สวัสดีครับ
วันจันทร์ที่ 9 กุมภาพันธ์ 2552 นี้ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 เป็น ‘วันมาฆบูชา’ และเป็นวันหยุดแห่งชาติ วันหยุดที่เกี่ยวกับพุทธศาสนาเช่นวันนี้ ผมนึกถึงอะไรบางอย่าง
ตอนที่ผมไปเที่ยวต่างประเทศ ไม่ว่าประเทศไหน ถ้ามีโอกาสผมจะหาทางไปชมศาสนสถานที่มีชื่อเสียงในเมืองที่ไปเที่ยว เช่นที่ยุโรป ผมชอบไปดู church หลาย ๆ แห่งมีชื่อเสียงทั้งในระดับประเทศและระดับโลกในเมืองนั้น ซึ่งมักงดงามทั้งภายนอกและภายในด้วยเนรมิตกรรมของสถาปัตยกรรม ปฎิมากรรม จิตรกรรม ศิลปกรรม และสุนทรียศาสตร์อื่น ๆ ที่เอามารวมกันจนกลายเป็น church หลังนั้น หลายแห่งใช้เวลาสร้างเป็นหลาย ๆ สิบปี หรือตอนที่ไปเที่ยวอินเดีย ก็ได้ไปชม temple ของฮินดู หรือ mosque ของอิสลาม
ความรู้สึกคำเดียวที่มักเกิดขึ้นเมื่อไปชม church, temple หรือ mosque เพล่านี้ คือ ‘ทึ่ง’ อย่างไรก็ตามเมื่อได้ดูมาก ๆ เข้า ความรู้สึก ‘ทึ่ง’ ก็กลายเป็นรู้สึก ‘ธรรมดา’ ไม่มีอะไรน่าทึ่งอีกต่อไป และถ้าจะให้เสียเงินไปเที่ยวที่นั่นอีกผมก็คงไม่ไปแล้ว ด้วยเหตุผลง่าย ๆ ว่า เคยเห็นแล้วไม่รู้จะไปดูอีกทำไม
แต่เมื่อวิเคราะห์ใจตัวเองใกล้ ๆ ผมก็ได้คำตอบว่า เมื่อจากสถานที่เหล่านั้นมาแล้ว ผมไม่รู้สึกใกล้ชิดผูกพันก็เพราะว่า บุคคลหรือเทพเจ้าซึ่งเป็นที่มาของสถาปัตยกรรมเหล่านั้น ไม่ว่าจะเป็นพระเยซูคริสต์ พระพรหม พระกฤษณะ พระศิวะ หรือพระอะไรต่ออะไรก็แล้วแต่ ท่านก็อยู่ส่วนท่าน ผมก็อยู่ส่วนผม ไม่มีอะไรต้องเกี่ยวข้องกัน ก็เลยไม่รู้จะคิดถึงไปทำไม
ความรู้สึกที่ต่างกันโดยสิ้นเชิงเกิดขึ้นเมื่อชมไปนมัสการสังเวชนียสถาน 4 แห่งที่อินเดีย คือ ลุมพินีที่เนปาล พุทธคยา สารนาถ และกุสินาราที่อินเดีย ณ ที่ 4 แห่งนี้ ผมรู้สึกว่าตัวเองได้เข้าไปนั่งใกล้พระพุทธเจ้า น้ำตาไหลด้วยความตื้นตันใจและท่วมท้นสำนึกในพระมหากรุณาของพระพุทธเจ้า กลับมาเมืองไทยแล้วความรู้สึกนี้ก็ยังคงอยู่ ถ้ามีโอกาสก็จะกลับไปอีก
ณ วัดไทยแห่งหนึ่งที่สังเวชนียสถานทั้ง 4 นี้ ท่านเจ้าอาวาสชวนผมว่า ถ้าพ้นภาระทางโลกแล้ว ให้ไปทำงานที่วัดเพื่อคอยอธิบายธรรมะหรือเรื่องราวของพุทธศาสนาให้คนชาติต่าง ๆ ที่มาชมวัดได้ฟัง ท่านบอกว่าพระที่วัดนั้นพูดภาษาอังกฤษไม่ค่อยเก่ง ผมไม่แน่ใจว่าผมจะมีโอกาสไปทำงานตามที่ท่านชวนหรือไม่ และในงานนี้ท่านใดมีศรัทธาจะไปทำ ผมขออนุโทนาด้วยครับ
เมื่อกลับมาเมืองไทย ผมจึงได้เห็นความจริงว่า ‘ใจ’ คือพาหนะที่เราสามารถใช้เดินทางข้ามพ้นเวลาและสถานที่ไปยังสิ่งที่เราเคารพผูกพัน เมื่อเวลาสวดมนต์ผมนึกถึงพระพุทธเจ้าที่ปรินิพพานไปกว่า 2500 ปีที่แล้ว นึกถึงต้นมหาโพธิ์ที่พุทธคยา จำได้ว่าวันนั้นมีแขกอินเดียคนหนึ่งช่วยเก็บใบโพธิ์ที่ร่วงหล่นอยู่ที่โคนต้นซึ่งผมได้อธิษฐานขอนำกลับมาเมืองไทย
ณ วันมาฆบูชาวันนี้ผมนึกย้อนประวัติศาสตร์เมื่อหลายร้อยปีที่แล้วที่คณะ missionary จากลังกาเดินทางมาเผยแผ่พระพุทธศาสนาที่สุวรรณภูมิ คำถามก็คือ วันนี้คนไทยเรา หรือพระสงฆ์ไทยสามารถเผยแผ่พระพุทธศาสนาให้กับคนชาติอื่นที่มาเยือนเมืองไทยได้หรือไม่
เคยอ่านพบว่า ในคำสอน 3 ข้อของพระพุทธเจ้า คือ 1)ทำดี 2)ละชั่ว และ 3)ทำจิตให้บริสุทธิ์ ชาวต่างชาติหรือฝรั่งสนใจข้อ 3)คือการทำจิตให้บริสุทธิ์มากที่สุด ซึ่งบทที่1 ก็ทักจะเพ่งเล็งไปที่วิธีการทำสมาธิ ซึ่งสิ่งนี้ก็ไม่น่าประหลาดใจอะไร เพราะการทำดีละชั่วนั้นเป็นจริยธรรมสากลที่ทั้งโลกไม่ต่างกัน แต่คำสอนที่เป็นเอกลักษณ์ของพระพุทธเจ้าคือคำสอนที่ช่วยทำให้ใจไร้ทุกข์ เมื่อจิตวิทยาสารพัดแขนงของฝรั่งไม่สามารถ.ทำให้พวกเขาพบกับความสุขที่แท้จริงได้ พวกเขาบางคนจึงพยายามแสวงหาเครื่องมือที่ได้ผลมากกว่า
เมื่อพูดถึงการทำสมาธิก็มีหลายวิธี แต่วิธีที่พระพุทธเจ้าสรรเสริญและได้รับความนิยมมากที่สุดคือวิธี ‘อานาปานสติ’ คือการทำสมาธิโดยมีสติกำหนดอยู่ที่ลมหายใจเข้าออก เฉพาะในภาษาไทยก็มีให้อ่านมากมาย เชิญคลิกเพื่ออ่าน
หรือถ้าท่านจะอ่านคำสอนของพระสุปฏิบัติ 2 รูปของไทยเกี่ยวกับเรื่องนี้ ก็เชิญคลิกข้างล่างนี้ครับ
หลวงพ่อชา
อาจารย์พุทธทาส
แต่ถ้าต้องสอนหรือพูดคุยเรื่องนี้ให้ฝรั่งหรือต่างชาติฟัง ก็น่าจะได้เคยอ่านหรือเคยฟัง ที่มีผู้รู้เขียนไว้หรือพูดไว้เป็นภาษาอังกฤษ จะได้เห็นการใช้ศัพท์ หรือการผูกประโยค ถึงเวลาจะพูดหรือจะสอนจริง ๆ ท่าน - ท่านอาจารย์ - หรือหลวงพี่ก็ต้องปรับเอาเองตามสไตล์ของท่านหรือตามลักษณะของคนฟัง ผมหาเว็บมาให้ท่านได้อ่านหรือฟังเป็นตัวอย่างข้างล่างนี้ครับ
คัดมาจากคำสอนเรื่องสมาธิของพระภิกษุสุปฏิบัติหลายท่าน - เรื่องสมาธิ
โดยท่านอาจารย์พุทธทาสภิกขุ - Mindfulness_with_Breathing
เว็บ 1 หรือ เว็บ 2
โดย Ajahn Sumedho (ศิษย์หลวงพ่อชา) - Anapanasati
โดย Ajahn Brahmavamso (ศิษย์หลวงพ่อชา) - The Basic Method of Meditation
โดย พระเทพวิสุทธิกวี - Meditation
โดย Buddharatana Monastery Australia - Mind training and meditative skills
โดย Ajahn Pasanno (ศิษยหลวงพ่อชา)
Meditation of the Breath – เว็บ 1 หรือ เว็บ 2
ฟังเสียงเทศน์ของ Ajahn Pasanno
เว็บ 1 หรือ เว็บ 2
ศึกษาเพิ่มเติม Buddhist poetry-stories:
พิพัฒน์
pptstn@yahoo.com
thank you very much.
ตอบลบwe're friends.