สวัสดีครับ
เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ผมไปร่วมประชุมผู้แทนจากประเทศอาเซียน 10 ประเทศ เพื่อเตรียมรายละเอียดทางเทคนิค ที่จะใช้ในการแข่งขันฝีมือแรงงานอาเซียน ซึ่งจะจัดขึ้นในประเทศไทยในเดือนพฤศจิกายน ปลายปีนี้ จึงทำให้ว่างเว้นจากการเขียนไปซะหลายวัน
ในช่วงเวลานอกห้องประชุม มีชาวสิงคโปร์คนหนึ่งแนะนำหนังสือชื่อ Confessions of an Economic Hit Man ซึ่งเป็น New York Times Bestseller เนื้อเรื่องในหนังสือเป็นการเล่าประสบการณ์ของ Mr John Perkins ซึ่งเป็น “Economic Hit Man” บอกถึงพฤติกรรมไม่ดีหลายอย่างของสหรัฐฯในความสัมพันธ์กับประเทศต่าง ๆ โดยเขาให้คำจำกัดความของ “Economic Hit Man” ไว้ว่า.....
Economic hit men (EHMs) are highly-paid professionals who cheat countries around the globe out of trillions of dollars. They funnel money from the World Bank, the U.S. Agency for International Development (USAID), and other foreign "aid" organizations into the coffers of huge corporations and the pockets of a few wealthy families who control the planet's natural resources. Their tools included fraudulent financial reports, rigged elections, payoffs, extortion, sex, and murder. They play a game as old as empire, but one that has taken on new and terrifying dimensions during this time of globalization.
อ่านเรื่องย่อ Confessions of an Economic Hit man คลิก
ดาวน์โหลดฉบับเต็ม Confessions of an Economic Hit man คลิก
หนังสือเล่มนี้มีทั้งหมด 281 หน้า ผมเพิ่งเริ่มอ่าน แต่เห็นว่าน่าสนใจ จึงนำมาฝากท่านผู้อ่าน
ผมมาได้แง่คิดว่า ทุกวันนี้เราสามารถหาอ่านข่าวสารบ้านเมืองไทยและของโลกได้รวดเร็วและมากมาย แค่ไปที่ Google News และ Yahoo News, พิมพ์คำค้นภาษาอังกฤษหรือภาษาไทยลงไป ก็มีข่าวมากมายให้เราอ่านตามที่เราต้องการ
หรือคลิกเข้าไปอ่านหนังสือพิมพ์จากประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกได้ที่นี่
http://www.ipl.org/div/news/index.html
แต่เมื่อมาดูอีกทีก็ได้เห็นว่า ข่าวที่เราได้อ่านหรือฟังนี้ มันเป็นปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้น และแม้ว่าเนื้อข่าวจะบอกความเป็นมาหรือเบื้องหลังข่าวไว้บ้าง แต่บางทีก็น้อยเกินไป เราจึงรู้ข่าวเพียงมิติเดียวคือ ปัจจุบัน ซึ่งอาจจะทำให้เราไม่รู้ความเป็นมาในอดีต และไม่สามารถคาดเดาความเป็นไปของเหตุการณ์ในอนาคต การอ่านข่าวที่ดีจึงควรมีทั้ง 3 มิติ คือ อดีต-ปัจจุบัน-อนาคต และวิธีหนึ่งที่ช่วยในเรื่องนี้ก็คือ อ่านหนังสือเกี่ยวกับประเทศซึ่งเป็นสถานที่เกิดข่าว โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หนังสือที่ให้ข้อเท็จจริงและบทวิเคราะห์ หนังสือเหล่านี้โดยทั่วไป จะให้ข้อมูลเกี่ยวกับอดีตซึ่งช่วยคาดการณ์อนาคต ได้ลึกกว่าหนังสือพิมพ์หรือเว็บข่าวรายวัน
ในเว็บ Wikipedia เขาได้รวบรวมรายชื่อหนังสือและสรุปย่อเนื้อเรื่องเกี่ยวกับประเทศต่าง ๆ ไว้ให้เราอ่านอยู่บ้าง
ที่เว็บนี้ครับ: http://en.wikipedia.org/wiki/Category:Books_about_countries
ท่านลองคลิกดูหนังสือเกี่ยวกับบางประเทศที่ผมยกมาเป็นตัวอย่าง:
เมื่อได้ชื่อหนังสือแล้ว ท่านที่ต้องการอ่านฉบับเต็มลองไปที่ลิงค์ข้างล่างนี้ พิมพ์ชื่อหนังสือลงไป ถ้าโชคดีอาจได้หนังสือฟรีอ่าน
[1204]หนังสือที่มีให้ ด/ล ในบล็อกนี้ ผมหามาจากไหน?
หรือจะไปดูที่เว็บไซต์ของศูนย์หนังสือจุฬาก็ได้ครับ
http://www.chulabook.com/book_browse.asp
หรือ ร้านค้าออนไลน์ สายตรงจาก Amazon
http://astore.amazon.com/discacc-20
เนื้อหาในหนังสือพวกนี้ ก็อาจจะมีทั้งเรื่องจริงล้วน ๆ เรื่องจริงปนโกหก และเรื่องโกหกล้วน ๆ เมื่ออ่านก็ต้องฟังหูไว้หู
พิพัฒน์
สวัสดีค่ะ อาจารย์พิพัฒน์
ตอบลบเข้ามาแล้วไม่พบ อาจารย์มีภาระกิจสำคัญนี่เอง ขอบคุณค่ะสำหรับหนังสือ Economic Hit man เซฟเก็บไว้แล้วค่ะ ตั้งใจว่าจะอ่านวันละ 1 หน้า แต่พอเริ่มอ่านผ่าน ๆ แล้ว ก็เปลี่ยนใจ คงวางไม่ลงเพราะชวนติดตามที่เดียวค่ะ
ด้วยความนับถืออย่างสูงค่ะ
รุ่งฤทัย
ขอบคุณอาจารย์พิพัฒน์ มากค่ะ ติดตามมาหลายวันว่าอาจาย์จะมีอะไรใหม่ๆ มาแนะนำบ้าง ไม่ผิดหวังจริงๆ ขอบพระคุณค่ะ
ตอบลบณัฐญา