญครับ...
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 1 – 10 (ภาษาไทย)
คลิก
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 1 – 10 (ภาษาอังกฤษ)
เข้าไปแล้ว คลิกที่ลิงค์ด้านบนของหนังสือเพื่อดาวน์โหลด คลิก
แผนฯ 11 ภาษาไทย คลิก
แผนฯ 11 ภาษาอังกฤษ คลิก
พิพัฒน์
GemTriple@gmail.com
วันอังคารที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554
[1746] รวมเว็บวีดิโอสารคดีภาษาอังกฤษ
สวัสดีครับ
การพัฒนาภาษาอังกฤษด้วยการชมวีดิโอภาษาอังกฤษ เป็นอีก 1วิธีที่น่าสนใจมาก ๆเพราะ
1.ได้ฝึกการฟัง ฝึกทำความเข้าใจเรื่องที่ได้ฟัง โดยมีวีดิโอเป็นตัวช่วย [ให้ตั้งใจสุด ๆ ในการฟัง และเสริมความเข้าใจด้วยสิ่งที่ได้ชม ไม่ใช่ตั้งใจชมอย่างสุด ๆ จนสมาธิที่ควรมีให้แก่การฟังเหลือนิดเดียว]
2.มีเนื้อหาหลากหลายให้เลือกตามความสนใจ โดยทั่วไปจะมีเมนูให้คลิกเลือก หรือมี Search ให้พิมพ์ค้นหาเรื่องที่สนใจ
3.มีบทพูดที่มักชัดและช้ากว่าภาพยนต์ ส่วนศัพท์สำนวนก็มี slang หรือคำเทคนิคน้อย จึงฟังได้ง่ายกว่าและจดจำไปใช้ได้
4.เว็บที่ผมรวบรวมมานี้ เป็นเว็บวีดิโอสารคดีโดยเฉพาะ จึงหาสารคดีได้ง่ายกว่า และแต่ละคลิปมีความยาวมาก ซึ่งต่างจากวีดิโอ youtube.com หรือ video.google.com ซึ่งรวบรวมวีดิโอทุกประเภท จึงหาวีดิโอสารคดีได้ยากกว่า และแต่ละคลิปมักสั้นกว่า
ผมเชื่อว่า เว็บวีดิโอสารคดีภาษาอังกฤษที่รวบรวมไว้ข้างล่างนี้ จะถูกใจท่านมากทีเดียว (เหมือนที่ถูกใจผม)และขอแถมนิดนึงว่า ถ้าความเร็วของเน็ตไม่เป็นใจทำให้การชมติด ๆ ขัด ๆ น่ารำคาญ ท่านสามารถดาวน์โหลดวีดิโอให้ครบถ้วนทั้งคลิปก่อน แล้วค่อยเปิดดู
แนะนำการดาวน์โหลด [1169] 4 วิธีในการดาวน์โหลดวีดิโอจากเว็บ
เชิญลองเข้าไปหาชมวีดิโอสารคดีที่ท่านสนใจจากเว็บข้างล่างนี้ได้เลยครับ
[1] http://www.snagfilms.com/
[2] http://www.pbs.org/wgbh/pages/frontline/view/
[3] http://freedocumentaries.org/
[4] http://topdocumentaryfilms.com/
[5] http://www.moviesfoundonline.com/
[6] http://www.documentary24.com/
[7] http://www.documentary-log.com/
[8] http://www.documentary-film.net/
[9] http://www.bodocus.com/
[10] http://www.documentarywire.com/
[11] http://documentaryheaven.com/
แถม: คลิปวีดิโอที่พบตอนค้นเรื่องนี้ เอามาให้ท่านดูเผื่อท่านจะสนใจ
Egypt: Inside the Revolution
The Life of Buddha
The Hidden Story of Jesus
The Rise of China – Largest Economy in 2020?!
Everest – The Death Zone
Mona Lisa Curse
how-bruce-lee-changed-world
truth-behind-moon-landings
angkor_lessons_for_the_modern_world
The Tobacco Conspiracy
Inside Burma
children_of_the_trains เรื่องเกี่ยวกับเด็กในเมืองไทย
พิพัฒน์
GemTriple@gmail.com
การพัฒนาภาษาอังกฤษด้วยการชมวีดิโอภาษาอังกฤษ เป็นอีก 1วิธีที่น่าสนใจมาก ๆเพราะ
1.ได้ฝึกการฟัง ฝึกทำความเข้าใจเรื่องที่ได้ฟัง โดยมีวีดิโอเป็นตัวช่วย [ให้ตั้งใจสุด ๆ ในการฟัง และเสริมความเข้าใจด้วยสิ่งที่ได้ชม ไม่ใช่ตั้งใจชมอย่างสุด ๆ จนสมาธิที่ควรมีให้แก่การฟังเหลือนิดเดียว]
2.มีเนื้อหาหลากหลายให้เลือกตามความสนใจ โดยทั่วไปจะมีเมนูให้คลิกเลือก หรือมี Search ให้พิมพ์ค้นหาเรื่องที่สนใจ
3.มีบทพูดที่มักชัดและช้ากว่าภาพยนต์ ส่วนศัพท์สำนวนก็มี slang หรือคำเทคนิคน้อย จึงฟังได้ง่ายกว่าและจดจำไปใช้ได้
4.เว็บที่ผมรวบรวมมานี้ เป็นเว็บวีดิโอสารคดีโดยเฉพาะ จึงหาสารคดีได้ง่ายกว่า และแต่ละคลิปมีความยาวมาก ซึ่งต่างจากวีดิโอ youtube.com หรือ video.google.com ซึ่งรวบรวมวีดิโอทุกประเภท จึงหาวีดิโอสารคดีได้ยากกว่า และแต่ละคลิปมักสั้นกว่า
ผมเชื่อว่า เว็บวีดิโอสารคดีภาษาอังกฤษที่รวบรวมไว้ข้างล่างนี้ จะถูกใจท่านมากทีเดียว (เหมือนที่ถูกใจผม)และขอแถมนิดนึงว่า ถ้าความเร็วของเน็ตไม่เป็นใจทำให้การชมติด ๆ ขัด ๆ น่ารำคาญ ท่านสามารถดาวน์โหลดวีดิโอให้ครบถ้วนทั้งคลิปก่อน แล้วค่อยเปิดดู
แนะนำการดาวน์โหลด [1169] 4 วิธีในการดาวน์โหลดวีดิโอจากเว็บ
เชิญลองเข้าไปหาชมวีดิโอสารคดีที่ท่านสนใจจากเว็บข้างล่างนี้ได้เลยครับ
[1] http://www.snagfilms.com/
[2] http://www.pbs.org/wgbh/pages/frontline/view/
[3] http://freedocumentaries.org/
[4] http://topdocumentaryfilms.com/
[5] http://www.moviesfoundonline.com/
[6] http://www.documentary24.com/
[7] http://www.documentary-log.com/
[8] http://www.documentary-film.net/
[9] http://www.bodocus.com/
[10] http://www.documentarywire.com/
[11] http://documentaryheaven.com/
แถม: คลิปวีดิโอที่พบตอนค้นเรื่องนี้ เอามาให้ท่านดูเผื่อท่านจะสนใจ
Egypt: Inside the Revolution
The Life of Buddha
The Hidden Story of Jesus
The Rise of China – Largest Economy in 2020?!
Everest – The Death Zone
Mona Lisa Curse
how-bruce-lee-changed-world
truth-behind-moon-landings
angkor_lessons_for_the_modern_world
The Tobacco Conspiracy
Inside Burma
children_of_the_trains เรื่องเกี่ยวกับเด็กในเมืองไทย
พิพัฒน์
GemTriple@gmail.com
[1745] วิธีพื้นฐานในการฝึกฟังภ.อังกฤษให้รู้เรื่อง
สวัสดีครับ
ผมเคยพูดเรื่องการฝึกฟังภาษาอังกฤษมาหลายครั้งแล้ว วันนี้ขอนำเรื่องที่เคยพูดมาไว้ในที่เดียวกันนะครับ
1.ฝึกฟังทุกวัน โดยตั้งจำนวนนาทีขั้นต่ำที่ต้องฟังทุกวัน และต้องพยายามฟังให้ได้ทุกวันจริง ๆ ด้วย
2.ฟังอย่างใจเย็น แม้ไม่รู้เรื่องเลย หรือรู้เรื่องน้อยมาก เราไม่ได้ฟังเพื่อให้รู้เรื่องเท่านั้น แต่ฟังให้คุ้นกับสำเนียง และการออกเสียงด้วย ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการพูดของเรา เหมือนเด็กที่ฝึกพูดนั่นแหละครับ แกเลียนแบบสำเนียง และการออกเสียงของผู้ใหญ่ โดยยังไม่รู้ว่าผู้ใหญ่พูดอะไร ถ้าเด็กคนใดจะเกี่ยงว่าหนูจะฝึกฟังและฝึกพูดก็ต่อเมื่อหนูฟังรู้เรื่องเท่านั้น ไม่นานนักเด็กคนนั้นก็จะพบชะตากรรม คือ พูดไม่ได้และฟังไม่รู้เรื่องเพราะความดื้อรั้นของแก เราฝึกฟังภาษาอังกฤษก็ต้องไม่เลียนแบบเด็กคนนั้น มิฉะนั้นก็จะพบชะตากรรมในการฟังและพูดภาษาอังกฤษเช่นเดียวกัน
3.ไม่ฝึกฟังเรื่องที่ยากเกินไป หรือเรื่องที่เราเกลียดมาก ๆ เพราะสมองจะรับไม่ไหวและใจก็ไม่ยอมรับ พยายามหาเรื่องที่พอฟัดพอเหวี่ยงฟังไหว หรือมีความชอบฟังเกินครึ่งใจ
4.อ่านก่อนฟัง: บางครั้ง การอ่านให้เข้าใจ ทั้งศัพท์ และเนื้อหาโดยรวมของเรื่องที่ฟัง ก่อนลงมือฟัง ก็มีประโยชน์ไม่น้อย หรือจะอ่านหลังฟังก็ได้
5.ความสงัดและสมาธิ: สำหรับคนที่คล่องแล้ว เขาคงฟังที่ไหนก็ได้ ไม่ต้องมีสมาธิมากก็ฟังรู้เรื่อง แต่สำหรับเราผู้ฝึกฟังยังไม่คล่อง การได้นั่งฝึกฟังในที่เงียบ ๆ และฟังด้วยใจที่เงียบ ๆ คือมีสมาธิ จะช่วยได้มากทีเดียว บางทีการฝึกฟังด้วยสมาธิในที่เงียบ ๆ เพียง 15 นาทีอาจจะได้ผลดีกว่าฝึกฟังนาน 1 ชั่วโมงในที่อึกทึกด้วยใจที่วอกแวก การปลอดเสียงข้างนอก และปลอดความฟุ้งซ่านข้างในจึงเป็นสิ่งจำเป็น
6.หูฟังที่ดีก็มีประโยชน์: นี่เป็นประสบการณ์ส่วนตัวนะครับ คือ หูฟังคุณภาพดีจะช่วยให้เราจับสำเนียงภาษาอังกฤษที่ฟังได้มากกว่าเดิมเยอะทีเดียว ลักษณะของหูฟังที่ดีคือ มีฝาครอบใบหูมิดทั้งซ้ายขวา ไม่ใช่เสียบเข้าไปในรูหู ซึ่งนอกจากกันเสียงรบกวนภายนอกไม่ได้เต็มที่แล้ว เมื่อฟังไปนาน ๆ ยังทำให้หูเหนื่อยเกินไปและไม่อยากทำงาน ท่านอาจจะต้องยอมลงทุนซื้อหูฟังลักษณะนี้ที่คุณภาพดี ๆ ที่ฟังแล้วรู้สึกเสียงนุ่ม ชัด มันอาจจะแพงสักนิด แต่ก็น่าลงทุน เพราะช่วยให้เราได้ฝึกฟังเสียงที่ชัด และฝึกฟังได้นานไม่ทรมานหู
อันที่จริง ก็มีมากกว่านี้อีกหลายข้อ แต่ผมขอพูดแค่นี้แล้วกันครับ เพราะเห็นว่าเป็นเรื่องพื้นฐานที่บางท่านอาจจะไม่ได้นึกถึง
ผมเคยพูดเรื่องการฝึกฟังภาษาอังกฤษมาหลายครั้งแล้ว วันนี้ขอนำเรื่องที่เคยพูดมาไว้ในที่เดียวกันนะครับ
1.ฝึกฟังทุกวัน โดยตั้งจำนวนนาทีขั้นต่ำที่ต้องฟังทุกวัน และต้องพยายามฟังให้ได้ทุกวันจริง ๆ ด้วย
2.ฟังอย่างใจเย็น แม้ไม่รู้เรื่องเลย หรือรู้เรื่องน้อยมาก เราไม่ได้ฟังเพื่อให้รู้เรื่องเท่านั้น แต่ฟังให้คุ้นกับสำเนียง และการออกเสียงด้วย ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการพูดของเรา เหมือนเด็กที่ฝึกพูดนั่นแหละครับ แกเลียนแบบสำเนียง และการออกเสียงของผู้ใหญ่ โดยยังไม่รู้ว่าผู้ใหญ่พูดอะไร ถ้าเด็กคนใดจะเกี่ยงว่าหนูจะฝึกฟังและฝึกพูดก็ต่อเมื่อหนูฟังรู้เรื่องเท่านั้น ไม่นานนักเด็กคนนั้นก็จะพบชะตากรรม คือ พูดไม่ได้และฟังไม่รู้เรื่องเพราะความดื้อรั้นของแก เราฝึกฟังภาษาอังกฤษก็ต้องไม่เลียนแบบเด็กคนนั้น มิฉะนั้นก็จะพบชะตากรรมในการฟังและพูดภาษาอังกฤษเช่นเดียวกัน
3.ไม่ฝึกฟังเรื่องที่ยากเกินไป หรือเรื่องที่เราเกลียดมาก ๆ เพราะสมองจะรับไม่ไหวและใจก็ไม่ยอมรับ พยายามหาเรื่องที่พอฟัดพอเหวี่ยงฟังไหว หรือมีความชอบฟังเกินครึ่งใจ
4.อ่านก่อนฟัง: บางครั้ง การอ่านให้เข้าใจ ทั้งศัพท์ และเนื้อหาโดยรวมของเรื่องที่ฟัง ก่อนลงมือฟัง ก็มีประโยชน์ไม่น้อย หรือจะอ่านหลังฟังก็ได้
5.ความสงัดและสมาธิ: สำหรับคนที่คล่องแล้ว เขาคงฟังที่ไหนก็ได้ ไม่ต้องมีสมาธิมากก็ฟังรู้เรื่อง แต่สำหรับเราผู้ฝึกฟังยังไม่คล่อง การได้นั่งฝึกฟังในที่เงียบ ๆ และฟังด้วยใจที่เงียบ ๆ คือมีสมาธิ จะช่วยได้มากทีเดียว บางทีการฝึกฟังด้วยสมาธิในที่เงียบ ๆ เพียง 15 นาทีอาจจะได้ผลดีกว่าฝึกฟังนาน 1 ชั่วโมงในที่อึกทึกด้วยใจที่วอกแวก การปลอดเสียงข้างนอก และปลอดความฟุ้งซ่านข้างในจึงเป็นสิ่งจำเป็น
6.หูฟังที่ดีก็มีประโยชน์: นี่เป็นประสบการณ์ส่วนตัวนะครับ คือ หูฟังคุณภาพดีจะช่วยให้เราจับสำเนียงภาษาอังกฤษที่ฟังได้มากกว่าเดิมเยอะทีเดียว ลักษณะของหูฟังที่ดีคือ มีฝาครอบใบหูมิดทั้งซ้ายขวา ไม่ใช่เสียบเข้าไปในรูหู ซึ่งนอกจากกันเสียงรบกวนภายนอกไม่ได้เต็มที่แล้ว เมื่อฟังไปนาน ๆ ยังทำให้หูเหนื่อยเกินไปและไม่อยากทำงาน ท่านอาจจะต้องยอมลงทุนซื้อหูฟังลักษณะนี้ที่คุณภาพดี ๆ ที่ฟังแล้วรู้สึกเสียงนุ่ม ชัด มันอาจจะแพงสักนิด แต่ก็น่าลงทุน เพราะช่วยให้เราได้ฝึกฟังเสียงที่ชัด และฝึกฟังได้นานไม่ทรมานหู
อันที่จริง ก็มีมากกว่านี้อีกหลายข้อ แต่ผมขอพูดแค่นี้แล้วกันครับ เพราะเห็นว่าเป็นเรื่องพื้นฐานที่บางท่านอาจจะไม่ได้นึกถึง
พิพัฒน์
GemTriple@gmail.com
วันอาทิตย์ที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554
[1744]ฝากดิกไว้ให้ทำความคุ้นเคยกับศัพท์ สัก 1 เล่ม
สวัสดีครับ
1.มีศัพท์เพียง 13,410 คำ เหมาะที่จะใช้สำหรับ ทบทวน และtest คำศัพท์ของท่าน และพยายามจำให้ได้ทุกคำ เพราะมันจะเป็นประโยชน์มากต่อการ ฟัง-พูด-อ่าน-เขียน ภาษาอังกฤษ
2.เป็นดิกอังกฤษเล่มดียวที่ใช้ full sentence ในการอธิบายความหมายของศัพท์ นอกเหนือจากมีประโยคตัวอย่างให้ศึกษาการใช้คำศัพท์
3.มีหลายคนเห็นว่า มีแต่คนบ้าเท่านั้นที่ท่องดิก หรือถ้าตอนเริ่มท่องยังไม่บ้า ก็จะค่อย ๆ บ้ามากขึ้นเรื่อย ๆ เมื่อพยายามที่จะท่องจำศัพท์ให้ได้ทุกคำ ความเห็นเช่นนี้น่าฟังไม่น้อย เพราะฉะนั้น เพื่อให้จำศัพท์ได้โดยไม่ต้องบ้า เราต้องเปลี่ยนจากการท่องอัดเข้าไปในสมอง เป็นการทำความคุ้นเคยกับศัพท์ โดยการใช้เครื่องมือดังนี้
(1) อ่านคำนิยามคำศัพท์ และศึกษาประโยคตัวอย่าง จาก Cobuild Student’s Dictionary ทุกวัน ๆ ละอย่างน้อย 1 คำ แต่อย่ามากเกินไปจนท่านรู้สึกว่ามันล้นสมองA B C D E F G H I J K L M N O P Q R S T U V W X Y Z
(2) ถ้าต้องการคำแปลภาษาไทย ไปที่นี่
(3) ไปที่นี่ จะมีภาพศัพท์ (สำหรับบางความหมาย) และเมื่อเอาเมาส์วางที่ไอคอนรูปลำโพงก็จะมีเสียงอ่านด้วย
(4) ไปที่เว็บเว็บข่าวภาษาอังกฤษ
(5) ฟังการอ่านประโยคใดประโยคหนึ่ง (ไม่เกิน 100 ตัวอักษร), โดย copy (หรือพิมพ์)ประโยคนั้น ใส่ลงที่เว็บนี้ หลังจากฟังแล้วจะฝึกพูดตามด้วยก็ดีครับ
ด้วยเครื่องมือข้างต้นนี้ คงจะช่วยได้ไม่มากก็น้อยให้ท่านคุ้นเคยกับคำศัพท์พื้นฐาน 13,410 คำ จาก Cobuild Student’s Dictionary คำศัพท์ประมาณหมื่นกว่าคำนี้อาจจะดูว่าเยอะจำไม่ไหว แต่ถ้าเราฝึกโดยการทำความคุ้นเคยด้วยเครื่องมือดังกล่าว ผมเชื่อว่า ไม่นานนักเราจะจำได้ (และใช้เป็น)หมดทุกคำ อาจจะมากกว่านี้ด้วยซ้ำ นี่ผมไม่ได้พูดเล่นนะครับ เรื่องสำคัญขนาดนี้พูดเล่นได้ยังไง
ผมขอแนะนำดิกเล่มนี้ Cobuild Student’s Dictionary
สั้น ๆ อย่างนี้ครับ
1.มีศัพท์เพียง 13,410 คำ เหมาะที่จะใช้สำหรับ ทบทวน และtest คำศัพท์ของท่าน และพยายามจำให้ได้ทุกคำ เพราะมันจะเป็นประโยชน์มากต่อการ ฟัง-พูด-อ่าน-เขียน ภาษาอังกฤษ
2.เป็นดิกอังกฤษเล่มดียวที่ใช้ full sentence ในการอธิบายความหมายของศัพท์ นอกเหนือจากมีประโยคตัวอย่างให้ศึกษาการใช้คำศัพท์
3.มีหลายคนเห็นว่า มีแต่คนบ้าเท่านั้นที่ท่องดิก หรือถ้าตอนเริ่มท่องยังไม่บ้า ก็จะค่อย ๆ บ้ามากขึ้นเรื่อย ๆ เมื่อพยายามที่จะท่องจำศัพท์ให้ได้ทุกคำ ความเห็นเช่นนี้น่าฟังไม่น้อย เพราะฉะนั้น เพื่อให้จำศัพท์ได้โดยไม่ต้องบ้า เราต้องเปลี่ยนจากการท่องอัดเข้าไปในสมอง เป็นการทำความคุ้นเคยกับศัพท์ โดยการใช้เครื่องมือดังนี้
(1) อ่านคำนิยามคำศัพท์ และศึกษาประโยคตัวอย่าง จาก Cobuild Student’s Dictionary ทุกวัน ๆ ละอย่างน้อย 1 คำ แต่อย่ามากเกินไปจนท่านรู้สึกว่ามันล้นสมอง
(2) ถ้าต้องการคำแปลภาษาไทย ไปที่นี่
(3) ไปที่นี่ จะมีภาพศัพท์ (สำหรับบางความหมาย) และเมื่อเอาเมาส์วางที่ไอคอนรูปลำโพงก็จะมีเสียงอ่านด้วย
http://dict.douno.net/
*** ถ้ามีคำว่า Install Microsoft Silverlight แสดงที่ใต้แถบด้านบนของหน้า ให้คลิกเพื่อ Install ก่อน เว็บนี้จึงจะทำงาน***
*** ถ้ามีคำว่า Install Microsoft Silverlight แสดงที่ใต้แถบด้านบนของหน้า ให้คลิกเพื่อ Install ก่อน เว็บนี้จึงจะทำงาน***
-แต่ถ้าที่เว็บ dict.douno.net ไม่มีไอคอนรูปลำโพงให้ฟังเสียง ก็ไปที่นี่แทนครับ
(4) ไปที่เว็บเว็บข่าวภาษาอังกฤษ
-พิมพ์คำศัพท์ลงไปในช่อง Search, Enter,
-คลิกลิงค์หัวข้อข่าว หรือคลิก more ที่ท้ายข่าว,
-กด Contril+F และพิมพ์คำศัพท์ลงไป, คลิก Next
-คำศัพท์นั้นในเนื้อข่าวจะถูกไฮไลต์ให้เราเห็นชัด
-คลิกลิงค์หัวข้อข่าว หรือคลิก more ที่ท้ายข่าว,
-กด Contril+F และพิมพ์คำศัพท์ลงไป, คลิก Next
-คำศัพท์นั้นในเนื้อข่าวจะถูกไฮไลต์ให้เราเห็นชัด
ผมแนะนำ 2 เว็บนี้ก็เพราะว่า ท่านสามารถศึกษาคำศัพท์อังกฤษจากเนื้อข่าวของไทยเรา จะทำให้ง่ายต่อการเข้าใจ และได้เห็นตัวอย่างการใช้ศัพท์คำนี้ในเนื้อหาจริง ๆ
(5) ฟังการอ่านประโยคใดประโยคหนึ่ง (ไม่เกิน 100 ตัวอักษร), โดย copy (หรือพิมพ์)ประโยคนั้น ใส่ลงที่เว็บนี้ หลังจากฟังแล้วจะฝึกพูดตามด้วยก็ดีครับ
http://translate.google.com/
-คลิกให้มีคำว่า English หลังคำว่า From
-คลิกไอคอน Listen ที่ด้านล่างซ้าย
-คลิกให้มีคำว่า English หลังคำว่า From
-คลิกไอคอน Listen ที่ด้านล่างซ้าย
ด้วยเครื่องมือข้างต้นนี้ คงจะช่วยได้ไม่มากก็น้อยให้ท่านคุ้นเคยกับคำศัพท์พื้นฐาน 13,410 คำ จาก Cobuild Student’s Dictionary คำศัพท์ประมาณหมื่นกว่าคำนี้อาจจะดูว่าเยอะจำไม่ไหว แต่ถ้าเราฝึกโดยการทำความคุ้นเคยด้วยเครื่องมือดังกล่าว ผมเชื่อว่า ไม่นานนักเราจะจำได้ (และใช้เป็น)หมดทุกคำ อาจจะมากกว่านี้ด้วยซ้ำ นี่ผมไม่ได้พูดเล่นนะครับ เรื่องสำคัญขนาดนี้พูดเล่นได้ยังไง
พิพัฒน์
GemTriple@gmail.com