วันศุกร์ที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2552

[1276]อ่านข่าว ‘โอบามา’รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ

สวัสดีครับ
เรื่องประธานาธิบดีโอบามา รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ ที่กรุงออสโลประเทศสวีเดน เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 10 ธันวาคม 2552 เป็นข่าวดังไปทั่วโลก

อ่านข่าว
ภาษาอังกฤษ คลิก
ภาษาไทย คลิก

อ่านสุนทรพจน์รับรางวัล
ภาษาอังกฤษ คลิก
ภาษาอังกฤษ ดับเบิ้ลคลิกจะแสดงคำแปลเป็นภาษาไทย คลิก

ผมเองอ่านสุนทรพจน์ของโอบามาแล้ว ฟังดูก็เพราะดี

ท่านผู้อ่านครับ ผมคิดว่าข่าวต่างประเทศที่คนไทยจำนวนไม่น้อยรับมากที่สุดก็น่าจะมาจาก 2 แห่งใหญ่ คือ BBC และ CNN เรื่องนี้ทำให้คิดไปถึงสมัยที่ผมไปรับการอบรมที่อินเดียและเยอรมนี ช่วงนั้นผมอ่านหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นที่เป็นภาษาอังกฤษแทบทุกวัน แล้วก็ได้เห็นชัดเจนว่า ทั้งเนื้อข่าวและความเห็นที่ผมได้อ่าน มันต่างจากที่ผมเคยอ่านพบใน BBC และ CNN ค่อนข้างมาก ที่พูดเช่นนี้ไม่ได้หมายความว่า BBC และ CNN ลงข่าวเป็นเท็จ แต่ผมเข้าใจว่า นักข่าวหรือบรรณาธิการข่าวไม่ว่าที่ไหนในโลก ก็คงจะมีอคติกันทุกคน ซึ่งอาจจะเป็นอคติโดยไม่ตั้งใจก็ได้ ที่อาจจะเกิดจาก ความรัก ความชัง ความหลง อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง ในสุนทรพจน์ของโอบามามีการกล่าวถึงประเทศอิหร่านและพม่า และผมก็ค่อนข้างแน่ใจว่า หนังสือพิมพ์ใน 2 ประเทศนี้คงจะไม่ลงข่าวหรือความเห็นที่เหมือนกับ BBC และ CNN ไปซะทุกอย่าง

ถ้าท่านผู้อ่านต้องการความหลากหลายของ news หรือ view ในสถานการณ์ของโลก ผมขอแนะนำให้ท่านอ่านหนังสือพิมพ์ที่ตีพิมพ์ในประเทศนั้นๆด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศที่อาจจะไม่ค่อยถูกกับตะวันตก อาจจะช่วยให้เราได้ข้อมูลและแง่มุมการมองโลกที่ต่างออกไป และจริง ๆ แล้ว เราบอกว่าอินเตอร์เน็ตทำให้เรารู้ข่าวสารความเป็นไปของโลกได้อย่างรวดเร็วและสะดวก แต่ข่าวที่เราได้รับมันจริงแค่ไหน อาจจะเป็นว่า มีความจริงใน “ความเท็จ” และมีความเท็จใน “ความจริง” หรือ จริงแต่ไม่ครบ ครบแต่ไม่จริง ฯลฯ เรื่องนี้ทำให้ผมคิดไปถึงภาษิตไทยซึ่งมีอยู่ 2 ภาษิตที่ผมเห็นว่ามีประโยชน์มาก ๆ คือ
1.ให้ฟังหูไว้หู
2.อย่าฟังความข้างเดียว


มันกลายเป็นว่า ประเทศไทยรับข่าวสารจากสำนักข่าวตะวันตกเท่านั้น ถ้ามีคู่ความที่อยู่ตรงกันข้ามเราก็ไม่ค่อยมีโอกาสได้ฟังความจากเขา และการฟังหูไว้หูนี้ หูอีกข้างหนึ่งที่เรา “ไว้หู” นี้ เมื่อรออยู่ตั้งนานก็ยังไม่มีใครมาพูดให้ฟัง (คือเราไม่มีโอกาสฟังข่าวจากประเทศเหล่านั้น) เราก็อาจจะ “เลิกไว้หู” เพราะไว้แล้วมันเหนื่อย ก็เลยฟังข่าวจากฝ่ายเดียวทั้ง 2 หูนั่นแหละ คือ “ฟังความข้างเดียวทั้ง 2 หู”

เรื่องราวการขัดแย้งระหว่างประเทศเป็นเช่นใด การขัดแย้งในประเทศของเราเองก็อาจจะเป็นเช่นนั้น

สำหรับข่าวต่างประเทศ แหล่งข่าวที่ท่านสามารถเข้าไปอ่านเพื่อ “ฟังความ 2 ข้างทั้ง 2 หู” มีอยู่ข้างล่างนี้ครับ
http://english.aljazeera.net/ (อาหรับ)
http://english.pravda.ru/ (รัสเซีย)
http://www.itar-tass.com/eng/ (รัสเซีย)
http://www.xinhuanet.com/english/ (จีน)
http://www.iran-daily.com/ (อิหร่าน)
http://www.irna.ir/En/ (อิหร่าน)
http://www.kcna.co.jp/index-e.htm (เกาหลีเหนือ)
และเว็บข้างล่างนี้ก็มีหนังสือพิมพ์ของทุกประเทศให้เลืกอ่านครับ
http://www.refdesk.com/paper.html
http://www.world-newspapers.com/
http://www.thepaperboy.com/
http://www.onlinenewspapers.com/
http://www.newspapers.com/

พิพัฒน์
GemTriple@gmail.com

4 ความคิดเห็น:

  1. ไม่ระบุชื่อ12 ธันวาคม 2552 เวลา 20:42

    เป็นเว็บที่ดีมากๆเลยคะ จะเข้ามาเยี่ยมบ่อยๆ เป็นคนที่เรียนภาษาอังกฤษแย่มาก อยากฝึก แต่ไม่ค่อยมีความพยายามเท่าไัร แต่เจอเว็บนี้จะลองพยายามอีกครั้ง
    นิว

    ตอบลบ
  2. คุณนิวครับ
    ขออนุโมทนาในความตั้งใจครับ
    พิพัฒน์

    ตอบลบ
  3. ไม่ระบุชื่อ13 ธันวาคม 2552 เวลา 19:52

    สวัสดีค่ะคุณพิพัฒน์ หนูมีเวปนึงดีมากๆเลยค่ะอยากให้เอามาฝากไว้ในเวปของคุณพิพัฒน์ หนูไม่แน่ใจว่าเคยลงไว้ในบอร์ดรึเปล่า ยังไงก็ฝากนำไปเผยแพร่ให้เด็กไทยทุกคนได้ลองฝึกภาษาอังกฤษกันดูนะคะ ของเค้าดีตรงที่มี subtitle ให้คะ ยังไงลองแวะดูนะคะhttp://en.yappr.com/welcome/Welcome.action

    พลอย

    ตอบลบ
  4. หนูพลอยจ๊ะ
    ขอบคุณนะที่แนะนำ ได้ลงไว้แล้วจ้ะที่ลิงค์นี้ - พิพัฒน์
    [980]ดูและดาวน์โหลดวีดิโอฟรี พร้อม script ภาษาอังกฤษ

    ตอบลบ