วันเสาร์ที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2555

[2184] เรียนภาษาอังกฤษกับพระเครื่อง

สวัสดีครับ

-1-


ผมเข้าใจว่าเมืองไทยมีสัดส่วนของประชากรที่นับถือศาสนาพุทธมากที่สุดในโลก และก็มีจำนวนคนที่ห้อยพระมากที่สุดในโลกเช่นกัน  ผมเคยไปประเทศเพื่อนบ้าน คือ พม่า กัมพูชา ลาว และเวียดนาม ก็ไม่เห็นว่าเขาห้อยพระกันเกร่อเหมือนคนไทย 

-2-

ครั้งหนึ่งผมถามชาวกัมพูชาคนหนึ่งซึ่งมาประชุมที่เมืองไทยว่า เขาห้อยพระหรือเปล่า เขาบอกว่าเปล่า และเขาถามย้อนกลับว่า เวลาที่ผมเข้าส้วมผมอมพระไว้ในปากหรือเปล่า ผมบอกว่าเปล่า และจากการพูดคุยก็พอสรุปได้ว่า เขาเห็นว่าส้วมเป็นสถานที่สกปรก พกองค์พระเข้าไปจึงไม่สมควรเพราะพระเป็นของศักดิ์สิทธิ์   ผมไม่ได้ต่อความยาวสาวความยืดว่า ถึงแม้พระท่านเองตอนที่ท่านยังไม่ได้มรณภาพท่านก็เข้าส้วม เราห้อยท่านไว้ที่คอเข้าส้วมด้วยกันก็ไม่น่าจะเสียหายอะไร ผมได้แต่คิดไม่กล้าพูดครับ


-3-


บางคนบอกว่า ทุกวันนี้พระแครื่องกลายเป็นพุทธพาณิชย์ไปแล้ว ผมก็ถามตัวเองเล่น ๆ ว่า demand กับ  supply อะไรมันเกิดก่อน คือคนต้องการห้อยพระ วัดก็เลยทำพระ(ขาย)ให้คนห้อย หรือว่า วัดทำพระและโฆษณา ทำให้คนอยากและซื้อมาห้อย หรือว่ามันมีทั้ง 2 อย่างนั่นแหละ แต่ว่าอย่างไหนมันมากกว่ากันล่ะครับ?



-4-


ผมเดาว่าคนไทยนิยมห้อยพระมาเป็นร้อย ๆ ปีแล้ว อย่างเช่น พระเครื่องยอดนิยม  พระเครื่องชุดเบญจภาคี ก็มีอายุเก่าแก่อย่างยิ่ง  และผมเชื่อว่าตอนที่สร้าง ผู้สร้างไม่ว่าจะเป็นพระหรือโยม คงไม่ได้กะสร้างขาย แต่คงจะสร้างขึ้นมาเพื่อให้คนห้อยพระที่คอระลึกถึงพระรัตนตรัย ส่วนความขลัง ไม่ว่าจะเป็นด้านแคล้วคลาด เมตตามหานิยม หรือ ลาภสักการะ น่าจะเป็นของแถม เข้าทำนอง two-in-one คือห้อยพระทีเดียว ได้ทั้งของแท้และของแถม

-5-


ครั้นตกมาถึงยุคนี้ หลายคนไม่ว่าจะเป็นคนห้อยหรือคนทำ เน้นของแถมมากกว่าของแท้ หรือเอาของแถมอย่างเดียว



เพื่อนของผมบางคน โดยเฉพาะผู้หญิงมักพูดว่า เขานับถือพระด้วยใจ ห้อยพระองค์ไหนก็เหมือนกัน พูดอย่างนี้ถูกต้อง 100% เลยครับ แต่มีคนไทยจำนวนไม่น้อยที่ชอบพระเครื่องในแง่อื่น และชอบเอามาก ๆ ถึงขั้นหลงไหล เป็นความชอบและความเชื่อ ที่คนซึ่งไม่เชื่อและไม่ชอบอาจไม่เข้าใจ  เช่น ในแง่พุทธศิลป์(งาม) หรือแง่พุทธปาฏิหาริย์ (ขลัง) 

สำหรับวันนี้ แง่ขลังผมขอไม่พูดเพราะไม่รู้ ผมขอพูดในแง่งามสักนิดแล้วกันครับ 

-6-

เพื่อนของผมอีกนั่นแหละที่ถามว่า พระเครื่องอย่างพระสมเด็จ ดูตรงไหนที่เรียกว่า “งาม”  ผมเองไม่ใช่เซียนพระ  แต่อาศัยที่กินข้าวกับเซียนพระบ่อย ๆ ก็ชักรู้สึกว่าพระสมเด็จบางองค์งามจริง ๆ ถ้าท่านถามว่างามยังไง  ผมก็ตอบไม่ได้หรอกครับ  เพราะอย่างที่บอกแล้ว ผมยังไม่ใช่เซียนพระ







แต่เรื่องที่จะคุยจริง ๆ วันนี้ คือการแนะนำเว็บไซต์พระเครื่องที่เป็นภาษาอังกฤษ ผมเชื่อว่า คงจะมีบ้างคนที่ชอบภาษาอังกฤษอย่างผม แต่ก็กะลิ้มกะเหลี่ยชอบพระเครื่องกะเขาเหมือนกัน ถ้าเป็นอย่างนั้นก็จะได้ถือโอกาสฝึกภาษาอังกฤษจากเว็บพระเครื่องไทยที่เป็นเว็บภาษาอังกฤษ เข้าไปในเว็บครั้งเดียวได้สองอย่างเลย เป็น two-in-one คือ ได้ทั้งความรู้เรื่องพระเครื่อง และได้ฝึกภาษาอังกฤษด้วย

-7-
-7-



ไปที่เว็บนี้ครับ: http://www.thai-amulets.com/gallery.php

1.คลิกเลือกที่ช่อง Select Monks หรือ Select Temple หรือ Select Amulet Type

2.คลิกเลือกภาพพระองค์ใดองค์หนึ่งที่เว็บโชว์

3.ท่านจะพบว่า แต่ละองค์มีคำอธิบายไว้ เป็นภาษาอังกฤษ  สั้นบ้าง ยาวบ้าง

หรือจะไปที่ลิงค์นี้ก็ได้ครับ



เมื่อตะกี้ผมพูดถึงเซียนพระที่เป็นเพื่อน เราเรียกเขาว่า “เซียนสาโรจน์”  เขามี

พระสมเด็จวัดระฆังสะสมไว้เยอะ ผมขอให้เขาถ่ายรูปบางองค์ให้ผมนำลงบล็อกวันนี้  เพื่อแบ่งปันแฟนพระเครื่องด้วยกันได้ดูให้ชื่นใจ ส่วนถ้าใครดูรูปแล้วอยากดูของจริง เชิญติดต่อ “เซียนสาโรจน์” ด้วยตัวท่านเองแล้วกันครับ ที่นี่: sar_chang@hotmail.com



-8-

สำหรับท่านที่คิดว่า วันนี้ผมได้ค่าเปอร์เซนต์จากเพื่อนเพราะนำพระเครื่องของเขามาโฆษณาในบล็อกของผม  ผมปฏิเสธครับ  สาเหตุที่นำมาลงไว้ให้ท่านชมก็เพื่อสีสันของเรื่องที่เขียนเท่านั้นแหละครับ
 
-
-9-
-10-
-11-
-12-
-13-
-14-
-15-

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น