ถ้ามีคนถามว่า ในการเรียนภาษาอังกฤษต้องรู้ศัพท์กี่คำจึงจะดี ผมขอตอบว่ารู้ยิ่งเยอะยิ่งดี แต่ก่อนที่จะรู้เยอะ เราควรรู้ศัพท์พื้นฐานให้กระจ่างก่อน และศัพท์พื้นฐานจะเป็นฐานให้เราไต่ไปหาศัพท์เบื้องสูง ในบล็อกนี้ผมแนะนำศัพท์พื้นฐานไว้หลายแห่ง เช่นที่นี่
**********
1,500 คำ: VOA Special English คลิก 1 หรือ คลิก 2
2,000 คำ: Longman Defining Vocabulary คลิก
3,000 คำ: Merriam-Webster's Learner's Dictionary คลิก
3,000 คำ: Oxford 3000 wordlist คลิก
*********<="" href="http://www.blogger.com/post-create.g?blogID=3682490348175452299" span="">
1,500 คำ: VOA Special English คลิก 1 หรือ คลิก 2
2,000 คำ: Longman Defining Vocabulary คลิก
3,000 คำ: Merriam-Webster's Learner's Dictionary คลิก
3,000 คำ: Oxford 3000 wordlist คลิก
*********<="" href="http://www.blogger.com/post-create.g?blogID=3682490348175452299" span="">
แต่การรู้ศัพท์พื้นฐานอย่างเดียวคงไม่พอ คงต้องรู้สำนวนด้วยเพราะสำนวนเป็นส่วนประกอบที่ขาดไม่ได้ของทุกภาษา รวมทั้งภาษาอังกฤษด้วย
ถ้ามีคำถามว่า เราพูดใช้ศัพท์ธรรมดา ๆ เฉย ๆ โดยไม่ต้องมีสำนวนไม่ได้หรือ? คำตอบก็คือ ได้! แต่ความสง่างามหรือการสื่อสารได้ตรงใจอาจจะลดน้อยลงถ้าเราปลด idiom ที่เหมาะเจาะออก ผมขอยกตัวอย่างภาษาไทยแล้วกันครับ อย่างเช่นคำว่า “สะใจ” เช่น อยากจะกินมานานแล้ว ไม่ได้กินสักที วันนี้ขอกินให้สะใจ ถ้าท่านไปใช้ศัพท์ธรรมดามาบรรยายความ มันก็ไม่ได้อารมณ์เหมือนใช้คำว่า สะใจ
เพราะฉะนั้นวันนี้ผมจึงขอนำหนังสือ Essential Idioms in English: Phrasal Verbs and Collocations มาเสนอท่านผู้อ่าน
ดาวน์โหลหนังสือ ลิงค์ที่ 1หรือ ลิงค์ที่ 2
หนังสือเล่มนี้มีเพียง 61 หน้า แบ่งออกเป็น 3 section คือ
Elementary (lessons 1-13)
Intermediate (lesion 14-27)
Advanced (lessons 28-39)
ขอแนะนำให้ท่านศึกษาไปตามลำดับทีละบท โดยรูปแบบการนำเสนอของหนังสือจะมีง่าย ๆ ดังนี้ คือ
1.idiom
2.ความหมายของ idiom
3.ประโยคตัวอย่าง แสดงการใช้ idiom
แต่ละ idiom ท่านอาจจะเริ่มศึกษาไปตามลำดับ 1, 2, 3 แต่โดยส่วนตัวผมชอบเริ่มที่ 3 คืออ่านประโยคตัวอย่างก่อน และดูซิว่าเราเข้าใจความหมายของ idiom นั้นหรือไม่ ถ้าไม่เข้าใจก็เดา และจึงดูเฉลย คือ ความหมายของ idiom ที่หนังสือแสดงไว้ วิธีนี้ผมว่ามันน่าตื่นเต้นและท้าทายมากกว่า 1, 2, 3
อีกนิดนึงก่อนจบ ถ้าในความหมายของ idiom มี (S) ต่อท้าย นี่แสดงว่า idiom นั้น ซึ่งอาจจะเป็น two-word verb สามารถแยกได้ (S = separable) เช่น
to pick up: to lift form the floor, table, etc., with one's fingers (S)
o Harry picked up the newspaper that was on the front doorstep.
o Could you pick your toy up before someone falls over it?
แต่ถ้าไม่มี (S) แสดงว่าต้องใช้ติดกัน ห้ามแยก เช่น
at first: in the beginning, originally
o At first English was difficult for him, but later he made great progress.
o I thought at first that it was Sheila calling, but then I realized that it
was Betty.
พิพัฒน์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น