วันพฤหัสบดีที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

[1748] ฝึกฟังภาษาอังกฤษหลายสำเนียงทั่วโลก

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านครับ ท่านเคยรู้สึกกระดากอายบ้างไหมครับที่ต้องพูดภาษาอังกฤษด้วยสำเนียงไทยจ๋าซึ่งกลุ่มคนไทยที่อยู่ในที่นั้นมีบางคนที่สำเนียงดีมาก เรียกว่ายังกะฝรั่งพูดเลยแหละ ผมอยากจะบอกว่า ไม่ต้องอายหรอกครับ ถ้าเราพูดให้สำเนียงคล้ายเจ้าของภาษาได้ก็เป็นเรื่องดี เพราะคนต่างชาติที่เราคุยหรือประชุมด้วยเขาจะได้ฟังรู้เรื่องง่าย ๆ เพราะนั่นเป็น accent อินเตอร์ที่เราเดาว่าคนชาติต่าง ๆ คงจะคุ้น

แต่ว่า ผมขอถามคำถามนี้ ใครคือเจ้าของภาษาครับ ถ้าเราบอกว่าคนอังกฤษ คนชาติอเมริกา คนแคนาดา หรือคนออสเตรเลีย หรือคนในประเทศที่เคยเป็นเมืองขึ้นจนรับภาษาอังกฤษมาเป็นภาษาแม่หรือภาษาทางการ และเราก็บอกว่าคนเหล่านี้คือเจ้าของภาษาอังกฤษ คำตอบนี้ถูกต้องหรือไม่

ผมมีความเห็นที่อาจจะต่างจากบางท่านบ้าง คือ คนที่เกิดในประเทศอื่นที่อังกฤษมิใช่เป็นภาษาหลัก การที่เขาฝึกพูดภาษาอังกฤษอย่างจริงจังก็เมื่อลิ้นแข็งแล้ว จะให้ออก accent ได้เหมือนคนไทยที่ใช้ชีวิตในเมืองฝรั่งตั้งแต่เล็กก็คงเป็นไปได้ยาก

หน้าที่ของเขาก็คือพูดภาษาอังกฤษให้คนชาติอื่นฟังรู้เรื่อง แต่คงไม่ต้องถึงกับเอาเป็นเอาตายให้มี accent เป็นฝรั่งหรอกครับ อาจจะตายเปล่าและทำไม่สำเร็จ หรืออาจจะทำสำเร็จแต่ก็เสียเวลาไปเปล่า ๆ... เวลาที่ควรเอาไปให้กับสิ่งมีคุณค่าอย่างอื่นมากกว่าการดัดลิ้นจีบปากอย่างเอาเป็นเอาตายให้พูดเหมือนฝรั่ง ผมเคยได้ยินมาว่ามีเอกอัครราชทูตบางท่านที่เวลาออกงานก็พูดภาษาอังกฤษสำเนียงไทยทั้ง ๆ ที่ท่านสามารถพูดสำเนียงฝรั่งได้ นี่สะท้อนถึงอะไรท่านลองคิดดูซีครับ

คราวนี้มาพูดถึงการฟังบ้าง ผมเห็นว่าหน้าที่ในการฝึกฟังให้รู้เรื่องนี้เป็นหน้าที่ของคนทุกชาติที่พูดภาษาอังกฤษกับคนชาติอื่น ผมเคยคุยกับชาวมาเลเซียคนหนึ่งซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของสำนักเลขาธิการอาเซียน (สำนักงานอยู่ที่อินโดนีเซีย) เขารับผิดชอบในการจัดการประชุมกลุ่มอาเซียนและนานาชาติบ่อยมาก เขาบอกผมว่าเขาฟังภาษาอังกฤษทุกสำเนียงทั่วโลกรู้เรื่อง ซึ่งผมเชื่อว่าเขาไม่ได้โกหก

ในทำนองตรงกันข้ามตัวผมเองและเพื่อนบางคนเคยเจอว่า เมื่อเราพูดภาษาอังกฤษกับ native speaker ชาวอเมริกันหรืออังกฤษบางคน เขาทำหน้าเหมือนกับไม่รู้เรื่องที่เราพูด การที่เขาไม่รู้เรื่องนี้มีได้ 2 สาเหตุ คือ เขาดัดจริตฟังไม่รู้เรื่องสำเนียงที่เราพูดเพี้ยน(จากเขา)ทั้ง ๆ ที่ก็ฟังรู้เรื่อง หรือ เขาอาจจะไม่รู้เรื่องจริง ๆ ตรงนี้มาถึงประเด็นที่ผมพูดว่า โลกทุกวันนี้ภาษาอังกฤษมิใช่สมบัติส่วนตัวของฝรั่งอังกฤษอเมริกันอีกต่อไปแล้ว แต่เป็นสิ่งของเครื่องใช้ที่คนทั้งโลกใช้สื่อสาร มันจึงมิได้มีแบบเดียวเหมือนกันเด๊ะทั้งโลก

เพราะฉะนั้นเมื่อเรายอมรับร่วมกันว่าเราจะสื่อสารกันด้วยภาษานี้ซึ่งกลายเป็นภาษาของโลกไปแล้ว ทุกคนจึงต้องประนีประนอมเข้าหากัน ด้วยการปรับลิ้นให้พูดสำเนียงกลาง ๆ ที่คนอื่นฟังรู้เรื่องได้ไม่ลำบากนัก และปรับหูเพื่อพยายามฟังให้รู้เรื่องสำเนียงที่คนอื่นพูด แม้เป็นฝรั่งอังกฤษอเมริกันหรือเจ้าของภาษาก็ต้องมีหน้าที่นี้เช่นเดียวกับคนทั่วโลก ผมคิดว่าฝรั่งจำนวนหนึ่งซึ่งไม่มีประสบการณ์ในการฟังภาษาอังกฤษสำเนียงอื่นก็มีปัญหานี้เช่นกันแม้จะเป็นฝรั่ง เพราะฉะนั้นถ้าเขาจะพูดกับคนชาติอื่นเขาก็ต้องฝึกหูของเขาเช่นกัน

เอาละครับ ขอวกเข้าเรื่อง เว็บที่ผมนำมาเสนอในวันนี้ จะช่วยให้ท่านได้ฝึกฟังภาษาอังกฤษสำเนียงต่าง ๆ ซึ่งจะช่วยให้สมรรถภาพในการฟังของท่านสูงขึ้น เพื่อจะได้เข้าใจเมื่อฟังเขาพูด เชิญครับ...

เว็บที่ 1:
http://www.world-english.org/listening.htm
Listening Comprehension Exercises

เว็บที่ 2:
http://www.englishclub.com/listening/radio.htm

เว็บที่ 3: เว็บนี้น่าสนใจมากครับ เพราะมีไฟล์เสียงให้เราฟังสำเนียงพูดภาษาอังกฤษของคนทั่วโลก โดยพูดข้อความเดียวกัน
http://accent.gmu.edu/
http://accent.gmu.edu/browse_language.php

ลองฟังดูเป็นตัวอย่างก็ได้ครับ
สำเนียงคนไทยหลายจังหวัดพูดภาษาอังกฤษ คลิก
สำเนียงคนลาวพูดภาษาอังกฤษ คลิก
สำเนียงคนฮินดี(อินเดีย)พูดภาษาอังกฤษ คลิก
สำเนียงคนจีนพูดภาษาอังกฤษ มีถึง 55 สำเนียง คลิก
สำเนียงคนญี่ปุ่นพูดภาษาอังกฤษ มี 14 สำเนียง คลิก

เว็บที่ 4: เลือกคลิกหัวข้อใต้ Categories ที่คอลัมน์ซ้ายมือ
http://www.eviews.net/english-lessons/

เว็บที่ 5:
http://alt-usage-english.org/audio_archive.shtml

ศึกษาเพิ่มเติม:
http://www.bbc.co.uk/radio/
http://www.englishpage.com/listening/

ท่านผู้อ่านครับ เมื่อหลายวันก่อนผมอ่านบทความในนิตยสาร Newsweek เรื่อง English is here to stay เขาบอกว่า แม้ในอีก 2-3 ทศวรรษหน้าซึ่งจีนจะขึ้นมาเป็นผู้นำเศรษฐกิจของโลก แต่ก็ยากนักที่ภาษาจีนจะสามารถแทนที่ภาษาอังกฤษในฐานะภาษาของโลก ถ้าผมยังมีชีวิตอยู่ถึงเวลานั้น ผมอยากเห็นคนไทยส่วนใหญ่สื่อสารด้วยภาษาอังกฤษกับชาวโลกรู้เรื่อง ผมจึงอยากให้รุ่นน้อง ๆ ซึ่งจะเป็นเรี่ยวแรงของประเทศไทยในอนาคตพัฒนาความสามารถในการสื่อสารด้วยภาษาโลกภาษานี้ตั้งแต่เดี๋ยวนี้

พิพัฒน์
GemTriple@gmail.com

6 ความคิดเห็น:

  1. I've been studying in Southern part of the US. for almost two years. Oftentimes, I speak to native people they can't catch what I say,not because of the wrong pronunciations I make, but the unfamiliar prosody and intonation. Familiarity does matter when verbally communicating. I dare to say, as a Thai teacher of English, grammatically, that most Thai people will speak better than some English native speakers even they with their own accents, but with appropriate speed,prosody and decent pronunciation. Most importantly, the culture and the language is intertwined, it cannot be separated.

    ตอบลบ
  2. Khun Nprompilai krub,
    I totally agree with you that the culture and the language is intertwined, it cannot be separated. Thank you very much.

    ตอบลบ
  3. With utmost respect for your dedication, I should thank you hundred times. I've been frequenting your blog like an addict almost every day- 3 years so far. Let me brief how I was impressed by your great work. I got to know you when you were on NBT. Then I visited your website and have gained countless knowledge on English and worldviews. I also used your blog as a great resource for my TOEFL/GRE tests that I could win a scholarship for a graduate study in the US. Still I'm your blog follower. Further, your blog is the great great learning resource when I'm doing paperwork for my study. Most importantly, as a religious person, you had introduced to me the website that later changed and how I practice Buddhism. Therefore, I better understand the greatest religion in the universe and this is much more valuable to me than the English language itself. The website is " wwww.fungdham.net" I practiced meditation since I was 14 and encountered many mind-and-soul phenomena that were unexplainable by myself for many years. Now I'm so thankful for the chance to know your blog.
    Thank you again.
    Nipon

    ตอบลบ
  4. ไม่ระบุชื่อ1 มีนาคม 2554 เวลา 08:53

    ขอบคุณค่ะ

    ตอบลบ
  5. Khun Nipon krub,
    I am glad to know that you get something from this blog. Actually I am just a “server” of websites. Please thank and bless them because they are the real givers.
    I am happy to be able to do something for my life, as a blogger.

    ตอบลบ
  6. ไม่ระบุชื่อ20 กันยายน 2554 เวลา 00:48

    ขอบคุณมากค่ะพี่ หนูทำรายงานได้เพราะพี่เลยนะ อยากจะขอบคุณมาก มี ตัว โฟเนติกให้ด้วย สุดยอดอะ ยังไงก็ขอบคุณมากค่ะ สู้ต่อไปในการทำเว็บนะค่ะ

    ตอบลบ