วันนี้ผมมีธุระไปขึ้นรถไฟฟ้า BTS ที่อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ขณะที่กำลังเดินไปที่ช่องตั๋ว เจอน้องผู้หญิง 2 คน ๆ หนึ่งสวมเสื้อยืด UNHCR ส่วนอีกคนก็สวมเสื้อยืด UNICEF เขาเอากระดาษแผ่นเล็ก ๆ เกี่ยวกับองค์กรของเขา ให้ผมดูแล้วถามว่าเคยเห็นไหม ผมตอบว่าไม่เคยเห็น เขาบอกว่าถ้ามีคนส่งไปให้ขอความกรุณาให้เปิดอ่านด้วย ผมรับปาก ก่อนจากผมถามเว็บไซต์ขององค์กรของเขามีเป็นภาษาไทยไหม เขาตอบว่าไม่มี
เมื่อกลับมาบ้าน ผมลองหาดูในเน็ต ก็พบว่าทั้ง UNHCR และ UNICEF มีเว็บไซต์ประจำประเทศไทย ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
ถ้าท่านผู้อ่านไม่สนใจเรื่องราวของ UNHCR และ UNICEF ก็ไม่เป็นไร แต่ที่ผมนำเว็บไซต์ของเขามาแนะนำก็เพราะว่า การที่เขาเป็นเว็บ 2 ภาษา ก็เป็นอีก 1 ช่องทางที่เราจะศึกษาการอ่านภาษาอังกฤษ โดยนำต้นฉบับภาษาอังกฤษและภาษาไทยมาเปรียบเทียบกัน ส่วนภาษาที่เขาใช้ก็เป็นภาษาที่เราสามารถจดจำไปใช้ได้ ผมเชื่อว่า เขาไม่ทำให้องค์กรของเขาเสียชื่อ เพราะภาษาของเว็บไซต์ที่ไม่ได้มาตรฐานหรอกครับ
สำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยสหประชาชาติ (ยูเอ็นเอชซีอาร์)
ภาษาไทย
หน้าเว็บ:http://unhcr.or.th/th
จดหมายข่าว: http://unhcr.or.th/th/newsletter
English
Office of the United Nations High Commissioner for Refugees (UNHCR)
Homepage:http://unhcr.or.th/
Newsletter: http://unhcr.or.th/newsletter
ตัวอย่าง: ผู้ลี้ภัยในประเทศไทย
Refugees in Thailand have been fleeing conflict and crossing Myanmar's eastern border jungles for the safety of Thailand for nearly 25 years. Inside Thailand, they find refuge in nine government-run camps along the border where Myanmar refugees and asylum-seekers receive basic food, shelter, medical care and schooling. Today there are nearly 90,000 registered refugees and some 16,700 asylum seekers in Thailand (as of December 2010). Most refugees are ethnic minorities from Myanmar, mainly Karen and Karenni, who live in nine camps in four provinces along the Thai-Myanmar border. The Thai government runs all camps, with most assistance provided by non-governmental organisations (NGOs), while UNHCR focuses on protection activities and programmes to ensure that refugees live in safety and relative security within the camps. | ผู้ลี้ภัยจากปัญหาความขัดแย้งภายในประเทศพม่าอพยพข้ามฝั่งชายแดนตะวันออก ของประเทศมายั่งฝั่งไทยต่อเนื่องมาเป็นระยะเวลายาวนานถึงเกือบ 30 ปี ปัจจุบันในประเทศไทยมีพื้นที่พักพิงชั่วคราวบริเวณชายแดนจำนวน 9 แห่งที่ดำเนินการโดยรัฐบาล ซึ่งผู้ลี้ภัยและผู้ขอลี้ภัยชาวพม่าได้รับความช่วยเหลือขั้นพื้นฐานไม่ว่าจะ เป็นด้านอาหาร ที่พักอาศัย ยารักษาโรค และการให้การศึกษาจากองค์กรพัฒนาเอกชน ในปัจจุบันประเทศไทยมีผู้ลี้ ภัยที่ลงทะเบียนแล้วเกือบ 90,000 คนและ ผู้ขอลี้ภัยอีก 16,700 คน ซึ่งส่วนมากเป็น ชนกลุ่มน้อยจากประเทศพม่า ส่วนใหญ่เป็นชาวกะเหรี่ยงและกะเหรี่ยงแดง (กะยาห์) ผู้ลี้ภัยเหล่านี้อาศัย อยู่ในค่ายผู้ลี้ภัย 9 แห่งใน 4 จังหวัดของประเทศไทยบริเวณชายแดนไทย-พม่า ค่ายเหล่านี้ได้รับการดูแลจาก รัฐบาลไทยและได้รับความช่วยเหลือส่วนใหญ่จากองค์กรพัฒนาเอกชน (เอ็นจีโอ) ในขณะที่ยูเอ็นเอชซีอาร์ก็ทำงาน ในค่ายเหล่านี้โดยเน้นหนักไปที่กิจกรรมการคุ้มครองเพื่อทำให้ผู้ลี้ภัยได้ อยู่อาศัยอย่างปลอดภัยในค่าย |
องค์การทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ (ยูนิเซฟ)
ภาษาไทย
หน้าเว็บ:http://www.unicef.org/thailand/tha/
เอกสารเผยแพร่:http://www.unicef.org/thailand/tha/resources.html
English
United Nations Children's Fund (UNICEF)
Homepage:http://www.unicef.org/thailand/
Publications:http://www.unicef.org/thailand/resources_356.html
ตัวอย่าง: นมแม่ปลอดภัยที่สุดสำหรับทารกในภาวะน้ำท่วม
อยุธยา 2 พฤศจิกายน 2554 – สุจิรา เอี่ยมสำราญ คลอดลูกสองวันหลังจากอพยพจากบ้านมาอยู่ที่ศูนย์พักพิง บ้านของเธอเป็นหนึ่งในพื้นที่ที่ถูกน้ำท่วมหนักที่สุดพื้นที่หนึ่งในอยุธยา แต่ถึงแม้ว่าสุจิราจะเครียดจากการที่ต้องอพยพโยกย้ายบ้านและกังวลเกี่ยวกับ ความเป็นอยู่ของลูก เธอก็ยังคงพยายามให้นมลูกต่อไปเพื่อให้ลูกมีสุขภาพแข็งแรงโดยเฉพาะในช่วง เวลาที่ยากลำบากเช่นนี้ “ตอนนี้ลำบากค่ะ แต่ก็ไม่อยากให้ลูกป่วย” สุจิรา วัย 26 ปีบอก เธอต้องย้ายออกจากบ้านกะทันหันกลางดึกเมื่อน้ำไหลบ่าท่วมบ้านฉับพลัน “แต่ตอนนี้ลูกยังแข็งแรงดีค่ะ” สุจิราและครอบครัวมาพักอยู่ในตึกที่ยังก่อสร้างไม่เสร็จแห่งหนึ่งในตัว เมืองอยุธยามาเป็นเวลากว่าสองอาทิตย์แล้ว ที่นี่ได้กลายเป็นที่พักพิงชั่วคราวสำหรับผู้คนนับร้อยที่ได้รับผลกระทบจาก น้ำท่วมในครั้งนี้ นอกเหนือจากสุจิรายังมีอีกหลายครอบครัวที่มีลูกเล็ก ซึ่งมาจับจองพื้นที่ใกล้ๆ กันในตึก ทุกคนในชั้นนี้ล้วนแต่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ “แม้จะไม่ค่อยสะดวก แต่ก็ยังให้นมลูกต่อเพราะอยากให้เขาแข็งแรงค่ะ” ฐิติพร พาชื่น อายุ 32 ปีกล่าวระหว่างให้นมลูกอายุห้าเดือน “การให้นมแม่ปลอดภัย ง่ายและประหยัดค่ะ” ขณะนี้ยูนิเซฟและองค์การอนามัยโลกรณรงค์ให้มารดาที่ได้รับผลกระทบจากน้ำ ท่วมให้นมลูกต่อไป โดยได้อ้างถึงผลการศึกษาวิจัยทางวิทยาศาสตร์หลายฉบับซึ่งระบุว่านมแม่ช่วย สร้างภูมิคุ้มกันโรคให้กับทารกและเด็กเล็ก ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นในการช่วยปกป้องเด็กจากความเจ็บป่วยในภาวะฉุกเฉินเช่นน้ำ ท่วม “การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เป็นสิ่งที่ดีที่สุดที่แม่จะพึงทำได้ในการปกป้อง ลูกจากความเจ็บป่วย” นภัทร พิศาลบุตร เจ้าหน้าที่สารนิเทศเพื่อการพัฒนาของยูนิเซฟกล่าว “แม่ที่ต้องอพยพจากบ้านเรือนเพราะน้ำท่วมอาจไม่สามารถเข้าถึงน้ำดื่มใช้ที่ สะอาด ยังไม่ต้องพูดถึงน้ำสำหรับการล้างมือหรืออุปกรณ์ประกอบอาหารด้วยซ้ำ ด้วยเหตุนี้เราถึงพยายามแนะนำให้แม่เลี้ยงลูกด้วยนมตนเองต่อไปแทนที่จะหันไป พึ่งนมผง” นภัทรกล่าวว่าแม่ที่ใช้นมผงเลี้ยงลูกอาจสร้างความเสี่ยงให้กับลูกโดยไม่ ได้ตั้งใจจากน้ำและขวดนมที่ปนเปื้อนสิ่งปฏิกูล ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดโรคท้องร่วงเป็นอันตรายต่อชีวิตทารกได้ อย่างไรก็ตาม มีแม่บางคนที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์น้ำท่วมไม่มั่นใจว่าจะสามารถให้นม ลูกต่อไปได้ บางคนเชื่อว่าความเครียดจะทำให้น้ำนมแห้ง ในขณะที่บางคนเชื่อว่าไม่สามารถให้นมลูกได้ถ้าตนเองไม่ได้รับอาหารเพียงพอ นอกจากนี้แม่ส่วนใหญ่ยังเชื่อว่าเมื่อหยุดให้นมลูกแล้วจะไม่สามารถกลับมาให้ นมใหม่ได้ ซึ่งความเชื่อเหล่านี้ล้วนแต่ไม่เป็นความจริงทั้งสิ้น ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพกล่าวว่าความเครียดอาจจะมีผลกระทบชั่วคราวต่อน้ำ นมแต่จะไม่มีผลต่อการผลิตน้ำนมตราบใดที่แม่และทารกยังอยู่ด้วยกันและได้รับ การสนับสนุนอย่างเหมาะสมให้เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ในขณะเดียวกันการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่จะช่วยลดความเครียดในแม่ด้วยซ้ำ และสร้างสายใยความผูกพันระหว่างแม่และลูก สุขจริง วงศ์เดชกุล นักโภชนาการอาวุโสจากกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุขกล่าวว่าได้มีการส่งคณะทำงานด้านสาธารณสุขไปตามศูนย์พักพิง เพื่อให้คำปรึกษาและสนับสนุนให้แม่สามารถให้นมลูกอย่างต่อเนื่องต่อไป “เราพยายามเข้าถึงแม่จำนวนมากที่สุดเท่าที่จะทำได้” สุขจริงกล่าว “เราสนับสนุนคนที่ให้นมลูกอยู่แล้วให้ให้ต่อไปและช่วยคนที่หยุดให้นมกลับมา ให้ใหม่” อย่างไรก็ดีมีแม่หลายคนที่หยุดให้นมลูกในภาวะฉุกเฉินหลังจากที่ได้รับ บริจาคนมผง พบว่าในบางประเทศมีการบริจาคนมผงจำนวนมหาศาลให้กับแม่ที่ให้นมลูกในช่วงภาวะ ฉุกเฉินโดยไม่มีการกำกับควบคุมอย่างเหมาะสม ส่งผลให้เกิดความเจ็บป่วยและการเสียชีวิตในทารกจำนวนมาก ในประเทศไทยซึ่งมีอัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ต่ำที่สุดในเอเชียและต่ำที่ สุดประเทศหนึ่งในโลก มีทารกเพียงร้อยละ 5.4 เท่านั้นที่ได้รับการเลี้ยงด้วยนมแม่เพียงอย่างเดียวในช่วงหกเดือนแรกของ ชีวิต นภัทร ซึ่งได้ไปเยี่ยมพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบหลายแห่งในจังหวัดชัยนาท ลพบุรีและสิงห์บุรีเพื่อประเมินสถานการณ์ของเด็กและครอบครัวที่ได้รับผล กระทบจากน้ำท่วมกล่าวว่า แม่ส่วนใหญ่ยังคงปฏิบัติเหมือนเดิม คือถ้าให้นมแม่ก็ยังคงให้นมแม่ต่อไป หรือให้นมผงก็ยังให้นมผงต่อไป อย่างไรก็ตาม เนื่องจากแม่ส่วนใหญ่ในประเทศไทยเลี้ยงลูกด้วยนมผง จึงไม่น่าแปลกใจที่นมผงเป็นสิ่งที่แม่ต้องการมากที่สุด “แต่ไม่ใช่แม่ทุกคนที่ใช้นมผงเลี้ยงลูกจะรู้ถึงความเสี่ยงของการใช้นมผง ในช่วงน้ำท่วม” นภัทรกล่าว “ดังนั้นสถานพยาบาลและเจ้าหน้าที่สาธารณสุขควรให้ข้อมูลแก่แม่ และช่วยควบคุมการแจกนมผงเพื่อให้แน่ใจว่านมผงจะไม่ถูกส่งไปให้แม่ที่เลี้ยง ลูกด้วยนมแม่อยู่ แต่จะให้เฉพาะแม่ที่มีความจำเป็นต้องให้นมผงเท่านั้น” เจ้าหน้าที่อนามัยได้เตือนแม่ที่ใช้นมผงเลี้ยงลูกให้ใช้น้ำต้มสุกหรือน้ำ ขวดในการผสมนมผง นอกจากนี้ยังเตือนให้ใช้ถ้วยที่สามารถล้างให้สะอาดได้ง่ายในการให้นมลูก เพราะขวดนมและจุกนมสามารถถูกปนเปื้อนได้โดยง่ายและอาจทำให้ท้องร่วงได้ | AYUTTHAYA, Thailand, November 2011 – Sujira Imsamran gave birth just two days after being evacuated from her house in Ayutthaya Province, one of the areas hardest-hit by flooding. Despite the stress of being displaced and worrying about her baby’s well-being, Sujira is trying her best to keep breastfeeding in order to keep him healthy throughout this difficult time. “It’s a hard situation, and I don’t want my son to get sick,” said Sujira, 26, who was evacuated in the middle of the night as fast-flowing floodwaters inundated her home. “But he is doing just fine so far.” For more than two weeks, Sujira and her family have been living in the shell of an unfinished building in Ayutthaya town that is now serving as a temporary shelter for hundreds of people affected by flooding. Living alongside her are a few other families who have settled in here with their small babies and young children, all of whom have been breastfed by their mothers. “Although it's not so comfortable here, I am continuing to breastfeed my son because I want him to be strong,” said Thitiporn Phachen, 32, while breastfeeding her five-month old. “It's also safe, easy and cheap.” UNICEF, the World Health Organization (WHO) and the Thai Breastfeeding Centre are urging mothers affected by flooding to continue breastfeeding. The organizations note that numerous scientific studies have proven that breast milk helps to build up the immune system in babies and young children, which can help them ward off illnesses in times of emergency such as the current flood crisis. “Breastfeeding is one of the best things that mothers can do to protect their babies from illnesses,” said Napat Phisanbut, UNICEF Thailand’s Communication for Development Officer. “Mothers displaced by these floods can lack access to enough safe water to drink, let alone enough water for hand washing or cleaning food utensils. That is why we recommend mothers continue to breastfeed rather than turning to infant formula to feed their babies.” Napat said mothers who use infant formula can inadvertently expose their babies to contaminated water and feeding bottles, which can result in severe diarrhoea that can be life threatening. Unlike Sujira and Thitiporn, some mothers affected by the flooding are unsure if they can continue breastfeeding. Some mothers believe stress makes their milk dry up, while others believe they cannot breastfeed if they are not getting enough food themselves. Most mothers believe that once they stop breastfeeding their children, they cannot start again. All of these beliefs are wrong. Health experts say that although stress can temporarily interfere with the flow of breast milk, it is not likely to inhibit breast milk production, provided mothers and infants remain together and are supported to continue breastfeeding. At the same time, breastfeeding actually helps reduce stress in mothers and also creates a loving bond between them and their babies. Sukjing Wongdechakul, Senior Nutritionist of the Ministry of Public Health’s Department of Health said several teams of health workers have been dispatched to different temporary shelters to provide counseling and practical support to mothers in order to help them continue breastfeeding. “We try to reach as many mothers as possible,” said Sukjing. “We encourage those who are already breastfeeding their children to continue to do so and we are helping mothers who had stopped to restart”. Many mothers, however, stop breastfeeding during emergencies after receiving donated infant formula. In some countries, massive amounts of infant formula are donated to breastfeeding mothers during emergencies without appropriate controls, resulting in unnecessary illnesses and death among many babies. In Thailand which has the lowest breastfeeding rate in Asia and one of the lowest in the world, only 5.4 per cent of babies are exclusively breastfed during the first six months of life. Napat, who recently visited several flood-ravaged areas in Chainat, Lopburi and Singburi provinces to assess the situation of children and families affected by floods, said most mothers are maintaining the same infant feeding practice as before the floods. Unsurprisingly, infant formula is among the items most requested by mothers affected by the flooding. “Not all mothers using infant formula in flooded areas are fully aware of the risks,” Napat said. “Health facilities can play a role in providing information to mothers and ensuring that infant formula is given only to mothers who really need it.” Health officials are warning mothers who use infant formula to use boiled or bottled water when mixing it. In addition, mothers are being urged to use cups that can be easily cleaned to feed their babies, as baby bottles and teats can be easily contaminated and lead to diarrhoea. |
www.facebook.com/e4thai
www.facebook.com/EnglishforThai
e4thai@live.com
ความคิดเห็นนี้ถูกลบโดยผู้ดูแลระบบของบล็อก
ตอบลบ