เรื่องที่ผมจะนำมาเล่าในวันนี้เป็นโคลงโลกนิติซึ่งมีฉบับภาษาอังกฤษแปลโดย ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช ผมเห็นว่าท่านแปลไว้ดีเหลือเกินจึงอยากนำมาให้ท่านผู้อ่านที่ยังไม่เคยอ่านโคลงโลกนิติเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษได้ลิ้มดูบ้าง (คลิกดู) แต่ก่อนอื่นผมขอคุยอะไรด้วยนิดนึงก่อนนะครับ
ถ้าให้ผมเดา ผมเดาว่าในเนื้อสมองของมนุษย์น่าจะมีสักก้อนหนึ่งที่เป็นคล้าย ๆ sensor ซึ่งดักจับภาษาที่เป็นคำคล้องจองหรือคำสัมผัส ไม่ว่าจะเป็นสัมผัสในหรือสัมผัสนอก สัมผัสสระหรือสัมผัสอักษร คำพวกนี้จะต่างจากคำธรรมดา ซึ่งถ้านำมาเรียงกันอย่างมีคุณภาพเราเรียกว่าวรรณศิลป์ เมื่อได้อ่านหรือได้ยินจะจำง่ายและกินใจ
สำหรับผมเอง วรรณคดีไทยที่เขากำหนดให้เรียน และอาขยานที่ครูสั่งให้ท่อง สมัยที่เป็นนักเรียนชั้นประถมและมัธยม ช่วยอย่างมากให้ผมรักโคลงกลอน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลอน ผมแต่งได้ตั้งแต่เป็นนักเรียน และเมื่อโตขึ้น เมื่อผ่านไปที่นั่นที่นี่ถ้าเห็นกลอนที่เตะใจก็มักจะจำได้ทันทีและจำได้ตลอดไปโดยไม่ต้องตั้งใจจำ
ผมขอยกตัวอย่างสักนิดหน่อยแล้วกันครับ...
ผมขอยกตัวอย่างสักนิดหน่อยแล้วกันครับ...
สมัยที่เรียนธรรมศาสตร์ยืนโหนราวในรถสองแถวไปเรียนหนังสือ ผมเห็นเขาเขียนอย่างนี้ไว้ในรถ
Someone love one
Someone love two
But I love one
That one is you
ผมอ่านครั้งเดียวจำได้ทันที และก็รู้สึกว่าถ้ากระเป๋ารถเป็นคนเขียน หนุ่มคนนี้ก็เข้าท่าแฮะ แม้จะเขียนผิดไวยากรณ์เล็ก ๆ น้อย ๆ ก็ไม่เป็นไร
ที่รถสองแถวอีกคันหนึ่ง เขาเขียนอย่างนี้
บนหนทางห่างไกลไม่สิ้นสุด
วิถีแห่งมนุษย์เพิ่งเริ่มต้น
ไม่มีใครเก่งกล้าปัญญาชน
มีแต่ความเป็นคนเท่าเทียมกัน
เป็นไงครับ น่าทึ่งไหมครับ
ในห้องน้ำชายแห่งหนึ่งของธรรมศาสตร์สมัยนั้น ผมเจอจารึกนี้ แม้ภาษาจะไม่สุภาพเอาซะเลย แต่ผมก็จำได้ทั้ง ๆ ที่ผ่านมาหลายสิบปีแล้ว
สักวานั่งขี้ให้ดีหน่อย
ค่อยๆปล่อยบรรจงให้ตรงฐาน
ขี้เสร็จแล้ว ราดน้ำพอประมาณ
อันคนพาลขี้ไม่ราดชาติหมาเอยเมื่อผมเรียนจบทำงานเป็นพัฒนากร วันหนึ่งมีธุระต้องไปหาเจ้าอาวาสที่วัด ๆ หนึ่ง สมัยนั้นไม่มีโทรศัพท์มือถือให้โทรเช็ค เมื่อขี่มอเตอร์ไซค์ไปถึงวัด แทนที่จะเจอหลวงพ่อ กลับเจอป้ายนี้แขวนไว้ที่กุฏิของท่าน
ท่านมาพบขออภัยไม่ได้พบ
ใช่จะหลบหลีกลี้หนีไปไหน
อยากจะพบกับท่านแทบขาดใจ
พบไม่ได้เพราะติดกิจนิมนต์
เจอกลอนบนนี้ผมจึงไม่รู้สึกหงุดหงิดเลยแม้จะต้องขี่มอเตอร์ไซค์ตั้งนานกว่าจะถึงวัด
ผมว่าคำประพันธ์หรือบทกลอนที่คล้องจอง กินใจ และจำง่าย คือเสน่ห์ของวรรณศิลป์ที่เถียงไม่ได้เลย อย่างเช่นกลอนบทนี้ที่ว่าด้วยนิยามของความรัก
คือน้ำผึ้งคือน้ำตาคือยาพิษ
คือหยาดน้ำอมฤตอันชื่นชุ่ม
คือเกสรดอกไม้คือไฟรุม
คือความกลุ้มความฝัน...นั่นแหละรัก
กลอนบทนี้ถ้าท่านนำมาสื่อด้วยภาษาธรรมดาที่ไม่มีสัมผัส จะกลายเป็นนิยามความรักที่จืดชืดมาก ๆ
อีกอย่างหนึ่งคิดว่าท่านคงจะเคยเจอเหมือนผม คือเมื่อไปเที่ยวที่ไหนสักแห่งและเขาเขียนกลอนติดไว้ เมื่ออ่านแล้วก็จำได้ เมื่อนึกถืงกลอนบทนั้นก็ทำให้นึกถือสถานที่นั้นทุกครั้ง
อย่างเช่นกลอนบทนี้ที่ผมอ่านเจอเมื่อไปเที่ยวเขาพิงกันที่พังงา
พิงกันสัญญลักษณ์ล้ำ ลือขจร
หนึ่งคือดวงสมร หนึ่งข้าฯ
รักจริงดุจสิงขร พิงแอบ กันนา
รักสถิตย์ชั่วฟ้า ตราบสิ้นดินสลายเรื่องการพูดคล้องจองนี่นะครับ ผมว่ามันน่าจะมีทุกชาติทุกภาษา ต่างกันแค่รูปแบบและมากน้อยเท่านั้นเอง บางครั้งที่ชมข่าว BBC ได้เห็นเขาแทรกถ้อยคำที่ถ้าเป็นภาษาไทยน่าเรียกว่าเป็นการเล่นคำที่สัมผัสอักษร แต่ให้นึกตอนนี้นึกไม่ออกครับ เลยไม่มีตัวอย่าง
คำคล้องจองมีการนำเอามาใช้มากในการสอนธรรมะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลอนธรรมะที่ช่วยให้จำง่าย เข้าใจ และกินใจ ผมขอยกตัวอย่างกลอนชื่อ เรียนชีวิต ของท่านอาจารย์พุทธทาส ผมอ่านครั้งเดียวแทบจะจำได้ทันที
เรียนชีวิต อย่าแสวง จากแหล่งนอก
อย่าเข้าไป ในคอก แห่งศาสตร์ไหน
อย่ามัวคิด ยุ่งยาก ให้ผากใจ
อย่าพิจารณา จาระไน ให้นุงนัง
อย่าเข้าไป ในคอก แห่งศาสตร์ไหน
อย่ามัวคิด ยุ่งยาก ให้ผากใจ
อย่าพิจารณา จาระไน ให้นุงนัง
อย่ายึดมั่น นั่นนี่ ที่เรียกกฏ
มันตรงตรง คดคด อย่างหมดหวัง
จงมองตรง ลงไปที่ ชีวิตัง
ดูแล้วหยั่ง ลงไป ในชีวิต
มันตรงตรง คดคด อย่างหมดหวัง
จงมองตรง ลงไปที่ ชีวิตัง
ดูแล้วหยั่ง ลงไป ในชีวิต
ให้รู้รส หมดทุกด้าน ที่ผ่านมา
ให้ซึมซาบ วิญญาณ์ อย่างวิศิษฐ์
ประจักษ์ทุกข์ ทุกระดับ กระชับชิด
ปัญหาชีวิต จะเผยออก บอกตัวเองฯท่านอาจารย์พุทธทาสเคยเทศน์เล่าว่า มีฝรั่งคนหนึ่งมาบวชเป็นพระที่วัดสวนโมกข์ ท่านชื่อว่า สีลาจาระ ได้แต่งกลอบบทนี้ไว้
And filled with toil and need;
But free and high as the open sky
Is the life the homeless leads."
เนื้อหาของกลอนบทนี้มาจากข้อความในพระไตรปิฎกว่า
ฆราวาสคับแคบ เป็นทางมาแห่งธุลี
บรรพชาเป็นทางปลอดโปร่ง
การที่บุคคลผู้ครองเรือน จะประพฤติพรหมจรรย์ให้บริบูรณ์
ให้บริสุทธิ์โดยส่วนเดียวดุจสังข์ขัด ไม่ใช่ทำได้ง่าย
ถ้าให้ผมตัดสิน ผมก็ต้องบอกว่า กลอนภาษาอังกฤษจำง่าย เข้าใจง่าย และกินใจ มากกว่าข้อความบรรยายในพระไตรปิฏกเสียอีก
เอาละครับ ผมไตเติ้ลให้ท่านห็นคุณค่าของโคลงกลอนมาพอสมควรแล้ว ณ ตอนนี้ก็ขอ copy ย่อหน้าแรกของข้อเขียนวันนี้ มาให้ท่านอ่านอีกครั้ง
เรื่องที่ผมจะนำมาเล่าในวันนี้เป็นโคลงโลกนิติซึ่งมีฉบับภาษาอังกฤษแปลโดย ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช ผมเห็นว่าท่านแปลไว้ดีเหลือเกินจึงอยากนำมาให้ท่านผู้อ่านที่ยังไม่เคยอ่านโคลงโลกนิติเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษได้ลิ้มดูบ้าง
ขอเชิญครับ...
http://www.e4thai.com/e4e/images/pdf2/thaipoem.htm
พิพัฒน์
https://www.facebook.com/En4Th
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น